ประเทศไทยใน พ.ศ. 2558
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 234 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 70 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร)
- คณะผู้ยึดอำนาจปกครอง: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- ดิเรก อิงคนินันท์ (จนถึง 30 กันยายน)
- วีระพล ตั้งสุวรรณ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้เมษายน
แก้- 1 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้กฎอัยการศึก[1] ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแทนกฎอัยการศึก [2]
- 2 เมษายน – พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
สิงหาคม
แก้- 16 สิงหาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงจักรยานพระที่นั่งนำประชาชนทั่วประเทศปั่นจักรยานในกิจกรรม Bike for Mom หรือ ปั่นเพื่อแม่ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา[3]
- 17 สิงหาคม – เกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 20 คน[4]
กันยายน
แก้- 6 กันยายน – สภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติไม่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ 135 เสียง ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
- 7 กันยายน – มีการพบเห็นลูกไฟขนาดใหญ่ร่วงหล่นจากบนฟ้า เห็นได้ชัดเจนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดกาญจนบุรี, สระบุรี รวมถึงในกรุงเทพมหานคร มีการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวกันอย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนผู้เชี่ยวชาญจะระบุว่าเป็นอุกกาบาต[5]
- 26 กันยายน –พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาในขณะนั้น) ทรงเปิดอุทยานราชภักดิ์ ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[6]
ตุลาคม
แก้- 11 ตุลาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้พิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำให้ตัวอาคารเสียหายทั้งหลังและมีผู้บาดเจ็บจำนวน 1 คน[7]
- 25 ตุลาคม – การบินไทย ยกเลิกเที่ยวบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แวะ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ปลายทาง ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ไปกลับ[8]ส่งผลให้ไม่มีเที่ยวบินไปกลับระหว่าง ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศไทย
ธันวาคม
แก้- 11 ธันวาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจักรยานพระที่นั่งนำประชาชนทั่วประเทศปั่นจักรยานในกิจกรรม Bike for Dad หรือ ปั่นเพื่อพ่อ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา[9]
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้านายราชวงศ์เชียงใหม่ (ประสูติ พ.ศ. 2471)
- 5 มกราคม
- พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ (ผาด ฐิติปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดบ้านกรวด (เกิด พ.ศ. 2454)
- กนก จันทร์ขจร ครู (เกิด พ.ศ. 2477)
- 19 มกราคม – อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 44 (เกิด พ.ศ. 2468)
เมษายน
แก้- 3 เมษายน – จำนงค์ โพธิสาโร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คนที่ 35 (เกิด พ.ศ. 2467)
- 6 เมษายน – วันชัย เจริญชนม์ (พรไพร เพชรดำเนิน) นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2491)
- 15 เมษายน – เนื่อง แฝงสีคำ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2457)
- 16 เมษายน – อรรถพล ปุษปาคม นักฟุตบอล (เกิด พ.ศ. 2505)
- 28 เมษายน – ตุ่น จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2488)
- 30 เมษายน
- มนัสนิตย์ วณิกกุล อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ (เกิด พ.ศ. 2471)
- ลินจง บุญนากรินทร์ นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2486)
พฤษภาคม
แก้- 6 พฤษภาคม – หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2459)
- 14 พฤษภาคม – จำรัส เขมะจารุ ประธานศาลฎีกาคนที่ 24 (เกิด พ.ศ. 2472)
- 16 พฤษภาคม – พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2466)
- 18 พฤษภาคม – พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 24 พฤษภาคม – ใบ สะอาดดี (เสือใบ) อดีตอาชญากร (เกิด พ.ศ. 2464)
มิถุนายน
แก้- 4 มิถุนายน – ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2472)
- 18 มิถุนายน – พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2462)
- 30 มิถุนายน – เจ้าเดชา ณ ลำปาง ผู้สืบสายสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง (ประสูติ พ.ศ. 2471)
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – ชำนาญ ยุวบูรณ์ นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพคนที่ 1 (เกิด พ.ศ. 2457)
- 5 กรกฎาคม – ปัญจะ เกสรทอง ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 16 (เกิด พ.ศ. 2474)
- 7 กรกฎาคม – สะเบต หลีเหร็ม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2484)
- 20 กรกฎาคม – พระครูพิพิธประชานาถ (นาน สุทธสีโล) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2472)
- 25 กรกฎาคม – ฉลอง ปึงตระกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 21 (เกิด พ.ศ. 2463)
- 29 กรกฎาคม – ประชาธิป มุสิกพงศ์ นักดนตรี (เกิด พ.ศ. 2527)
- 31 กรกฎาคม – อรรถพล ประเสริฐยิ่ง นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2502)
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม – เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2469)
- 5 สิงหาคม – สุรพงษ์ ราชมุกดา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2485)
- 12 สิงหาคม – ไพจิตร เอื้อทวีกุล อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2477)
- 19 สิงหาคม – วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภาคนที่ 20 (เกิด พ.ศ. 2466)
- 22 สิงหาคม – พระครูสุทธิคุณรังษี (ทองแดง ปญฺญาทีโป) เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส (เกิด พ.ศ. 2465)
กันยายน
แก้- 1 กันยายน – พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2479)
- 5 กันยายน – หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2467)
- 10 กันยายน – เฉิด สุดารา ครู (เกิด พ.ศ. 2456)
- 18 กันยายน – ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2491)
- 27 กันยายน – วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 17 (เกิด พ.ศ. 2477)
ตุลาคม
แก้- 4 ตุลาคม – วาทิน ปิ่นเฉลียว นักเขียนการ์ตูน (เกิด พ.ศ. 2473)
- 10 ตุลาคม – อมร ยุกตะนันท์ นักกีฬายิงปืน (เกิด พ.ศ. 2471)
- 13 ตุลาคม
- ไสว หัพนานนท์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2450)
- ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2501)
- 17 ตุลาคม – บูราฮานูดิน อุเซ็ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2497)
- 18 ตุลาคม – พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตฺตถาวโร) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2495)
- 23 ตุลาคม – พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกิด พ.ศ. 2453)
- 25 ตุลาคม – พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย (เกิด พ.ศ. 2483)
พฤศจิกายน
แก้- 7 พฤศจิกายน – สุริยัน สุจริตพลวงศ์ นักโหราศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2505)
- 9 พฤศจิกายน – สุชาติ สรหงษ์ (ประกายเพชร สรหงษ์) นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2490)
- 11 พฤศจิกายน – จรูญ ธรรมศิลป์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ (เกิด พ.ศ. 2499)
- 22 พฤศจิกายน – มานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2478)
ธันวาคม
แก้- 1 ธันวาคม – บุญธรรม ฮวดกระโทก (สีหนุ่ม เชิญยิ้ม) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2499)
- 5 ธันวาคม – สิทธิ เศวตศิลา รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 35 (เกิด พ.ศ. 2462)
- 13 ธันวาคม – เปรม รุจิเรข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2472)
- 30 ธันวาคม – ประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์คนที่ 26 (เกิด พ.ศ. 2470)
อ้างอิง
แก้- ↑ "โปรดเกล้าฯเลิกใช้กฎอัยการศึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ เปิดคำสั่งหน.คสช.ที่3/58 ประกาศใช้ม.44 ให้อำนาจทหาร 14ข้อ
- ↑ "กษัตริย์นักกีฬา รัชกาลที่ 10 Bike for Mom-Bike for Dad". www.thairath.co.th. 2016-12-03.
- ↑ "Bomb toll revised: 20 dead, 125 injured". Security. Bangkok Post. 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
- ↑ "Mysterious 'fireball' caught on camera blazing over Bangkok". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-07. สืบค้นเมื่อ September 7, 2015.
- ↑ "พระบรมฯเสด็จเปิดอุทยานราชภักดิ์ - ประวิตรนำครม.เฝ้าฯ". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. September 26, 2015. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เพลิงโหมไหม้พิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง วอดทั้งหลัง". thairath.co.th. ไทยรัฐออนไลน์. 2015-10-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.
- ↑ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศยกเลิกการให้บริการในเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-โซล-ลอสแอนเจลิส มีผลบังคับใช้ วันที่ 25 ตุลาคม 2558
- ↑ "กษัตริย์นักกีฬา รัชกาลที่ 10 Bike for Mom-Bike for Dad". www.thairath.co.th. 2016-12-03.