ประเทศแมนจู
ประเทศแมนจู หรือเรียกอย่างทับศัพท์ว่า หมั่นโจวกั๋ว (จีน: 滿洲國; พินอิน: Mǎnzhōuguó; เวด-ไจลส์: Manchukuo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการภายหลังปี ค.ศ. 1934 คือ จักรวรรดิแมนจูเรีย (จีน: 滿洲帝國; พินอิน: Mǎnzhōu Dìguó) เป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรียและมองโกเลียในฝั่งทิศตะวันออกปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ถึง ค.ศ. 1945 ประเทศแมนจูเป็นรัฐที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างจำกัดและอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นโดยพฤตินัย
ประเทศแมนจู 滿洲國 (ค.ศ. 1932–1934) จักรวรรดิแมนจู 滿洲帝國 (ค.ศ. 1934–1945) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1932–1945 | |||||||||
ประเทศแมนจูในเขตยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น | |||||||||
สถานะ | รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น | ||||||||
เมืองหลวง | ซิงกิง (ฉางชุน) ถึง 9 ส.ค. 1945 ตงฮัว (ลิ้นเจียง) ถึง 18 ส.ค. 1945 | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกลาง ภาษามองโกเลีย ภาษาแมนจู | ||||||||
การปกครอง | ลัทธิบุคคลนิยม รัฐพรรคการเมืองเดียว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญภายใต้เผด็จการทหารเบ็ดเสร็จ | ||||||||
ห้วหน้าฝ่ายบริหาร | |||||||||
• 1932–1934 | สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ (ผู่อี๋) | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• 1934–1945 | สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ (ผู่อี๋) | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• 1932–1935 | เจิ้ง เซี่ยวซือ | ||||||||
• 1935–1945 | จาง จิงหุย | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• สถาปนา | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 | ||||||||
• โซเวียตบุกครองแมนจู | สิงหาคม 1945 | ||||||||
สกุลเงิน | หยวนแมนจู | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | จีน |
ประเทศแมนจู | |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 滿洲國 | ||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 满洲国 | ||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ประเทศแมนจู | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||
คันจิ | 満州国 | ||||||||||||||||||||
คานะ | まんしゅうこく | ||||||||||||||||||||
คาตากานะ | マンシュウコク | ||||||||||||||||||||
|
ดินแดนแห่งนี้นับเป็นรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชนชาติแมนจูผู้สถาปนาราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีนในอดีต กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองดินแดนดังกล่าวจากสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1931 จากกรณีมุกเดน และในปีถัดมา (ค.ศ. 1932) ก็ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นปกครอง โดยมีอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม[1] รัฐบาลแมนจูถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1945 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ดินแดนซึ่งประเทศแมนจูได้ประกาศอ้างสิทธิอย่างเป็นทางการนั้น ในชั้นแรกถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต หลังจากนั้นจึงได้มีการส่งมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีนต่อไป
กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในแมนจูกัวคือ ชาวฮั่น ไม่ใช่ชาวแมนจูซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศและจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในประเทศแมนจู นอกจากนี้ยังมีชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่น ชาวมองโกล ชาวรัสเซีย และกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ภูมิภาคมองโกลในทางตะวันตกของแมนจูกัวอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่แตกต่างกันเล็กน้อยจากส่วนกลาง โดยจัดการปกครองตามธรรมเนียมชาวมองโกลแทน ส่วนทางด้านทิศใต้ของคาบสมุทรเหลียวตงถูกปกครองโดยญี่ปุ่น โดยจัดพื้นที่ให้เป็นเขตเช่าของกองทัพคันโต
ประวัติ
แก้ภูมิหลัง
แก้หลังจากที่ชาวแมนจูพิชิตประเทศจีนสำเร็จ ชาวแมนจูจึงโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์หมิงและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นแทนที่ แต่อย่างไรก็ตามจักรพรรดิแมนจูกลับไม่รวมแผ่นดินการปกครองเกิดของพวกตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนอย่างเต็มที่นัก ระเบียบการปกครองโดยแบ่งแยกชนชาติดังกล่าวได้ดำเนินต่อมาจนกระทั่งจักรวรรดิของราชวงศ์ชิงเริ่มตกต่ำและแตกแยกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
เมื่ออำนาจของราชสำนักปักกิ่งอ่อนแอลง หัวเมืองขึ้นรอบนอกส่วนมากจึงแยกตนเองเป็นอิสระ (เช่น คัชการ์) หรือตกอยู่ในความความคุมของชาติมหาอำนาจลัทธิจักรวรรดินิยม ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น จักรวรรดิรัสเซียนับเป็นชาติที่มีผลประโยชน์มากที่สุดที่ในดินแดนภาคเหนือของจักรวรรดิต้าชิง ในปี ค.ศ. 1858 รัสเซียได้รับสิทธิเข้าควบคุมดินแดนขนาดใหญ่ของจีนซึ่งเรียกว่าแมนจูเรียนอก (Outer Manchuria) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญาปักกิ่งฉบับเพิ่มเติม ซึ่งทำให้สงครามฝิ่นครั้งที่สองยุติลง แม้กระนั้นรัสเซียก็ยังไม่พอใจต่อสิ่งที่ตนได้รับ และเมื่อประกอบกับสถานการณ์ของราชวงศ์ชิงยังคงเสื่อมถอยอยู่ รัสเซียจึงพยายามต่อไปเพื่อการควบคุมดินแดนแมนจูเรียที่เหลืออยู่ทั้งหมด ดินแดนแมนจูเรียใน (Inner Manchuria) ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 จากการสร้างทางรถไฟสายจีนตะวันออกระหว่างเมืองฮาร์บินของแมนจูเรียและวลาดีวอสตอคของรัสเซีย
จุดกำเนิด
แก้ผลโดยตรงจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1904-1905 ได้ทำให้อิทธิพลของญี่ปุ่นได้เข้ามาสู่แมนจูเรียในแทนที่อิทธิพลของรัสเซีย โดยในปี ค.ศ. 1906 ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้จากเมืองท่าพอร์ตอาเธอร์ (ญี่ปุ่นเรียกเมืองนี้ว่า "เรียวจุน") ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง แมนจูเรียได้กลายเป็นสมรภูมิระหว่างรัสเซีย, ญี่ปุ่นและจีน ทั้งทางด้านการเมืองและการทหาร ญี่ปุ่นได้ขยายอิทธิพลสู่แมนจูเรียนอก อันเป็นผลสืบเนื่องมาสถานการณ์อันสับสนจากการปฏิวัติในประเทศรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1918 ความสำเร็จทางการทหารของสหภาพโซเวียตและความกดดันทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาได้บีบบังคับให้ญี่ปุ่นต้องถอยร่นจากพื้นที่ดังกล่าว และแมนจูเรียนอกก็ได้กลับมาอยู่ในความปกครองรัสเซียอีกครั้งในนามสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1925
ด้านประเทศจีนซึ่งอยู่ในยุคแห่งความแตกแยกจากการตั้งตัวเป็นใหญ่ของกลุ่มขุนศึกต่างๆ ขุนศึกจาง โซ่วหลิน (Zhang Zuolin) ได้สถาปนาอำนาจการปกครองของตนเองในเขตแมนจูเรียในขึ้นภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อกองทัพคันโตตระหนักว่าจาง โซ่วหลิน มีอิสระมากเกินไป จึงได้ทำการลอบสังหารเขาเสียเมื่อ ค.ศ. 1928
หลังจากการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นได้มุ่งหน้าสู่การแบ่งแยกภูมิภาคแมนจูเรียออกจากการควบคุมจีนและสร้างรัฐหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นขึ้น และเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชอบธรรมขึ้น อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ จักรพรรดิของจีนองค์สุดท้ายจึงได้รับเชิญจากญี่ปุ่นพร้อมกับอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ยพระอนุชาและบรรดาผู้ติดตาม เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐแมนจูเรียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หนึ่งในผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเขาคือ เจิ้ง เซี่ยวซือ นักปฏิรูปและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง[2]
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ได้มีการประกาศสถาปนา "ประเทศแมนจู" (จีน: 滿洲國; พินอิน: Mǎnzhōuguó) [3] ญี่ปุ่นได้ให้การรับรองประเทศแมนจูผ่านการลงนามในพิธีสารญี่ปุ่น-แมนจูกัว เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1932 เมืองฉางชุนซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ซิงกิง" (จีน: 新京; พินอิน: Xinjing; "เมืองหลวงใหม่") มีฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐใหม่แห่งนี้ ชาวฮั่นในแมนจูเรียได้รวมตัวกันเป็นกองทัพอาสาสมัครเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้รัฐใหม่ดังกล่าวจำเป็นต้องทำสงครามอันยืดเยื้ออีกหลายปีเพื่อสร้างความสงบภายในประเทศ
ในขั้นต่อมา ญี่ปุ่นได้ดำเนินการแต่งตั้งให้ผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐในปี ค.ศ. 1932 และอีกสองปีให้หลังจึงได้มีการสถาปนาให้เขาดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแมนจู โดยใช้ชื่อศักราชประจำรัชกาลตามแบบจีนว่า "คังเต๋อ" (หมายถึง "ความสงบและคุณธรรม") ประเทศแมนจูจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "จักรวรรดิแมนจู" (จีน: 滿洲帝國; พินอิน: Mǎnzhōu Dìguó; เวด-ไจลส์: Manchutikuo) หรือในชื่อเต็ม "จักรวรรดิแมนจูเรียอันยิ่งใหญ่" (จีน: 大滿洲帝國; พินอิน: Dà Mǎnzhōu Dìguó) เจิ้ง เซี่ยวซือได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของแมนจูจนถึง ค.ศ. 1935 โดยมีจาง จิงหุยขึ้นดำรงตำแหน่งแทน สำหรับจักรพรรดิผู่อี๋นั้น พระองค์มีฐานะดุจเดียวกับเจว็ด เพราะอำนาจการปกครองประเทศที่แท้จริงนั้นล้วนอยู่ในกำมือของทหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น พระราชวังได้ถูกสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับควบคุมจักรพรรดิ รัฐมนตรีแมนจูทั้งหมดรับบทเป็นเพียงร่างทรงของรองรัฐมนตรีที่เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจในทุกเรื่องอย่างแท้จริง
ในลักษณะดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นจึงสามารถตัดประเทศแมนจูออกจากจีนอย่างเป็นทางการในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 และด้วยการลงทุนของญี่ปุ่นและทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ดังกล่าวจึงกลายเป็นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญยิ่ง
ในปี ค.ศ. 1935 แมนจูได้ซื้อทางรถไฟสายจีนตะวันออกจากสหภาพโซเวียต
ทางทหาร
แก้กองทัพบกแมนจู
แก้- กองทัพบกประเทศแมนจู เป็นกองทัพหลักของจักรวรรดิแมนจู
- ตำรวจแมนจู
- Hoankyoku (หน่วยข่าวกรองแห่งแมนจู)
ทหารรักษาพระองค์แมนจู
แก้- ทหารรักษาพระองค์แมนจู เป็นกองกำลังพิเศษของกองทัพบกแมนจูโดยก่อตั้งในปี ค.ศ.1933 โดยมีหน้าที่ป้องกันองค์จักรพรรดิและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล โดยมีฐานบัญชาการที่ชางชุน ใกล้กับพระราชวังในใจกลางเมือง
กองทัพเรือแห่งแมนจู
แก้- กองทัพเรือประเทศแมนจู (Manshu Teikoku Kaigun) แต่เนื่องจากแมนจูเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลขนาดใหญ่ หัวหน้าของกองทัพคันโตเห็นว่าการผลิตของแมนจูนั้นต่ำมาก ดังนั้นจึงให้สร้างแค่เป็นกองทัพเรือเล็กเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองใหม่
กองทัพอากาศแมนจู
แก้- กองทัพอากาศประเทศแมนจู (Dai Manshū Teikoku Kūgun) ถูกก่อตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1937 โดยตอนต้นมีเพียง 30 คน จากกองทัพบกจักรวรรดิแมนจูที่ถูกฝึกมาจากโรงเรียนการบินในฮาร์บิน โดยมาเป็นผู้ชำนาญการของบริษัทการบินขนส่งแมนจู (ช่วงหลังเปลี่ยนเป็นสายการบินแห่งชาติแมนจู) โดยเป็นสายการบินทางทหารก่อตั้งในปีค.ศ.1931 โดยได้รับการรับรองให้เป็นทั้งการขนส่งและการต่อต้านตามคำสั่งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
อาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในแมนจูกัว
แก้จากการศึกษาวิจัยร่วมกันของนักประวัติศาสตร์ทั้งจากประเทศตะวันตก ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นเอง อาทิเช่น Zhifen Ju, Mitsuyochi Himeta, Toru Kubo และ Mark Peattie ได้มีมติสรุปเห็นพ้องตรงกันว่า พลเรือนชาวจีนมากกว่า 10 ล้านคนได้ถูกบังคับเกณฑ์แรงงานโดยกองทัพคันโตสำหรับการเป็นแรงงานทาสในประเทศแมนจู ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ญี่ปุ่นแต่งตั้งขึ้นเพื่อนำชาวจีนมาเป็นทาส[4]
แรงงานทาสชาวจีนจะถูกใช้แรงงานอย่างหนักและมักเจ็บป่วย ด้วยภาวะขาดอาหารและอาการเหนื่อยล้า แรงงานที่ไม่ดีบางคนถูกผลักเข้าลงไปในหลุมศพหรือถูกฝังทั้งเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์[5]
ในประเทศแมนจู จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ใช้เป็นฐานผลิตอาวุธชีวภาพ ซึ่งถูกทดลองในมนุษย์โดย หน่วย 731 หน่วยงานที่ขึ้นชื่อในด้านความเลวร้ายในด้านศีลธรรมเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาอาวุธชีวภาพใช้มนุษย์เป็นหนูทดลองอย่างทารุณ ฐานของหน่วยตั้งอยู่ในเขตฟิงฟาง เมืองฮาร์บิน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนต่างต้องตกอยู่ภายใต้การผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ยาชาระงับความเจ็บปวด
บรรณานุกรม
แก้- Duara, Presenjit. Sovereignty and Authenticity: Manchukuo and the East Asian Modern. Lanham: Roman & Littlefield Publishers, 2004.
- Toshihiko Kishi. "Manchuria's Visual Media Empire (Manshukoku no Visual Media) : Posters, Pictorial Post Cards, Postal Stamps", Tokyo: Yoshikawa Kobunkan, 10 June 2010.
- Reginald Fleming Johnston. "Twilight in the Forbidden City". Soul Care Publishing, 18 March 2008.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Encyclopædia Britannica article on Manchukuo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-02.
- ↑ Reginald Fleming Johnston, p. 438.
- ↑ "Between World Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Ju, Zhifen (2002), Japan's atrocities of conscripting and abusing north China draftees after the outbreak of the Pacific war
- ↑ Municipal Government Information Office (2005), Repatriation of one million Japanese via Huludao, Beijing: China Intercontinental Press, p. 25, ISBN 7-5085-0735-5
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติศาสตร์กองทัพแมนจู เก็บถาวร 2016-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์เงินตราแมนจู เก็บถาวร 2007-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การจัดการศึกษาในมองโกเลียและแมนจูเรีย
- Manchukuo Flags
- "On Macro-economic Statistics for Manchukuo" by Yuzo Yamamoto
- "Toshiro Matsumoto s research over Manchukuo" เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Vaticano-Manchukuo no sirve de mea culpa" by Gianni Valente เก็บถาวร 2013-01-11 ที่ archive.today
- "เพลงชาติแมนจู"
- JAPAN-MANCHOUKUO PROTOCOL
- "References over Manchukuo" เก็บถาวร 2008-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Zionism and the Japanese East Asia Co-Prosperity Sphere เก็บถาวร 2008-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Japanese references to Mantetsu Railway Company เก็บถาวร 2008-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพถ่ายในกรณีมุกเดน