ณรงค์ มหานนท์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ (5 มกราคม พ.ศ. 2470 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567) เป็นที่ปรึกษาวารสารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ 2525-2530 อดีตสมาชิกวุฒิสภา[1] อดีตกรรมการบริษัทดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานที่ปรึกษาบริษัท ช.การช่าง จำกัด[2]
ณรงค์ มหานนท์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 30 กันยายน พ.ศ. 2530 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก เภา สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2470 อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (97 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงฑิพา มหานนท์ (ถึงแก่อนิจกรรม) ท่านผู้หญิง ภรณี มหานนท์ |
บุตร | นายแพทย์นิธิ มหานนท์ ฝนทิพย์ มหานนท์ |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ประจำการ | พ.ศ. 2488 - 2530 |
ยศ | พลตำรวจเอก |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2470 (นับแบบใหม่) ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของ นายพูน และนางสว่าง มหานนท์ สมรสกับ คุณหญิงฑิพา มหานนท์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร-ธิดา คือ
- ศาสตราจารย์นายแพทย์ นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- น.ส.ฝนทิพย์ มหานนท์
ต่อมาสมรสกับ ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์
การศึกษา
แก้- จบการศึกษาชั้นมัธยมฯ ปีที่ 3 จากโรงเรียนประดิษฐ์วิทยา(โรงเรียนอรุณประดิษฐ) เมื่อปี พ.ศ. 2480
- จบการศึกษาชั้นมัธยมฯ ปีที่ 5 จากโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี(โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี) เมื่อปี พ.ศ. 2482
- จบการศึกษาชั้นมัธยมฯปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2483
- โรงเรียนเตรียมนายร้อย พ.ศ. เมื่อปี 2485
- โรงเรียนนายร้อยทหารบก พ.ศ. เมื่อปี 2488
การรับราชการ
แก้- พ.ศ. 2487 - นักเรียนนายร้อยกรมยุทธศึกษาทหารบก กระทรวงกลาโหม จากนั้นจึงได้โอนย้ายมารับราชการเป็นตำรวจ
- พ.ศ. 2488 - เป็นรองสารวัตร สน.พญาไท มียศเป็น ร้อยตำรวจตรี
- 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - ร้อยตำรวจเอก[3]
- พ.ศ. 2499 - เป็น สวญ.สน.บางซื่อ มียศเป็น พันตำรวจตรี
- พ.ศ. 2501 - เป็นรองผู้กำกับการนครบาล 3 มียศเป็น พันตำรวจโท
- พ.ศ. 2507 - เป็น รองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ มียศเป็น พันตำรวจเอก
- พ.ศ. 2510 - เป็น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ มียศเป็น พันตำรวจเอกพิเศษ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - พลตำรวจตรี[4]
- พ.ศ. 2514 - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[5]
- พ.ศ. 2516 - ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6]
- 1 กันยายน พ.ศ. 2519 - ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[7]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 - รองอธิบดีกรมตำรวจ[8]
- พ.ศ. 2525 - อธิบดีกรมตำรวจ เลื่อนยศเป็น พลตำรวจเอก[9] [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศและเหรียญในต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในไทย
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
เหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไต้หวัน :
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ http://www.56-1.com/reports/CK/CK_13AR_th.pdf
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๕๐๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (พลตำรวจโท ณรงค์ มหานนท์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 127 ง พิเศษ หน้า 2 9 กันยายน พ.ศ. 2525
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (พลตำรวจโท ณรงค์ มหานนท์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 143 ง พิเศษ หน้า 7 6 ตุลาคม พ.ศ. 2525
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 12, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
- เอกสาร[ทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ] "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ