อีดิลฟิฏร์

วันหยุดอิสลามปลายเดือนรอมฎอน

อีดิลฟิฏร์ (อาหรับ: عيد الفطر ʻĪd al-Fiṭr, สัทอักษรสากล: [ʕiːd al fitˤr]),[3] รู้จักกันในชื่อ "การฉลองละศีลอด" หรือวันอีดเล็ก และในภาษามลายูปัตตานีว่า รายอปอซอ (Hari Raya Puasa, อักษรยาวี: هاري راي ڤواسا) เป็นวันหยุดทางศาสนาที่ฉลองโดยมุสลิมทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน[4] การฉลองอีดทางศาสนามีแค่วันเดียวในเดือนเชาวาลซึ่งมุสลิมห้ามถือศีลอด วันเริ่มต้นในปฏิทินอิสลามมีความหลากหลายตามพื้นที่ว่าเห็นดวงจันทร์หรือไม่

อีดิลฟิฏร์
ละหมาดอีดในมัสยิดบาดชาฮีที่ลาฮอร์, ประเทศปากีสถาน
ชื่อทางการอาหรับ: عيد الفطر, อักษรโรมัน: ‘Īd al-Fiṭr
จัดขึ้นโดยมุสลิม
ประเภทอิสลาม
ความสำคัญเป็นจุดสิ้นสุดของการถือศีลอดในเราะมะฎอน
การเฉลิมฉลองละหมาดอีด, บริจาค, รวมญาติ, กินเลี้ยง, ให้ของขวัญ
วันที่1 เชาวาล[1][1][2]
ส่วนเกี่ยวข้องเราะมะฎอน, อีดิลอัฎฮา

อีดิลฟิฏร์มีการละหมาดแบบเฉพาะที่มีแค่ 2 เราะกะอัต โดยทั่วไปมักละหมาดที่ทุ่งเปิด หรือห้องโถงใหญ่ และมีอีก 6 ตักบีร (ยกมือขึ้นถึงหูในขณะที่กล่าวว่า "อัลลอฮุอักบัร" ความหมายคือ "อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร") ในมัซฮับฮะนะฟีของซุนนี โดยกล่าวสามครั้งตอนเราะกะอัตแรก และอีกสามครั้งก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง[5] ในขณะที่มัซฮับอื่นของซุนนีมีถึง 12 ตักบีร โดยแบ่งเป็น 7 และ 5 ส่วนชีอะฮ์มี 6 ตักบีรในเราะกะอัตแรกในตอนจบกิรออะฮ์ ก่อนรุกูอ์ และอีกห้าครั้งในเราะกะอัตที่สอง[6]

ประวัติ

แก้

อีดิลฟิฏร์ ถูกริเริ่มโดยศาสดามุฮัมมัด ตามรายงานในบางฮะดีษ เทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นที่มะดีนะฮ์ หลังจากมุฮัมมัดอพยพออกจากมักกะฮ์ อะนัส อิบน์ มาลิก รายงานว่า เมื่อท่านศาสดามาถึงมะดีนะฮ์ ท่านเห็นผู้คนฉลองในสองวันนั้นด้วยนันทนาการและความรื่นเริง ดังนั้น ท่านศาสดาได้เปลี่ยนสองวันแห่งเทศกาลไปเป็นสิ่งที่ดีกว่า คือ: อีดิลฟิฏร์ กับอีดิลอัฎฮา[7]

พิธีทั่วไป

แก้

ตามธรรมเนียม อีดิลฟิฏร์เริ่มในตอนดวงอาทิตย์ตกในคืนที่ส่องดวงจันทร์เสี้ยว ถ้าไม่มีการเห็นดวงจันทร์ในวันที่ 29 ของเดือนเราะมะฎอน (อาจเพราะเมฆบังหรือท้องฟ้าสว่างเกินเมื่อดวงจันทร์ขึ้น) วันอีดก็จะฉลองในวันถัดไป[8] อีดิลิฏร์จะมีการฉลอง 1 – 3 วัน ขึ้นอยู่กับประเทศ[9] เป็นเรื่องต้องห้ามที่จะถือศีลอดในวันอีด และมีละหมาดเฉพาะของวันนี้[10] ตามความจำเป็นในการบริจาค เงินจะถูกบริจาคแก่คนยากจนและคนที่ควรได้เงินบริจาค (ซะกาตฟิฏเราะฮ์) ก่อนละหมาดอีด[11]

ละหมาดอีดและ อีดกาฮ์

แก้
 
มุสลิมหลายคนนำพรมละหมาดมามัสยิดในช่วงอีดิลฟิฏร์

การละหมาดอีดมักจัดขึ้นในที่เปิดเช่นสนาม, ศูนย์ชุมชน หรือมัสยิด[9] ไม่มีการอะซานสำหรับการละหมาดอีด และละหมาดแค่ 2 เราะกะอัตกับหลายตักบีร หลังละหมาดเสร็จจะมีการคุตบะฮ์ และดุอาอ์ขอความอภัยโทษ, ความเมตตา, ความสันติสุข และขอพรต่อชีวิตทั่วโลกจากอัลลอฮ์[12] การเทศนาในวันอีดมาหลังละหมาด ไม่เหมือนกับละหมาดวันศุกร์ที่มาก่อนละหมาด อิหม่ามบางคนเชื่อว่าการฟังคำเทศนาในวันอีดคือสิ่งที่ไม่จำเป็น[13] หลังละหมาดแล้ว มุสลิมจะไปเยี่ยมญาติ, เพื่อน และคนรู้จัก หรือจัดงานฉลองขนาดใหญ่ในบ้าน, ศูนย์ชุมชน หรือหอประชุมเช่า[9]

ขั้นตอนแบบซุนนี

แก้

ตามพิธีแล้ว พวกซุนนีจะกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์ด้วยเสียงดังในขณะไปละหมาดอีดว่า: อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร. ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วัลลอฮุอักบัร, อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมด์ โดยจะหยุดกล่าวตอนมาถึงที่ละหมาดอีดหรือเมื่ออิหม่ามเริ่มพิธี[14]

การละหมาดเริ่มขึ้นโดยมีการ "นียัต" ละหมาดแล้วตักบีร ตามมาด้วย ตักบีเราะตุลอิฮรอม และกล่าวตักบีรหลายครั้ง จากนั้นอิหม่ามจึงอ่านซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะฮ์ และอีกซูเราะฮ์ แล้วรุกูอ์ ยืนขึ้น และซุญูด หลังครบเราะกะอัตแรกแล้ว ก็ทำเราะกะอัตที่สองเหมือนกับอันแรก และลดจำนวนตักบีรลง หลังละหมาดเสร็จแล้ว จะมีการคุตบะฮ์ขึ้น[15]

ขั้นตอนแบบชีอะฮ์

แก้
 
แสตมป์อีดิลฟิฏร์ในประเทศอิหร่าน (1984)

การละหมาดเริ่มขึ้นด้วยนียัต แล้วตามมาด้วยตักบีร 5 ครั้ง ในช่วงตักบีรในเราะกะอัตแรกทุกครั้ง จะมีการอ่านดุอาอ์พิเศษ แล้วอิหม่ามอ่านซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์ อัลอะอ์ลา และรุกูอ์กับซุญูด ในเราะกะอัตที่สอง ทำเหมือนกันกับเราะกะอัตแรก หลังละมาดเสร็จ คุตบะฮ์ก็จะเริ่มขึ้น[16]

ภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "The Umm al-Qura Calendar of Saudi Arabia". uu.nl. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 7 March 2017.
  2. Gent, R.H. van. "The Umm al-Qura Calendar of Saudi Arabia – adjustment". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2015. สืบค้นเมื่อ 22 July 2015.
  3. Elias, Jamal J. (1999). Islam. Routledge. p. 75. ISBN 0415211654.
  4. Barr, Sabrina. "EID AL-ADHA 2019: WHEN IS IT, HOW IS IT CELEBRATED AND HOW TO WISH SOMEONE A HAPPY EID". independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
  5. "Eid al-Fitr and the six supplementary fasts of Shawwal". Inter-islam.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2013. สืบค้นเมื่อ 11 August 2013.
  6. Namaz (prayer) Eid Fitr เก็บถาวร 13 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน yjc.ir Retrieved 4 June 2018
  7. Ahmad ibn Hanbal, Musnad, vol. 4, 141–142, (no. 13210).
  8. Adewunmi, Bim. "When is Eid 2014? It could be Monday or Tuesday, it might be Sunday". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 July 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Eid al-Fitr 2019: Everything you need to know". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 4 June 2019.
  10. Heiligman, Deborah. Celebrate Ramadan and Eid al-Fitr with Praying, Fasting, and Charity. National Geographic Children's Books. ISBN 978-0792259268.
  11. "Articles and FAQs about Islam, Muslims". Islamicfinder.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 August 2013.
  12. Gaffney, Patrick D. "Khutba." Encyclopedia of Islam and the Muslim World. p. 394.
  13. "Eid Gebete". Diegebetszeiten.de (ภาษาเยอรมัน). 7 January 2020.
  14. Mufti Taqi Usmani. "Shawwal: On Eid Night, Eid Day, and During the Month". Albalagh.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 August 2013.
  15. "نحوه خواندن نماز عید فطر در اهل سنت". mizanonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 December 2019.
  16. "Eid al-Fitr prayer in Shia Islam". fardanews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2019. สืบค้นเมื่อ 12 December 2019.

สารานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Eid al-Fitr
  • Some of the relevant information about Eid al Fitr at DailyPakistan News Website