พระสันตะปาปา (ละติน: papa มาจากคำว่า กรีก: πάππας, อักษรโรมัน: pappas, "บาทหลวง"; อังกฤษ: Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม[ก] (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก[2] คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013

บิชอปแห่งโรม

Pontifex maximus

สมเด็จพระสันตะปาปา
คาทอลิก
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี 2021
Coats of arms of the Holy See and Vatican City
สันตะสำนัก
(ตราสัญลักษณ์)
ดำรงตำแหน่ง:
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
13 มีนาคม ค.ศ. 2013
รูปแบบฮิส โฮลิเนส
ที่ตั้ง
ที่พำนัก
สำนักงานใหญ่พระราชวังพระสันตะปาปา, นครรัฐวาติกัน
ข้อมูล
ประมุของค์แรกนักบุญซีโมนเปโตร[1]
นิกายโรมันคาทอลิก
สถาปนาศตวรรษที่ 1
มุขมณฑลโรม
อาสนวิหารอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน
กำกับดูแลสันตะสำนัก
เว็บไซต์
Holy Father

ตำแหน่งของพระสันตะปาปา ในภาษาอังกฤษเรียก ปาปาซี (Papacy) และรัฐบาลคริสตจักรในพระสันตะปาปาเรียก "สันตะสำนัก" ตั้งอยู่ที่กรุงโรม โดยถือตามความเชื่อสืบมาว่า นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลอัครทูตได้พลีชีพเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ที่นี่ พระสันตะปาปายังทรงดำรงตำแหน่งประมุขนครรัฐวาติกันด้วย[3] ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยที่ตั้งอยู่ภายในกรุงโรม

ตำแหน่งพระสันตะปาปาถือเป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกตำแหน่งหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลก[4] ในสมัยโบราณพระสันตะปาปามีหน้าที่หลักในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และตัดสินข้อขัดแย้งด้านความเชื่อภายในคริสตจักร[5] ในสมัยกลางพระสันตะปาปามีบทบาทสำคัญมากในทางโลกในยุโรปตะวันตกด้วย เช่น เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งระหว่างประมุขของรัฐ รวมถึงสงครามหลายครั้ง ปัจจุบันนี้นอกจากจะทำหน้าที่ด้านเผยแผ่ศาสนาคริสต์แล้ว พระสันตะปาปายังปฏิบัติพระกรณียกิจด้านคริสต์ศาสนสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ งานการกุศล และการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย[6][7]

ตั้งแต่สมัยใหม่เป็นต้นมา พระสันตะปาปาได้สูญเสียอำนาจทางฝ่ายโลก ปัจจุบันจึงเน้นแต่ด้านศาสนา ในปี ค.ศ. 1870 คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีประกาศคำสอนต้องเชื่อว่าพระสันตะปาปาไม่เคยผิดพลาดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม[5] แต่ก็ไม่ค่อยประกาศใช้บ่อยครั้งนัก การประกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เรื่องยืนยันว่าเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์เป็นคำสอนต้องเชื่อ

ประวัติ

แก้

คำว่า Papa ในภาษาละติน หรือ Pappas ในภาษากรีก แปลว่า บิดา ศาสนาคริสต์ตะวันออกได้ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงมุขนายกและบาทหลวงระดับสูงในคริสตจักร ต่อมาคำนี้ถูกใช้เป็นคำนำหน้านามของอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 และต่อมาจึงใช้กับบรรดามุขนายกในศาสนาคริสต์ตะวันตกด้วย มาร์เซลลินุสเป็นมุขนายกองค์แรกของคริสตจักรกรุงโรมที่ใช้คำนำหน้านามว่าพระสันตะปาปา แต่ก็เป็นการใช้อย่างไม่เป็นทางการ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงใช้คำว่าพระสันตะปาปากับมุขนายกแห่งกรุงโรมโดยเฉพาะ และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ได้ประกาศให้คำว่า "พระสันตะปาปา" สงวนไว้ใช้กับมุขนายกแห่งกรุงโรมเท่านั้น[8]

พระอิสริยยศทางการ

แก้

รายชื่อพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาตามหนังสือ Annuario Pontificio (รายงานประจำปีของสันตะสำนัก) ได้แก่

มุขนายกแห่งโรม, ผู้แทนพระคริสต์, ผู้สืบตำแหน่งเจ้าชายแห่งอัครทูต, ปอนทิฟสูงสุดแห่งพระศาสนจักรสากล, ไพรเมตแห่งอิตาลี, อัครมุขนายกและมุขนายกมหานครแห่งแขวงโรม, อธิปัตย์แห่งนครรัฐวาติกัน, ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า.[9]

ส่วนคำว่า "พระสันตะปาปา" (Papa) ไม่ปรากฏเป็นพระอิสริยยศทางการ แต่มักใช้เป็นชื่อเอกสาร และเขียนย่อเป็น PP. (มาจาก papa pontifex) กำกับลงท้ายในลายพระอภิไธย เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ทรงลงพระนามว่า "Paulus PP. VI"[10][11][12][13][14]

รายพระนามสมเด็จพระสันตะปาปา

แก้

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา

แก้

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา หรือ พระสันตะปาปาซ้อน (antipope) หมายถึง ผู้ที่เป็นพระสันตะปาปาโดยไม่ถูกต้อง ทั้งที่อ้างตัวเอง เกิดจากความสับสน หรือได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หรือได้รับตำแหน่งโดยถูกต้องแล้ว แต่ถือกันว่าเป็นพระสันตะปาปาอย่างไม่ถูกต้อง และเป็นปรปักษ์ต่อพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายศาสนจักร

พระสันตะปาปาซ้อนมักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองฝ่ายอาณาจักรกับฝ่ายคริสตจักรในขณะนั้น โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ผู้ปกครองในหลายสมัยพยายามจะเข้ามาแทรกแซงศาสนจักร ส่วนศาสนจักรเองนั้น ตามประวัติศาสตร์ก็ปรากฏว่ามีการพยายามแทรกแซงทางโลกเช่นเดียวกัน เช่นการสนับสนุน antiking ในประเทศเยอรมนีสมัยก่อน

นอกจากความขัดแย้งกับทางโลกแล้ว ความสับสนและไม่ลงรอยภายในศาสนจักรเอง ก็ทำให้มีผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาขึ้นในระหว่างการเลือกพระสันตะปาปาเช่นเดียวกัน กล่าวได้อีกอย่างก็คือ พระสันตะปาปาที่ถูกต้องนั้นก็มีโอกาสเป็นปรปักษ์พระสันตะปาปาได้เช่นเดียวกัน ถ้าการณ์กลับว่าพระสันตะปาปาเท็จได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้อง

ความไม่ลงรอยกันในการเลือกพระสันตะปาปาในศาสนจักรโรมันคาทอลิกนั้น ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด

รายนามพระสันตะปาปาซ้อนมาจากมุมมองของนิกายโรมันคาทอลิก ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาบางพระองค์อาจจะถือเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้องในมุมมองของนิกายอื่น

พระสันตะปาปาพระองค์สุดท้าย

แก้

มีการพยากรณ์กันว่า พระสันตะปาปาองค์สุดท้ายจะใช้พระนามว่า "เปโตร" (สมเด็จพระสันตะปาปาเปโตรที่ 2)

หมายเหตุ

แก้

ฝ่ายคาทอลิกเรียก "พระสังฆราชแห่งพระศาสนจักรกรุงโรม"[15]

อ้างอิง

แก้
  1. Wilken, p. 281, quote: "Some (Christian communities) had been founded by Peter, the disciple Jesus designated as the founder of his church. ... Once the position was institutionalized, historians looked back and recognized Peter as the first Pope of the Christian church in Rome"
  2. http://www.vatican.va/archive/ccc_css/archive/catechism/p123a9p4.htm#880
  3. "Vatican City State - State and Government". Vaticanstate.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  4. Collins, Roger. Keepers of the keys of heaven: a history of the papacy. Introduction (One of the most enduring and influential of all human institutions, (...) No one who seeks to make sense of modern issues within Christendom - or, indeed, world history - can neglect the vital shaping role of the popes.) Basic Books. 2009. ISBN 978-0-465-01195-7.
  5. 5.0 5.1 Wetterau, Bruce. World history. New York: Henry Holt & co. 1994.
  6. História das Religiões. Crenças e práticas religiosas do século XII aos nossos dias. Grandes Livros da Religião. Editora Folio. 2008. Pág.: 89, 156-157. ISBN 978-84-413-2489-3
  7. último Papa - Funções, eleição, o que representa, vestimentas, conclave, primeiro papa
  8. "Pope", Oxford Dictionary of the Christian Church, Oxford University Press, 2005, ISBN 978-0-19-280290-3
  9. Annuario Pontificio, published annually by Libreria Editrice Vaticana, p. 23*. ISBN of the 2012 edition: 978-88-209-8722-0.
  10. Shahan, Thomas Joseph (1907). "Ecclesiastical Abbreviations" . ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 1. New York: Robert Appleton Company.
  11. "Pope". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online. 2013. สืบค้นเมื่อ 14 April 2013.
  12. Adriano Cappelli. "Lexicon Abbreviaturarum". p. 283. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  13. "Contractions and Abbreviations". Ndl.go.jp. 4 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-10. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  14. "What Does PP Stand For?". Acronyms.thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  15. "ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ข้อ 331". อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 13 February 2013.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Brusher, Joseph H. Popes Through The Ages. Princeton: D. Van Nostland Company, Inc., 1959.
  • Chamberlin, E.R. The Bad Popes. 1969. Reprint: Barnes and Noble, 1993. ISBN 978-0-88029-116-3.
  • Dollison, John Pope-pourri. New York: Simon & Schuster, 1994. ISBN 978-0-671-88615-8.
  • Kelly, J.N.D. The Oxford Dictionary of Popes. Oxford: University Press, 1986. ISBN 0-19-213964-9.
  • Maxwell-Stuart, P.G. Chronicle of the Popes: The Reign-by-Reign Record of the Papacy from St. Peter to the Present; with 308 Illustrations, 105 in Color. London: Thames and Hudson, 1997. ISBN 0-500-01798-0.
  • Norwich, John Julius. The Popes: a History. Chatto, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้