ภาษายูเครน

(เปลี่ยนทางจาก Ukrainian language)

ภาษายูเครน (ยูเครน: украї́нська мо́ва, ออกเสียง: [ʊkrɐˈjinʲsʲkɐ ˈmɔwɐ]) ซึ่งในอดีตยังมีอีกชื่อว่า ภาษารูทีเนีย (อังกฤษ: Ruthenian language)[9] เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาฟตะวันออกของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นภาษาแม่ของชาวยูเครนและภาษาราชการของประเทศยูเครน และใช้รูปแบบหนึ่งของอักษรซีริลลิกเป็นภาษาเขียน

ภาษายูเครน
украї́нська мо́ва
ออกเสียง[ʊkrɐˈjinʲsʲkɐ ˈmɔwɐ]
ประเทศที่มีการพูดยูเครน
ภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก
ชาติพันธุ์ชาวยูเครน
จำนวนผู้พูดผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 40 ล้านคน (ค.ศ. 2000)[1]  (ไม่พบวันที่)
ผู้พูดทั้งหมดประมาณ 45 ล้านคน[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก (ชุดตัวอักษรยูเครน)
อักษรเบรลล์ยูเครน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศยูเครน ยูเครน

ไครเมีย[หมายเหตุ 1]

ทรานส์นีสเตรีย[หมายเหตุ 2]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย[3]
 เช็กเกีย[4]
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย[3]
ธงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[3]
ธงของประเทศเบลารุส เบลารุส
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์[3]
ธงของประเทศมอลโดวา มอลโดวา[5][6][7]
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย[3]
ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย[3]
ธงของประเทศฮังการี ฮังการี[8]
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครน: สถาบันภาษายูเครน, กองทุนสารสนเทศภาษายูเครน, สถาบันภาษาศาสตร์ปอแตบนียา
รหัสภาษา
ISO 639-1uk
ISO 639-2ukr
ISO 639-3ukr
Linguasphere53-AAA-ed < 53-AAA-e
(วิธภาษา: 53-AAA-eda ถึง 53-AAA-edq)
  บริเวณที่ภาษายูเครนเป็นภาษาหลัก
  บริเวณที่ภาษายูเครนเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ภาษายูเครน

นักภาษาศาสตร์เชิงประวัติสืบหาต้นกำเนิดของภาษายูเครนไปจนถึงภาษาสลาฟตะวันออกเก่าของรัฐรุสเคียฟในสมัยกลางตอนต้น หลังการล่มสลายของรัฐรุสเคียฟและอาณาจักรรูทีเนีย ภาษานี้ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นรูปแบบที่เรียกว่าภาษารูทีเนีย มีการใช้ภาษาสลาวอนิกคริสตจักรแบบเคียฟร่วมกับภาษารูทีเนียในพิธีกรรมทางศาสนาในดินแดนที่จะกลายมาเป็นยูเครนสมัยใหม่[10] เริ่มมีการใช้ภาษายูเครนกันทั่วไปตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งรัฐผู้บัญชาการคอสแซ็ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1804 จนถึงสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน (ค.ศ. 1917–1921) ภาษายูเครนถูกห้ามใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ ในจักรวรรดิรัสเซียซึ่งขณะนั้นครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเครน (ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้)[11] แต่ในภาคตะวันตกของยูเครนยังคงมีผู้ใช้ภาษานี้เรื่อยมาโดยไม่เคยถูกห้าม[12] ทั้งในเพลงพื้นเมือง เพลงและบทกวีของนักดนตรีพเนจร และงานของนักเขียนสำคัญ[12][13]

หน่วยงานที่มีหน้าที่วางระเบียบเกี่ยวกับภาษายูเครนมาตรฐานคือบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันภาษายูเครน กองทุนสารสนเทศภาษายูเครน และสถาบันภาษาศาสตร์ปอแตบนียา) ภาษายูเครนและภาษาเบลารุสมีความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับหนึ่ง[14]

หมายเหตุ

แก้
  1. สถานะของคาบสมุทรไครเมียเป็นประเด็นพิพาทระหว่างยูเครนกับรัสเซียมาตั้งแต่ ค.ศ. 2014
  2. สถานะของทรานส์นีสเตรียเป็นประเด็นพิพาทกับมอลโดวา

อ้างอิง

แก้
  1. "Ukrainisch". Forschungsverbund Ost- und Südosteuropa. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
  2. "Ukrainian". About World Languages. 18 February 2016. สืบค้นเมื่อ 14 March 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "List of declarations made with respect to treaty No. 148 (Status as of: 21/9/2011)". Council of Europe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "National Minorities Policy of the Government of the Czech Republic". Vlada.cz. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
  5. "Игорь Додон // Русский язык должен вернуться в Молдову". Deschide. Deschide. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
  6. "Додон готов изменить статус русского языка в Молдавии в случае воссоединения с Приднестровьем". Rosbalt. Rosbalt. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
  7. "Русский союз Латвии будет сотрудничать с партией Социалистов Молдовы". Rusojuz.lv. Latvian Russian Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2017. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
  8. "Implementation of the Charter in Hungary". Database for the European Charter for Regional or Minority Languages. Public Foundation for European Comparative Minority Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2014. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  9. "Ukrainian language". britannica.com. Encyclopædia Britannica.
  10. Viktor Hrebeniuk. (ПЦУ і церковнослов’янська мова). Volhynian diocese (Orthodox Church of Ukraine). 9 April 2019
  11. Eternal Russia: Yeltsin, Gorbachev, and the Mirage of Democracy by Jonathan Steele, Harvard University Press, 1988, ISBN 978-0-674-26837-1 (p. 217)
  12. 12.0 12.1 Purism and Language: A Study in Modem Ukrainian and Belorussian Nationalism by Paul Wexler, Indiana University Press, ISBN 087750-175-0 (page 309)
  13. Contested Tongues: Language Politics and Cultural Correction in Ukraine by Laada Bilaniuk, Cornell Univ. Press, 2006, ISBN 978-0-8014-7279-4 (page 78)
  14. Alexander M. Schenker. 1993. "Proto-Slavonic," The Slavonic Languages. (Routledge). pp. 60–121. p. 60: "[The] distinction between dialect and language being blurred, there can be no unanimity on this issue in all instances..."
    C.F. Voegelin and F.M. Voegelin. 1977. Classification and Index of the World's Languages (Elsevier). p. 311, "In terms of immediate mutual intelligibility, the East Slavic zone is a single language."
    Bernard Comrie. 1981. The Languages of the Soviet Union (Cambridge). pp. 145–146: "The three East Slavonic languages are very close to one another, with very high rates of mutual intelligibility...The separation of Russian, Ukrainian, and Belorussian as distinct languages is relatively recent...Many Ukrainians in fact speak a mixture of Ukrainian and Russian, finding it difficult to keep the two languages apart..."

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้