เคราติน

(เปลี่ยนทางจาก Keratin)

เคราติน (อังกฤษ: keratin) เป็นโปรตีนหนึ่งในกลุ่มสคลีโรโปรตีนซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างเส้นใย เป็นองค์ประกอบหลักของเส้นผม เล็บ ขนนก เขาสัตว์ และกีบเท้า เคราตินสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือแอลฟา-เคราติน และบีตา-เคราติน โดยแอลฟา-เคราตินมีโครงสร้างแบบเกลียวแอลฟา พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ในขณะที่บีตา-เคราตินมีโครงสร้างแบบแผ่นบีตา พบเฉพาะในสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ของเส้นใยเคราตินภายในเซลล์

ด้านโครงสร้างเคราตินสร้างจากเคราติโนไซต์ในหนังกำพร้า เป็นสายพอลิเพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนส่วนใหญ่เป็นอะลานีน ลิวซีน อาร์จินีน และซิสตีอีนจับกันด้วยพันธะเพปไทด์เป็นเกลียววนขวา[1][2] จากนั้นสายพอลิเพปไทด์ 2 สายจะจับกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์จนกลายเป็นอินเตอร์มีเดียตฟิลาเมนต์ อันเป็นหนึ่งในสามไซโทสเกเลตัน หรือสารโครงร่างของเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อบุผิวจากความเสียหาย[3] เคราตินมีสูตรโมเลกุลคือ C28H48N2O32S4 มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำและตัวละลายอินทรีย์ ทนต่อความเค้น และมีสมบัติหยุ่นหนืด[4]

ทั้งนี้ คำว่าเคราตินมาจากคำภาษากรีกโบราณ: κέρας (kéras) แปลว่าเขาสัตว์[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Burkhard, Peter; Stetefeld, Jörg; Strelkov, Sergei V (2001). "Coiled coils: a highly versatile protein folding motif". Trends in Cell Biology. 11 (2): 82–88. doi:10.1016/s0962-8924(00)01898-5. PMID 11166216.
  2. Pace, C N; Scholtz, J M (1998-07-01). "A helix propensity scale based on experimental studies of peptides and proteins". Biophysical Journal. 75 (1): 422–427. doi:10.1016/S0006-3495(98)77529-0. ISSN 0006-3495. PMC 1299714. PMID 9649402.
  3. "Keratin". Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2020.
  4. Pan, Xiaoou; Hobbs, Ryan P; Coulombe, Pierre A (2013). "The expanding significance of keratin intermediate filaments in normal and diseased epithelia". Current Opinion in Cell Biology. 25 (1): 47–56. doi:10.1016/j.ceb.2012.10.018. PMC 3578078. PMID 23270662.
  5. "Definition of Keratin". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เคราติน
  • "Keratin". New World Encyclopedia.