สำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการที่มิได้มีฐานะเป็นกรม เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นกรม อยู่ในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ ของประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า "สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี" [1] ในอดีตเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทั่วไปซึ่งมิใช่งานของกรมใดกรมหนึ่งในกระทรวง หรือเปรียบเสมือนกับสำนักงานรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม และมีการจัดตั้งให้สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ใช้ชื่อว่า "สำนักงานรัฐมนตรี"

สำนักงานรัฐมนตรี
Office of the minister
ภาพรวมหน่วยงาน
หน่วยงานก่อนหน้า
เชิงอรรถ
เป็นส่วนราชการที่มีอยู่ในทุกกระทรวง

อำนาจหน้าที่

แก้

สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
  2. สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประชาชน
  3. ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
  4. ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการ

แก้

สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ส่วน คือ[2]

  • งานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการและงานการประชุมของรัฐมนตรี งานบริหารทั่วไป
  • กลุ่มงานประสานการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานนโยบายระหว่างกระทรวงและประสานกับรัฐสภา การประชาสัมพันธ์ รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน
  • กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวการประสานงาน วิเคราะห์ กลั่นกรอง และให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของรัฐมนตรี

อ้างอิง

แก้
  1. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต, ประวัติสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, เอกสารวิชาการส่วนบุคคล :สถาบันพระปกเกล้า
  2. "สำนักงานรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ส่วน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.