จิวท่าย[2][3][4] (เสียชีวิต ค.ศ. 261[1]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า โจว ไท่ (จีน: 州泰; พินอิน: Zhōu Tài) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

จิวท่าย (โจว ไท่)
州泰
ขุนพลโจมตีอนารยชน
(征虜將軍 เจิงหลู่เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 261 (261)
กษัตริย์โจฮวน
ข้าหลวงมณฑลอิจิ๋ว (豫州刺史 ยฺวี่โจวชื่อฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจมอ
ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว
(兖州刺史 เหยี่ยนโจวชื่อฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจมอ
เจ้าเมืองซินเสีย (新城太守 ซินเฉิงไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 237 (237) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตค.ศ. 261[1]
อาชีพขุนพล
สมัญญานามจฺว้างโหว (壯侯)[1]

ประวัติ

แก้

จิวท่ายเป็นชาวเมืองลำหยง (南陽郡 หนานหยางจฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณนครหนานหยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน จิวท่ายเป็นชาวเมืองเดียวกันกับเตงงายและมีอายุใกล้เคียงกัน มีบันทึกว่าจิวท่าย "กระตือรือร้นที่จะมีความดีความชอบ และเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์"[5]

จิวท่ายรับราชการในช่วงต้นในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事 ฉงชื่อ) ของเผย์ เฉียน (裴潛) ข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเกงจิ๋ว ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 227 และค.ศ. 230 เมื่อขุนพลสุมาอี้ประจำการอยู่ที่อำเภออ้วนเซีย (宛縣 หว่านเซี่ยน; ปัจจุบันคือเขตหว่านเฉิง นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) เพื่อดูแลราชการทหารในมณฑลเกงจิ๋วและอิจิ๋ว[6] จิวท่ายกลายเป็นคนรู้จักมักคุ้นกับสุมาอี้หลังจิวท่ายมักช่วยในการส่งสารระหว่างสุมาอี้และเผย์ เฉียนอยู่บ่อยครั้ง[7]

ในปี ค.ศ. 228 เมื่อสุมาอี้นำทัพวุยก๊กปราบกบฏที่ก่อการโดยเบ้งตัดในเมืองซินเสีย (新城郡 ซินเฉิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณอำเภอฝาง มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) สุมาอี้รับจิวท่ายมาเป็นนายทหารในทัพของตน ภายหลังเมื่อบิดามารดาและปู่ของจิวท่ายเสียชีวิต จิวท่ายจึงลาออกจากราชการชั่วคราวเพื่อไว้ทุกข์เป็นเวลา 9 ปี สุมาอี้ให้ความสำคัญกับจิวท่ายมากจึงสำรองตำแหน่งไว้ให้จิวท่าย หลังจากการไว้ทุกข์สิ้นสุดลง 36 วัน จิวท่ายได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) คนใหม่ของเมืองซินเสีย[8] สุมาอี้แอบบอกราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[a] ให้หยอกล้อจิวท่ายว่า "ท่านทิ้งเสื้อผ้าเรียบ ๆ และเข้ารับตำแหน่งสูง หลังจากเพียง 36 วัน บัดนี้ท่านได้มีอำนาจยิ่งใหญ่และสั่งการกำลังทหารในเมืองได้ ก็เหมือนกับขอทานที่ได้นั่งรถม้า ช่างรวดเร็วเสียจริง!" จิวท่ายตอบว่า "ท่านพูดถูก ท่านมาจากตระกูลขุนนางที่มีชื่อเสียง และท่านก็มีชื่อเสียงเรื่องความสามารถตั้งแต่วัยเยาว์ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเหตุใดท่านจึงยังเป็นราชเลขาธิการ ก็เหมือนกับลิงกังขี่โค ช่างเชื่องช้าเสียจริง!" ทุกคนที่อยู่ที่นั่นต่างรู้สึกขบขัน[10]

ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 251 โจฮองจักรพรรดิวุยก๊กมีรับสั่งให้อองกี๋ (ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว) และจิวท่าย (เวลานั้นเป็นเจ้าเมืองซินเสีย) นำทัพเข้าโจมตีง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก อองกี๋และจิวท่ายเอาชนะข้าศึกและบีบให้ทหารข้าศึกหลายพันนายยอมจำนน[11]

จิวท่ายไต่เต้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 250 และขึ้นเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลกุนจิ๋วและภายหลังเป็นข้าหลวงมณฑลของมณฑลอิจิ๋ว[12]

ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุย) โดยได้รับการสนันสนุนจากง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก จิวท่ายในเวลานั้นเป็นข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋วได้รับคำสั่งจากสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กให้เคลื่อนทัพไปปราบกบฏ สุมาเจียวส่งกำลังพลใต้บังคับบัญชาจิวท่าย, โจเป๋า (石苞 ฉือ เปา) ขุนพลสำแดงยุทธ (奮武將軍 เฟิ่นอู่เจียงจฺวิน) ผู้ดูแลราชการทหารในมณฑลเฉงจิ๋ว, เฮาจิด (胡質 หู จื้อ) ข้าหลวงมณฑลชีจิ๋ว และคนอื่น ๆ ให้เข้าโจมตีจูกัดเอี๋ยนและทัพง่อก๊กที่เป็นพันธมิตร จิวท่ายเอาชนะทัพง่อก๊กที่นำโดยจูอี้ที่หยางเยฺวียน (陽淵) ขณะที่จูอี้และทหารล่าถอย จิวท่ายก็นำทัพไล่ตามตี สังหารหรือทำให้ทหารข้าศึกบาดเจ็บรวมมากว่า 2,000 นาย[13] ในฤดูใบไม้ร่วง ซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กสั่งให้จูอี้, เตงฮอง, หลี เฝ่ย์ (黎斐) และนายทหารคนอื่นอีก 3 คนนำกำลังพลไปช่วยสลายวงล้อมที่ฉิวฉุน ทั้งหมดวางเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์หนักไว้ที่ตูลู่ (都陸) และรุดหน้าไปยังหลีเจียง (黎漿) โจเป๋าและจิวท่ายโจมตีกำลังพลของง่อก๊กและเอาชนะได้[14] กบฏถูกปราบปรามอย่างราบคาบในช่วงต้นปี ค.ศ. 258[15]

ตำแหน่งราชการสูงสุดที่จิวท่ายได้รับคือขุนพลโจมตีอนารยชน (征虜將軍 เจิงหลู่เจียงจฺวิน) จิวท่ายได้ยังรับอำนาจในการดูแลราชการทหารในภูมิภาคกังหนำ (江南 เจียงหนาน)[16] จิวท่ายเสียชีวิตในปี ค.ศ. 261 ได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นขุนพลพิทักษ์ (衞將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) และได้รับสมัญญานามว่า "จฺว้างโหว" (壯侯)[1]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ชื่อ-ยฺหวี่ (世語) ระบุว่าราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) ที่หยอกล้อจิวท่ายคือจงฮิว แต่ความจริงแล้วไม่น่าเป็นจงฮิว เพราะจงฮิวได้เลื่อนตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) ที่มีเกียรติสูงกว่าแล้วเมื่อราวปี ค.ศ. 227[9] นอกจากนี้จงฮิวที่เป็นราชครูก็มีเกียรติเทียบเท่ากันกับสุมาอี้ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนพลม้าทะยาน (驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน) ในเวลานั้น จึงไม่สมเหตุสมผลที่จงฮิวจะทำตามที่สุมาอี้สั่ง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 (景元二年薨,追贈衞將軍,謚曰壯侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  2. ("พระเจ้าโจมอขัดมิได้ก็รับว่าจะไป จึงมีตรารับสั่งให้เกณฑ์กองทัพในเมืองหลวงทั้งสองเมืองได้ยี่สิบหกหมื่น ตั้งอองกี๋เปนทัพหน้า ตังเขียนเปนปลัดทัพหน้า โจเป๋าเปนปีกขวา จิวท่ายเจ้าเมืองกุนจิ๋วเปนปีกซ้าย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 15, 2024.
  3. ("สุมาเจียวเห็นชอบด้วย ก็สั่งให้โจเป๋าจิวท่ายคุมทหารเปนสองกองไปซุ่มอยู่ต้นทางเมืองโจเทาเสีย ให้อองกี๋กับตังเขียนคุมทหารไปซุ่มอยู่ปลายทางนั้น") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 15, 2024.
  4. ("ทหารจูกัดเอี๋ยนเห็นสิ่งของตกเรี่ยราย ต่างคนก็เก็บสิ่งของโคแลม้าหาได้ระวังตัวไม่ พอได้ยินเสียงพลุแลประทัดจุดขึ้น แลไปก็เห็นโจเป๋ากับจิวท่ายคุมทหารสองกองตีบุกรุกเข้ามา") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 15, 2024.
  5. (艾州里時輩南陽州泰,亦好立功業,善用兵, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  6. (太和元年六月,天子詔帝屯于宛,加督荊、豫二州諸軍事。 ... 四年,遷大將軍,加大都督、假黃鉞,與曹真伐蜀。) จิ้นชู เล่มที่ 1.
  7. (世語曰:初,荊州刺史裴潛以泰為從事,司馬宣王鎮宛,潛數遣詣宣王,由此為宣王所知。) อรรถาธิบายจาก'ชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  8. (及征孟達,泰又導軍,遂辟泰。泰頻喪考、妣、祖,九年居喪,宣王留缺待之,至三十六日,擢為新城太守。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  9. (明帝即位,進封定陵侯,增邑五百,并前千八百戶,遷太傅。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
  10. (宣王為泰會,使尚書鍾繇調泰:「君釋褐登宰府,三十六日擁麾蓋,守兵馬郡;乞兒乘小車,一何駛乎?」泰曰:「誠有此。君,名公之子,少有文采,故守吏職;獼猴騎土牛,又何遲也!」衆賔咸恱。) อรรถาธิบายจาก'ชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  11. ([嘉平]三年春正月,荊州刺史王基、新城太守州泰攻吳,破之,降者數千口。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
  12. (後歷兖、豫州刺史,所在有籌筭績效。) อรรถาธิบายจาก'ชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  13. (司馬昭又使奮武將軍監青州諸軍事石苞督兗州刺史州泰、徐州刺史胡質等簡銳卒為游軍,以備外寇。泰擊破朱異於陽淵,異走,泰追之,殺傷二千人。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
  14. (秋,七月,吳大將軍綝大發兵出屯鑊里,復遣朱異帥將軍丁奉、黎斐等五人前解壽春之圍。異留輜重於都陸,進屯黎漿,石苞、州泰又擊破之。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
  15. (大將軍司馬文王督中外諸軍二十六萬衆,臨淮討之。 ... 又使監軍石苞、兖州刺史州泰等,簡銳卒為游軍,備外寇。欽等數出犯圍,逆擊走之。吴將朱異再以大衆來迎誕等,渡黎漿水,泰等逆與戰,每摧其鋒。孫綝以異戰不進,怒而殺之。城中食轉少,外救不至,衆無所恃。將軍蔣班、焦彝,皆誕爪牙計事者也,棄誕,踰城自歸大將軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  16. (... 官至征虜將軍、假節都督江南諸軍事。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.

บรรณานุกรม

แก้