ตีแยรี อ็องรี

ผู้จัดการฟุตบอลชาวฝรั่งเศส

ตีแยรี ดานีแยล อ็องรี (ฝรั่งเศส: Thierry Daniel Henry ; เกิด 17 สิงหาคม ค.ศ. 1977) เป็นผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศสรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี และเป็นนักวิเคราะห์ฟุตบอล เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าที่ดีที่สุดตลอดกาล รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันพรีเมียร์ลีก[3][4][5] และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรอาร์เซนอล[6] เขาได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2021[7] และได้รับการยกย่องให้มีชื่ออยู่ในฟีฟ่า 100 ใน ค.ศ. 2004[8]

ตีแยรี อ็องรี
อ็องรีในปี 2015
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ตีแยรี ดานีแยล อ็องรี[1]
วันเกิด (1977-08-17) 17 สิงหาคม ค.ศ. 1977 (47 ปี)[2]
สถานที่เกิด เลซูว์ลิส ฝรั่งเศส
ส่วนสูง 1.88 m (6 ft 2 in)[1]
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
สโมสรเยาวชน
1983–1989 เซโอเลซูว์ลิส
1989–1990 อูว์แอ็สปาแลโซ
1990–1992 วีรี-ชาตียง
1992 แกร์ฟงแตน
1992–1994 มอนาโก
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1994–1999 มอนาโก 105 (20)
1999 ยูเวนตุส 16 (3)
1999–2007 อาร์เซนอล 254 (174)
2007–2010 บาร์เซโลนา 80 (35)
2010–2014 นิวยอร์กเร็ดบุลส์ 122 (51)
2012อาร์เซนอล (ยืมตัว) 4 (1)
รวม 581 (284)
ทีมชาติ
1997 ฝรั่งเศส อายุไม่เกิน 20 ปี 5 (3)
1997–2010 ฝรั่งเศส 123 (51)
จัดการทีม
2018–2019 มอนาโก
2019–2021 มอนทรีออลอิมแพ็กต์
2021– เบลเยียม (ผู้ช่วยผู้จัดการทีม)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

อ็องรีเกิดที่เมืองเลซูว์ลิส จังหวัดเอซอน (ชานเมืองของปารีส) เขาเล่นให้กับทีมท้องถิ่น เป็นเด็กหนุ่มที่มีความมั่นใจในฐานะดาวยิงประตู จนอาแอ็ส มอนาโกได้เห็นแววใน ค.ศ. 1990 และได้เซ็นสัญญาโดยทันที เขาลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลอาชีพใน ค.ศ. 1994 มีฟอร์มการเล่นที่ดีจนทำให้ติดทีมชาติใน ค.ศ. 1998 หลังจากที่เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุสในเซเรียอาในฤดูกาลป้องกันตำแหน่งแชมป์ แต่ก็ผิดหวังไปในการเล่นตำแหน่งปีก ก่อนที่เขาจะเซ็นสัญญากับอาร์เซนอลด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ ใน ค.ศ. 1999 ในการอยู่กับอาร์เซนอลทำให้อ็องรีมีชื่อเป็นนักฟุตบอลระดับโลก เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของอาร์เซนอลในแทบทุกฤดูกาลที่เขาอยู่ ภายใต้การเป็นผู้จัดการทีมอันยาวนานของอาร์แซน แวงแกร์ อ็องรีเป็นกองหน้าตัวเป้าที่ทำประตูมากมาย และเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของอาร์เซนอลจำนวน 228 ประตูในทุกรายการ เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง (รวมทั้งแชมป์ไร้พ่ายหนึ่งครั้ง) และเอฟเอคัพ 2 ครั้ง เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2 ครั้ง และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ 2 ครั้ง และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ครั้ง และยังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีกถึง 4 ครั้ง อ็องรีเป็นกัปตันทีมอาร์เซนอลใน 2 ฤดูกาลสุดท้ายของเขา นำทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2005–06

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หลังจากใช้เวลา 8 ปีกับอาร์เซนอลเขาย้ายมาอยู่กับบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร เกียรติประวัติแรกกับสโมสรเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2009 เมื่อสโมสรได้ 3 แชมป์ โดยชนะเลิศลาลิกา โกปาเดลเรย์ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และทีมยังได้รางวัลเป็น 6 ถ้วยรางวัลโดยรวมจากการชนะเลิศอีก 3 ถ้วยในปีนั้นคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ โดยรวมแล้วอ็องรีได้รับการเสนอชื่อทีมแห่งปีของยูฟ่า 5 ครั้ง ต่อมาใน ค.ศ. 2010 เขาย้ายมาอยู่กับนิวยอร์กเรดบูลส์ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ นำทีมชนะเลิศในอีสเทิร์นคอนฟีเรนซ์ใน ค.ศ. 2010 ก่อนที่อาร์เซนอลได้ยืมตัวเขาใน ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 2 เดือน และประกาศเลิกเล่นอาชีพใน ค.ศ. 2014

ความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส เขานำทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000, คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ซึ่งเขาได้รับทั้งรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมและผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน เขาทำลายสถิติของมีแชล ปลาตีนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 กับสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส ซึ่งเขาครองสถิติดังกล่าวจนถึง ค.ศ. 2022 อ็องรียังได้รับรางวัลนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศสยอดเยี่ยมแห่งปีถึง 5 ครั้ง อ็องรีเกษียณตัวเองจากทีมชาติหลังฟุตบอลโลก 2010 โดยลงสนามรวม 123 นัดและทำไป 51 ประตู

ภายหลังเกษยีณตนเองจากการเป็นนักฟุตบอล อ็องรีผันตัวเองไปทำหน้าที่ผู้ฝึกสอน เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนอาร์เซนอลใน ค.ศ. 2015 และทำหน้าที่นักวิเคราะห์การแข่งขันพรีเมียร์ลีกให้แก่ช่องสกายสปอร์ตควบคู่ไปด้วย ต่อมาใน ค.ศ. 2016 เขารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝึกสอนทีมชาติเบลเยียมก่อนจะไปรับหน้าที่คุมทีมมอนาโกในลีกเอิงในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 และย้ายไปคุมทีมมอนทรีออลอิมแพ็กต์ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ซึ่งเขาพาทีมเข้าถึงรอบเพล์ยออฟเพื่อตัดสินแชมป์ และกลับมาเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมชาติเบลเยียมอีกครั้งจนถึง ค.ศ. 2022 ส่วนเรื่องนอกสนามเขาเป็นโฆษกเรื่องการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติในกีฬาฟุตบอล อันเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถูกเหยียดสีผิวมาก่อน

ชีวิตช่วงแรก

อ็องรีมีเชื้อสายชาวเลสเซอร์แอนทิลลีส[9] โดยบิดา อ็องตวน มาจากกัวเดอลุป เกาะลาเดซีราด ส่วนมารดา มารีเซ มาจากมาร์ตีนิก เขาเกิดและโตในเมืองเลซูว์ลิส ชานเมืองของปารีส ถึงแม้ว่าจะเป็นย่านที่มีสังคมที่ไม่ดีนัก แต่ก็มีอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลที่ดี[10][11] ในวัย 7 ปี อ็องรีได้แสดงศักยภาพที่ดีเยี่ยม สะดุดตาโกลด เชแซล ได้ชวนเขาร่วมกับสโมสรท้องถิ่น เซโอเลซูว์ลิส (CO Les Ulis) พ่อของเขาได้บังคับให้เขาร่วมฝึก เหตุด้วยในวัยเด็กของเขาจะยังไม่สนใจกีฬาฟุตบอลนี้นัก[2] เขาร่วมกับสโมสรอูว์แอ็สปาแลโซ (US Palaiseau) ใน ค.ศ. 1989 แต่หลังจากนั้น 1 ปี พ่อของเขาก็มีความขัดแย้งกับสโมสร อ็องรีจึงย้ายมาอยู่ เออแอ็สวีรี-ชาตียง (ES Viry-Châtillon) อยู่กับสโมสรนี้นาน 2 ปี[9] โดยมีผู้ฝึกสอนของอูว์แอ็สปาแลโซที่ชื่อ ฌ็อง-มารี ปันซา ได้ตามเขามาอยู่กับสโมสรนี้ด้วย[10]

ฟุตบอลสโมสร

โมนาโก (1992–1999) และยูเวนตุส (1999)

ใน ค.ศ. 1990 โมนาโกได้ส่งแมวมอง อาร์โนลด์ แคทาลาโน มาดูอ็องรี ซึ่งขณะนั้นอายุ 13 ปี มาดูการเล่นของเขา[12] อ็องรียิงได้ทั้งหมด 6 ประตู ทำให้ทีมชนะ 6–0 แคทาลาโนชวนเขามาอยู่โมนาโก โดยยังไม่ได้ทดลองการเล่นเลย แคทาลาโนร้องขอทางสถาบันแกร์ฟงแตนในการเรียนของอ็องรีให้ครบหลักสูตรการเรียน ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะไม่เต็มใจนัก เพราะอ็องรีมีผลการเรียนไม่ดี แต่ท้ายสุดก็อนุญาตให้เขาจบหลักสูตรการเรียนและร่วมทีมเยาวชนของโมนาโกของอาร์แซน แวงแกร์[2] หลังจากนั้น อ็องรีเซ็นสัญญาอาชีพกับโมนาโก และเปิดตัวในฐานะนักฟุตบอลอาชีพเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ในนัดที่แพ้นิส 2–0[12] ถึงแม้ว่าแวงแกร์จะคาดคะเนว่าอ็องรีอาจเป็นตัวนำทัพในฐานะกองหน้าตัวรุก แต่เขาก็ให้อ็องรีเล่นตำแหน่งปีกซ้าย เพราะเชื่อว่าฝีเท้าของเขา กับการควบคุมลูกบอลอย่างเป็นธรรมชาติและทักษะ จะทำให้มีประสิทธิภาพ ในตำแหน่งฟูลแบ็ก มากกว่าตำแหน่งเซนเตอร์แบ็ก[9]

หลังจากเริ่มทดลองอาชีพในโมนาโก อ็องรีได้รับตำแหน่งนักฟุตบอลดาวรุ่งฝรั่งเศสยอดเยี่ยมใน ค.ศ. 1996 และในฤดูกาล 1996–97 ผลงานอันแสดงความแข็งแกร่งของเขาทำให้สโมสรชนะเลิศฟุตบอลลีกเอิง[2][13] ในระหว่างฤดูกาล 1997–98 เขาเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สร้างสถิติใหม่ของฟุตบอลฝรั่งเศส โดยยิง 7 ประตูในการแข่งขันนี้[9][14] ในฤดูกาลที่ 3 ของเขา เขาได้ลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาตินัดแรก และเป็นส่วนหนึ่งของทีมในชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998[9] เขายังคงสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่องในระหว่างอยู่กับโมนาโก หลังจากอยู่กับสโมสรนี้ 5 ฤดูกาล ปีกวัยรุ่นคนนี้ยิงประตูในลีกได้ 20 ประตูจากการลงสนาม 105 นัด[13]

อ็องรีออกจากโมนาโกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 ย้ายไปอยู่กับสโมสรอิตาลีในเซเรียอา สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ด้วยค่าตัว 10.5 ล้านปอนด์[2] เขาเล่นในตำแหน่งปีก[15] แต่เขาก็ไม่สามารถฝ่าด่านกองหลังทีมเซเรียอา ในตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นบุคลิกลักษณะสำหรับเขา โดยยิงได้เพียง 3 ประตู ในการลงสนาม 16 นัด[16]

อาร์เซนอล (1999–2007)

 
อ็องรีเป็นกัปตันทีมหลังจากที่เพื่อนร่วมชาติ ปาทริค วิเอร่า ย้ายไปอยู่กับสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในปี ค.ศ. 2005

หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอิตาลีนัก อ็องรีย้ายออกจากยูเวนตุส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999 มาอยู่กับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ด้วยค่าตัวราว 11 ล้านปอนด์ กลับมาอยู่กับอดีตผู้จัดการทีมของเขาอีกครั้ง อาร์แซน แวงแกร์[17][18] เมื่ออยู่กับอาร์เซนอลทำให้ชื่อเขาติดอยู่ในนักฟุตบอลระดับโลก[19] และถึงแม้ว่าการย้ายมาจะไม่ปราศจากข้อพิพาทซะทีเดียว เพราะแวงแกร์โน้มน้าวว่าอ็องรีคุ้มค่าแก่การมีค่าตัว[9] และได้แทนที่เขากับศูนย์หน้าชาวฝรั่งเศส เพื่อนร่วมชาติ นีกอลา อาแนลกา โดยแวงแกร์ให้อ็องรีเป็นฝึกในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าโดยทันที การลงทุนของทีมก็เห็นผลในเวลาต่อมา แต่ก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเร็วและลักษณะโดยธรรมชาติของฟุตบอลอังกฤษ เมื่อเขายิงประตูไม่ได้ใน 8 นัดแรก[10] หลังจากความยากลำบากในหลายเกมในอังกฤษ อ็องรียอมรับว่า "เขาต้องเรียนใหม่เกี่ยวกับศิลปะการเป็นศูนย์หน้าตัวเป้า"[10] ข้อสงสัยเริ่มคลายลงไปเมื่อจบฤดูกาลแรกที่อาร์เซนอล โดยเขายิงประตูสร้างความประทับใจได้ 26 ประตู[20] อาร์เซนอลอยู่อันดับ 2 ในฤดูกาลนั้นเป็นรองแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และแพ้ในยูฟ่าคัพ ต่อสโมสรตุรกี กาลาทาซาไร[9]

หลังจากกลับมาพร้อมชัยชนะในยูโร 2000 กับทีมชาติฝรั่งเศส อ็องรีก็พร้อมที่จะสร้างผลกระทบในฤดูกาล 2000–2001 ถึงแม้ว่าสถิติประตูและการช่วยส่งลูกยิงประตูจะน้อยกว่าในฤดูกาลแรก แต่ผลงานอ็องรีในฤดูกาลที่สองกับอาร์เซนอลก็พิสูจน์การแจ้งเกิดของเขา ทำให้เขากลายเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของสโมสร[21] ติดอันดับหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่ดีที่สุดในลีก ทำให้อาร์เซนอลเข้าใกล้คู่แข่งอันยาวนานอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อย่างรวดเร็ว ในการเป็นผู้ชนะเลิศในลีก แต่อ็องรีก็ยังผิดหวัง เพราะจริง ๆ แล้ว เขายังไม่ได้นำทีมชนะในการแข่งขันในลีกนี้ และมักจะแสดงอารมณ์ความปรารถนาสร้างให้อาร์เซนอลเป็นมหาอำนาจ[9]

ในที่สุดความสำเร็จก็มาถึงในฤดูกาล 2001–2002 อาร์เซนอลเป็นแชมป์ในลีกโดยมีคะแนนเหนือลิเวอร์พูล 7 คะแนน และชนะเชลซี 2–0 ในเอฟเอคัพนัดชิงชนะเลิศ[9] อ็องรีเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในลีก และยิงได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน ทำให้อาร์เซนอลชนะเลิศได้ทั้งในลีกและฟุตบอลถ้วย และเป็นถ้วยแรกของเขากับสโมสร[2][21] มีความคาดหวังอย่างมากที่เขาจะมีฟอร์มการเล่นอย่างที่เล่นกับสโมสร ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 กับทีมชาติฝรั่งเศส แต่แล้วการป้องกันตำแหน่งแชมป์นี้ก็สร้างความตกตะลึงเมื่อฝรั่งเศสตกรอบตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม[9]

ฤดูกาล 2002–2003 ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่รุ่งเรืองของอ็องรี เขายิงประตูได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน และจ่ายลูกยิงประตู 23 ประตู เป็นการกลับมาเล่นตำแหน่งศูนย์หน้าตัวเป้า อันโดดเด่น[21] เขานำอาร์เซนอลชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง (ซึ่งเขาได้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดชิงชนะเลิศ)[22] ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ได้เป็นแชมป์ในพรีเมียร์ลีก[23] แต่ตลอดทั้งฤดูกาล เขามีสถิติยิงประตูในลีกสูสีกับรืด ฟัน นิสเติลโรย ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จบด้วยการยิงประตูน้อยกว่าฟัน นิสเติลโรย[9] อย่างไรก็ตาม อ็องรีก็ได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษแห่งปี[24][25] ความเฉิดฉายของเขาในฐานะหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก สามารถยืนยันได้จากการที่เขาเป็นรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี ในค.ศ. 2003[19]

 
อ็องรีในนัดแข่งกับชาร์ลตันแอธเลติก ในปี ค.ศ. 2006

เมื่อเข้าสู่ฤดูกาล 2003–2004 อาร์เซนอลมีความตั้งใจที่จะครองแชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นอีกครั้งที่อ็องรีเป็นเครื่องมือในความสำเร็จอันดีเยี่ยมของอาร์เซนอล ร่วมด้วยกับเพื่อนร่วมทีมอย่างแด็นนิส แบร์คกัมป์, ปาทริค วิเอร่า และรอแบร์ ปีแร็ส อ็องรีทำให้แฟนปืนใหญ่มีความมั่นใจ โดยกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ที่แข่งในลีกในฤดูกาลโดยไม่แพ้ทีมใดเลย (เรียกทีมชุดนี้ว่า ทีมไร้พ่าย) และครองแชมป์ลีกได้[26] นอกจากนั้นเขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ เป็นปีที่สอง[24][25] อ็องรียังได้ที่ 2 ของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2004[19] เขายิงประตู 39 ประตูในทุกการแข่งขัน เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในลีกและได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรป[2][27] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2002 อ็องรีไม่สามารถนำทีมชาติชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ได้[9]

ความสำเร็จก็ลดลงไปเมื่ออาร์เซนอลไม่สามารถป้องกันแชมป์ โดยเสียแชมป์ให้กับเชลซีในฤดูกาล 2004–05 ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะชนะเลิศเอฟเอคัพ (โดยในนัดชิงชนะเลิศอ็องรีไม่ได้ลงแข่งเนื่องจากบาดเจ็บ)[13] อ็องรียังครองชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่น่ากลัวที่สุดในยุโรป โดยยิงประตูสูงสุดในลีก[2] กับจำนวนประตู 31 ประตูในทุกการแข่งขัน[28] เขาได้รับรางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรปร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน โดยเป็นนักฟุตบอลคนเดียวอย่างเป็นทางการที่ได้รางวัลนี้ 2 ครั้งติดต่อกัน (แอลลี แม็กคอยต์ได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำ 2 ครั้งติดต่อกัน แต่ทั้งสองครั้งไม่ถือเป็นรางวัลอย่างเป็นทางการ)[27] หลังจากนั้นปาทริก วีเยรา เพื่อนร่วมชาติก็ออกจากทีมอย่างไม่คาดฝันในกลาง ค.ศ. 2005 ทำให้อ็องรีได้เป็นกัปตันทีม ตำแหน่งที่หลายคนรู้สึกว่าไม่เหมาะกับเขา ซึ่งกัปตันทีมส่วนมากมักจะให้กับกองหลังหรือกองกลาง ที่มีตำแหน่งบนสนามดีกว่า ในการอ่านเกม[2] เขาได้รับหน้าที่รับผิดชอบในการนำทีมวัยรุ่นที่ยังไม่ประสานกันดี[29]

 
หลังจากที่แด็นนิส แบร์คกัมป์ เกษียณตัวไป ทำให้อ็องรีเล่นเป็นกองหน้าตัวรุกคู่กับโรบิน ฟัน แปร์ซี

ฤดูกาล 2005–06 พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดดเด่น ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2005 อ็องรีทำลายสถิติสโมสรโดยเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล[30] โดย 2 ประตูในนัดแข่งกับสปาร์ตาปรากในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทำลายสถิติของเอียน ไรต์ ที่ทำไว้ 185 ประตู[31] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เขายิง 1 ประตูในนัดพบกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูในลีกสูงสุดของอาร์เซนอล ทำลายสถิตินักฟุตบอลตำนานอย่างคลิฟฟ์ แบสติน[32] อ็องรียิงประตูที่ 100 ในลีกที่สนามไฮเบอรี เป็นสถิติที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ของสโมสร และมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกของสโมสร[33] โดยเมื่อจบฤดูกาล เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของลีก[2] และเป็นครั้งที่ 3 ที่เขาได้รับลงคะแนนเป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ[13]

ถึงอย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลไม่สามารถชนะเลิศพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้ง แต่ก็มีความหวังในการคว้าถ้วยเมื่ออาร์เซนอลสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2006 แต่ท้ายสุดอาร์เซนอลก็แพ้ 2–1 ให้กับบาร์เซโลนา และอาร์เซนอลก็ไม่สามารถชนะเลิศลีกได้เป็นฤดูกาลที่ 2 ติดต่อกัน ประกอบกับผู้เล่นอ่อนประสบการณ์ของอาร์เซนอล เป็นเหตุพิจารณาให้อ็องรีย้ายออกสโมสร แต่อย่างไรก็ตามเขาออกมาประกาศว่าเขารักสโมสรและรับสัญญา 4 ปี และพูดว่าจะอยู่กับอาร์เซนอลตลอดชีพ[25] ในเวลาต่อมา เดวิด ดีน รองประธานของอาร์เซนอล กล่าวว่าสโมสรได้ปฏิเสธการยื่นประมูลตัวอ็องรีจากสโมสรในสเปน เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านปอนด์ ก่อนที่จะเซ็นสัญญาใหม่กับเขา[34] ซึ่งหากสโมสรตกลงจะเป็นการทำลายสถิติค่าตัวของซีเนดีน ซีดาน กับจำนวนเงิน 47 ล้านปอนด์[34]

ในฤดูกาล 2006–2007 อ็องรีบาดเจ็บ[35] แต่ก็ยังสามารถยิงประตู 10 ประตูในการลงแข่ง 17 นัดให้กับอาร์เซนอล แต่ฤดูกาลของเขาก็จบลงในเดือนกุมภาพันธ์ เขาไม่สามารถลงแข่งได้เนื่องจากปัญหาการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ส่วนเท้าและหลัง และคาดว่าจะฟิตพอที่จะลงเป็นตัวสำรองได้ในการแข่งกับเพยัสเฟไอนด์โฮเวน (ดัตช์: PSV Eindhoven) ในการแข่งแชมเปียนส์ลีก[36] แต่ก็ต้องเดินโขยกเขยกหลังลงเล่นได้ไม่นาน ผลการสแกนพบว่าเขาต้องพักอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อรักษาบริเวณขาหนีบและท้อง ทำให้เขาต้องพักในเวลาที่เหลือของฤดูกาล 2006–2007[37] แวงแกร์ กล่าวเมื่อเขาบาดเจ็บว่า อ็องรียังมีความสนใจที่จะอยู่กับอาร์เซนอลเพื่อสร้างทีมใหม่ในฤดูกาล 2007–2008[35]

บาร์เซโลนา (2007–2010)

 
อ็องรีกับทีมบาร์เซโลนา

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น อ็องรีย้ายไปอยู่กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร โดยเซ็นสัญญา 4 ปี ได้รับค่าเหนื่อย 6.8 ล้านยูโร (4.6 ล้านปอนด์) ต่อฤดูกาล[38] ในสัญญาระบุค่าฉีกสัญญาเก่า 125 ล้านยูโร (84.9 ล้านปอนด์)[39] อ็องรีอ้างเหตุผล หลังจากที่ดีนได้ออกจากอาร์เซนอลและความไม่แน่นอนของอนาคตแวงแกร์ที่จะคุมทีม[40][41] แต่พูดต่อว่า "ผมพูดอยู่เสมอว่าถ้าผมจะออกจากอาร์เซนอล จะเล่นให้กับบาร์เซโลนา"[42] ถึงแม้ว่ากัปตันคนนี้จะออกจากทีมไป แต่อาร์เซนอลก็ยังคงสร้างความประทับใจได้ในฤดูกาล 2007–2008 อ็องรีก็ยอมรับว่า การอยู่ร่วมทีมของเขาอาจเป็นสิ่งกีดขวางการช่วยเหลือทีม เขากล่าวว่า "เพราะความอาวุโสของผม กับความเป็นจริงที่ผมเป็นกัปตันทีมและงานที่ต้องไล่ลูกบอล พวกเขาก็มักจะให้ตำแหน่งนี้ที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีที่สุดของผม จะเป็นการดีสำหรับทีมถ้าผมออกไป"[43] อ็องรีออกจากอาร์เซนอลในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร กับจำนวนประตู 174 ประตู และเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป โดยยิงได้ 42 ประตู[2] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 แฟนอาร์เซนอลลงคะแนนให้เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่มีมาของอาร์เซนอล ในแบบสำรวจผู้เล่นที่ดีที่สุดของชาวกันเนอส์ ในเว็บไซต์ อาร์เซนอล.คอม[44]

 
อ็องรีเลี้ยงผ่านลูกบอลในกรอบเขตโทษของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2008–09

กับบาร์เซโลนา อ็องรีสวมเสื้อหมายเลข 14 หมายเลขเดียวกับครั้งเมื่ออยู่กับอาร์เซนอล เขายิงประตูแรกให้กับสโมสรใหม่เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2007 นัดชนะลียง 3–0 ในแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม[45] หลังจากนั้น 10 วัน เขายิงแฮตทริกแรกให้กับบาร์ซาในลีก นัดแข่งกับเลบันเต[46] แต่อ็องรีก็เปลี่ยนมาเล่นปีกตลอดทั้งฤดูกาล เขาไม่สามารถยิงประตูได้เหมือนที่ประสบความสำเร็จกับอาร์เซนอล เขาแสดงความผิดหวังในการย้ายมาบาร์เซโลนาในปีแรก ๆ ท่ามกลางข่าวที่แพร่สะพัดว่าเขาจะกลับมาเล่นพรีเมียร์ลีก แต่ท้ายสุดเมื่อจบฤดูกาลแรกของเขา เขาก็เป็นผู้ยิงประตูสูงสุด จำนวน 19 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตู 9 ประตูในลีก

อ็องรียิงประตูมากขึ้นในฤดูกาล 2008–2009 ได้ถ้วยแรกกับบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เมื่อบาร์เซโลนาชนะอัตเลติกเดบิลบาโอในนัดชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ บาร์เซโลนายังเป็นผู้ชนะเลิศลาลิกาและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังจากนั้น ได้ 3 ถ้วยในฤดูกาลเดียว เมื่อรวมกับผลงานยิงประตูของเขากับลิโอเนล เมสซิ และ ซามูแอล เอโต แล้ว มีประตูรวมถึง 100 ประตูในฤดูกาลนั้น ทั้ง 3 คนสามารถทำสถิติยิงประตูในลีก 72 ประตู แซงหน้าสถิติเดิมของเรอัลมาดริด 66 ประตูของเฟเรนส์ ปุชคัช, อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน และลุยส์ เดล ซอล ในฤดูกาล 1960–1961 และต่อมาใน ค.ศ. 2009 อ็องรีช่วยให้บาร์เซโลนาชนะถ้วยรางวัลเพิ่มเป็น 6 ถ้วย รวมกับถ้วยที่กล่าวมาตอนต้นกับ โดยชนะเลิศ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ[47]

ในฤดูกาลถัดมาเมื่อเปโดร โรดรีเกซแจ้งเกิด ทำให้อ็องรีได้ลงสนามในลีกเพียง 15 นัด[21] ก่อนฤดูกาลในลาลิกาจะจบลง และอีกไม่ถึงปีก่อนสัญญาจะหมด ประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา กล่าวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ว่า "อ็องรีอาจออกจากสโมสรในช่วงการซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อน ถ้าหากเป็นสิ่งที่อ็องรีต้องการ"[48] หลังอ็องรีกลับมาจากการแข่งฟุตบอลโลก 2010 บาร์เซโลนายืนยันในการขายอ็องรีให้กับสโมสรแห่งหนึ่ง ซึ่งอ็องรียอมรับเงื่อนไขของสโมสรใหม่นี้[49]

นิวยอร์ก เรดบูลส์ (2010–2014)

 
อ็องรีเผชิญหน้ากับฟิล โจนส์ ใน เอ็มแอลเอสออลสตาร์เกม 2011

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 อ็องรีเซ็นสัญญาหลายปีกับสโมสรนิวยอร์ก เรดบูลส์ ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ในฤดูกาล 2010 เป็นนักฟุตบอลคนที่ 2 เมื่อเริ่มมีกฎผู้เล่นแต่งตั้ง[50] เขาลงแข่งครั้งแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ในการแข่งขันเสมอกับฮิวสตัน ไดนาโม 2–2 โดยเป็นผู้ช่วยส่งลูกทำประตูให้ควน ปาโบล อังเคล ทั้ง 2 ลูก ส่วนประตูลูกแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในชัยชนะเหนือแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ 2–0 ท้ายสุดเรดบูลส์ ติดอันดับ 1 ของฝั่งตะวันออก โดยมีคะแนนนำโคลัมบัส ครูว์ 1 คะแนน[51] แต่พ่ายให้กับแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ ในผลรวมคะแนน 3–2 รอบก่อนชิงชนะเลิศของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2010[52] ฤดูกาลถัดมาเรดบูลส์ ติดอันดับ 10 ในลีก[53] และเข้ารอบรองชนะเลิศ ของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2011

อาร์เซนอลยืมตัว

หลังจากได้ร่วมฝึกซ้อมกับอาร์เซนอลในระหว่างปิดฤดูกาลของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ อ็องรีได้เซ็นสัญญาอีกครั้งในสัญญายืมตัวกับอาร์เซนอลเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2012 เพื่อทดแทนในช่วงที่แฌร์วินโยและมารูยาน ชามัคห์ ที่ต้องไปแข่งขันในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2012[54] อ็องรีลงแข่งนัดแรกเป็นครั้งที่ 2 กับอาร์เซนอลในการเปลี่ยนตัวของการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบที่ 3 แข่งขันกับลีดส์ยูไนเต็ด โดยเขายิงประตูในนัดที่ทีมชนะเพียงประตูเดียวนี้[55] ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขายิงประตูแรกในลีกหลังจากการกลับมา ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลแบล็กแบร์นโรเวอส์ ทีมชนะ 7–1[56] ในสัปดาห์ต่อมา ในนัดสุดท้ายในลีก เขายิงประตู ทำให้ทีมชนะซันเดอร์แลนด์ 2–1[57] สัญญายืมตัวหมดลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และอ็องรีกลับสู่เรดบูลส์

ทีมชาติ

อ็องรีประสบความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส โดยลงแข่ง 123 นัด เริ่มลงนัดแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 เมื่อเขามีฟอร์มการเล่นดีให้กับโมนาโก ทำให้เขาถูกเรียกตัวเล่นให้กับทีมชาติฝรั่งเศสรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เขาลงแข่งในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997 ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมในอนาคตของเขาอย่างวีลียาม กาลัส และดาวิด เตรเซแก[2] และภายใน 4 เดือน หัวหน้าโค้ชชาวฝรั่งเศส แอเม ฌาเก เรียกตัวอ็องรีเข้าเล่นกับทีมรุ่นใหญ่ เขาลงแข่งเปิดตัวนัดแรกในฐานะทีมรุ่นใหญ่เมื่ออายุ 20 ปี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1997 โดยชนะแอฟริกาใต้ 2–1[58] ฌาเกประทับใจในตัวอ็องรี โดยยังให้เขาลงเล่นในฟุตบอลโลก 1998 ถึงแม้ว่า ณ ตอนนั้นอ็องรียังไม่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อจบการแข่งขัน เขาเป็นผู้เล่นฝรั่งเศสที่ทำประตูสูงสุด คือยิงได้ 3 ประตู[59] ในนัดชิงชนะเลิศที่ฝรั่งเศสชนะบราซิล 3–0 ทีมมีแผนว่าจะให้เขาลงในฐานะตัวสำรอง แต่เนื่องจากมาร์แซล เดอซาลีถูกใบแดง จึงจำเป็นต้องเสริมเกมรับแทน ในปี ค.ศ. 1998 อ็องรีได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นสูงสุดของฝรั่งเศส[60]

อ็องรียังติดอยู่ในทีมชุดยูโร 2000 ของฝรั่งเศส เป็นอีกครั้งที่เขายิงได้ 3 ประตูในการแข่งขัน เมื่อจบแล้วเขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของทีมชาติฝรั่งเศส รวมถึงประตูที่เขายิงประตูเสมอในนัดแข่งกับโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ [61] ท้ายสุดฝรั่งเศสชนะโปรตุเกสในการต่อเวลาพิเศษ โดยซีเนดีน ซีดานยิงจุดโทษ ฝรั่งเศสแข่งนัดตัดสินกับอิตาลี และสามารถชนะได้ในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้อ็องรีได้เหรียญทองเป็นเหรียญที่สองในฐานะทีมชาติ[62] ในระหว่างการแข่งขันครั้งนี้ อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงเป็น ผู้เล่นแห่งนัด 3 นัด รวมถึงในนัดตัดสินที่แข่งกับอิตาลีด้วย[63]

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ฝรั่งเศสตกรอบไปอย่างรวดเร็วในรอบแบ่งกลุ่ม อ็องรีไม่สามารถยิงประตูได้ในการแข่งทั้ง 3 นัด[2] ฝรั่งเศสแพ้ในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม และอ็องรีก็ได้ใบแดงไปในการไถลตัวอันตราย ในอีกนัดที่แข่งกับอุรุกวัย[9] ในเกมนี้ฝรั่งเศสเสมอ 0–0 ทำให้อ็องรีไม่สามารถลงแข่งในนัดสุดท้าย ที่ฝรั่งเศสแพ้เดนมาร์ก 2–0[9]

อ็องรีเรียกฟอร์มกลับคืนให้กับทีมชาติได้อีกครั้งในคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ถึงแม้ว่าทีมจะไม่มีผู้นำทีมอย่าง ซีดานและปาทริก วีเยรา ฝรั่งเศสก็สามารถชนะการแข่งขันนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเล่นอันโดดเด่นของอ็องรี เขาได้เป็นผู้เล่นแห่งนัดจากกลุ่มการศึกษาทางเทคนิคของฟีฟ่า จาก 3 ใน 5 นัด[2] ในนัดตัดสินเขายิงประตูชัยในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้ทีมเจ้าภาพนี้ชนะเหนือแคเมอรูน[2] อ็องรีได้รับรางวัลลูกบอลทองคำ ในฐานะผู้เล่นที่โดดเด่นของการแข่งขันและได้รางวัลรองเท้าทองคำในฐานะผู้เล่นที่ยิงประตูสูงสุด คือยิงได้ 4 ประตู[2]

ในฟุตบอลยูโร 2004 อ็องรีได้ลงเล่นทุกนัดให้กับฝรั่งเศส เขายิงได้ 2 ประตู[13] ฝรั่งเศสชนะอังกฤษในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ท้ายสุด แพ้ด้วยประตู 1–0 ให้กับกรีซ ทีมแชมป์ของการแข่งขันนี้ ในรอบก่อนชิงชนะเลิศ[64] ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อ็องรียังคงเป็นหนึ่งในทีม เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าเพียงผู้เดียว แต่ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะเริ่มต้นไม่ค่อยดีนัก แต่ท้ายสุดเขาก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เขายิงได้ 3 ประตู รวมถึงประตูชัยจากลูกฟรีคิกของซีดานในการแข่งกับแชมป์เก่า บราซิล[2] อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสก็แพ้ให้กับอิตาลีในการดวลจุดโทษ (5–3) ในนัดชิงชนะเลิศ อ็องรีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ยิงจุดโทษนี้ เขาถูกเปลี่ยนตัวในการต่อเวลาพิเศษ หลังจากที่เป็นตะคริวที่ขา[65] อ็องรีติดอยู่ใน 1 ใน 10 ของรางวัลลูกบอลทองคำสาขาผู้เล่นแห่งการแข่งขันครั้งนี้ แต่ผู้ได้รางวัลคือเพื่อนร่วมทีม ซีดาน[66] และเขาติดอยู่ในผู้เล่นกองหน้าตัวเป้าของทีมฟิฟโปรเวิลด์ XI ปี 2006[67]

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2007 อ็องรียิงประตูที่ 41 ในนัดแข่งกับหมู่เกาะแฟโร ทำให้เขามีสถิติร่วมกับมีแชล ปลาตีนีในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส[43] หลังจากนั้น 4 วันที่สนามสตาดเดอลาโบฌัวร์ เขายิงอีก 2 ประตูในท้ายนัดที่แข่งกับลิทัวเนีย และสร้างสถิติใหม่ในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส[68] ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008 อ็องรีลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติเป็นนัดที่ 100 ในนัดแข่งกับโคลอมเบีย ถือเป็นนักฟุตบอลฝรั่งเศสคนที่ 6 ที่ลงเล่นทีมชาติผ่าน 100 นัด[69]

ทีมชาติฝรั่งเศสพยายามดิ้นรนต่อสู้ในการแข่งขันขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 และจบลงด้วยการเป็นที่ 2 ของกลุ่มตามหลังเซอร์เบีย และในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับไอร์แลนด์ อ็องรีมีส่วนเกี่ยวข้อกับกรณีพิพาทในนัดที่ 2 ของเกมที่แข่งขันที่สตาดเดอฟร็องส์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในขณะที่นั้นผลประตูรวมเสมอ 1–1 เมื่อมาถึงการต่อเวลาพิเศษ เขาใช้มือปัดเพื่อควบคุมลูกบอลก่อนที่จะส่งลูกข้ามผ่านไปยังวีลียาม กาลัส ยิงลูกเข้าประตูจนได้ชัยชนะ[70] เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ต่อต้านอ็องรี ขณะที่ผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศส แรมง ดอแมแน็ก และผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ ออกมาปกป้องเขา[71][72] สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์แสดงความไม่พอใจกับฟีฟ่า โดยร้องขอให้มีการแข่งขันใหม่ แต่ฟีฟ่าปฏิเสธไป[73] อ็องรีออกมาพูดว่า เขาได้พิจารณาการเกษียณตัวเองออกจากการเล่นทีมชาติหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้[74] แต่ยังคงแสดงเจตนารมณ์ว่าเขาไม่ได้โกง โดยกล่าวหลังจากที่ฟีฟ่าปฏิเสธการแข่งขันใหม่ไม่กี่ชั่วโมง และเขากล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาที่ยุติธรรมที่สุดควรเป็นการแข่งขันใหม่[75] ประธานฟีฟ่า เซปป์ บลัตแตร์ (Sepp Blatter) กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า "เป็นการเล่นที่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด" และประกาศว่าจะมีการสอบสวนว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคตได้อย่างไร และยังกล่าวต่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะตรวจสอบโดยคณะกรรมการด้านวินัย[76] บลัตแตร์ยังบอกว่าอ็องรีบอกเขาว่า ครอบครัวของเขาถูกคุกคามหลังจากเกิดเหตุครั้งนี้[77] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ฟีฟ่าประกาศว่า อ็องรีไม่มีความผิดใด[78]

อ็องรีไม่ได้ลงแข่งในชุดทีมชาติฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2010 แต่เริ่มแรก ฝรั่งเศสแข่งขันนัดแรกโดยเสมอกับอุรุกวัย แต่พ่าย 2–0 ให้กับเม็กซิโกในนัดที่ 2 และทีมอยู่ในความสับสนวุ่นวายเมื่อนีกอลา อาแนลกาถูกไล่ออกจากทีม และกัปตันทีม ปาทริส เอวรา นำทีมต่อต้านโดยปฏิเสธการขึ้นรถไฟ[79] ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ อ็องรีลงแข่งในฐานะตัวสำรองในครึ่งหลัง ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ 2–1 และตกรอบไป ไม่นานนักเขาก็ประกาศเกษียณจากการเล่นฟุตบอลทีมชาติ โดยเขาลงแข่งขึ้นให้กับทีมชาติ 123 นัด และยิงประตู 51 ประตู[80]

รูปแบบการเล่น

 
อ็องรีเป็นตัวเลือกแรกในการเตะฟรีคิกให้กับอาร์เซนอล

ถึงแม้ว่าอ็องรีจะเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าตั้งแต่ครั้งอยู่ในชุดเยาวชน[10] แต่เมื่อเขาอยู่กับโมนาโกและยูเวนตุส เขาก็ได้เล่นในตำแหน่งปีก จนเมื่ออ็องรีเข้ามาอยู่กับอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 1999 แวงแกร์ก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งการเล่นเขาทันที โดยเปลี่ยนมาเล่นในตำแหน่งที่เขาเคยเล่นสมัยเยาวชน โดยจะเล่นคู่กับเพื่อนร่วมทีมชาวดัตช์ที่มากประสบการณ์อย่าง แด็นนิส แบร์คกัมป์[15] ในฤดูกาล 2004–05 แวงแกร์เปลี่ยนรูปแบบการเล่นของอาร์เซนอลมาเป็น 4–5–1[81] การเปลี่ยนรูปแบบการเล่นนี้ทำให้อ็องรีต้องปรับตัวอีกครั้ง มีหลายเกมที่เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าคนเดียว[15] อ็องรียังคงเป็นผู้เล่นแนวรุกที่สำคัญของอาร์เซนอล มีหลายครั้งสามารถยิงประตูได้น่าตื่นเต้นดุจดั่งเวทมนตร์ แวรแกร์เคยพูดถึงเขาไว้ว่า "ตีแยรี อ็องรี สามารถที่จะนำพอลได้จากกลางสนามและสามารถยิงประตูที่ไม่มีใครในโลกสามารถยิงได้"[82]

หนึ่งในเหตุผลที่เขาได้รับการชมเชยในการเล่นอันน่าประทับใจในการเล่นกองหน้านั้น คือความสามารถที่ยิงประตูแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้อย่างใจเย็น[83] นี่รวมถึงความยอดเยี่ยมของฝีเท้า ที่เขาสามารถเลี้ยงลูกฝ่ากองหลังเข้าทำประตูได้เป็นประจำ[10][84] เมื่อเริ่มเล่น เขาเป็นที่รู้จักในด้านการเคลื่อนตัวไปทางแนวกว้างไปในตำแหน่งปีกซ้าย[85][86] จากนั้นเขาก็สามารถเป็นผู้จ่ายบอลได้มากมาย โดยในระหว่างฤดูกาล 2002–2003 และ 2004–2005 เขาเป็นผู้จ่ายบอลยิงประตูได้ 50 ลูก แสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเขา[30] อีกรูปแบบการเล่นของเขา อ็องรีดันตัวเองมาอยู่ ณ ตำแหน่งล้ำหน้าเพื่อหลอกกองหลัง จากนั้นก็วิ่งถอยไปให้อยู่ในตำแหน่งไม่ล้ำหน้า ก่อนที่จะเล่นลูก และทำลายกับดักล้ำหน้าของทีมคู่แข่ง[87] ความหลากหลายในการเล่นทั้งในตำแหน่งปีกและกองหน้าตัวเป้า เขาไม่ใช่นักฟุตบอลที่เดาทางถูกได้ง่าย เขาเป็นกองหน้าตัวเป้าอย่างแท้จริง เขายังเป็นกองหน้าที่ยิงลูกได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างสม่ำเสมอของยุโรป[9] อ็องรีเป็นตัวเลือกแรกในการยิงลูกโทษ การเตะลูกเซตพีซ และการเตะลูกฟรีคิกของอาร์เซนอลเสมอ โดยเขายังสามารถยิงประตูได้อย่างสม่ำเสมออีกด้วย[88]

รางวัลและเกียรติยศ

สโมสร

โมนาโก
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
นิวยอร์ก เรดบูลส์

ทีมชาติ

ฝรั่งเศส
ชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 1998
รองชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 2006
ชนะเลิศ: ยูโร 2000
ชนะเลิศ: คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
ชนะเลิศ: ถ้วยฮัสซานที่ 2 ปี ค.ศ. 2000

เกียรติยศส่วนตัว

อ็องรีได้รับการยกย่องและรางวัลในอาชีพการเล่นฟุตบอลหลากหลายรางวัล เขาได้ตำแหน่งรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2003 และ 2004[19] ใน 2 ฤดูกาลนี้เขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ[25] อ็องรียังเป็นนักฟุตบอลคนเดียวที่เคยได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ปี (2003, 2004, 2006)[25] และยังถือสถิติได้รางวัลนักฟุตบอลฝรั่งเศสแห่งปี 4 ครั้ง เขายังได้รับลงคะแนนเสียงทีมแห่งทศวรรษประเภททีมโพ้นทะเล ในการสำรวจจาก 10 ฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 2003[89] และใน ค.ศ. 2004 เขายังติดรายชื่อนักฟุตบอล 125 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ดีที่สุดของเปเล่[90]

ในด้านรางวัลการยิงประตู อ็องรีได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำยุโรปใน ค.ศ. 2004 และ 2005 (ได้รางวัลร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน แห่งสโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล ใน ค.ศ. 2005)[27] อ็องรียังถือสถิติ เป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในพรีเมียร์ลีก 4 ฤดูกาล (2002, 2004, 2005, 2006)[2] ใน ค.ศ. 2006 เขาเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูได้มากกว่า 20 ประตูใน 5 ฤดูกาลติดต่อกัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2006)[91] เขายังคงถือสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก อันดับที่ 3 เป็นรองเพียงอลัน เชียเรอร์และแอนดี โคล เขาเป็นชาวฝรั่งเศสที่ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก จากโค้ช นักฟุตบอล และผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอล[21][92][93][94] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เขาติดอยู่อันดับ 33 ของการจัดอันดับนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยมีมา โดยสถาบันนักสถิติฟุตบอล[95] แฟนฟุตบอลอาร์เซนอลยกย่องเขาใน ค.ศ. 2008 โดยประกาศให้เป็นนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดของอาร์เซนอล[44] นอกจากนี้ในการสำรวจใน ค.ศ. 2008 เขาติดอยู่ในรายชื่อผู้เล่นที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดในพรีเมียร์ลีกตลอดกาล จากการสำรวจคน 32,000 คน[96][97] ในปี ค.ศ. 2009 อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีกในคริสต์ทศวรรษ 2000[98] และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2011 อาร์เซนอลเปิดตัวรูปปั้นทำจากบรอนซ์ ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปีของอาร์เซนอล[99]

รายชื่อรางวัลที่อ็องรีได้รับ:

สถิติ

สโมสร

ณ วันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2012[2][13][100][101]
สโมสร ฤดูกาล ลีก คัป[102] ฟุตบอลแห่งทวีป[103] รวม
ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู
โมนาโก 1994–95 8 3 1 0 0 0 0 0 0 8 3 1
1995–96 18 3 5 3 0 1 1 0 0 22 3 6
1996–97 36 9 8 3 0 1 9 1 4 48 10 13
1997–98 30 4 9 5 0 2 9 7 1 44 11 12
1998–99 13 1 3 1 0 0 5 0 2 19 1 5
รวม 105 20 26 12 0 4 24 8 7 141 28 37
ยูเวนตุส 1998–99 16 3 2 3 0 0 0 0 0 19 3 2
รวม 16 3 2 3 0 0 0 0 0 19 3 2
อาร์เซนอล 1999–2000 31 17 9 5 1 0 11 8 2 47 26 11
2000–01 35 17 3 4 1 0 14 4 0 53 22 3
2001–02 33 24 5 5 1 2 11 7 0 49 32 7
2002–03 37 24 23 6 1 0 12 7 1 55 32 24
2003–04 37 30 9 4 4 2 10 5 3 51 39 14
2004–05 32 25 15 2 0 1 8 5 1 42 30 17
2005–06 32 27 7 2 1 0 11 5 2 45 33 9
2006–07 17 10 6 3 1 1 7 1 0 27 12 7
รวม 254 174 77 31 10 6 84 42 9 369 226 92
บาร์เซโลนา 2007–08 30 12 9 7 4 0 10 3 2 47 19 11
2008–09 29 19 8 1 1 0 12 6 4 42 26 12
2009–10 21 4 2 3 0 0 8 0 1 32 4 3
รวม 80 35 19 11 5 0 30 9 7 121 49 26
นิวยอร์ก เรดบูลส์ 2010 11 2 3 1 0 0 0 0 0 12 2 3
2011 26 14 4 3 1 1 0 0 0 29 15 5
2012 8 9 5 0 0 0 0 0 0 8 9 5
รวม 45 25 12 4 1 1 0 0 0 49 26 13
อาร์เซนอล (ยืมตัว) 2011–12 4 2 0 2 1 0 1 0 0 7 3 0
รวม 258 176 77 33 11 6 85 42 9 376 229 92
รวมทั้งหมด 501 259 135 63 17 11 139 59 23 706 332 171

ทีมชาติ

ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2011[104][105][106][107]
ทีมชาติ ฤดูกาล ลงแข่ง ประตู
ฝรั่งเศส ยู 20 1996–97 5 3
รวม 5 3
ฝรั่งเศส 1997 1 0
1998 10 2
1999 0 0
2000 14[A] 6
2001 7 3
2002 10 3
2003 14 11
2004 13 3
2005 6 3
2006 16 8
2007 6 5
2008 11 4
2009 9 3
2010 6 0
รวม 123 51
หมายเหตุ

A รวมถึงการลงแข่งในนัดฟีฟ่า XI เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ที่ฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลฝรั่งเศสนับว่าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรอย่างเป็นทางการ [108]

ประตูทีมชาติ

ยู–20
ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะยู 20
# วัน สถานที่ คู่แข่ง ประตู ผล การแข่งขัน
1. 19 มิถุนายน ค.ศ. 1997 สนามกีฬาซาราวัก, กูจิง   เกาหลีใต้ 1–0 4–2 ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997
2. 3–0
3. 22 มิถุนายน ค.ศ. 1997 สนามกีฬาซาราวัก, กูจิง   แอฟริกาใต้ 3–1 4–2 ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997
รุ่นใหญ่
ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะทีมชุดใหญ่
# วัน สถานที่ คู่แข่ง ประตู ผล การแข่งขัน
1. 12 มิถุนายน ค.ศ. 1998 สตาดเวลอดรอม, มาร์แซย์   แอฟริกาใต้ 3–0 3–0 ฟุตบอลโลก 1998
2. 18 มิถุนายน ค.ศ. 1998 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ซาอุดีอาระเบีย 1–0 4–0 ฟุตบอลโลก 1998
3. 3–0
4. 29 มีนาคม ค.ศ. 2000 แฮมป์เดนพาร์ก, กลาสโกว์   สกอตแลนด์ 1–0 2–0 นัดกระชับมิตร
5. 6 มิถุนายน ค.ศ. 2000 สตาดโมฮัมเหม็ด V, กาซาบล็องกา   โมร็อกโก 1–0 5–1 นัดกระชับมิตร
6. 11 มิถุนายน ค.ศ. 2000 สนามกีฬาแยนไบรเดิล, บรูช   เดนมาร์ก 2–0 3–0 ยูโร 2000
7. 16 มิถุนายน ค.ศ. 2000 สนามกีฬาแยนไบรเดิล   เช็กเกีย 1–0 2–1 ยูโร 2000
8. 28 มิถุนายน ค.ศ. 2000 สนามกีฬาคิงโบดวง, บรัสเซลส์   โปรตุเกส 1–1 2–1 ยูโร 2000
9. 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ญี่ปุ่น 2–0 5–0 นัดกระชับมิตร
10. 25 เมษายน ค.ศ. 2001 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   โปรตุเกส 3–0 4–0 นัดกระชับมิตร
11. 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   แอลจีเรีย 3–0 4–1 นัดกระชับมิตร
12. 27 มีนาคม ค.ศ. 2002 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   สกอตแลนด์ 3–0 5–0 นัดกระชับมิตร
13. 16 ตุลาคม ค.ศ. 2002 สนามกีฬาแห่งชาติตากาลี, วัลเลตตา   มอลตา 1–0 4–0 รอบคัดเลือกยูโร 2004
14. 2–0
15. 29 มีนาคม ค.ศ. 2003 สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต, ล็องส์   มอลตา 2–0 6–0 นัดกระชับมิตร
16. 3–0
17. 30 เมษายน ค.ศ. 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   อียิปต์ 1–0 5–0 นัดกระชับมิตร
18. 2–0
19. 18 มิถุนายน ค.ศ. 2003 สตาดเดอแฌร์ล็อง, ลียง   โคลอมเบีย 1–0 1–0 คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
20. 22 มิถุนายน ค.ศ. 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   นิวซีแลนด์ 2–0 5–0 คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
21. 26 มิถุนายน ค.ศ. 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ตุรกี 1–0 3–2 คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
22. 29 มิถุนายน 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   แคเมอรูน 1–0 1–0 คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
23. 6 กันยายน ค.ศ. 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ไซปรัส 4–0 5–0 รอบคัดเลือกยูโร 2004
24. 11 ตุลาคม ค.ศ. 2003 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   อิสราเอล 1–0 3–0 รอบคัดเลือกยูโร 2004
25. 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เฟลทินส์-อารีนา, เกลเซนเคียร์เชิน   เยอรมนี 1–0 3–0 นัดกระชับมิตร
26. 21 มิถุนายน ค.ศ. 2004 อิชตาจีอูซีดาดีจีกูอิงบรา, กูอิงบรา   สวิตเซอร์แลนด์ 2–1 3–1 ยูโร 2004
27. 3–1
28. 13 ตุลาคม ค.ศ. 2004 จีเอสพีสเตเดียม, นิโคเซีย   ไซปรัส 2–0 2–0 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006
29. 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005 สตาดเดอลามอซซง, มงเปอลีเย   โกตดิวัวร์ 3–0 3–0 นัดกระชับมิตร
30. 7 กันยายน ค.ศ. 2005 แลนส์ดาวโรด, ดับลิน   ไอร์แลนด์ 1–0 1–0 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006
31. 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 สตาดดอเนอร์เดอดีลง, ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์   คอสตาริกา 3–2 3–2 นัดกระชับมิตร
32. 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต, ล็องส์   สโลวีเนีย 1–0 2–0 นัดกระชับมิตร
33. 7 มิถุนายน ค.ศ. 2006 สตาดเฌออฟ-กุยชาร์, แซ็งเตเตียน   จีน 3–1 3–1 นัดกระชับมิตร
34. 18 มิถุนายน ค.ศ. 2006 เซนทรัลสตาดีออน, ไลพ์ซิจ   เกาหลีใต้ 1–0 1–1 ฟุตบอลโลก 2006
35. 23 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ฟีฟ่าเวเอ็นสตาดีออนโคล์น, โคโลญ   โตโก 2–0 2–0 ฟุตบอลโลก 2006
36. 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ฟีฟ่าเวเอ็นสตาดีออนแฟรงก์เฟิร์ต, แฟรงก์เฟิร์ต   บราซิล 1–0 1–0 ฟุตบอลโลก 2006
37. 6 กันยายน ค.ศ. 2006 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   อิตาลี 2–0 3–1 รอบคัดเลือกยูโร 2008
38. 11 ตุลาคม ค.ศ. 2006 สตาดโอกุสต์โบนัล, มงเบลียาร์   หมู่เกาะแฟโร 2–0 5–0 รอบคัดเลือกยูโร 2008
39. 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   กรีซ 1–0 1–0 นัดกระชับมิตร
40. 22 สิงหาคม ค.ศ. 2007 สตาดีออนอันโตนามาลาตินสเกโฮ, เตอร์นาวา   สโลวีเนีย 1–0 1–0 นัดกระชับมิตร
41. 13 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ทอร์สวอลเลอร์, ทอร์เชาน์   หมู่เกาะแฟโร 2–0 6–0 รอบคัดเลือกยูโร 2008
42. 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 สตาดเดอลาโบฌัวร์, น็องต์   ลิทัวเนีย 1–0 2–0 รอบคัดเลือกยูโร 2008
43. 2–0
44. 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โอลิมปิยเนชันแนลสปอตส์คอมเพลกซ์, เคียฟ   ยูเครน 1–1 2–2 รอบคัดเลือกยูโร 2008
45. 13 มิถุนายน ค.ศ. 2008 สตาดเดอซุอิส, แบร์น   เนเธอร์แลนด์ 1–2 1–4 ยูโร 2008
46. 10 กันยายน ค.ศ. 2008 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   เซอร์เบีย 1–0 2–1 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010
47. 14 ตุลาคม ค.ศ. 2008 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ตูนิเซีย 1–1 3–1 นัดกระชับมิตร
48. 2–1
49. 5 กันยายน ค.ศ. 2009 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   โรมาเนีย 1–0 1–1 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010
50. 9 กันยายน ค.ศ. 2009 สตาเดียนเอฟเคเคอร์เวนาซเวซดา, เบลเกรด   เซอร์เบีย 1–1 1–1 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010
51. 14 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี   ออสเตรีย 2–0 3–1 รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010

สถิติรวม

สถิติรวมตลอดอาชีพ
ทีม ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ประตูต่อนัด
สโมสร 702 328 169 0.46
ทีมชาติฝรั่งเศส 123 051 029 0.41
รวม 825 379 198 0.46

ยุติการเล่นฟุตบอล

ตีแยรี อ็องรี ได้ประกาศยุติการเล่นฟุตบอลเป็นการถาวรเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ด้วยวัย 37 ปี โดยจะผันตัวเองไปเป็นผู้บรรยายและวิเคราะห์ฟุตบอลทางสถานีโทรทัศน์สกายสปอร์ตส์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แทน โดยเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16 เป็นต้นไป โดยทำสถิติยิงประตูให้กับอาร์เซนอลไปทั้งสิ้น 175 ประตู เฉพาะในพรีเมียร์ลีก นับเป็นสถิติอันดับหนึ่งของสโมสร และเป็นอันดับที่ 4 ของพรีเมียร์ลีก [109]

ด้านอื่น

ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว

อ็องรีสมรสกับนางแบบชาวอังกฤษ นิโคล เมร์รี หรือชื่อจริงคือ แคลร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2003[10] พิธีสมรสจัดขึ้นที่ปราสาทไฮแคลร์ และในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทั้งคู่มีบุตรคนแรก ชื่อ ตีอา[110] อ็องรีอุทิศการยิงประตูแรกหลังที่ตีอาเกิดโดยการทำนิ้วรูปตัว "ที" และจูบนิ้วนั้น หลังจากที่ยิงในนัดที่แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด[111] เมื่อตอนที่อ็องรีอยู่กับอาร์เซนอล เขาได้ซื้อบ้านที่แฮมป์สเตด ในนอร์ทลอนดอน[10] อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากย้ายไปบาร์เซโลนา เขาประกาศหย่ากับภรรยา โดยมีคำสั่งศาลให้หย่าเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007[112] การแยกทางจบลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 เมื่ออ็องรีจ่ายเงินสำหรับการหย่าที่เมอร์รีเรียกร้อง รวมเป็นเงิน 10 ล้านปอนด์[113]

อ็องรียังเป็นแฟนบาสเกตบอลในเอ็นบีเอ เขากับเพื่อน โทนี พาร์กเกอร์มักไปดูการแข่งขันในยามที่เขาไม่ได้แข่งขันฟุตบอล อ็องรีให้สัมภาษณ์ว่าเขาชื่นชอบบาสเกตบอล ที่คล้ายกับฟุตบอลเรื่องการวิ่งและความตื่นเต้น[114] ที่ผ่านมาเขามักไปดูเอ็นบีเอนัดตัดสินเป็นประจำ โดยเคยไปดูพาร์กเกอร์แข่งให้กับทีมซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ ในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2007[115] และในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2001 เขาเดินทางไปฟิลาเดลเฟียเพื่อช่วยรายการโทรทัศน์ฝรั่งเศสทำรายการนัดตัดสิน และเพื่อดูอัลเลน ไอเวอร์สัน ที่เขาเคยบอกว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่เขาชื่นชอบ[114]

งานด้านสังคม

ยูนิเซฟ

อ็องรีเป็นสมาชิกของยูนิเซฟ-ฟีฟ่า ที่เป็นการรวมนักฟุตบอลอาชีพ เขาปรากฏตัวในโฆษณาทางโทรทัศน์หลายตัว มีผู้ชมมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 และ 2006 โดยในโฆษณา ผู้เล่นจะประชาสัมพันธ์การเล่นฟุตบอลให้กับเด็ก ๆ[59]

สแตนด์อัป สปีกอัป

เขาเกี่ยวข้องกับประเด็นการเหยียดสีผิวตั้งแต่ในอดีต อ็องรีเป็นโฆษกต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล กรณีอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับอ็องรีเช่น ในระหว่างการฝึกซ้อมกับฟุตบอลทีมชาติสเปนในปี ค.ศ. 2004[116][117] เมื่อทีมงานโทรทัศน์ของสเปนจับภาพของโค้ช ลุยส์ อาราโกเนส ที่พูดถึงอ็องรีกับโคเซ อันโตเนียว เรเยส ว่าเป็น "สวะคนดำ" (black shit) ซึ่งเรเยสเป็นเพื่อนร่วมทีมของอ็องรีที่อาร์เซนอล[111] เหตุการณ์ครั้งนี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายกับสื่ออังกฤษ และเรียกร้องให้ไล่อาราโกเนสออก[118] อ็องรีได้ร่วมกับไนกี้ ในโครงการสแตนด์อัป สปีกอัป เพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น[119] ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 นิตยสาร ไทม์ ให้เขาเป็นหนึ่งใน ไทม์ 100 วีรบุรุษและนักบุกเบิก[120]

งานอื่น

เขาร่วมกับนักฟุตบอลอีก 45 คนเพื่อร้องเพลง "Live for Love United" ที่จัดขึ้นโดยฟีฟ่า ในปี ค.ศ. 2002 ออกขายเป็นซิงเกิลในช่วงฟุตบอลโลก 2002 เป็นซิงเกิลการกุศลที่รายได้เข้าสู่การวิจัยโรคเอดส์ อ็องรียังสนับสนุนมูลนิธิโรคซีสติกไฟโบรซีส และซีสติกไฟโบรซีสทรัส อีกด้วย[121]

โฆษณา

ในปี ค.ศ. 2006 อ็องรีติดอยู่ในอันดับ 9 ของนักฟุตบอล ผู้ทำรายได้จากสินค้ามากที่สุดในโลก[122] และยังเป็นผู้ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 8 ในพรีเมียร์ลีก กับรายได้ 21 ล้านปอนด์[123]

เรโนลต์

อ็องรีแสดงในภาพยนตร์โฆษณาเรโนลต์ คลิโอ เขาได้สร้างคำที่มีชื่อเสียงอย่าง วา-วา-วูม (va-va-voom) ที่มีความหมายว่า "ชีวิต" หรือ "ความหลงใหล" นางแบบในโฆษณานั้นต่อมาเป็นภรรยาของเขา (หย่า) แคลร์เมอร์รี ต่อมาคำว่า วา-วา-วูม ได้รับการบันทึกไว้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษคอนไซส์ออกซฟอร์ด[124]

ไนกี้

ในปี ค.ศ. 2004 อ็องรีเซ็นสัญญากับบริษัทผลิตเครื่องกีฬาไนกี้ หนึ่งในโฆษณาที่เขาได้เลี้ยงลูกฟุตบอลหลบดาราฟุตบอลคนอื่นอย่าง โกลด มาเกเลเล, เอ็ดการ์ ดาวิดส์ และเฟรดริก ยุงแบร์ (Fredrik Ljungberg) ในสถานที่อย่างเช่นห้องนอนและห้องรับแขก ในโฆษณาชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากชีวิตของเขาเอง ที่เขามักจะเล่นฟุตบอลในสถานที่แบบนั้น อย่างเช่นในบ้าน[125] อ็องรียังเล่นในโฆษณาที่ชื่อ "ซีเครตทัวร์นาเมนต์" (Secret Tournament) ที่มีดาราฟุตบอลอีก 24 คนอย่างเช่น ยุงแบร์, รอนัลดีนโย และฟรันเชสโก ตอตตี ต่อจากนั้นในฟุตบอลโลก 2006 เขาแสดงในโฆษณาที่ใช้ชื่อในภาษาโปรตุเกสว่า Joga Bonito มีความหมายว่า "เกมที่สวยงาม"[126]

รีบ็อก

หลังฟุตบอลโลก 2006 เขาหมดสัญญากับไนกี้ จากนั้นได้เซ็นสัญญากับรีบ็อก ได้แสดงในโฆษณาที่ชื่อว่า "ไอแอมวอตไอแอม" (I Am What I Am)[127] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์โฆษณาที่ชื่อ "เฟรมด์" (Framed) อ็องรีได้แสดงในตอนนี้ที่มีความยาวครึ่งชั่วโมง ที่แสดงรายละเอียดในการถ่ายทำโฆษณา กำกับโดยนักแสดงชาวสเปน ปัซ เบกา[128]

พูมา

ในปี ค.ศ. 2011 อ็องรีเปลี่ยนมาเซ็นสัญญากับรองเท้าพูมา[129] เขาสวมรองเท้านี้ครั้งแรกในนัดรวมดาวเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ 2011 ที่แข่งขันกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก่อนที่จะประกาศเซ็นสัญญาหลายปีกับพูมา ส่วนนัดแรกที่เขาใส่พูมาในการเล่นคือในการแข่งขันเอมิเรตส์คัป ที่แข่งกับทีมเก่าอาร์เซนอล

ยิลเลตต์

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 อ็องรีได้เป็นหนึ่งใน 3 ของทูตแห่งแบรนด์ของยิลเลตต์ ที่ใช้ชื่อว่า "แชมเปียนส์โปรแกรม" (Champions Program) ที่มีนักกีฬาที่เป็นที่รู้จัก ที่ได้รับความเคารพ และประสบความสำเร็จที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเขาได้แสดงร่วมกับโรเจอร์ เฟเดอเรอร์และไทเกอร์ วูดส์ ในซีรีส์ของภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์[27] แต่ด้วยเหตุผลด้านความเป็นที่รู้จัก จึงได้มีการใช้เดเรก เจเตอร์แทนอ็องรี ในโฆษณาที่ออกอากาศในอเมริกาเหนือ[130] และหลังจากกรณีที่เขาทำแฮนด์บอลในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 ที่ฝรั่งเศสแข่งกับไอร์แลนด์ ยิลเลตต์ได้ยกเลิกและกล่าวขออภัย และได้เปลี่ยนแปลงโปสเตอร์โฆษณาในฝรั่งเศส แต่ต่อมาทางยิลเลตต์ก็ได้ออกมากล่าวสนับสนุนอ็องรี[131]

เป๊ปซี่

อ็องรีเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา "แดร์ฟอร์มอร์" (Dare For More) ในปี ค.ศ. 2005 แสดงร่วมโฆษณากับนักฟุตบอลอย่างเดวิด เบคแคมและรอนัลดีนโย[132]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "FIFA World Cup South Africa 2010 – List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 "Goal.com Profile: Thierry Henry" (web archive). Goal.com. 25 June 2007. Retrieved 23 September 2007.
  3. Hussein, Ceylan (2018-02-19). "Ranked! The 30 best strikers in Premier League history". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. Staff, FourFourTwo (2021-02-15). "Best Premier League players EVER: 100 greatest footballers in England's top flight since 1992". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "How peerless Thierry Henry transformed English football forever". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2019-03-30.
  6. "Gunners Greatest 50 Players". www.arsenal.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-07-20.
  7. "Shearer and Henry inducted into Hall of Fame". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Pele's list of the greatest" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-03-04. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 "Thierry Henry Bio" เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. JockBio. Retrieved 5 May 2008.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Anthony, Andrew (3 October 2004) "Thierry Henry, you're having a laugh". The Observer. Retrieved 18 May 2008.
  11. O'Connor, Ashling; Smith, Ben (19 November 2009) "Sponsors stand by Thierry Henry but fans call for boycott over handball" เก็บถาวร 2023-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Times. Retrieved 10 December 2009.
  12. 12.0 12.1 "Thierry Henry returns: factfile". The Independent. Retrieved 11 January 2012.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "Henry". footballdatabase.com. Retrieved 23 December 2011.
  14. "Soccerbase stats for AS Monaco Semi Final game" เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 30 September 2007.
  15. 15.0 15.1 15.2 Clarke, Richard (14 November 2006) "Henry – Why I must adapt to our new formation". Arsenal F.C. Retrieved 26 March 2007. Archive copy ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  16. "Thierry Henry – France". CBC.ca. Retrieved 30 September 2007.
  17. "Henry joins Arsenal in record deal". BBC Sport. 3 August 1999. Retrieved 10 January 2011.
  18. Harris, Nick (4 August 1999) "Henry adds to Arsenal's firepower". The Independent. Retrieved 3 January 2011.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 "Ronaldinho wins Fifa player award". BBC Sport. 20 December 2004. Retrieved 1 January 2012.
  20. "Games played by Thierry Henry in 1999–2000" เก็บถาวร 2012-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 25 March 2007.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "Thierry Henry" เก็บถาวร 2007-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. Retrieved 30 September 2007.
  22. "Gunners take home Cup". The Football Association. 17 May 2003. Retrieved 13 February 2011.
  23. Freedman, Dan (17 May 2003) "Gunners take home Cup". The Football Association. 17 May 2003. Retrieved 24 April 2007.
  24. 24.0 24.1 "Past Footballers of the Year". Pub Quiz Help. Retrieved 31 May 2011.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "Henry to stay a Gunner until 2010". BBC Sport. 19 May 2006. Retrieved 1 January 2012.
  26. Hughes, Ian (15 May 2004) "Arsenal the Invincibles". BBC Sport. Retrieved 1 January 2012.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 "Tiger Woods, Roger Federer and Thierry Henry Are Introduced As the Faces of the New Gillette Champions Program". Procter & Gamble. 4 February 2007. Retrieved 22 March 2007.
  28. "Games played by Thierry Henry in 2004/2005" เก็บถาวร 2012-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 26 March 2007.
  29. Lowe, Sid (22 February 2006) "Wenger hopes Henry will stay and usher in new era". The Guardian. Retrieved 26 March 2007.
  30. 30.0 30.1 Winter, Henry (22 October 2005) "Record-breaking Henry still a master of humility" เก็บถาวร 2008-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. Retrieved 25 March 2007.
  31. "Thierry Henry eases to scoring record". China Daily. 22 October 2005. Retrieved 22 March 2007.
  32. "Arsenal 2–3 West Ham". BBC Sport. 1 February 2006. Retrieved 1 January 2012.
  33. My Love Affair with Highbury – "Henry". Sporting Life. Retrieved 26 March 2007
  34. 34.0 34.1 "Arsenal rejected 50 million-pound bids for Henry, says Dein". China Daily. 22 May 2006. Retrieved 26 March 2007.
  35. 35.0 35.1 "Wenger: Henry staying with Gunners" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 6 April 2007. Retrieved 7 April 2007.
  36. Clarke, Richard (7 March 2007) "Wenger – The hidden benefits of having Henry". Arsenal F.C. 7 March 2007. Retrieved 31 May 2011.
  37. Clarke, Richard (8 March 2007) "Henry ruled out for the remainder of season" เก็บถาวร 2012-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arsenal F.C. 8 March 2007. Retrieved 31 May 2011.
  38. "Thierry Henry signs for Barcelona" เก็บถาวร 2007-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. 23 June 2007. Retrieved 22 July 2007.
  39. "Henry seals deal with Barcelona". Daily Express. 25 June 2007. Retrieved 28 June 2007.
  40. "Thierry: Why I'm going" เก็บถาวร 2007-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/ The Sun. 23 June 2007. Retrieved 28 June 2007
  41. "Arsenal announce Henry departure". BBC Sport. 23 June 2007. Retrieved 1 January 2012.
  42. "Henry hoping Wenger remains Gunners' boss" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 26 June 2007. Retrieved 15 October 2007.
  43. 43.0 43.1 "Fabregas was right about me, says Henry" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ESPN Soccernet. 14 October 2007. Retrieved 15 October 2007.
  44. 44.0 44.1 "Gunners' Greatest Players – 1. Thierry Henry". Arsenal F.C. Retrieved 2 March 2011. เก็บถาวร 2012-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. "Thierry Henry scores as Barcelona take charge" เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 20 September 2007. Retrieved 23 September 2007.
  46. "Levante 1–4 Barcelona" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 29 September 2007. Retrieved 5 October 2007
  47. "The year in pictures" เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA. 23 December 2009. Retrieved 12 March 2010.
  48. "Barcelona happy for Henry to leave" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Independent. 5 May 2010. Retrieved 14 July 2010.
  49. "Henry and Toure to leave Barcelona". Reuters. 28 June 2010. Retrieved 14 July 2010.
  50. "New York Red Bulls sign international star Thierry Henry" เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. New York Red Bulls. 13 July 2010. Retrieved 15 July 2010.
  51. "Standings". Major League Soccer. Retrieved 26 December 2011.
  52. "Earthquakes advance" เก็บถาวร 2010-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 5 November 2010. Retrieved 26 December 2011.
  53. "2011 MLS Standings & Leaders" เก็บถาวร 2012-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Major League Soccer. Retrieved 27 December 2011.
  54. "Thierry Henry joins Arsenal from New York Red Bulls". BBC Sport. 6 January 2012. Retrieved 6 January 2012.
  55. McNulty, Phil (9 January 2012) "Arsenal 1–0 Leeds". BBC Sport. Retrieved 10 January 2012.
  56. "Arsenal 7-1 Blackburn" เก็บถาวร 2012-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Star. 4 February 2012. Retrieved 6 February 2012.
  57. "Thierry Henry open to third Arsenal spell - if asked". BBC Sport. 11 February 2012. Retrieved 12 February 2012.
  58. "A striking comparison". The Football Association. Retrieved 26 March 2007.
  59. 59.0 59.1 "2006 FIFA World Cup – Thierry Henry, top scorer and role model" เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. UNICEF. Retrieved 26 March 2007.
  60. "Décret du 24 juillet 1998 portant nomination à titre exceptionnel", Journal Officiel de la République Française. 25 July 1998. Retrieved 12 March 2009.
  61. "France 2–1 Portugal". UEFA. 28 June 2000. Retrieved 23 March 2007. เก็บถาวร 2008-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  62. "France 2–1 Italy". UEFA. 2 July 2000. Retrieved 23 March 2007. เก็บถาวร 2008-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  63. "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sports Illustrated. Retrieved 9 July 2009.
  64. "France 0–1 Greece". BBC Sport. 25 June 2004. Retrieved 1 January 2012.
  65. Stevenson, Jonathan (9 July 2006) "Italy 1–1 France (aet)". BBC Sport. 9 July 2006. Retrieved 1 January 2012.
  66. "Sent-off Zidane named best player". BBC Sport. 10 July 2006. Retrieved 1 January 2012.
  67. "Ronaldinho regains FifPro crown". BBC Sport. 6 November 2006. Retrieved 1 January 2012.
  68. "France 2–0 Lithuania: Henry smashes Platini record" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 17 October 2007. Retrieved 18 October 2007.
  69. "Henry reaches 100-cap milestone". BBC Sport. 3 June 2008. Retrieved 1 January 2012.
  70. "Villain Henry as Ireland, Ukraine, Russia exit in play-offs" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 18 November 2009. Retrieved 19 November 2009.
  71. "Defiant Domenech condemns Henry backlash" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 24 November 2009. Retrieved 10 December 2009.
  72. Ley, John (20 November 2009) "Arsene Wenger urges France to replay World Cup match after Thierry Henry handball". The Daily Telegraph. Retrieved 10 December 2009.
  73. "Defiant Domenech condemns Henry backlash" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 24 November 2009. Retrieved 26 November 2009.
  74. "Thierry Henry contemplated international retirement" เก็บถาวร 2012-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. South Wales Echo. 23 November 2009. Retrieved 27 November 2009.
  75. "Thierry Henry: Replay the "fairest solution" for Ireland" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 20 November 2009. Retrieved 26 November 2009.
  76. Ziegler, Martyn (3 December 2009) "Henry's 'blatant unfair play' could lead to ban in South Africa". Yorkshire Post. Retrieved 9 December 2009.
  77. Eason, Kevin (1 December 2009) "Henry consoled after death threats to family". Herald Express. 1 December 2009. Retrieved 9 December 2009.
  78. "FIFA not to take any action against Henry handball" เก็บถาวร 2010-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 18 January 2010. Retrieved 20 January 2010.
  79. "Domenech: Player protest was 'stupid'" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 21 June 2010. Retrieved 23 June 2010.
  80. "Thierry Henry retires from internationals to concentrate on New York mission – and gets ready for an Irish American backlash". Daily Mail. 16 July 2010. Retrieved 18 July 2010.
  81. Hatherall, Chris (30 October 2006) "Henry defends Arsenal's pursuit of beautiful game". The Independent. Retrieved 23 April 2007. เก็บถาวร 2013-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  82. Clarke, Richard (17 July 2007) "Wenger – Don't compare Eduardo to Henry". Arsenal F.C. Retrieved 27 July 2007. เก็บถาวร 2013-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  83. Reyna, Claudio, and Woitalla, Mike, More Than Goals: The Journey from Backyard Games to World Cup Competition (2004), p 122, Human Kinetics, ISBN 0-7360-5171-6
  84. Hansen, Alan (13 March 2006) Alan Hansen's column". BBC Sport. Retrieved 1 January 2012.
  85. Daniel, Jacob, The Complete Guide to Coaching Soccer Systems and Tactics (2003), Reedswain, p 190, ISBN 1-59164-068-7
  86. "Papin: attack at the double". BBC Sport. 12 April 2002. Retrieved 1 January 2012.
  87. ""English Debate: Can Arsenal Lift Major Silverware This Campaign?" เก็บถาวร 2008-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Goal.com. 22 September 2008. Retrieved 22 September 2008.
  88. "Henry ready to get ugly" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ archive.today. Sporting Life. 28 August 2003. Retrieved 30 October 2007.
  89. "Thierry Henry" เก็บถาวร 2006-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Premier League. Retrieved 25 July 2007.
  90. "Fifa names greatest list". BBC Sport. 4 March 2004. Retrieved 1 January 2012.
  91. "Thierry Henry: The wizard of Highbury". Australian Broadcasting Corporation. 25 April 2006. Retrieved 27 March 2007.
  92. Lacey, David (30 August 2003) "The best player in the world is wearing Arsenal's colours". The Guardian. Retrieved 27 March 2007.
  93. Ingle, Sean (11 July 2006) "First half good, second half not bad either". The Guardian. 11 July 2006. Retrieved 27 March 2007.
  94. "Wenger: Henry is the world's greatest". China Daily. 7 November 2005. Retrieved 27 March 2007.
  95. Raynor, Dominic (7 November 2007) "Your Verdict: 100 greatest ever footballers" เก็บถาวร 2017-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 7 November 2007. Retrieved 10 November 2007.
  96. Brown, Oliver (11 December 2008) "Cristiano Ronaldo pipped by Fernando Torres in Premier League popularity stakes" เก็บถาวร 2009-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 11 December 2008. Retrieved 12 December 2008.
  97. Caroe, Charlie (10 December 2008) "Former Arsenal striker Thierry Henry all-time fans' favourite Premier League footballer". The Daily Telegraph. 10 December 2008. Retrieved 31 October 2011.
  98. Bellwood, Tom (18 December 2009) "The List: Top 50 players of the decade in the Premier League - Nos 10-1". Daily Mail. 18 December 2009. Retrieved 31 October 2011.
  99. "Arseanl Unveil Statues of Three Legends" เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arsenal F.C. Retrieved 12 December 2011.
  100. "Thierry Henry History" เก็บถาวร 2011-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. Retrieved 23 December 2011.
  101. "Barcelona FC's player statistic for Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today. FC Barcelona. Retrieved 5 June 2009.
  102. รวมถึงถ้วยกุปเดอฟร็องส์, กุปเดอลาลีก, โกปปาอีตาเลีย, เอฟเอคัป, ลีกคัพ, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์, ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูเอสโอเพนคัพ และเอ็มแอลเอสคัปเพลย์ออฟส์
  103. รวมถึง ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และคอนคาแคฟแชมเปียนส์ลีก
  104. "Henry, Thierry". National-Football-Teams. Retrieved 3 August 2009.
  105. "Thierry Henry" เก็บถาวร 2015-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA. Retrieved 2 January 2012.
  106. "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. French Football Federation. Retrieved 2 January 2012.
  107. Mamrud, Roberto (17 September 2010) "Thierry Henry – Century of International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. Retrieved 3 January 2012.
  108. Pla Diaz, Emilio (23 July 2006) "Zinedine Zidane – Century of International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. Retrieved 2 January 2012.
  109. หน้า 23 กีฬา, อองรีประกาศแขวนสตั๊ดแล้ว. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,806: วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แรม 11 ค่ำ เดือน 1 ปีมะเมีย
  110. Thierry "Va Va Vooms Away From Wife". Sky News. 16 July 2007. Retrieved 19 July 2007.
  111. 111.0 111.1 "Famous Fathers: Thierry Henry" เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FQ magazine. Retrieved 26 March 2007.
  112. "Henry's wife is granted divorce". BBC News. 3 September 2007. Retrieved 1 January 2012.
  113. "Thierry Henry pays wife £8m divorce settlement" เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 5 December 2008. Retrieved 5 December 2008.
  114. 114.0 114.1 "The Dish: Thierry Henry". National Basketball Association. June 2001. Retrieved 20 June 2007.
  115. "Your Gripping NBA Champions" เก็บถาวร 2012-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Deadspin. 15 June 2007. Retrieved 20 June 2007.
  116. "Aragones fined for Henry remarks". BBC Sport. 1 March 2005. Retrieved 1 January 2012.
  117. Witzig, Richard (2006). The Global Art of Soccer. CusiBoy Publishing. p. 44. ISBN 0-9776688-0-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  118. "Family urged Aragones to resign". BBC Sport. 1 December 2004. Retrieved 1 January 2012.
  119. "Caborn welcomes anti-racism stand". BBC Sport. 9 February 2005. Retrieved 1 January 2012.
  120. Parker, Tony (3 May 2007) "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Time. Retrieved 20 October 2007.
  121. "Thierry Henry". Look to the Stars. Retrieved 25 February 2009.
  122. "Ronaldinho's brand worth more than Beckham's" เก็บถาวร 2012-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters. 30 May 2006. Retrieved 27 March 2007.
  123. "The Rich List top ten...". Daily Mail. 6 December 2006. Retrieved 27 March 2007.
  124. Va-va-voom is in the dictionary. Newsround. 8 July 2004. Retrieved 1 January 2012.
  125. ""Henry loves home match" เก็บถาวร 2013-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Daily Mirror. 30 May 2004. Retrieved 19 February 2009.
  126. Stevenson, Seth (17 April 2006) "Keep Soccer Beautiful!". Slate. Retrieved 24 March 2007.
  127. Bond, David (12 April 20060 "Henry drops bombshell by moving to Reebok" เก็บถาวร 2008-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 12 April 2006. Retrieved 27 March 2007.
  128. "Reebok gets the Picture" เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reebok. Retrieved 5 March 2008.
  129. "Official Henry to wear Puma boots". FootballBoots.co.uk. Retrieved 3 August 2011.
  130. "Smack Talkin' Tiger" (with clips) เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. gototennis. 13 July 2008. Retrieved 1 January 2012.
  131. "Boycott threat to Gillette products over Thierry Henry 'handball' row" เก็บถาวร 2010-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 21 November 2009. Retrieved 9 December 2009.
  132. Mitchell, Susan (10 April 2005) "Footballers kick off Pepsi campaign" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Sunday Business Post. 10 April 2005. Retrieved 28 January 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ตีแยรี อ็องรี ถัดไป
รอแบร์ ปีแร็ส   นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ
(พ.ศ. 2546-2547)
  แฟรงก์ แลมพาร์ด
รืด ฟัน นิสเติลโรย   นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ
(พ.ศ. 2546-2547)
  จอห์น เทร์รี