ทากิฟูงุ
ทากิฟูงุ | |
---|---|
ปลาปักเป้าในสกุลนี้ที่ไม่ทราบชนิด (Takifugu sp.) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Tetraodontidae |
สกุล: | Takifugu Abe, 1949 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ทากิฟูงุ (อังกฤษ: Takifugu; ญี่ปุ่น: トラフグ属) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุลหนึ่งของปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูงุ" (河豚-แปลว่า หมูแม่น้ำ) เนื่องจากเป็นปลาปักเป้าสกุลที่นิยมนำมาทำซาชิมิหรือปลาดิบ อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อสกุลว่า Takifugu[1]
ลักษณะ
แก้ปลาปักเป้าในสกุลทากิฟูงุนี้ มีทั้งหมด 25 ชนิด พบอาศัยทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด มีรูปร่างโดยรวมคือ คล้ายลูกแพร์ กล่าวคือ มีลำตัวช่วงบนที่เล็ก แต่ช่วงล่างที่ใหญ่ จมูกเป็นท่อยื่นมีช่องเปิด 2 ช่อง ครีบหางตัดตรง เส้นข้างลำตัวมี 2 เส้นโดยส่วนล่างของคอดหางมีสันเนื้อคู่ไปกับเส้นข้างลำตัว มีหนามบริเวณหลัง ข้างลำตัว และท้อง[2] จัดเป็นปลาปักเป้าที่ว่ายน้ำได้เร็วกว่าสกุล Tetraodon โดยมากพบกระจายพันธุ์อยู่ตามชายฝั่งทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนามตอนเหนือ และพบได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก แถบประเทศอินเดีย เป็นต้น[3]
มีสีลำตัวเป็นสีเขียวสดใส หรือสีเขียวเข้ม ช่วงท้องสีขาว และมีจุดเด่นคือ มีจุดกลมสีดำบริเวณครีบอกทั้ง 2 ข้าง ขนาดก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด โดยชนิดที่เล็กที่สุด คือ Takifugu ocellatus ที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร ซึ่งในประเทศไทยมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ T. rubripes ที่โตเต็มที่ได้ถึง 70 เซนติเมตร ซึ่งในตำราการแพทย์จีนในการนำไปทำเป็นยาด้วย
พฤติกรรมและความสำคัญ
แก้ในชนิดที่เป็นปลาสองน้ำ จะเป็นปลาที่วางไข่ในน้ำจืด จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อย ๆ อพยพย้ายไปอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามแถบปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของภูมิภาคแถบนี้ ปลาที่อยู่ในรุ่นพร้อมจะผสมพันธุ์จะอพยพเข้ามาในแม่น้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำแยงซี เพื่อที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ เป็นวงจรเช่นนี้ทุกปี[3]
ปลาปักเป้าสกุลทากิฟูงุ หรือ ฟูงุนี้เป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่น จนปรากฏเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ในยุคเอโดะ ซึ่งปลาในสกุลนี้ทุกชนิดล้วนแต่มีสารพิษในตัวที่เรียกว่า "เตโตรโดท็อกซิน" (Tetrodotoxin) มากน้อยแล้วแต่ชนิด แต่ชนิดที่มีสารพิษชนิดนี้น้อยที่สุด คือ Takifugu oblongus แต่กระนั้นก็สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้สำหรับผู้ที่รับประทานเข้าไป ซึ่งสารพิษชนิดนี้มีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า และทนความร้อนได้สูงถึง 200 เซลเซียส ดังนั้นการใช้ความร้อนธรรมดาในการปรุงอาหารจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ ต้องใช้พ่อครัวที่มีความชำนาญในการชำแหละและปรุง ซึ่งต้องได้รับการลงทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการได้
รายชื่อชนิดของปลาปักเป้าในสกุลทากิฟูงุ
แก้ชนิด | ผู้อนุกรมวิธาน | ชื่อสามัญ (เรียกทับศัพท์) |
แหล่งกระจายพันธุ์ | ขนาดเมื่อโตเต็มที่ | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|
Takifugu alboplumbeus | Richardson, 1845 | Komon-damashi (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก | 23 เซนติเมตร | มีพิษ, อาศัยอยู่เฉพาะทะเล |
Takifugu basilevskianus? | Basilewsky | Sansaifugu (ญี่ปุ่น) | ? | ? | มีพิษ |
Takifugu bimaculatus | Richardson, 1845 | Futatsuboshi-fugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ | 30 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu chinensis* | Abe, 1949 | Karasu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 55 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu coronoidus | Ni & Li, 1992 | 暈環多紀魨 (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | ? | มีพิษน้อย |
Takifugu chrysops* | Hilgendorf, 1879 | Akamefugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 20 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu exascurus | Jordan & Snyder, 1901 | Mushifugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 15 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu flavidus | Li, Wang & Wang, 1975 | Sansaifugu (ญี่ปุ่น), Hwang-jom-pok (เกาหลี), Jú húng dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 35 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu niphobles* | Jordan & Snyder, 1901 | Kusafugu (ญี่ปุ่น), Cá Nóc sao (เวียดนาม) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 15 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu oblongus | Bloch, 1786) | Lattice blaasop, Bebo (อินเดีย), Buntal (มาเลเซีย), Pita-pita (อินโดนีเซีย), Ruitjies-blaasop (แอฟริกาใต้) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก | 40 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu obscurus* | Abe, 1949 | Mefugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก | 40 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu ocellatus | Linnaeus, 1758 | 弓斑多紀魨 (จีน) | ทวีปเอเชีย | 15 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu orbimaculatus | Kuang, Li & Liang, 1984 | 圓斑多紀魨 (จีน) | ทวีปเอเชีย | ? | มีพิษน้อย |
Takifugu pardalis* | Temminck&Schlegel, 1850 | Higanfugu (ญี่ปุ่น), Chol-pok (เกาหลี), Bào wén dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 30 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu poecilonotus* | Temminck & Schlegel, 1850 | Komonfugu (ญี่ปุ่น), Huin-jom-pok (เกาหลี), Ban dian dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 20 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu porphyreus* | Temminck & Schlegel, 1850 | Namera-fugu, Mafugu (ญี่ปุ่น), Kom-pok (เกาหลี), Zi sè dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 52 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu pseudommus | Chu, 1935 | Nameradafugu, Nameradamashi (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 35 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu radiatus | Abe, 1947 | Nashifugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 20 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu reticularis | Tien, Chen & Wang, 1975 | Amime-fugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 29 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu rubripes* | Temminck & Schlegel, 1850 | Torafugu (ญี่ปุ่น), Hóng qí dong fang tún (จีน), Cha-ju-pok (เกาหลี) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 70 เซนติเมตร | มีพิษ, ใช้ในยาจีน, มีลำดับจีโนมที่สมบูรณ์ |
Takifugu snyderi* | Abe, 1988 | Shosai-fugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก | 30 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu stictonotus* | Temminck & Schlegel, 1850 | Gomafugu (ญี่ปุ่น) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 35 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu vermicularis | Temminck&Schlegel, 1850 | Shosaifugu, Nashifugu (ญี่ปุ่น), Kuk-mae-ri-bok (เกาหลี), Chóng wén dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 30 เซนติเมตร | มีพิษ |
Takifugu xanthopterus* | Temminck & Schlegel, 1850 | Shimafugu (ญี่ปุ่น), Kka-ch'i-pok (เกาหลี), Tiáo wén dong fang tún (จีน) | มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ | 50 เซนติเมตร | มีพิษ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Takifugu". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ "คู่มือจำแนกชนิดและการศึกษาความเป็นพิษของปลาปักเป้าทะเลวงศ์ Tetraodontidae ในน่านน้ำไทย". กรมประมง. 22 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014.
- ↑ 3.0 3.1 นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกรุ...ปักเป้าน้ำจืด
- ↑ รายละเอียดในFishbase.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของทากิฟูงุ เก็บถาวร 2010-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน