ราชาธิปไตย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ราชาธิปไตย (อังกฤษ: monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติในราชวงศ์เดียวกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งหรือตั้งตนเป็นเจ้าด้วยเช่นกัน ขณะที่ในระบอบสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ซึ่งมักเรียกว่าประธานาธิบดี) โดยปกติมาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น 4 ปี 6 ปี เป็นต้น
ราชาธิปไตยเป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด อาจถือกำเนิดขึ้นจากระบบการปกครองแบบหัวหน้าเผ่า (tribal kingship) หรือสมณเพศหลวง (royal priesthood) ในอดีต บางประเทศเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้เทวสิทธิ์ให้มาปกครองประเทศตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า หรือบางประเทศอาจเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้ามาจุติหรืออวตาร พระมหากษัตริย์ยังอาจมาจากพฤติการณ์รุนแรงของกลุ่มรุกรานต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแย่งชิงสิทธิของชุมชนเหนือประเพณี ผู้นำของกลุ่มที่แย่งชิงสิทธินั้นมักสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ สถานะพระมหากษัตริย์กล่าวกันว่าเป็นผลซึ่งเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร ชุมชน พระมหากษัตริย์และตำแหน่งของพระองค์
ราชาธิปไตยเคยเป็นระบอบการปกครองที่แพร่หลายที่สุดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัจจุบันมิได้แพร่หลายอีกต่อไป อย่างน้อยก็ในระดับชาติ ประเทศซึ่งยังปกครองแบบราชาธิปไตยอยู่ ปัจจุบันมักพบในรูปของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงถือบทบาททางกฎหมายและพิธีกรรมเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ทรงใช้หรือใช้อำนาจทางการเมืองอย่างจำกัดตามรัฐธรรมนูญหรือประเพณีซึ่งจัดสรรรฝ่ายปกครองที่อื่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ แต่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่ประชาชน (ปรมิตตาญาสิทธิราชย์) พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ถูกสถาปนาขึ้นตามจารีตประเพณีหรือตามประมวลกฎหมายเพื่อไม่ให้มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง ส่วนบางประเทศยังใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเบ็ดเสร็จไม่ถูกจำกัดภายใต้กฎหมาย
ปัจจุบันมี 44 รัฐเอกราชในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดย 16 รัฐเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งยอมรับว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐของตน ประเทศราชาธิปไตยทุกประเทศในยุโรปเป็นแบบภายใต้รัฐธรรมนูญ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน
ประเภทของราชาธิปไตย
แก้ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น
- สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของรัฐและการบริหาร
- ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) กษัตริย์เป็นประมุขที่มีอำนาจจำกัด เช่น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) ซึ่งพระราชอำนาจจะจำกัดอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
การล่มสลายของราชาธิปไตย
แก้ราชาธิปไตยอาจถึงจุดจบได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น อาจจะมีการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์เกิดขึ้น หรืออย่างในอิตาลีหรือกรีซ ประชาชนลงประชามติตั้งสาธารณรัฐทำให้ราชาธิปไตยถึงจุดสิ้นสุด ในบางกรณี เช่นในอังกฤษและสเปน ราชาธิปไตยถูกโค่นล้มลงหรือได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในภายหลัง หลังจากที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกาศสละราชสมบัติ ชาวฝรั่งเศสได้ฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงขึ้นมาใหม่หลังจากถูกจักรวรรดิของนโปเลียนยกเลิกไป
รายชื่อรัฐราชาธิปไตยในปัจจุบัน
แก้รัฐเอกราช
แก้รายการต่อไปนี้เป็นรัฐราชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ
รัฐเอกราชไม่สมบูรณ์
แก้รายการต่อไปนี้เป็นรัฐราชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติบางส่วน
ธง | รัฐ | ประเภท | การสืบราชสมบัติ | ราชวงศ์ | อิสริยยศ | เจ้าชีวิต | เริ่มครองราชย์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมู่เกาะคุก | ภายใต้รัฐธรรมนูญ | สืบสันตติวงศ์ | วินด์เซอร์ | สมเด็จพระเจ้า (King) | สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 | 8 กันยายน ค.ศ. 2022 | ||
นีวเว | ภายใต้รัฐธรรมนูญ | สืบสันตติวงศ์ | วินด์เซอร์ | สมเด็จพระเจ้า (King) | สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 | 8 กันยายน ค.ศ. 2022 |
ดูเพิ่ม
แก้- ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์
- ราชาธิปไตยที่ถูกล้มล้าง
- รัฐร่วมประมุข