แร็พเตอร์

(เปลี่ยนทางจาก Raptor)
บทความนี้เกี่ยวกับนักร้อง สำหรับไดโนเสาร์ ดูที่ เวโลซีแรปเตอร์

แร็พเตอร์ / Raptor นักร้องฮิพฮอฟแดนซ์ดูโอในตำนานยุค 90s ของวงการเพลงไทย เปิดตัวอัลบั้มแรกกลางปี 1994 (2537) ภายใต้สังกัด RS Promotion 1992 (RS) โดยมี เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ เป็นโปรดิวเซอร์ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดในการสร้างนักร้องลูกครึ่งวัยเด็กเพื่อบุกตลาดพรีทีนของบริษัท ประกอบไปด้วยสมาชิก 2 คน คือ จอนนี่ อันวา และ หลุยส์ สก็อต ขณะนั้นมีอายุเพียง 10-11 ปี

แร็พเตอร์
Raptor
แร็พเตอร์ (ซ้าย: จอนนี่, ขวา: หลุยส์) ในคอนเสิร์ต GRAMMY X RS : 90's Versary เมื่อ พ.ศ. 2566
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป, แดนซ์, ฮิปฮอป, อาร์แอนด์บี, แร็ปร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2537 - 2541
พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์เอส
สมาชิกจอนนี่ อันวา
หลุยส์ สก๊อต

สมาชิก

แก้
  • Joni Anwar (จอนนี่ อันวา) เกิดเมื่อ 30 สิงหาคม 2524 ลูกครึ่ง อินโดนีเซีย-สก็อต เข้าวงการเมื่ออายุ 10 ขวบโดยโฆษณา บ้านกฤษฎานคร, ภาพยนตร์ โตแล้วต้องโต๋
  • Louis Scott (หลุยส์ สก็อต) เกิดเมื่อ 4 มีนาคม 2525 ลูกครึ่ง ไทย-สก็อต เข้าวงการเมื่ออายุ 7 ขวบโดยเริ่มจากการถ่ายโฆษณา และร่วมแสดงในแสดงภาพยนตร์ โตแล้วต้องโต๋, ภายหลังได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง เด็กเดน (2548)

ประวัติ

แก้

จอนนี่ อันวา และ หลุยส์ สก๊อต เข้ามาเทรนเป็นศิลปินฝึกหัดในค่าย RS ในวัยเพียง 10-11 ปี ตลอดเวลาทำงานเพลงในวงการนาม Raptor มีผลงาน สตูดิโออัลบั้ม ออกมาทั้งหมด 4 อัลบั้ม ( 3 อัลบั้มแรกถูกดูแลและโปรดิวซ์โดย ธนพล อินทฤทธิ์ (เสือ) ศิลปิน โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลงชื่อดังในค่าย) จุดเด่นของวงคือ คาแรคเตอร์เด็กฝรั่งที่แตกต่างจากศิลปินในยุคนั้น ทั้ง 2 คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก โดยเฉพาะจอนนี่ที่แทบจะไม่ใช้ภาษาไทยเลย และเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดในวงการขณะนั้น แนวเพลง hiphop pop dance ผู้นำแฟชั่น กีฬา x tream กีฬาผาดโผด และเป็นที่มาของการนำ โรลเลอร์เบลด ขึ้นไปใช้แสดงบนเวทีคอนเสิร์ตหลายครั้ง ประกอบกับเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ของ จอนนี่ อันวา การร้องประสานและเอนเตอร์เทนของ หลุยส์ สก๊อต คอนเซ็ปต์อัลบั้ม ตัวเพลง ดนตรี และโคโรกราฟ ท่าเต้นที่แข็งแรง ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากนั้น MV หรือ มิวสิควิดิโอ ต่างๆของวงนี้ยังเป็นที่จดจำและได้รับความนิยมพูดถึงเช่นกัน

RAPTOR มีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเองครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี - จอนนี่ หลุยส์ ปรากฏตัวด้วยชุดมนุษย์หิน ฟลิ้นสโตน ในคอนเสิร์ตประจำปี ของ RS ที่ชื่อว่า RS Meeting Concert ตอน บุกเกาะอลเวงร้องเพลงหน้าบาน ปี 2537 ร่วมกับ เสือ ธนพล ( มีลิฟท์ - ออย เป็นแขกรับเชิญเพื่อเปิดตัวศิลปินหน้าใหม่ครั้งแรก) และ เคยปรากฏตัว 10 วินาที ในท้ายภาพยนตร์ของค่ายที่ขึ้นทำเนียบรายได้สูงสุดตอนนั้น อย่าง โลกทั้งใบให้นายคนเดียว

ปี 2537 / 1994 อัลบั้มชุดแรกของ Raptor ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม โดยคอนเซ็ปต์ของอัลบั้มออกมาในรูปแบบใกล้เคียงกับวง Kris Kross ของสหรัฐอเมริกา โดยชื่อ "แร็พเตอร์" ได้มาจากไดโนเสาร์พันธุ์เวโลซีแรปเตอร์ ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง Jurassic Park ที่กำกับโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก จากฉากที่ไดโนเสาร์พันธุ์นี้วิ่งไล่เด็ก ๆ ในเรื่อง [1] เพลงในอัลบั้มชุดแรกส่วนใหญ่จะเป็นการนำเพลงฮิตของศิลปินรุ่นพี่ที่ได้รับความนิยมมาเรียบเรียงและทำดนตรีใหม่โดยเพิ่มท่อนแร็พเข้าไป เช่น เพลง ซูเปอร์ฮีโร่ มาจากเพลง บอดี้การ์ด ของ สมชาย เข็มกลัด หรือ เพลง ลื่นมากเชื่อยาก มาจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลงช้าที่แต่งใหม่มาอีก 2 เพลงคือ "คิดถึงเธอ" และ "คำว่าเพื่อน" ซึ่งบทเพลงเหล่านี้ได้กลายเป็นเหมือนภาพจำที่คนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงแร็พเตอร์ในวัยเด็ก ในช่วงปีนี้ได้มีผลงานเพลงพิเศษ "อย่าคิดว่าเธอไม่มีใคร" ร่วมกับศิลปินกลุ่มแดนซ์ รุ่นพี่ HiJack

ปี 2539 / 1996 เป็นปีที่แร็พเตอร์ทำงานเพลงมากที่สุด ถึง 3 อัลบั้ม ในปีเดียว เริ่มต้นด้วย อัลบั้ม Superteensโปรเจกต์พิเศษรวมกับศิลปินรุ่นพี่ชื่อดังในค่าย ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง , เต๋า สมชาย , หนุ่ม ศรราม , บอยสเก๊าส์ , แซ้งค์ ปฏิวัติ , เจมส์เรืองศักดิ์ , ลิฟท์ออย และ นุ๊ก สุทธิดา เพลงของแร๊พเตอร์ "มากคนมากความ" เพลงเร็วที่ทั้งจอนนี่และหลุยส์ แต่งท่อนแร๊พภาษาอังกฤษเอง

อัลบั้มชุดที่ 2 Waab Boys โดยอัลบั้มชุดนี้ถือว่าเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแร็พเตอร์ ด้วยแนวเพลง เสื้อผ้าสีสันสะดุดตา แว่นตา สีผม ยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ รางวัลมิวสิกวิดิโอยอดเยี่ยม เพลง ไม่แคร์ จาก MTV Asia Awards 1996

ถัดมาไม่นานในปีเดียวกัน แทนการเปลี่ยนปกฉลองล้านตลับ Raptor ออกอัลบั้มที่ 3 Day Shock ต่อทันที ด้านเสื้อผ้าและแฟชั่นยังล้ำสมัยต่อเนื่องจากอัลบั้มชุดที่แล้ว ในอัลบั้มนี้ได้นำเพลงสากลในอดีตกลับมาทำดนตรีใหม่ มีเพลงไทยที่แต่งขึ้นมาใหม่คือเพลง "แรงบันดาลใจ" เป็นเพลงที่ โก้ Mr. Saxman มาเป่าแซกโซโฟนให้ และมีท่อนฮุคภาษาอังกฤษผสมอยู่ในเนื้อเพลง + มีเพลง " อย่าพูดเลย ( underground version)" บรรจุอยู่ด้วย

ปี 2540 / 1997 ปลายปี แร็พเตอร์ ได้ออกอัลบั้มโปรเจกต์พิเศษอีกครั้ง หลังจาก Superteens คือ The Next ร่วมกับศิลปินทีนไอดอลอื่นในค่ายอีก 6 คน ซึ่งเป็นโปรเจกต์ร่วมกับทาง PepsiCo. ไทย สอดคล้องกับแคมเปญ "Pepsi Generation Next" ซึ่งเป็น 1 ในอัลบั้มสุดยอดทั้งกระแสและยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ มีทัวร์คอนเสิร์ตใหญ่ที่กรุงเทพถึง 2 ครั้ง และออกทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ ซึ่งสำหรับแร็พเตอร์แล้ว ในอัลบั้มนี้ได้มีเพลงในตำนานของวัยรุ่นยุค 90s อย่างเพลง "เกรงใจ" กับท่าเต้นที่ถูกเรียกว่า "ท่าโหนรถเมล์" ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 20 ปี

ปี 2541 / 1998 แม้ว่ากำลังอยู่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจยุติวงแร็พเตอร์ ด้วยเหตุผลทางด้านการศึกษา โดยมีอัลบั้มส่งท้าย Goodbye แนวดนตรีมีกลิ่น R&B คอรัสเป็นคนผิวสี และอัลบั้มรวมเพลง The Memory เพิ่มเพลง ความทรงจำ ออกมาเป็นการอำลาอย่างถาวรตอนนั้นในนามศิลปินดูโอ้ ท่ามกลางความใจหายของแฟนเพลง

ปี 2554 / 2011 หลังจากอัลบั้มชุด The Memory ออกวางจำหน่าย และ คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายที่ MBK Hall นานถึง 13 ปี ทั้งคู่ได้กลับมาทำงานร่วมกันรวมถึงประกาศจัดคอนเสิร์ตอีกครั้ง ใช้ชื่อว่า "RAPTOR 2011 The Concert" โดยจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ณ โรงภาพยนตร์กรุงศรี ไอแม็กซ์ เธียเตอร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ และทำการแสดง 2 รอบ (เพิ่มรอบการแสดง จากเดิมที่วางไว้ 1 รอบเท่านั้น ) ในวันที่ 1-2 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน - คอนเสิร์ตครั้งนี้สร้างปรากฏการณ์กระแสบัตรขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว เรียกร้องให้มีการเพิ่มรอบ กลายเป็นคอนเสิร์ต talk of the town ที่มีบรรดาคนดัง เซเลบบริตี้ ศิลปิน นักแสดง นางแบบ ทั่วทุกวงการตบเท้าเข้าชมคอนเสิร์ตครั้งนี้อย่างมากมาย และกลายเป็นตัวจุดกระแสศิลปินยุค 90s ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

ปี 2555 / 2012 ช่วงต้นปี ทาง RS ประกาศจัดคอนเสิร์ตใหญ่ของ Raptor อีกครั้ง ในชื่อ " Raptor 2012 Encore Concert" ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เพราะทนกระแสเรียกร้องและผลตอบรับจากคอนเสิร์ตครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และทันที่ที่เปิดขายบัตร บัตรถูกขายหมดในเวลาเพียง 30 นาที ทำให้มีการเพิ่มรอบการแสดงในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน อีก 1 รอบ เป็น 2 รอบการแสดง[2]

ปี 2556 / 2013 แร็พเตอร์เป็นอีกหนึ่งศิลปินในคอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013ร่วมกับศิลปินอาร์เอสเช่น บาซู, เจมส์, บอยสเก๊าท์, ลิฟท์-ออย, ทัช และ อนัน อันวา[3]

ปี 2559 / 2016 วันที่ 6 มีนาคม Raptor มีคอนเสิร์ตใหญ่กับโปรเจกต์พิเศษที่เคยทำกับในอดีตคือ the next แต่ครั้งนี้มีการรวมศิลปินอีกโปรเจกต์นึงเข้ามาร่วมด้วยคือ the x venture ใช้ชื่อว่า "the next venture" คอนเสิร์ต ครั้งนี้ได้ชื่อว่าเป็นบัตรคอนเสิร์ตที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่ RS เคยจัดมา คือบัตรที่แพงที่สุด ราคาสูงถึง 8,000 บาท

ปี 2562 /2019 Raptor กลับมาจัดคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของ Raptor ใช้ชื่อคอนเสิร์ต Raptor Evolution 25 ปี ไม่มีเกรงใจ วันที่ 7 กันยายน 2562 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อบัตรถูก sold out ในเวลา 20 นาทีเท่านั้น ทำให้มีการเปิดรอบการแสดงเพิ่มในรอบ 14:00 / 19:00 ครั้งนี้มีแขกรับเชิญคือ กอล์ฟฟักกลิ้ง ฮีโร่ ,โต้ง ทูพี ,โดม ปกรณ์ ลัม และนุ่น รมิดา[4]

อัลบั้มชุดแรก แร็พเตอร์ (2537)

แก้

อัลบั้มชุดแรกของวงแร็พเตอร์ ใช้ชื่อ แร็พเตอร์ ชื่อเดียวกับวง ( มี 2 ปกอัลบั้ม ) ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือน สิงหาคม ปี 2537 โดยได้ เสือ - ธนพล อินทฤทธิ์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ ทำเพลงและแต่งท่อนแร๊พให้ คอนเซ็ปต์ของอัลบั้มออกมาในรูปแบบของเด็กลูกครึ่งสองคน ร้องเพลงแร็พ,ป๊อป,แดนซ์,ฮิปฮอป,แร็ปร็อก แต่งตัวฮิป-ฮอป ใกล้เคียงกับวงฮิปฮ็อปสัญชาติอเมริกัน คริสครอส (ภาษาอังกฤษ : Kris Kross) โดยอัลบั้มนี้จะเป็นการนำเพลงฮิตของศิลปินในช่วงยุคนั้นมาทำใหม่ อาทิ เพลง ซูเปอร์ฮีโร่ มาจากเพลง บอดี้การ์ด ของ สมชาย เข็มกลัด (เต๋า) , เพลง ลื่นมากเชื่อยาก มาจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลงช้าที่ได้รับความนิยมได้แก่เพลง "คิดถึงเธอ" และ "คำว่าเพื่อน" ผลจากความนิยมทำให้อัลบั้มแรกของวง มีการเปลี่ยนปกอัลบั้มเพื่อวางจำหน่ายใหม่อีกด้วย

อัลบั้มชุดที่สอง Waab Boys และชุดที่สาม Day Shock (2539)

แก้

อัลบั้มที่ 2 - Waab Boys อัลบั้มชุดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแร็พเตอร์ โปรดิวเซอร์คือ เสือ ธนพล อินทฤทธิ์ เช่นเดิม ด้วยแนวเพลงที่โตขึ้นอย่างมาก ซาวน์ดนตรีทันสมัยและแปลกไปจากชุดก่อน มีความเป็น Pop Dance,RapRock ชัดเจนและ Performance ที่แข็งแกร่งมากขึ้น แม้แต่ปกเทปยังถูกออกแบบด้วยภาพลักษณ์ใหม่ทันสมัยสะดุดตา ทำให้อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จด้วยยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับได้ไม่ยากนัก มี Pookie ปริศนา พรายแสง มาช่วยเป็น Vocal Harmony ให้ เพลงและมิวสิควิดิโอที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ "อย่าพูดเลย" "รู้สึกอย่างไร"และ"ไม่แคร์" MV เพลง ไม่แคร์ ได้รับรางวัลระดับ Asia ในงาน MTV asia awards 1996 (2539) สาขา มิวสิควิดิโอยอดเยี่ยม

หลังความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอัลบั้ม Waab boys ทำให้เกิด DayshocK- อัลบั้มชุดที่ 3 (มี 2 ปกอัลบั้ม) ตามมาทันทีในปีเดียวกัน (แทนการเปลี่ยนปกฉลองยอดขายตามการตลาดของค่ายตอนนั้น ) โดยมี เสือ ธนพล เป็น Producer ให้เป็นชุดสุดท้าย อัลบั้มนี้ได้นำเอาเพลงสากลในอดีตกลับมาทำดนตรีใหม่ ซื่งก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องไม่ต่างจากอัลบั้มที่2 ทั้งที่ห่างจากอัลบั้มที่ 2 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อัลบั้มนี้มีเพลงไทยที่มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษ ถูกแต่งขึ้นมาใหม่ 1 เพลง เป็นเพลงพิเศษคือเพลง "แรงบันดาลใจ" (Inspiration) ผลงานในอัลบั้มนี้ได้รับกระแสตอบรับอย่างมากอีกเช่นเคย จึงฉลองยอดขายด้วยการเปลี่ยนปกอีกครั้ง และ เพิ่มเพลง อย่าพูดเลย (Underground Version)

อัลบั้ม The Next (2540)

แก้

ปึถัดมา RS ร่วมกับทางแบรนด์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลม PEPSI ไทย สร้างแคมเปญ "Pepsi Generation Next" ต่อยอดทั้งผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมเข้ากับความโด่งดังของศิลปินทีนไอดอล 8 คนในขณะนั้น ออกมาเป็นอัลบั้ม project พิเศษ " The Next " จุดเด่นของอัลบั้มนี้คือ คาแรคเตอร์ที่แตกต่างของศิลปินทั้ง 8 ถูกผนวกเข้ากับธีมสีน้ำเงินตามสีแบรนด์สปอนเซอร์อัลบั้ม เพลงธีมอย่าง Love of generation next เนื้อเพลงถูกร้อยเรียงแต่งขึ้นจากตัวเพลงที่นิยมของศิลปินทุกคน อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง การันตีด้วยยอดขายเกิน 1 ล้านตลับ มีการจัดทัวร์คอนเสิร์ตไปตามหลายจังหวัดใหญ่ทั่วประเทศ รวมทั้งคอนเสิร์ตใหญ่ 2 ครั้งที่กรุงเทพ โดยแร็พเตอร์มีเพลงที่เป็นที่รู้จักจากอัลบั้มนี้ คือเพลงช้า "คำเดียว" และเพลงเร็ว "เกรงใจ" มีท่าเต้นที่ได้โด่งดังจนได้รับการขนานนามว่า "ท่าโหนรถเมล์"

อัลบั้มที 4 Goodbye และ ยุติวง (2541)

แก้

อัลบั้มชุดที่ 4 (มี 2 ปกอัลบั้ม) ผสมผสานทั้งเพลงสากล และเพลงไทย มีเพลงซาโยนาระ กู๊ดบาย แต่งขึ้นมาเพื่อบอกว่าเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้ายของแร็พเตอร์ หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี แต่ทั้งคู่ก็ได้ตัดสินใจยุติวงในปี 2541 ด้วยเหตุผลทางการศึกษา

ในปีเดียวกันนี้ แร็พเตอร์ได้ปล่อยอัลบั้มรวมเพลง The Memory ออกมาเป็นการอำลา มีเพลงพิเศษเพลงสุดท้ายที่ถูกทำขึ้นมาบรรจุอยู่ด้วยคือเพลง "ความทรงจำ" รวมถึงมีคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายกับแฟนเพลงที่ MBK Hall

คอนเสิร์ต RAPTOR 2011 The Concert (2554)

แก้

หลังจากสตูดิโออัลบั้ม Raptor Goodbye อัลบั้มรวมเพลง The Memory และคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายของ Raptor ที่ MBK hall ผ่านไป 13 ปี ทั้งคู่ได้กลับมาประกาศจัดคอนเสิร์ต "RAPTOR 2011 The Concert" โดยจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ณ โรงภาพยนตร์กรุงศรี ไอแม็กซ์ เธียเตอร์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ และทำการแสดงในวันที่ 1-2 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน[5]

คอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013 (2556)

แก้

และในปี 2556 แร็พเตอร์เป็นอีกหนึ่งศิลปินในคอนเสิร์ตอาร์เอสมีตติ้ง RS Meeting Concert Return 2013 ร่วมกับศิลปินอาร์เอสเช่น บาซู, เจมส์, บอยสเก๊าท์, ลิฟท์-ออย, ทัช และ อนัน อันวา[6]

คอนเสิร์ตเดอะเนกซ์ เวนเจอร์ The Next Venture Concert 2016 (2559)

แก้

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2559 แร็พเตอร์มีคอนเสิร์ต The Next Venture Concert 2016 ร่วมกับ โดม ปกรณ์ ลัม เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ลิฟท์ สุพจน์ จันทร์เจริญ ออย ธนา สุทธิกมล และ วอย เกรียงไกร อังคุณไชย เป็นการกลับมาพบกันครั้งในรอบ 19 ปี ของศิลปินทั้ง 7 คน ขาดเพียง เจอาร์ พร้อมศิลปินจาก The X venture อีกโปรเจกพิเศษในปีถัดมาจาก The Next ของทางเป๊บซี่และอาร์เอสคือ แนนซี่ ราฟฟี่ เอิร์น-จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร และโมเม นภัสสร ขึ้นทำการแสดงด้วย ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี[7]

สตูดิโออัลบั้ม และ อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  1. Raptor (พ.ศ. 2537 / 2 ปกอัลบั้ม)
  2. Waab Boys (พ.ศ. 2539)
  3. Day Shock (พ.ศ. 2539 / 2 ปกอัลบั้ม)
  4. Goodbye (พ.ศ. 2541 / 2 ปกอัลบั้ม)
  5. The Memory (พ.ศ. 2541)

อัลบั้มพิเศษ (ร่วมกับศิลปินอื่นๆ)

แก้
  • เพลงพิเศษ "อย่าคิดว่าเธอไม่มีใคร" ร่วมร้องกับ ไฮแจ็ค (อยู่ในอัลบั้ม 'ไฮแจ็ค รวมฮิตแบบเจ็บๆ')
  • RS Super Teens (2539)
  • The Next (2540-2541)

คอนเสิร์ต

แก้
  • Raptor Concert ตอน จอนนี่แอนด์หลุยส์ตะลุยไฮแจ็ค 24 ก.ย. 37 MBK Hall
  • อาร์เอส.มีตติ้ง คอนเสิร์ต ตอน บุกเกาะอลเวงร้องเพลงหน้าบาน 22 ต.ค. 37 MBK Hall
  • อาร์เอส.เฟรชชี่แจม คอนเสิร์ต 11 พ.ย. 38 สนามกีฬากองทัพบก
  • Super Teens Super Concert 17 ก.พ. 39 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก
  • Pepsi-Teenology Concert Waab-Z 6 เม.ย. 39 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก
  • Waab Boys Waab คอนเสิร์ต 25 พ.ค. 39 ไอซ์แลนด์ ฮอลล์ แฟชั่นไอซ์แลนด์
  • ย๊ากส์ คอนเสิร์ต 21 ก.ย. 39 ไอซ์แลนด์ ฮอลล์ แฟชั่นไอซ์แลนด์
  • Joni and Louis Let’s Shock Concert 12 ต.ค. 39 MBK Hall
  • อาร์เอส.มีตติ้ง คอนเสิร์ต ตอน ตามระเบียบ…เต้น 1 ก.พ. 40 MBK Hall
  • Pepsi The Next Generation Concert 17-18 ม.ค. 41 MBK Hall
  • Munchos Dance Concert Raptor OH Yes! 4 ก.ค. 41 MBK Hall
  • Goodbye Concert Sayonara Raptor 5 ก.ย. 41 MBK Hall
  • RAPTOR 2011 The Concert 1-2 ต.ค. 54 รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน
  • RAPTOR 2012 Encore Concert 21 เม.ย. 55 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert Return 2013 18-19 พ.ค. 56 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • The Next Venture Concert 2016 6 มีนาคม 2559 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RAPTOR Evolution Concert 25 ปี ไม่มีเกรงใจ 7 กันยายน 2562 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert 2022: Dance Marathon ปลายปี...ถึงทีเต้น (17 ธันวาคม 2565) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS HITS JOURNEY CONCERT 2023 #ต้นปีถึงทีฮิต (27 พฤษภาคม 2566) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • GRAMMY X RS : 90's Versary Concert (29–30 กรกฎาคม 2566) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • RS Meeting Concert 2024: Dance Marathon 2 ยกกำลังเต้น (17 กุมภาพันธ์ 2567) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

รายชื่อเพลง

แก้
ลำดับ ชื่อเพลง
1 ซูเปอร์ฮีโร่
(ดัดแปลงจากเพลง บอดี้การ์ด ของ เต๋า สมชาย)
2 ต้องยกให้
(ดัดแปลงจากเพลง แจ๋วจริง ของ เจี๊ยบ พิสุทธิ์)
3 ห้ามจัง
4 คิดถึงเธอ
5 อย่างนี้น่ะใช่
(ดัดแปลงจากเพลง ไชน่าเกิร์ล ของ ต่อ-ต๋อง วงทู)
6 ช่วบด้วย
(ดัดแปลงจากเพลง ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย ของ วงเอาท์ไซเดอร์)
7 ลื่นมากเชื่อยาก
(ดัดแปลงจากเพลง ลื่น ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง)
8 ลุยสิ
(ดัดแปลงจากเพลง ปอด ปอด ของ บอยสเก๊าท์ )
9 อย่าพูดว่าเลิก
(ดัดแปลงจากเพลง เล่นเจ็บเจ็บ ของ ไฮแจ็ค)
10 คำว่าเพื่อน
ลำดับ รายชื่อเพลง
1 ไม่แคร์
2 รู้สึกอย่างไร
3 อย่าพูดเลย
4 HOLIDAY
5 ปลอบเพื่อน
6 ไล่ไม่เลิก
7 SIGNAL
8 อย่าพูดเลย (MIXED VERSION)
9 รักกันนี่นา
10 จำฉันได้ไหม
11 คนน่ารัก
12 BABY
ลำดับที่ ชื่อเพลง เวลา
1 อย่าพูดเลย (Underground Version)
(เฉพาะอัลบั้มเปลี่ยนปก)
3.21
2 แรงบันดาลใจ 5.48
3 I'll Never Dance Again 3.28
4 Johnny Can't Read 4.15
5 Just Don't Want To Be Lonely 3.55
6 Let's Live For Today 3.55
7 Oh, My Love 3.36
8 The Twelfth Of Never 3.22
9 I Was Made For Dancing 4.35
10 แรงบันดาลใจ (Friends Version) 4.15

รายชื่อเพลง

  1. Goodbye - 01 - Sayonara Goodbye
  2. Goodbye - 02 - ใช่เลย (Oh Yes)
  3. Goodbye - 03 - In My Heart
  4. Goodbye - 04 - I Don't Like To Sleep Alone
  5. Goodbye - 05 - ประหลาดใจ
  6. Goodbye - 06 - รู้ตัวบ้างไหม
  7. Goodbye - 07 - Sayonara Goodbye (Acoustic)
  8. Goodbye - 08 - Go-Go-Go
  9. Goodbye - 09 - Don't You Just Know It
  10. Goodbye - 10 - Runaway
  11. Goodbye - 11 - In The Flesh
  12. Goodbye - 12 - Sayonara Goodbye (ดนตรีฝึกร้อง)

รายชื่อเพลง

  • 1. Raptor - 01 ความทรงจำ (3:36)
  • 2. Raptor - 02 คิดถึงเธอ (3:54)
  • 3. Raptor - 03 คำว่าเพื่อน (4:58)
  • 4. Raptor - 04 เกรงใจ (4:14)
  • 5. Raptor - 05 In My Heart (4:23)
  • 6. Raptor - 06 อย่าพูดเลย (3:31)
  • 7. Raptor - 08 ซูเปอร์ฮีโร่ (3:17)
  • 8. Raptor - 09 รู้ตัวบ้างไหม (4:46)
  • 9. Raptor - 10 คำเดียว (3:38)
  • 10. Raptor - 11 ใช่เลย(Oh Yes !) (3:29)
  • 11. Raptor - 12 Let's Live For Today (3:54)
  • 12. Raptor - 13 แรงบันดาลใจ (5:49)
  • 13. Raptor - 14 Sayonara Goodbye (4:20)

อัลบั้มพิเศษ (ร่วมกับศิลปินอื่นๆ) The Next (2540-2541) ยอดขายกว่าล้านตลับ
รายชื่อเพลง

  • 1. The Next - Love of Generation Next (5:07)
  • 2. โดม ปกรณ์ ลัม - อย่าให้ใจกันเลย (Featuring ลิฟท์ & ออย) (4:14)
  • 3. แร็พเตอร์ - เกรงใจ (4:16)
  • 4. J.R. Voy - หลบหน่อย (พระเอกมา) (3:44)
  • 5. เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ - ยอม (Featuring ลิฟท์ & ออย) (4:07)
  • 6. The Next -06- ปี๊นๆ (ลิฟท์ , ออย) (3:43)
  • 7. J.R. Voy - รักเธอทุกวัน (3:38)
  • 8. ลิฟท์ & ออย - นาทีที่สวยงาม (3:51)
  • 9. โดม ปกรณ์ ลัม - ทำไม่ได้นะ (4:05)
  • 10. แร็พเตอร์ - คำเดียว (3:41)
  • 11. เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ - อยู่นี่ไง (4:37)
  • 12. The Next - Party (4:08)

อ้างอิง

แก้
  1. เปริมี่1 (September 11, 2012). "## หลายเรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับ RS Promotion ##". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  2. RAPTOR 2011 The Concert
  3. - RS Meeting Concert Return 2013 Shadow
  4. สมศักดิ์ศรี 25 ปี'แร็พเตอร์'จัดเต็มแบบไม่มีเกรงใจ
  5. RAPTOR 2011 The Concert
  6. - RS Meeting Concert Return 2013 Shadow
  7. RS คอนเฟิร์ม "The next venture concert" มันส์แน่!

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้