พารากอน ฮอลล์

ศูนย์ประชุมและโถงคอนเสิร์ตในกรุงเทพมหานคร
(เปลี่ยนทางจาก รอยัล พารากอน ฮอลล์)

พารากอน ฮอลล์ (อังกฤษ: Paragon Hall; ชื่อเดิม: รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall)) เป็นศูนย์แสดงสินค้า การประชุม และโถงคอนเสิร์ตในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นโถงประชุมหลัก 3 ห้อง และห้องประชุมย่อยอีก 6 ห้อง เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าหลักของย่านสยาม ย่านการค้าสำคัญใจกลางกรุงเทพมหานคร พารากอน ฮอลล์ จึงมักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานสำคัญต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การประกวด/แข่งขัน, งานแสดงสินค้า และคอนเสิร์ต เป็นต้น

พารากอน ฮอลล์
บรรยากาศภายในรอยัล พารากอน ฮอลล์ เมื่อปี พ.ศ. 2565 (ก่อนปรับปรุง)
แผนที่
ที่ตั้ง991 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E / 13.746993; 100.534945
เจ้าของบริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ผู้ดำเนินการบริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
เริ่มสร้างพ.ศ. 2548
เปิดใช้งานกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ปรับปรุงพ.ศ. 2566 – 2567
งบประมาณในการก่อสร้าง
800 ล้านบาท
ชื่อเดิมรอยัล พารากอน ฮอลล์
ที่นั่งแบบโรงละคร
7,200 ที่นั่ง
พื้นที่ปิดล้อม
พื้นที่ทั้งหมด12,000 ตารางเมตร
ที่จอดรถ4,000 คัน
ขนส่งมวลชน สยาม
เว็บไซต์
www.paragonhall.com

ประวัติ

แก้
 
โลโก้ของรอยัล พารากอน ฮอลล์ เดิม

พารากอน ฮอลล์ มีชื่อเดิมว่า รอยัล พารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall) เป็นศูนย์ประชุมหลักภายในศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นเจ้าของโดย บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด[1] ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ผู้บริหารเดียวกับทรู ไอคอน ฮอลล์ ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม)[2] ซึ่งทั้ง 2 บริษัทอยู่ในเครือสยามพิวรรธน์ โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง 800 ล้านบาท[3] เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[1]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2566 สยามพิวรรธน์ได้ประกาศปรับปรุงรอยัล พารากอน ฮอลล์ เพื่อรองรับรูปแบบการจัดงานให้มากขึ้น เป็น "ศูนย์กลางสถานที่จัดอีเวนต์และความบันเทิง" (Extraordinary Eventainment) โดยปิดปรับปรุงตั้งแต่เดือนธันวาคม และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในชื่อ พารากอน ฮอลล์ (Paragon Hall) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567[4] โดยงานแรกที่จัดที่พารากอน ฮอลล์ โฉมใหม่นี้ คือ งานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 57 ของสภากาชาดไทย[5]

องค์ประกอบ

แก้

พารากอน ฮอลล์ มีพื้นที่รวม 12,000 ตารางเมตร ออกแบบและการตกแต่งภายในอย่างพิถีพิถัน และจัดสรรพื้นที่อย่างลงตัว เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมทุกรูปแบบ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงสินค้า นิทรรศการ การประชุม การเลี้ยงโต๊ะ และกิจกรรมพิเศษ เป็นต้น ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ ได้แก่[1][3]

  • โถงประชุมหลัก 3 โถง
    • พารากอน ฮอลล์ 1 ออกแบบเป็นรูปเหลี่ยมเพชร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "พารากอน" ที่สะท้อนความงดงามของแสงธรรมชาติในยามกลางวัน และแสงไฟในยามกลางคืน มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร รองรับคนได้มากกว่า 2,000 คน เพดานสูง 8 เมตร ผนังทั้ง 3 ด้านล้อมรอบด้วยกระจกใส ทำให้แสงจากภายนอกผ่านเข้ามาในโถงได้อย่างเต็มที่ สามารถมองเห็นสวนธรรมชาติภายนอกโถงได้
    • พารากอน ฮอลล์ 2 และ 3 มีพื้นที่รวม 5,100 ตารางเมตร สามารถแบ่งเป็น 2 โถงได้โดยใช้ผนังเลื่อนเก็บเสียง (Portable partition) ความสูง 12.5 เมตร รองรับการจัดงานทุกรูปแบบ โดยเฉพาะคอนเสิร์ต ซึ่งสามารถรองรับคนได้มากกว่า 5,000 คน พร้อมด้วยจุดยึดแขวนรับน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัมต่อจุด สำหรับแขวนป้ายตกแต่งและอุปกรณ์อื่น ๆ
  • ห้องประชุมย่อย 6 ห้อง ขนาด 50-300 ตารางเมตร สำหรับการประชุมและสัมมนาต่าง ๆ

การใช้งาน

แก้

พารากอน ฮอลล์ เคยเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น งานประกาศผลรางวัล การประกวด งานแสดงสินค้า การแสดงสด คอนเสิร์ต และละครเวที ดังนี้

งานประกาศผลรางวัลและการประกวด

แก้

งานแสดงสินค้า

แก้
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550; ตลาดซื้อขายภาพยนตร์)
  • งานแสดงตราไปรษณียากรภาคพื้นเอเชีย 2550 (3-12 สิงหาคม พ.ศ. 2550)
  • Bangkok Interactive Game Festival (BIG Festival) 2008 (3-6 เมษายน พ.ศ. 2551) และ 2009 (15-18 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
  • งานคอมเวิลด์ ไทยแลนด์
  • งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมบันเทิงไทย 2551 (24-28 กันยายน พ.ศ. 2551) และ พ.ศ. 2552 (16-20 กันยายน พ.ศ. 2552)
  • Thailand ICT Contest Festival 2008 และ 2009
  • Thailand Internet Expo 2009
  • Thailand Software Fair 2009
  • SET In the City 2009
  • Bangkok International Game Festival 2009-2012 (BIG Festival 2009-2012)
  • Japan Expo in Thailand 2012-2017
  • Thailand Game Show BIG Festival 2013
  • งานแสดงตราไปรษณียากรโลก กรุงเทพ พ.ศ. 2556
  • Thailand Comic Con 2014
  • Bangkok Comic Con 2014
  • Thailand Comic Con 2015 X Anime Idol Asia 2015
  • Bangkok Comic Con X Thailand Comic Con 2018
  • Toyotsu Japan Festival
  • Nippon Haku Bangkok

คอนเสิร์ต ไลฟ์โชว์ และละครเวที

แก้

การเมือง

แก้

งานอื่น ๆ

แก้

ระเบียงภาพ

แก้

รางวัล

แก้
  • ป้ายมาตรฐานอาคารปลอดภัย ประจำปี 2554
  • รางวัลธรรมาภิบาลดีดเด่น ประจำปี 2558
  • TCC Best 2014
  • Thailand MICE Venue Standard 2014
  • Thailand MICE Venue Standard 2015
  • Thai Chamber Of Commerce Best Award 2016
  • TBCSD Green Meetings
  • ISO 22301 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ[10]
  • ISO 20121 การบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน[10]
  • TIS 22300 การจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการจัดประชุม สัมมนาและนิทรรศการ[10]
  • Superbrands Award 2017
  • ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย
  • ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน ประเภท สถานที่จัดงานแสดงสินค้า[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "สยามพารากอน ตอกย้ำความภาคภูมิแห่งสยามผงาด "รอยัล พารากอน ฮอลล์"". Positioning Magazine. 19 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "สยามอัลไลแอนซ์ แมเนจเม้นท์ นำ รอยัล พารากอน ฮอลล์ และ ทรู ไอคอน ฮอลล์ คว้าสองตรามาตรฐาน ตอกย้ำการเป็นผู้นำสถานที่จัดงานระดับโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 30 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 เทง, ทาลูน (4 กรกฎาคม 2017). "'ทีมเวิร์ค-นวัตกรรม' หัวใจสำคัญของ รอยัล พารากอน ฮอลล์ World Class Venue ที่สุดของไทย". Marketing Oops! (Interview). สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
  4. "BABYMONSTER ประกาศเพิ่มรอบแฟนมีตติ้งในไทย เจอกันแน่ 29-30 มิถุนายน นี้". สปริงนิวส์. 4 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ตื่นตาสินค้าพื้นเมือง 57 ชาติ งาน'ออกร้านคณะภริยาทูต'". ไทยโพสต์. 6 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ""วัยรุ่น" แห่ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าคึกคักแน่นพารากอนฮอลล์". ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16. 7 พฤษภาคม 2023.
  7. ""ม.ราม-รอยัล พารากอนฮอลล์-เขตห้วยขวาง" คนแห่เลือกลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. มากสุด". mgronline.com. 2023-04-26.
  8. "สยามพารากอนเปิดพื้นที่ทางเลือกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ใจกลางกรุงเทพมหานคร". เดอะสแตนดาร์ด. 21 พฤษภาคม 2021.
  9. "สยามพารากอน ร่วมกับ โรงพยาบาลสมิติเวช เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นฟรี ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.นี้ ณ ห้องประชุม 3-4 รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5". RYT9. 15 พฤษภาคม 2023.
  10. 10.0 10.1 10.2 "'รอยัล พารากอน ฮอลล์' ประกาศยึดตำแหน่ง 'ศูนย์กลางสถานที่จัดงานระดับโลกใจกลางกรุงเทพมหานคร'". สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′49″N 100°32′06″E / 13.746993°N 100.534945°E / 13.746993; 100.534945