กรมประชาสัมพันธ์

หน่วยงานราชการไทย

กรมประชาสัมพันธ์ (อังกฤษ: The Government Public Relations Department) เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน

กรมประชาสัมพันธ์
The Government Public Relations Department
เครื่องหมายราชการ
ตราพระอินทร์เป่าสังข์

ที่ทำการกรมประชาสัมพันธ์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476; 91 ปีก่อน (2476-05-03)
ผู้ก่อตั้งครม.3
กรมก่อนหน้า
  • กองโฆษณาการ (พ.ศ. 2476)
  • สำนักงานโฆษณาการ (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2483)
  • กรมโฆษณาการ (พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2495)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 9 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
บุคลากร3,274 คน (พ.ศ. 2557)[1]
งบประมาณต่อปี2,419,730,200 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • สุดฤทัย เลิศเกษม[3], อธิบดี
  • คเชนทร์ กรรณิกา[4], รองอธิบดี
  • อรัญญา เกตุแก้ว[5], รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์

ประวัติ

แก้

กรมประชาสัมพันธ์ มีวิวัฒนาการมาจาก “กองโฆษณาการ” หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน[6]พัฒนาเป็น “สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พัฒนาขึ้นเป็น “กรมโฆษณาการ” และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 พัฒนามาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นปัจจุบัน

ที่ตั้งสำนักงาน

แก้
 
อาคารที่ทำการแรกของกรมประชาสัมพันธ์ เดิมเคยเป็นอาคารของห้างแบดแมน

สำนักงานกรมประชาสัมพันธ์ เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารหัวมุมถนนราชดำเนิน ติดกับกรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสถานที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ทางการเมืองหลายครั้ง ในการรัฐประหารทุกครั้ง จะเป็นสถานที่แรก ๆ ที่ถูกกำลังทหารเข้ายึด รวมทั้งใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ถูกประชาชนเข้ายึด [7] หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก จึงย้ายไปตั้ง ณ อาคารเลขที่ 9 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 (อารีย์สัมพันธ์) ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์

แก้

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ" ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ[8] โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ "ปาญจนันท์" ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือเป็นมงคลสามประการคือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นการเผยแพร่ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วงเป็นสีหลักของตรา ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์ และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน[9]

ส่วนราชการในสังกัด

แก้
 
อาคารที่ทําการปัจจุบันของกรมประชาสัมพันธ์

ตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2540[10] มีส่วนราชการในสังกัด ดังต่อไปนี้

จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน

แก้
จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ รายปักษ์
รูปแบบข่าว รัฐบาล
เจ้าของกรมประชาสัมพันธ์
ผู้เผยแพร่บริษัท ยูโทเปีย จำกัด
หัวหน้าบรรณาธิการพลเอก วิลาศ อรุณศรี
บรรณาธิการนวพรรณ รุ่งสาโรจน์
บรรณาธิการบริหารคณิศร์ สุวรรณเดช
คอลัมนิสต์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อตั้งเมื่อ28 เมษายน พ.ศ. 2558
นโยบายทางการเมืองครม.61
ภาษาภาษาไทย
ฉบับสุดท้าย15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (1 ปี 78 วัน)

จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เป็น หนังสือพิมพ์แทบลอยด์ รายปักษ์ภาษาไทยที่ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ ตามดำริของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ประวัติ

แก้

โดยมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 ให้ กรมประชาสัมพันธ์ ออกหนังสือพิมพ์แทบลอยด์แบบรายปักษ์ 4 สี 8 หน้าชื่อ จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เริ่มออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และรายงานผลงานของรัฐบาล โดยหนึ่งฉบับมี 8 หน้า จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 60,000 เล่ม โดยแบ่งเป็นการแจกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30,000 เล่ม และพื้นที่ต่างจังหวัด 30,000 เล่ม[12]

โดยที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีนายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ เป็นบรรณาธิการบริหารในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนให้นายคณิศร์ สุวรรณเดชเป็นบรรณาธิการบริหารแทนและพลเอก วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นบรรณาธิการอำนวยการ

ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นคอลัมนิสต์รับเชิญในคอลัมน์ จากใจนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้สื่อสารความในใจของท่านไปสู่ประชาชนนอกจากนี้ยังมีคอลัมน์จากรัฐมนตรีบางท่านที่ใช้รายงานผลงานที่ผ่านมา

แต่ด้วยผลไม่เป็นตามเป้าที่วางไว้จึงได้ยุติหนังสือพิมพ์ฉบับนี้โดยออกฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อ้างอิง

แก้
  1. รายงานประจำปี 2557 ของกรมประชาสัมพันธ์
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ครม.ไฟเขียว ตั้ง 'สุดฤทัย เลิศเกษม' นั่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  4. [1]
  5. [2]
  6. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช 2476" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
  7. 9แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์เดือนตุลาคม ในบล็อก รีเบล เอกซ์ ที่บล็อกแก๊งค์
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
  9. ความเป็นมาของตราสัญลักษณ์กรมประชาสัมพันธ์ เก็บถาวร 2008-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
  10. พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
  11. พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จากเว็บไซต์องค์กรของไทยพีบีเอส
  12. "สลน.แจก "จม.ข่าว รบ.เพื่อประชาชน" ให้สื่อฯ ใช้เผยแพร่ผลงาน รบ". ไทยรัฐ. 28 เมษายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้