วงดนตรีสุนทราภรณ์

(เปลี่ยนทางจาก นพดฬ ชาวไร่เงิน)

วงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นวงดนตรีเพลงไทยสากลแห่งแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 โดยมีศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น เอื้อ สุนทรสนาน, มัณฑนา โมรากุล, รุจี อุทัยกร, สุปาณี พุกสมบุญ, เลิศ ประสมทรัพย์, ชวลี ช่วงวิทย์, วินัย จุลละบุษปะ, สุภาพ รัศมิทัต, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, จันทนา โอบายะวาทย์, จุรี โอศิริ, วรนุช อารีย์, ศรีสุดา รัชตะวรรณ, พูลศรี เจริญพงษ์, สมศักดิ์ เทพานนท์, รวงทอง ทองลั่นธม, หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, อ้อย อัจฉรา, มาริษา อมาตยกุล, บุษยา รังสี, โสมอุษา, ช่อชบา ชลายลนาวิน, พันธ์พร วัฒนเรืองไร, ช่อฉัตร รัตนกมล, ธรรมรัตน์ นวมะรัตน์, สุวณีย์ เนื่องนิยม, ยรรยงค์ เสลานนท์, รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส, ศรวณี โพธิเทศ, นพดฬ ชาวไร่เงิน, จินตนา สุวรรณศิลป์, เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร เป็นต้น

วงดนตรีสุนทราภรณ์
ตราสัญลักษณ์ประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์
ตราสัญลักษณ์ประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย
แนวเพลงลูกกรุง, แจ๊ส, คันทรี, มาร์ชชิ่ง ,บัลลาด ,โฟล์ค
ช่วงปีพ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน

ประวัติ

แก้

ในช่วงต้นทศวรรษ 2470 วงดนตรีได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) บุตรชายของ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมาชิกภายในวงประกอบด้วย เอื้อ สุนทรสนาน และเพื่อน ๆ ของเขา[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 วงดนตรีได้แสดงให้กับบริษัท ไทยฟิล์ม จำกัด ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ เสด็จพระองค์ชายใหญ่ เมื่อบริษัทปิดตัวลง วงดนตรีตกเป็นของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมวงในขณะนั้น และพระเจนดุริยางค์เป็นข้าราชการกรมศิลปากร วิลาศ โอสถานนท์ สมาชิกคณะราษฎร อธิบดีกรมโฆษณาการ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรมประชาสัมพันธ์) ในขณะนั้น ต้องการให้วงดนตรีมาแสดงในช่วงรายงานข่าวทางวิทยุ กรมโฆษณาการขอให้กรมศิลปากรโอนสมาชิกวงให้มารับราชการที่กรมโฆษณาการ เอื้อเป็นหัวหน้าวง ขณะที่เวส สุนทรจามร เพื่อนสนิทของเขาเป็นผู้ช่วยหัวหน้าวง[2]

วงดนตรีใช้ชื่อ "วงดนตรีกรมโฆษณาการ" ในเวลาราชการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานอกราชการ วงดนตรีใช้ชื่อ "วงดนตรีสุนทราภรณ์" โดยคำว่า “สุนทราภรณ์” มาจากการผสมผสานระหว่างนามสกุลของเอื้อและชื่อคนรักคืออาภรณ์ (ต่อมาเป็นคู่ชีวิตของเขา)[2]

รายชื่อนักร้องสุนทราภรณ์

แก้

ยุคแรก

แก้
 
วงดนตรีสุนทราภรณ์พร้อมนักร้องยุคแรกและยุคกลาง

ยุคกลาง

แก้

ยุคดาวรุ่งพรุ่งนี้

แก้

ยุคร่วมสมัย

แก้
 
วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคปัจจุบัน

นักร้องคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์

แก้

นักร้องคลื่นลูกใหม่ฝ่ายชาย (ปัจจุบัน)

นักร้องคลื่นลูกใหม่ฝ่ายหญิง (ปัจจุบัน)

นักร้องคลื่นลูกใหม่ที่เคยร่วมงานกับวงดนตรีสุนทราภรณ์

นักประพันธ์เพลง [3]

แก้

ทำนอง

แก้

คำร้อง

แก้

ทั้งคำร้องและทำนอง

แก้

โดยทั้งนี้แล้ว มีผู้ประพันธ์คำร้องบางท่านที่ได้แต่งเพลงส่วนน้อยให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น "ธม ธาตรี" (เชิด ทรงศรี) ในบทเพลง "เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น", ธรรมนูญ แสงรังษี ในบทเพลง "รำวงสาวบ้านแต้" จินต์ วัฒนปฤดา ในบทเพลง "กังหันต้องลม", และ ชูทิศ สิงหเสนีย์ ในบทเพลง "เดือนค้างฟ้า"

และนักร้องบางท่านได้ประพันธ์เพลงไว้เช่นกัน อาทิ รวงทอง ทองลั่นธม ในบทเพลง “แสนเสียดาย” , มัณฑนา โมรากุล ในบทเพลง “วาสนากระต่าย” “ใจหนอใจ” “รักมีกรรม” , “ชวลี ช่วงวิทย์ ร่วมประพันธ์กับ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ในบทเพลง “รำวงตอบรัก” และ ถวัลย์ พุกาธร ในบทเพลง “ลูกทุ่งลาติน”

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศรีพิพัฒน์, อาภรณ์ (2512). สุนทราภรณ์ ระลึก ๓๐ ปีวงดนตรีสุนทราภรณ์ (ภาษาThai). 202 ซอยสุจริต 2 พระราม 5 พระนคร: อติพร สุนทรสนาน.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 ประวัติวงดนตรีกรมโฆษณาการและวงสุนทราภรณ์ เพื่อการอนุรักษ์ (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2024-01-06 (In Thai)
  3. รวมเพลงอมตะ. จากนักร้องของวงดนตรี กรมโฆษณาการ ถึง กรมประชาสัมพันธ์ พร้อมประวัติ ข้อเขียน ภาพ เนื้อเพลง และ โน้ตเพลงกว่า 700 เพลง. ชาตรี ศิลปสนอง. 2532.