อิจิ๋ว ในภาษาจีนกลางเรียกว่า ยฺวี่โจว (益州) เป็นหนึ่งในเก้ามณฑล[1] ของจีนยุคโบราณ ภายหลังได้กลายเป็นเขตการปกครองในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ครองราชย์ 141-87 ปีก่อนคริสตกาล) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 9)

อิจิ๋ว (ยฺวี่โจว)
ภาษาจีน豫州

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน

แก้

ตำราประวัติศาสตร์ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221–206 ก่อนคริสตกาล) อย่างบทยฺหวี่ก้งของคัมภัร์ชูจิง, เอ๋อร์หยา, โจวหลี่ และลฺหวี่ชื่อชุนชิว ต่างก็ระบุถึงเก้ามณฑล ชื่อมณฑลอิจิ๋วปรากฏในทุกตำราแม้ว่าแต่ละตำราจะมีรายชื่อของเก้ามณฑลที่แตกต่างออกไปก็ตาม โจวหลี่ระบุว่าอิจิ๋วคือมณฑลเหอหนาน ส่วนลฺหวี่ชื่อชุนชิวบันทึกว่า "อิจิ๋วอยู่ระหว่างแม่น้ำหฺวางและแม่น้ำฮั่น นั่นคือที่ตั้งของราชวงศ์โจว"

ราชวงศ์ฮั่น

แก้

106 ปีก่อนคริสกาลในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 9) จีนถูกแบ่งออกเป็น 13 เขตการปกครอง (ยกเว้นพื้นที่ภายใต้การปกครองของราชสำนักส่วนกลาง) แต่ละเขตการปกครองมีผู้ปกครองคือข้าหลวง (刺史 ชื่อฉื่อ) อิจิ๋วเป็นหนึ่งใน 13 เขตการปกครอง พื้นที่ภายใต้การปกครองประกอบด้วย ทางเหนือของแม่น้ำหฺวาย, ทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำหรู่, อำเภอเฟิงและอำเภอเพ่ย์ในมณฑลเจียงซู แต่อิจิ๋วยังไม่มีที่ว่าการมณฑลและเป็นเขตปกครองแต่ในนาม

 
แผนที่มณฑลจีนในช่วงก่อนยุคสามก๊ก
(ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ค.ศ. 189)

ในปี ค.ศ. 188 ในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220) ที่ว่าการของมณฑลอิจิ๋วถูกก่อตั้งในอำเภอเจียวก๋วน (譙縣 เฉียวเซี่ยน; ปัจจุบันคือนครปั๋วโจว มณฑลอานฮุย) พื้นที่ภายใต้การปกครองของมณฑลอิจิ๋วได้แก่ บางส่วนทางตะวันออกของมณฑลเหอหนานและทางตะวันตกของมณฑลอานฮุย มีเมือง (จฺวิ้น) ใต้การปกครอง 2 เมืองคือ เองฉวน (潁川 อิ่งชฺวาน) และยีหลำ (汝南 หรู่หนาน) และมีราชรัฐ 4 รัฐคือ เหลียง (梁), ไพก๊ก (沛 เพ่ย์), เฉิน (陳) และโลก๊ก (魯 หลู่)

ยุคสามก๊ก

แก้

ราชวงศ์จิ้นและยุคสิบหกรัฐ

แก้

ราชวงศ์เหนือ-ใต้

แก้

ราชวงศ์สุยและถัง

แก้

ราชวงศ์เหลียว

แก้

ราชวงศ์จิน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Lagerwey, John; Kalinowski, Marc (2008-12-24). "Ritual practices for constructing terrestrial space (Warring States – Early Han) by Vera Dorofeeva-Lichtmann". Early Chinese Religion: Part One: Shang Through Han (1250 BC-220 AD) (2 Vols) (ภาษาอังกฤษ). BRILL. pp. 595–644. ISBN 978-90-04-16835-0.