จำรัส เขมะจารุ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์พิเศษ จำรัส เขมะจารุ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2472 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) อดีตองคมนตรี[1] และอดีตประธานศาลฎีกา
จำรัส เขมะจารุ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤศจิกายน 2537 – 14 พฤษภาคม 2558 | |
ประธานศาลฎีกา คนที่ 24 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2529 – 30 กันยายน 2532 | |
ก่อนหน้า | ภิญโญ ธีรนิติ |
ถัดไป | อำนัคฆ์ คล้ายสังข์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2472 |
เสียชีวิต | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (85 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงบังอร เขมะจารุ |
ประวัติ
แก้จำรัส เขมะจารุ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2472 เป็นบุตรของนายเจียก และนางถนอม เขมะจารุ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2492 เนติบัณฑิตไทย ในปีเดียวกัน และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกฎหมาย Master of Comparative Laws จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Master of Laws จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
จำรัส เขมะจารุ ผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 19 (2519) และเคยได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2531) และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2549) นอกจากนี้ ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และประธานกรรมการที่ปรึกษาประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช รวมทั้งประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงบังอร เขมะจารุ
นายจำรัส เขมะจารุ ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558[2] ในขณะดำรงตำแหน่งองคมนตรี สิริอายุ 85 ปี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17.03 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศมณฑปประกอบศพ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 วัน และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
แก้- ประธานศาลฎีกา (2529-2532)
- ประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) (กฎหมายสาธารณสุข) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง (2525-2528)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง (2523-2525)
- อาจารย์ผู้บรรยายในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (จำรัส เขมะจารุ)
- ↑ ""ศาสตราจารย์พิเศษจำรัส เขมะจารุ" องคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
ก่อนหน้า | จำรัส เขมะจารุ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายภิญโญ ธีรนิติ | ประธานศาลฎีกา (คนที่ 24) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532) |
นายอำนัคฆ์ คล้ายสังข์ |