วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่

(เปลี่ยนทางจาก Tetraodontidae)
วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
ปลาปักเป้าเอ็มบู (Tetraodon mbu) เป็นหนึ่งของสมาชิกในสกุล Tetraodon
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Tetraodontidae
Bonaparte, 1832
สกุล [1]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (อังกฤษ: Puffers, Toadfishes, Blowfishes, Globefishes, Swellfishes) เป็นวงศ์ปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก ครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางท้าย ครีบอกใหญ่กลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมกับครีบหลังและครีบก้น เวลาตกใจสามารถพองตัวได้โดยสูบน้ำหรือลมเข้าในช่องท้อง ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่น มีฟันลักษณะคล้ายปากนกแก้ว 4 ซี่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้น ๆ ผิวขรุขระ มีเกล็ดเป็นหนามเล็ก ๆ อยู่บริเวณด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่นเรียบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tetraodontidae (/เท-ทรา-โอ-ดอน-ทิ-ดี้/)

พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบในน้ำจืดมีน้อย สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 32 ชนิดทั้งในทะเล, น้ำกร่อยและน้ำจืด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง)

กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือกเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีฟันสำหรับกัดแทะเปลือกแข็งที่เป็นแคลเซี่ยมได้เป็นอย่างดี และปลาด้วย รวมทั้งสามารถกัดแทะครีบปลาชนิดอื่นได้ด้วย ในบางชนิดมีพฤติกรรมชอบซุกตัวใต้พื้นทรายเพื่อรอดักเหยื่อ นอกจากแล้วยังสามารถพ่นน้ำจากปากเพื่อเป่าพื้นทรายหาอาหารที่ซ่อนตัวอยู่ได้อีกด้วย[2] [3]

เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน[4] โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้[5]

ชนิดที่พบในไทย

แก้

ทะเลและน้ำกร่อย

  1. Amblyrhynchotes honckenii
  2. Amblyrhynchotes hypselogenion
  3. ปลาปักเป้าหางไหม้ (Arothron immaculatus)
  4. ปลาปักเป้าหน้าหมา (Arothron nigropunctatus)
  5. ปลาปักเป้ายักษ์ (Arothron stellatus)
  6. Arothron reticularis
  7. ปลาปักเป้าทอง (Auriglobus modestus)
  8. Canthigaster margaritata
  9. Canthigaster rivulata
  10. ปลาปักเป้าสมพงษ์ (Carinotetraodon lorteti)
  11. ปลาปักเป้าตุ๊กแก (Chelonodon patoca)
  12. ปลาปักเป้าทอง (Chonerhinos naritus)
  13. ปลาปักเป้าหลังเรียบ (Lagocephalus inermis)
  14. ปลาปักเป้าแถบเงินหลังหนาม (Lagocephalus lunaris)
  15. ปลาปักเป้าหลังดำ (Lagocephalus sceleratus)
  16. Lagocephalus spadiceus
  17. ปลาปักเป้าลายพาดกลอน (Takifugu oblongus)
  18. Takifugu vermicularis
  19. ปลาปักเป้าซีลอน (Tetraodon biocellatus)
  20. ปลาปักเป้าเขียว (Tetraodon fluviatilis)
  21. ปลาปักเป้าจุดดำ (Tetraodon nigroviridris)

น้ำจืด

  1. ปลาปักเป้าทองแม่น้ำโขง (Auriglobus nefastus)
  2. ปลาปักเป้าหางวงเดือน (Leiodon cutcutia)
  3. ปลาปักเป้าจุดส้ม (Pao abei)
  4. ปลาปักเป้าขน (Pao baileyi)
  5. ปลาปักเป้าบึง (Pao brevirostris)[6]
  6. ปลาปักเป้าปากขวด (Pao cambodgensis)
  7. ปลาปักเป้าดำ (Pao cochinchinensis)
  8. ปลาปักเป้าท้องตาข่าย (Pao palembangensis)
  9. ปลาปักเป้าควาย (Pao suvatti)[7][3]

อ้างอิง

แก้
  1. Veeruraj, A. et al. 2011: Distribution of Tetraodontiformes (Family: Tetraodontidae) along the Parangipettai Coast, southeast coast of India. Zootaxa, 3015: 1–12. Preview
  2. Keiichi, Matsura & Tyler, James C. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N.. ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 230–231. ISBN 0-12-547665-5.
  3. 3.0 3.1 นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกรุ...ปักเป้าน้ำจืด
  4. "ปักเป้าน้ำจืดมีพิษ ฤดูวางไข่อันตรายสุด". ไทยรัฐ. 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 26 February 2015.
  5. "ไขปริศนา "ปักเป้าน้ำจืด" กินแล้วตายจริงหรือ?". โพสต์ทูเดย์. 23 February 2015. สืบค้นเมื่อ 26 February 2015.[ลิงก์เสีย]
  6. "เที่ยงเกษตร : ปลาปักเป้าสายพันธุ์ใหม่". ช่อง 7. 29 May 2014. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.[ลิงก์เสีย]
  7. เอกสารทางวิชาการที่ 1/2536 เรื่อง การบริโภคปลาปักเป้าและความเป็นพิษ โดยนางสาวอัธยา กังสุวรรณ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้