อันดับกบ
กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/)
กบ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนต้น – ปัจจุบัน, 200–0Ma | |
---|---|
กบชนิดต่าง ๆ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก Amphibia |
เคลด: | Salientia Salientia |
อันดับ: | อันดับกบ Anura Duméril, 1806 (as Anoures) |
อันดับย่อย | |
Archaeobatrachia | |
การกระจายพันธุ์ของกบ (ในสีเขียว) |
มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาวกระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก
กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด"[1] โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก
การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น
กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก[2]
ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น
วิวัฒนาการชาติพันธุ์
แก้นี่คือแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่แสดงความสัมพันธุ์ของกบในวงศ์ต่าง ๆ ในเคลด Anura ในแผนภาพต้นไม้นี้ แสดงวงศ์กบมีความสัมพันธ์กับกับวงศ์อื่น ๆ อย่างไร โดยแต่ละปุ่มแสดงถึงจุดที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน ข้อมูลในนี้อิงจาก Frost และคณะ. (2006),[3] Heinicke และคณะ. (2009)[4] และ Pyron กับ Wiens (2011)[5]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้กบ ถือเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนานแล้ว ในฐานะของสัตว์ที่มนุษย์กินเนื้อเป็นอาหาร จนเกิดเป็นความเชื่อและอยู่ในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ มากมาย เช่น ชนชาติไทมีความเชื่อแต่โบราณว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดจากกบอมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เรียกว่า "กบกินเดือน" หรือ "กบกินตะวัน" ต้องใช้การตีเกราะเคาะไม้ จึงจะยอมคาย[7] และเป็นนิทานพื้นบ้าน ในเรื่อง "อุทัยเทวี"[8]
ชาวจีนเชื่อว่า มีกบหรือคางคกที่มีลำตัวสีทอง และมี 3 ขา เรียกว่า "เซียมซู่" เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และให้ผลในทางโชคลาภวาสนาแก่ผู้ที่บูชาสักการะ เช่นเดียวกับ "ปี่เซียะ"[9] เป็นต้น ชาวจ้วง ชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของจีนเชื่อว่า กบเป็นสัญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ เมื่อฝนแล้ง ในพิธีขอฝน จะมีการเต้นรำด้วยการกางแขนกางขา ยกแขนสองข้างชูขึ้นฟ้า คล้ายกับกบ[10]
ในขณะที่ในประเทศไทย กบหลายชนิดได้ถูกเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เพื่อการบริโภค เช่น กบนา (Hoplobatrachus rugulosus), กบทูด (Limnonectes blythii)[11], อึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus) เป็นต้น[12] ขณะที่หลายชนิดก็เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
อ้างอิง
แก้- ↑ "กบ". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, กบเป็นสัตว์ที่รอดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีก่อน. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21727: วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา
- ↑ Frost, D. R.; Grant, T.; Faivovich, J. N.; Bain, R. H.; Haas, A.; Haddad, C. L. F. B.; De Sá, R. O.; Channing, A.; Wilkinson, M.; Donnellan, S. C.; Raxworthy, C. J.; Campbell, J. A.; Blotto, B. L.; Moler, P.; Drewes, R. C.; Nussbaum, R. A.; Lynch, J. D.; Green, D. M.; Wheeler, W. C. (2006). "The Amphibian Tree of Life". Bulletin of the American Museum of Natural History. 297: 1–291. doi:10.1206/0003-0090(2006)297[0001:TATOL]2.0.CO;2. hdl:2246/5781.
- ↑ Heinicke M. P.; Duellman, W. E.; Trueb, L.; Means, D. B.; MacCulloch, R. D.; Hedges, S. B. (2009). "A new frog family (Anura: Terrarana) from South America and an expanded direct-developing clade revealed by molecular phylogeny" (PDF). Zootaxa. 2211: 1–35. doi:10.11646/zootaxa.2211.1.1.
- ↑ R. Alexander Pyron; John J. Wiens (2011). "A large-scale phylogeny of Amphibia including over 2800 species, and a revised classification of extant frogs, salamanders, and caecilians". Molecular Phylogenetics and Evolution. 61 (2): 543–583. doi:10.1016/j.ympev.2011.06.012. PMID 21723399.
- ↑ "ฮือฮาพบ "กบ" ขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวจิ๋วเพียง 7 มม". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ กบกินเดือน..หมายถึงอะไร ช่วยบอกที???[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นิทานเรื่อง : อุทัยเทวี (นางพญาขี้คันคาก)". ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน.
- ↑ คางคกสามขา สัตว์นำโชคมงคล
- ↑ "กลอง–กบ". ไทยรัฐ.
- ↑ "การเพาะเลี้ยงกบทูด หรือกบภูเขา หรือเขียดแลว". เทคโนโลยีชาวบ้าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
- ↑ "เกษตรน่ารู้ : "อึ่งปากขวด" อึ่งอ่างพันธุ์หายากใกล้สูญพันธุ์". ช่อง 7.
อ่านเพิ่ม
แก้- Beltz, Ellin (2005). Frogs: Inside their Remarkable World. Firefly Books. ISBN 978-1-55297-869-6.
- Cogger, H. G.; Zweifel, R. G.; Kirschner, D. (2004). Encyclopedia of Reptiles & Amphibians (2nd ed.). Fog City Press. ISBN 978-1-877019-69-2.
- Estes, R., and O. A. Reig. (1973). "The early fossil record of frogs: a review of the evidence." pp. 11–63 In J. L. Vial (Ed.), Evolutionary Biology of the Anurans: Contemporary Research on Major Problems. University of Missouri Press, Columbia.
- Gissi, Carmela; San Mauro, Diego; Pesole, Graziano; Zardoya, Rafael (February 2006). "Mitochondrial phylogeny of Anura (Amphibia): A case study of congruent phylogenetic reconstruction using amino acid and nucleotide characters". Gene. 366 (2): 228–237. doi:10.1016/j.gene.2005.07.034. PMID 16307849.
- Holman, J. A. (2004). Fossil Frogs and Toads of North America. Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34280-5.
- San Mauro, Diego; Vences, Miguel; Alcobendas, Marina; Zardoya, Rafael; Meyer, Axel (May 2005). "Initial diversification of living amphibians predated the breakup of Pangaea". American Naturalist. 165 (5): 590–599. doi:10.1086/429523. PMID 15795855. S2CID 17021360.
- Tyler, M. J. (1994). Australian Frogs A Natural History. Reed Books. ISBN 978-0-7301-0468-1.