เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

ขุนนางสยาม

มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช นามเดิม ปั้น ต้นสกุลสุขุม[4] (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครอีกด้วย

เจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม)
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2478 [1][2] - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2449 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450
ก่อนหน้าพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
ถัดไปพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์
เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465[3]
ก่อนหน้าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2469
ก่อนหน้าเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405
เมืองสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (76 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
คู่สมรสท่านผู้หญิงตลับ ยมราช
บุตร16 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พันเอก
นาวาอากาศเอก
ภาพล้อเจ้าพระยายมราช ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ

แก้

มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ที่บ้านยะมะรัชโช จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวเป็นคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลบ้านน้ำตก ริมแม่น้ำฟากตะวันออก ด้านใต้จากตัวเมืองสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของนายกลั่น และนางผึ้ง

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา (รวมตัวท่านด้วย) จำนวน 6 คน ดังนี้

  • หลวงเทพสุภา (ฉาย สุขุม)
  • นิล สุวรรณศร สมรสกับ หลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร)
  • พระยาสมบัติภิรมย์ (หมี สุขุม)
  • คล้ำ ธูสรานนท์
  • หยา สังข์พิชัย สมรสกับ หลวงจ่าเมือง (สิน สังข์พิชัย)
  • มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

บรรดาศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2429 เป็นขุนวิจิตรวรสาสน์ ศักดินา 600 [5]
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 เป็นหลวงวิจิตรวรสาสน์ ศักดินา 600 [6]
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นพระวิจิตรวรสาสน์[7]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2439 เป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ตำแหน่งข้าหลวงสำหรับรับราชการในหัวเมือง กระทรวงมหาดไทย ศักดินา 1000[8]
  • 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 เป็นเจ้าพระยามีสมญาตามจารึกในหิรัณยบัฏว่า เจ้าพระยายมราช ชาติเสนางคนรินทร์ มหินทราธิบดีศรีวิไชย ราชมไหสวรรยบริรักษ์ ภูมิพิทักษ์โลกาธิกรณ์ สิงหพาหเทพยมุรธาธรราชธานี มหาสมุหประธาน สุขุมนัยบริหารอเนกนรสมาคม สรรโพดมสุทธิศุขวัฒนาการ มหานคราภิบาล อรรคมาตยาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10000[9]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2467 (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2468) เป็นเจ้าพระยารับพระราชทานสุพรรณบัฏ มีสมยาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยายมราช ชาติเสนางคนรินทร์ มหินทราธิราชศักดารักษ์ ภูมิพิทักษ์โลกาธิกรณ ราชสีหมุรธาธร สมุหมนตรีประธาน สุขุมนัยบริหารอเนกนรนาถ ฉัฏฐมราชคุรุฐานวโรปการี นิตยภักดีศรีสุโขปสดัมภก มหาอำมาตย์นายกเมตตาชวาธยาศัย พุทธาทิตรัยรัตนสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10000[10][11]

ยศและตำแหน่ง

แก้
  • พ.ศ. 2430 ผู้ช่วยราชทูตสยามประจำ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ และเบลเยียม[12]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2437 ปลัดกรมพลำภัง[13]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2439 ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช[14]
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[15]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2449 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[16]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 เสนาบดีกระทรวงนครบาลและอธิบดีกรมศุขาภิบาล[17]
  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 - มรรคนายก วัดหงส์รัตนาราม[18]
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2453 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างข้าราชการกรมพระอาลักษณ์ ชั้นที่ 2 โท (เทียบเท่าชั้น รองหัวหมื่น)[19]
  • 30 มิถุนายน พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่[20]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 มหาอำมาตย์เอก[21]
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายกองตรี[22]
  • 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 นายกองโท[23]
  • 4 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองเอก[24]
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2457 มหาเสวกเอก[25]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า[26]
  • 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 มหาอำมาตย์นายก[27]
  • 20 พฤศจิกายน 2463 – แต่งเครื่องยศกรมเสือป่าพรานหลวง[28]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[29]
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เข้ารับพระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[30]
  • 3 มกราคม พ.ศ. 2478 พันเอก นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารอากาศ[31]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 นาวาอากาศเอก นายทหารพิเศษ ประจำกองทัพอากาศ[32]

ครอบครัว

แก้

เจ้าพระยายมราช สมรสกับท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์) ธิดาพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร์) กับมีภรรยาอื่นชื่อคุณโต (ณ ป้อมเพชร์), คุณน้อม (ธิดานายกวด), คุณปุก ท่านมีบุตร-ธิดา ดังรายนามต่อไปนี้

1.พระยาสุขุมนัยวินิต (สวาท สุขุม) สมรสกับ พัน (ณ พัทลุง), คุณหญิงถนิม (นาวานุเคราะห์)และ คุณหญิงพวง

1.1. นายเผ่า (แดง) สุขุม
1.2. นางพยอม กัลยาณมิตร
1.3. นางชาติตระการโกศล (สุคนธ์ ลิมปิชาติ)
1.4. นายณรงค์ (น้อย) สุขุม
1.5. นางละเอียด นาวานุเคราะห์

2.คุณไสว สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)

3.คุณแปลก สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)

4.หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

4.1. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร์
4.2. หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
4.3. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) สุพิชชา โสณกุล

5.หลวงพิสิฐสุขุมการ (ประพาศ สุขุม) สมรสกับ คุณมาลี (กิติโกเศศ) และ คุณประยงค์ สุขุม

5.1. เรืออากาศเอก นายแพทย์กิตติประวัติ สุขุม
5.2. พลอากาศโทพิสิฐ สุขุม
5.3. นางสุภางค์ โชติกเสถียร
5.4. นางรจิต จันทรางศุ
5.5. นางศุภวาร สุขุม
5.6. นายตระกล สุขุม
5.7. นางเฉิดโฉม สุขุม

6.พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) สมรสกับ คุณผะอบ (จันเจือมาศ)

6.1. นายประสงค์ สุขุม
6.2. นายแพทย์ประเสริฐ สุขุม
6.3. นางสาวประสานศรี สุขุม

7.คุณประยงค์ สุขุม

8.คุณประสาท สุขุม สมรสกับเจ้าพรรณคำ ณ เชียงใหม่ (พระปนัดดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ )

9.หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ (ประดิษฐ์ สุขุม) สมรสกับ คุณรัตนา (ล้วน ญาณวารี), คุณเพิ่มศิริ (อมาตยกุล) และ ฯลฯ

9.1. นางสุมน กรรณสูต
9.2. นางประจง สารกิจปรีชา
9.3. นายประเดิม สุขุม
9.4. นางประพาฬ รัตนกนก
9.5. นางสาวสำเนา สุขุม
9.6. นางสินี ช่วงสุวนิช
9.7. นางประดิษฐา พรรธนะแพทย์
9.8. นายแพทย์ประดับ สุขุม
9.9. นางปราณี การ์เนียร์
9.10. นางสาวปาริชาติ สุขุม
9.11. นางนฤพร เกรซ
9.12. นางกิตติมา สังข์เกษม

10.คุณประวัติ สุขุม สมรสกับ คุณชำนัญ (โอสถานนท์)

10.1. นายทิพย์รักษ์ สุขุม

11.คุณเล็ก สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)

12.คุณประนอม (นุ้ย) ณ นคร สมรสกับ รองเสวกตรีหยิบ ณ นคร

12.1. นายพัฒนพงษ์ ณ นคร
12.2. นายยุทธสาร ณ นคร
12.3. นางกรรณิกา อินทรสูต
12.4. นายน้อยอโศก ณ นคร
12.5. นายโยธิน ณ นคร

13.คุณหญิงประจวบ สุขุม (2453-2540:87 ปี) สมรสกับ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

13.1. นางรุจิรา อมาตยกุล
13.2. นายมานน พึ่งบุญ ณ อยุธยา

14.พลตำรวจตรีนิตย์ สุขุม สมรสกับ หม่อมหลวงกมลา สุทัศน์

14.1. นางวนิดา ดุละลัมพะ
14.2. นางสาวกาญจนา สุขุม

15.คุณปอง นิติพน สมรสครั้งแรกกับ หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร และครั้งที่สองกับ นายสวัสดิ์ นิติพน

15.1. หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร
15.2. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) จิยากร เสสะเวช
15.3. นายสุพน นิติพน
15.4. นายสุพจน์ นิติพน

16.คุณประณีต (แจ๋ว) ณ นคร สมรสกับ นายลาภ ณ นคร

16.1. นายชัยเลิศ ณ นคร
16.2. นายจร ณ นคร
16.3. นางเจนจุไร บราน์

เกียรติยศ

แก้

เครื่องยศ

แก้

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้

  • พานทอง[33]
  • คนโททอง[33]
  • มาลาเส้าสะเทินเครื่องทองคำลงยา[34]
  • เสื้อทรงประพาสขลิบทองคำ สำรับ[34]
  • กระบี่ฝักทองคำ[34]
  • หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาตราพระสิงห์[34]
  • ถาดชาทองคำ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญ และเข็มในประเทศไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในต่างประเทศ ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332
  2. นับตามปีปฏิทินสากล
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ รวมการปกคครองท้องที่ และแบ่งปันหน้าที่ราชการระหว่าง กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงยุติธรรม, เล่ม 39, ตอน ก, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2465, หน้า 80
  4. "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 1" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 648. 26 มิถุนายน 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สำเนาสัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
  6. พระราชทานสัญญาบัตร
  7. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า 269-270)
  8. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (29): 322. 11 ตุลาคม ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมและเจ้าพระยา (หน้า 1006)
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชทานสุพรรณบัฎ เจ้าพระยายมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3629. 11 มกราคม 2467. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 234-235
  12. ข่าวเปลี่ยนราชทูตสยาม
  13. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้าราชการกลับเข้ารับราชการ
  14. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี[ลิงก์เสีย]
  18. พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
  19. แจ้งความกรมพระอาลักษณ์
  20. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  21. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงนครบาล
  22. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  23. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  24. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  25. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  26. พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า
  27. พระราชทานยศ
  28. "ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2848. 28 พฤศจิกายน 1920.
  29. ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  30. พระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  31. ประกาศ พระราชทานยศนายทหารพิเศษ
  32. ประกาศ พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า 2559)
  33. 33.0 33.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องยศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๗๘๔, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑๑๖
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องยศ, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๐๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๗, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๐, ๑๑ มกราคม ๒๔๖๗
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๙๑, ๑๗ กันยายน ๑๓๐
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๓, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
  40. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
  41. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  42. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๘๐, ๒๑ มิถุนายน ๒๔๕๗
  45. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๕๐ หน้า ๑๒๖๙, ๑๐ มีนาคม ๑๒๕
  47. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๐, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖
  48. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  49. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๔, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  50. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
  51. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๘, ๖ มีนาคม ๑๒๘
  52. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมพระอาลักษณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๕, ๒๕ ธันวาคม ๑๒๙
  53. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๖๕, ๒ กรกฎาคม ๑๓๐
  54. 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 54.5 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๒, ๑๐ เมษายน ๑๑๑
  55. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
  56. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๓๒, ๒๐ มีนาคม ๒๔๖๓
  57. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
บรรณานุกรม


ก่อนหน้า เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถัดไป
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา    
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481)
  เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)