ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 (เยอรมัน: Fußball-Europameisterschaft 2024) หรือรู้จักกันในชื่อ ยูโร 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 17 จัดขึ้นโดยยูฟ่า จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม 2024
Fußball-Europameisterschaft 2024 (ในภาษาเยอรมัน) | |
---|---|
United by Football. Vereint im Herzen Europas. (รวมใจกันด้วยฟุตบอล ณ ใจกลางยุโรป) | |
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | ประเทศเยอรมนี |
วันที่ | 14 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม |
ทีม | 24 |
สถานที่ | 10 (ใน 10 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | สเปน (สมัยที่ 4) |
รองชนะเลิศ | อังกฤษ |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 51 |
จำนวนประตู | 117 (2.29 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 2,681,288 (52,574 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด |
|
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | โรดริ |
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม | ลามิน ยามัล |
การแข่งขันครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยครั้งแรก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 ขณะเป็นเยอรมนีตะวันตก และครั้งที่สอง ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 (ซึ่งแข่งขันในปี 2021) แข่งขัน 4 นัด ที่เมืองมิวนิก ซึ่งนับว่าเป็นการแข่งขันครั้งแรกในเยอรมันตะวันออกในอดีต เช่นเดียวกันกับการเป็นเจ้าภาพเดี่ยวของประเทศเยอรมนีครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2006[1][2] การแข่งขันครั้งนี้จะกลับไปเป็นช่วง 4 ปีครั้ง หลังการแข่งขันใน ค.ศ. 2020 ถูกเลื่อนไปยัง ค.ศ. 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
อิตาลีกลับมาป้องกันแชมป์ หลังจากชนะอังกฤษด้วยการดวลลูกโทษในรอบชิงชนะเลิศครั้งก่อนหน้า[3] แต่พ่ายให้กับสวิตเซอร์แลนด์ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[4] ส่วนเยอรมนีเจ้าภาพตกรอบก่อนรองชนะเลิศโดยแพ้สเปน ซึ่งสเปนคว้าแชมป์โดยชนะอังกฤษ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ
การคัดเลือกเป็นเจ้าภาพ
แก้ณ วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2017 ทางยูฟ่าประกาศว่า ประเทศเยอรมนีกับตุรกีประกาศความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันก่อนหน้าเส้นตายในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2017[5][6]
คณะกรรมการบริหารของยูฟ่าเป็นผู้คัดเลือกเจ้าภาพในการลงคะแนนลับ[7][8] ซึ่งเพียงแค่เสียงส่วนมากแค่คะแนนเดียวถือเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเสมอกัน การตัดสินครั้งสุดท้ายจะตกเป็นของอาแล็กซานเดอร์ แชแฟรีน ประธานยูฟ่า[9][10] ในบรรดาสมาชิกคณะกรรมการบริหาร 20 คน มีเพียงไรน์ฮาร์ด กรินเดิล (เยอรมนี) และเซร์เวต ยาร์ดึมจือ (ตุรกี) ที่ไม่สามารถโหวตได้ เนื่องจากไม่มีสิทธิ์ ส่วน Lars-Christer Olsson (สวีเดน) ไม่มาเนื่องจากป่วย ทำให้มีสมาชิกที่สามารถโหวตได้เพียง 17 คน[11][12]
การเลือกเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2018 ที่นียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[11][13][14]
ประเทศ | คะแนน |
---|---|
เยอรมนี | 12 |
ตุรกี | 4 |
งดออกเสียง | 1 |
รวม | 17 |
สนาม
แก้ประเทศเยอรมนีมีสนามกีฬาให้เลือกมากมายที่เป็นไปตามข้อกำหนดความจุขั้นต่ำสำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปของยูฟ่าที่ 30,000 ที่นั่ง[15]
ในสนามที่ได้รับเลือกในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรป 2024 สิบแห่ง มีสนามเก้าแห่งที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ได้แก่ เบอร์ลิน, ดอร์ทมุนท์, มิวนิก, โคโลญ, ชตุทการ์ท, ฮัมบวร์ค, ไลพ์ซิช, แฟรงก์เฟิร์ต และเก็ลเซินเคียร์เชิน[16][17] ดึสเซิลดอร์ฟที่ไม่ใช้ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 แต่เคยใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 จะได้รับดลือกเป็นสนามกีฬาที่สิบ ในทางกลับกัน ฮันโนเฟอร์ นูเรมเบิร์ก และไคเซอร์สเลาเทิร์น เมืองเจ้าภาพในการแข่งขัน ค.ศ. 2006 (นอกจากการแข่งขันใน ค.ศ. 1974 และ 1988 ในกรณีของฮันโนเฟอร์) จะไม่ใช้ในการแข่งขันนี้ มิวนิก ที่ตั้งของเกมแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ก็เป็นเมืองเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ที่มีหลายประเทศเป็นเจ้าภาพ โดยเป็นสถานที่แข่งขัน 4 ครั้ง (เยอรมนีเข้าแข่งสามครั้ง) ท่ามกลางผู้ชมที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากข้อจำกัดต่อโควิด-19[18]
สนามกีฬาอื่น ๆ อย่างในเบรเมินและเมินเชินกลัทบัคไม่ได้รับเลือก[19] พื้นที่ที่มีจำนวนสนามกีฬามากที่สุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 คือภูมิภาคมหานครไรน์-รูฮร์ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินที่มีเมืองเจ้าภาพ 4 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่ง (ดอร์ทมุนท์, ดึสเซิลดอร์ฟ, เก็ลเซินเคียร์เชิน และโคโลญ)[20]
เบอร์ลิน | มิวนิก | ดอร์ทมุนท์ | ชตุทการ์ท |
---|---|---|---|
โอลึมพีอาชตาดีอ็อน | ฟุสบัลอาเรนามึนเชิน | เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน | ชตุทการ์ทอาเรนา |
ความจุ: 71,000[21] | ความจุ: 66,000[22] | ความจุ: 62,000[23] | ความจุ: 51,000[24] |
เก็ลเซินเคียร์เชิน | |||
อาเรนาเอาฟ์ชัลเคอ | |||
ความจุ: 50,000[25] | |||
ฮัมบวร์ค | |||
ฟ็อลคส์พาร์คชตาดีอ็อน | |||
ความจุ: 49,000[26] | |||
ดึสเซิลดอร์ฟ | ฮัมบวร์ค | โคโลญ | ไลพ์ซิช |
แมร์คัวร์ชปีล-อาเรนา | วัลท์ชตาดีอ็อน | ไรน์เอแนร์กีชตาดีอ็อน | เร็ดบุลอาเรนา |
ความจุ: 47,000[27] | ความจุ: 47,000[28] | ความจุ: 43,000[29] | ความจุ: 40,000[30] |
รอบคัดเลือก
แก้ประเทศเยอรมนีเข้ารอบการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพอัตโนมัติ ส่วน 23 ทีมที่เหลือตัดสินผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือก โดย 20 ทีมตัดสินผ่านการคัดเลือกผู้ชนะและอีก 10 ทีมโดยตรง ส่วนอีก 3 ทีมตัดสินผ่านรอบเพลย์ออฟ[31] สิทธิ์ในการเข้าแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ จะตกเป็นของทีมที่ทำได้ดีที่สุดในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23 ที่ไม่ได้เข้ารอบผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือกหลัก[32] การจับสลากฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 รอบคัดเลือกจัดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ที่เฟสต์ฮัลเลอในแฟรงก์เฟิร์ต[33][34] การแข่งขันรอบคัดเลือกจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ส่วนรอบเพลย์ออฟสามครั้งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[35]
ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
แก้ทีม | วิธีการเข้ารอบ | วันที่เข้ารอบ | จำนวนครั้งที่เข้ารอบ[A] |
---|---|---|---|
เยอรมนี[B] | เจ้าภาพ | 27 กันยายน ค.ศ. 2018 | 13 (1972, 1976, 1980, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
เบลเยียม | กลุ่มเอฟ สองอันดับสูงสุด | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 6 (1972, 1980, 1984, 2000, 2016, 2020) |
ฝรั่งเศส | กลุ่มบี ชนะเลิศ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 10 (1960, 1984, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
โปรตุเกส | กลุ่มเจ ชนะเลิศ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 8 (1984, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
สเปน | กลุ่มเอ สองอันดับสูงสุด | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 11 (1964, 1980, 1984, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
สกอตแลนด์ | กลุ่มเอ สองอันดับสูงสุด | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 3 (1992, 1996, 2020) |
ตุรกี | กลุ่มดี สองอันดับสูงสุด | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 5 (1996, 2000, 2008, 2016, 2020) |
ออสเตรีย | กลุ่มเอฟ สองอันดับสูงสุด | 16 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 3 (2008, 2016, 2020) |
อังกฤษ | กลุ่มซี ชนะเลิศ | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2023 | 10 (1968, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012, 2016, 2020) |
ฮังการี | กลุ่มจี ชนะเลิศ | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 4 (1964, 1972, 2016, 2020) |
สโลวาเกีย[C] | กลุ่มเจ รองชนะเลิศ | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 5 (1960, 1976, 1980, 2016, 2020) |
แอลเบเนีย | กลุ่มอี ชนะเลิศ | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 1 (2016) |
เดนมาร์ก | กลุ่มเอช ชนะเลิศ | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 9 (1964, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012, 2020) |
เนเธอร์แลนด์ | กลุ่มบี รองชนะเลิศ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 10 (1976, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2020) |
โรมาเนีย | กลุ่มไอ ชนะเลิศ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 5 (1984, 1996, 2000, 2008, 2016) |
สวิตเซอร์แลนด์ | กลุ่มไอ รองชนะเลิศ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 5 (1996, 2004, 2008, 2016, 2020) |
เซอร์เบีย[D] | กลุ่มจี รองชนะเลิศ | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 5 (1960, 1968, 1976, 1984, 2000)[E] |
เช็กเกีย[C] | กลุ่มอี รองชนะเลิศ | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 10 (1960, 1976, 1980, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
อิตาลี | กลุ่มซี รองชนะเลิศ | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 10 (1968, 1980, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
สโลวีเนีย | กลุ่มเอช รองชนะเลิศ | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 1 (2000) |
โครเอเชีย | กลุ่มดี รองชนะเลิศ | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | 6 (1996, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020) |
จอร์เจีย | เพลย์ออฟ สายซี ชนะเลิศ | 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 | 0 (ครั้งแรก) |
ยูเครน | เพลย์ออฟ สายบี ชนะเลิศ | 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 | 3 (2012, 2016, 2020) |
โปแลนด์ | เพลย์ออฟ สายเอ ชนะเลิศ | 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 | 4 (2008, 2012, 2016, 2020) |
- ↑ ตัวหนา หมายถึงชนะเลิศในปีนั้น ตัวเอียง หมายถึงเป็นเจ้าภาพในปีนั้น
- ↑ ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ถึง 1988 เยอรมนีเข้าร่วมในฐานะเยอรมนีตะวันตก
- ↑ 3.0 3.1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ถึง 1980 สโลวาเกียและเช็กเกียเข้าร่วมในนามเชโกสโลวาเกีย[36][37][38][39]
- ↑ ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ถึง 1984 เซอร์เบียเข้าร่วมในนามยูโกสลาเวีย และใน ค.ศ. 2000 ในนามยูโกสลาเวีย
- ↑ ยูโกสลาเวียในครั้งแรกปรากฏตัวในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 (หลังจากรอบคัดเลือกในฐานะยูโกสลาเวีย) แต่ถูกแทนที่หลังจากถูกสหประชาชาติสั่งแบนจากกีฬาระหว่างประเทศทั้งหมด
ผู้เล่น
แก้แต่ละทีมจะต้องจัดส่งรายชื่อที่มีผู้เล่นอย่างน้อย 23 คน และอย่างมาก 26 คน ภายในระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 7 มิถุนายน[40]
รอบแบ่งกลุ่ม
แก้เวลาทั้งหมดคือเวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2)
กลุ่มเอ
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เยอรมนี (H) | 3 | 2 | 1 | 0 | 8 | 2 | +6 | 7 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | สวิตเซอร์แลนด์ | 3 | 1 | 2 | 0 | 5 | 3 | +2 | 5 | |
3 | ฮังการี | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 5 | −3 | 3 | |
4 | สกอตแลนด์ | 3 | 0 | 1 | 2 | 2 | 7 | −5 | 1 |
กลุ่มบี
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สเปน | 3 | 3 | 0 | 0 | 5 | 0 | +5 | 9 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | อิตาลี | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 | |
3 | โครเอเชีย | 3 | 0 | 2 | 1 | 3 | 6 | −3 | 2 | |
4 | แอลเบเนีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 3 | 5 | −2 | 1 |
กลุ่มซี
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อังกฤษ | 3 | 1 | 2 | 0 | 2 | 1 | +1 | 5 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | เดนมาร์ก | 3 | 0 | 3 | 0 | 2 | 2 | 0 | 3[a] | |
3 | สโลวีเนีย | 3 | 0 | 3 | 0 | 2 | 2 | 0 | 3[a] | |
4 | เซอร์เบีย | 3 | 0 | 2 | 1 | 1 | 2 | −1 | 2 |
หมายเหตุ :
- ↑ 1.0 1.1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รอบคัดเลือก ตารางคะแนนโดยรวม: เดนมาร์ก อันดับที่ 9, สโลวีเนีย อันดับที่ 15.
กลุ่มดี
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ออสเตรีย | 3 | 2 | 0 | 1 | 6 | 4 | +2 | 6 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | ฝรั่งเศส | 3 | 1 | 2 | 0 | 2 | 1 | +1 | 5 | |
3 | เนเธอร์แลนด์ | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 4 | 0 | 4 | |
4 | โปแลนด์ | 3 | 0 | 1 | 2 | 3 | 6 | −3 | 1 |
กลุ่มอี
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โรมาเนีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 3 | +1 | 4 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | เบลเยียม | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | +1 | 4 | |
3 | สโลวาเกีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 | |
4 | ยูเครน | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 4 | −2 | 4 |
กลุ่มเอฟ
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โปรตุเกส | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 3 | +2 | 6[a] | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | ตุรกี | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 5 | 0 | 6[a] | |
3 | จอร์เจีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 4 | 0 | 4 | |
4 | เช็กเกีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 3 | 5 | −2 | 1 |
หมายเหตุ :
ตารางคะแนนทีมอันดับที่สาม
แก้อันดับ | กลุ่ม | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ดี | เนเธอร์แลนด์ (A) | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 4 | 0 | 4 | ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | เอฟ | จอร์เจีย (A) | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 4 | 0 | 4 | |
3 | อี | สโลวาเกีย (A) | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 | |
4 | ซี | สโลวีเนีย (A) | 3 | 0 | 3 | 0 | 2 | 2 | 0 | 3 | |
5 | เอ | ฮังการี (E) | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 5 | −3 | 3 | |
6 | บี | โครเอเชีย (E) | 3 | 0 | 2 | 1 | 3 | 6 | −3 | 2 |
กฎการจัดอันดับ : 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตูได้–เสีย; 3) ประตูที่ทำได้; 4) นัดที่ชนะ; 5) ใบเหลืองและใบแดงที่น้อยกว่า; 6) อันดับทีมในรอบคัดเลือก หรือการจับสลากหากเจ้าภาพ (เยอรมนี) มีส่วนร่วมในการเปรียบเทียบ[41]
(A) ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป; (E) ตกรอบ.
รอบแพ้คัดออก
แก้สายการแข่งขัน
แก้รอบ 16 ทีม | รอบ 8 ทีม | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||||||||
30 มิถุนายน – โคโลญ | ||||||||||||||
สเปน | 4 | |||||||||||||
5 กรกฎาคม – ชตุทการ์ท | ||||||||||||||
จอร์เจีย | 1 | |||||||||||||
สเปน (ต่อเวลา) | 2 | |||||||||||||
29 มิถุนายน – ดอร์ทมุนท์ | ||||||||||||||
เยอรมนี | 1 | |||||||||||||
เยอรมนี | 2 | |||||||||||||
9 กรกฎาคม – มิวนิก | ||||||||||||||
เดนมาร์ก | 0 | |||||||||||||
สเปน | 2 | |||||||||||||
1 กรกฎาคม – แฟรงก์เฟิร์ต | ||||||||||||||
ฝรั่งเศส | 1 | |||||||||||||
โปรตุเกส (ลูกโทษ) | 0 (3) | |||||||||||||
5 กรกฎาคม – ฮัมบวร์ค | ||||||||||||||
สโลวีเนีย | 0 (0) | |||||||||||||
โปรตุเกส | 0 (3) | |||||||||||||
1 กรกฎาคม – ดึสเซิลดอร์ฟ | ||||||||||||||
ฝรั่งเศส (ลูกโทษ) | 0 (5) | |||||||||||||
ฝรั่งเศส | 1 | |||||||||||||
14 กรกฎาคม – เบอร์ลิน | ||||||||||||||
เบลเยียม | 0 | |||||||||||||
สเปน | 2 | |||||||||||||
2 กรกฎาคม – มิวนิก | ||||||||||||||
อังกฤษ | 1 | |||||||||||||
โรมาเนีย | 0 | |||||||||||||
6 กรกฎาคม – เบอร์ลิน | ||||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 3 | |||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
2 กรกฎาคม – ไลพ์ซิช | ||||||||||||||
ตุรกี | 1 | |||||||||||||
ออสเตรีย | 1 | |||||||||||||
10 กรกฎาคม – ดอร์ทมุนท์ | ||||||||||||||
ตุรกี | 2 | |||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 1 | |||||||||||||
30 มิถุนายน – เก็ลเซินเคียร์เชิน | ||||||||||||||
อังกฤษ | 2 | |||||||||||||
อังกฤษ (ต่อเวลา) | 2 | |||||||||||||
6 กรกฎาคม – ดึสเซิลดอร์ฟ | ||||||||||||||
สโลวาเกีย | 1 | |||||||||||||
อังกฤษ (ลูกโทษ) | 1 (5) | |||||||||||||
29 มิถุนายน – เบอร์ลิน | ||||||||||||||
สวิตเซอร์แลนด์ | 1 (3) | |||||||||||||
สวิตเซอร์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
อิตาลี | 0 | |||||||||||||
รอบ 16 ทีมสุดท้าย
แก้สวิตเซอร์แลนด์ | 2–0 | อิตาลี |
---|---|---|
|
รายงาน |
สเปน | 4–1 | จอร์เจีย |
---|---|---|
รายงาน |
|
ฝรั่งเศส | 1–0 | เบลเยียม |
---|---|---|
|
รายงาน |
รอบก่อนรองชนะเลิศ
แก้อังกฤษ | 1–1 (ต่อเวลาพิเศษ) | สวิตเซอร์แลนด์ |
---|---|---|
|
รายงาน |
|
ลูกโทษ | ||
5–3 |
รอบรองชนะเลิศ
แก้รอบชิงชนะเลิศ
แก้สเปน | 2–1 | อังกฤษ |
---|---|---|
|
รายงาน |
|
สถิติ
แก้ผู้ทำประตู
แก้มีการทำประตู 117 ประตู จากการแข่งขัน 51 นัด เฉลี่ย 2.29 ประตูต่อนัด
การทำประตู 3 ครั้ง
การทำประตู 2 ครั้ง
การทำประตู 1 ครั้ง
- เนดิม บัยรามี
- เคลาส์ จาซูลา
- ชาซิม ลาชี
- มาร์กอ อาร์นาอูตอวิช
- คริสท็อฟ เบาม์การ์ทเนอร์
- มิชชาเอล เกรโกริทช์
- มาร์เซ็ล ซาบิทเซอร์
- โรมาโน ชมีท
- แกร์โนท เทราเนอร์
- เกฟิน เดอ เบรยเนอ
- ยูรี ตีเลอมันส์
- อันเดรย์ กรามาริช
- ลูกา มอดริช
- ลูกาช โปรโวต
- ปาตริก ชิก
- โตมาช โซว์แช็ก
- เครสแจน อีเรกเซิน
- มอร์เติน ยูลแมน
- โคล พาล์มเมอร์
- บูกาโย ซากา
- ออลลี วอตกินส์
- ร็องดาล กอโล มัวนี
- กีลียาน อึมบาเป
- ฆวีชา กวารัทส์เฆลีอา
- แอมแร จัน
- อิลไค กึนโดอัน
- แกวิน โชโบต
- บอร์นอบาช วอร์กอ
- นีโกเลาะ บาเรลลา
- อาเลสซันโดร บัสโตนี
- มัตตีอา ซักกัญญี
- แม็มฟิส เดอไป
- สเตฟัน เดอ ไฟร
- ซาฟี ซีโมนส์
- เวาต์ เวคอสต์
- อาดัม บุกซา
- รอแบร์ต แลวันดอฟสกี
- กชึชตอฟ ปียอนแต็ก
- ฟรังซิชกู กงไซเซา
- บรูนู ฟือร์นังดึช
- บือร์นาร์ดู ซิลวา
- เดนิส เดรอกุช
- นีกอลาเอ สตันชู
- สกอตต์ แม็กโทมิเนย์
- ลูกา ยอวิช
- อ็อนเดรย์ ดูดา
- แอริก ยานฌา
- ฌาน คาร์นีชนิก
- ดานิ การ์บาฆัล
- มิเกล เมริโน
- อัลบาโร โมราตา
- มิเกล โอยาร์ซาบัล
- โรดริ
- เฟร์รัน ตอร์เรส
- ลามิน ยามัล
- มิชเชิล เอบิชเชอร์
- ควาดโว ดูอาห์
- เรโม ฟร็อยเลอร์
- ดาน อึนดอย
- แจร์ดัน ชาชีรี
- รูเบน บาร์กัส
- ซาเมท อาคัยดิน
- เคแรม อักทือร์โคลู
- ฮาคัน ชัลฮาโนลู
- อาร์ดา กือแลร์
- แมร์ท มึลดือร์
- แจงค์ โทซุน
- มือกอลา ชาปาแรนกอ
- รอมัน ยาแรมชุก
การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง
- เคลาส์ จาซูลา (ในนัดที่พบกับโครเอเชีย)
- มัคซีมีลีอาน เวอเบอร์ (ในนัดที่พบกับฝรั่งเศส)
- ยัน เฟอร์โตงเงิน (ในนัดที่พบกับฝรั่งเศส)
- โรบิน ฮรานาช (ในนัดที่พบกับโปรตุเกส)
- อันโทนีโอ รือดีเกอร์ (ในนัดที่พบกับสกอตแลนด์)
- ริกการ์โด กาลาฟีโอรี (ในนัดที่พบกับสเปน)
- โดนีเยลล์ มาเลิน (ในนัดที่พบกับออสเตรีย)
- รอแบ็ง เลอ นอร์ม็อง (ในนัดที่พบกับจอร์เจีย)
- ซาเมท อาคัยดิน (ในนัดที่พบกับโปรตุเกส)
- แมร์ท มึลดือร์ (ในนัดที่พบกับเนเธอร์แลนด์)
สัญลักษณ์
แก้มาสคอต
แก้มีการเปิดตัวมาสคอตฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2023 ในการแข่งขันกระชับมิตรนานาชาติระหว่างเยอรมนีกับโคลอมเบียที่เก็ลเซินเคียร์เชิน[58] โดยมาสคอตเป็นหมีเท็ดดีสวมกางเกงขาสั้น[59] มีการใช้วิธีลงคะแนนต่อสาธารณะเพื่อเลือกชื่อมาสคอต โดยมีตัวเลือกเป็น "Albärt", "Bärnardo", "Bärnheart" และ "Herzi von Bär"[60] ต่อมามีการเปิดผลการเลือกต่อสาธารณชนในวันที่ 5 กรกฎาคม โดยชื่อ "Albärt" ได้รับผลโหวตสูงสุดที่ร้อยละ 32[61]
บอลแข่ง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Euro 2024: Germany beats Turkey to host tournament". BBC Sport. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2024. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
- ↑ Penfold, Chuck (27 September 2018). "Germany wins right to host UEFA Euro 2024". dw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
- ↑ "Italy 1–1 England, aet (3–2 on pens): Donnarumma the hero as Azzurri win Euro 2020!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 11 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
- ↑ "Switzerland 2–0 Italy: Swiss club together in Berlin". UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
- ↑ "Euro 2024: Tournament to be held in Germany or Turkey". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 8 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
- ↑ "Germany and Turkey officially interested in hosting UEFA Euro 2024". UEFA. 8 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2017. สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.
- ↑ "Germany to host UEFA Euro 2024". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
- ↑ Georgiou, Stephan (26 September 2018). "Euro 2024: Germany vs Turkey – who's leading the race?". SportsPro (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
- ↑ "UEFA Euro 2024: bid regulations" (PDF). UEFA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2016.
- ↑ Graaf, Patrick de. "EURO 2024 host selection - All about Germany's selection as host country". European Championship 2024 Germany (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
- ↑ 11.0 11.1 "Germany to host UEFA Euro 2024". UEFA. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
- ↑ Adams, Tom (27 September 2018). "Germany win vote to host 2024 European Championship". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
- ↑ Dunbar, Graham (27 September 2018). "Germany beats Turkey to host Euro 2024". AP News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2024. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
- ↑ Dunbar, Graham (27 September 2018). "Germany beats Turkey to host Euro 2024". The Denver Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). The Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
- ↑ ข้อมูล: UEFA Euro 2024 Tournament Requirements, Sector 2, pag. 4, 5.
- ↑ "EURO 2024 host cities: Venue guide". uefa.com. UEFA. 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ "Opening game of UEFA Euro 2024 to take place in Munich, final in Berlin". uefa.com. UEFA. 10 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
- ↑ "Grünes Licht: EM-Spiele in München vor rund 14.000 Zuschauern" [Green light: EC-matches in Munich in front of 14.000 spectators]. kicker.de (ภาษาเยอรมัน). 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
- ↑ "Evaluierungsbericht Stadien/Städte" [Evaluation report stadiums/cities] (PDF). DFB.de (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.
- ↑ "EURO 2024 an Rhein und Ruhr". nrw.de (ภาษาเยอรมัน). North Rhine-Westphalia State Government. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
- ↑ "Event guide: Berlin". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Munich". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Dortmund". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Stuttgart Arena". UEFA. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
- ↑ "Event guide: Gelsenkirchen". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Hamburg". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Dūsseldorf". UEFA. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Frankfurt". UEFA. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Cologne". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "Event guide: Leipzig". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
- ↑ "UEFA Euro 2024 qualifying: All you need to know". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
- ↑ "EURO 2024 play-offs: How they work". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
- ↑ "UEFA Euro 2024 qualifying group stage draw to be staged in Frankfurt in 2022". UEFA.com. Union of European Football Associations. 7 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2022. สืบค้นเมื่อ 7 October 2021.
- ↑ "UEFA Euro 2024 qualifying draw". UEFA.com. Union of European Football Associations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
- ↑ "UEFA Euro 2024: all you need to know". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2020. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
- ↑ UEFA.com (2015-11-17). "UEFA EURO 2016: How all the teams qualified". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ UEFA.com (2021-02-22). "UEFA EURO 2020 contenders in focus: Czech Republic". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ UEFA.com (2021-03-03). "UEFA EURO 2020 contenders in focus: Slovakia". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ UEFA.com (28 December 2023). "Who has qualified for UEFA EURO 2024?". UEFA. สืบค้นเมื่อ 5 January 2024.
- ↑ "Teams allowed to register up to 26 players for UEFA EURO 2024". UEFA.com. Union of European Football Associations. 3 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2024. สืบค้นเมื่อ 8 May 2024.
- ↑ "UEFA Documents". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.
- ↑ "Full Time Report – Switzerland v Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
- ↑ "Full Time Report – Germany v Denmark" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
- ↑ "Full Time Report – England v Slovakia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 June 2024.
- ↑ "Full Time Report – Spain v Georgia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 June 2024.
- ↑ "France vs Belgium" (JSON). Union of European Football Associations. 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Portugal v Slovenia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Romania v Netherlands" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Austria v Türkiye" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Spain v Germany" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Portugal v France" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – England v Switzerland" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 6 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Netherlands v Türkiye" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 6 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Spain v France" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 9 July 2024. สืบค้นเมื่อ 9 July 2024.
- ↑ "Full Time Report – Netherlands v England" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 July 2024.
- ↑ "Spain vs. England" (JSON). Union of European Football Associations. 14 July 2024. สืบค้นเมื่อ 14 July 2024.
- ↑ "Player stats – Goals". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 10 July 2024.
- ↑ "Countdown to Euro 2024 is on". 14 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2023. สืบค้นเมื่อ 15 June 2023.
- ↑ "Germany unveils a teddy bear as the mascot for Euro 2024 but this time wearing shorts". ABC News. 20 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2023. สืบค้นเมื่อ 21 June 2023.
- ↑ "UEFA Euro 2024 mascot unveiled – now we need your helping naming it!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 20 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 June 2023.
- ↑ "Euro 2024 mascot named: Meet Albärt!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.