พระมหากษัตริย์เบลเยียม
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม เป็นระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ[2]แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์เบลเยียมทรงอยู่ในสถานะราชาธิปไตยของปวงชน โดยกษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 ในราชวงศ์เบลเยียม
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเบลเยียม สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม | |
---|---|
Koning der Belgen (ดัตช์) Roi des Belges (ฝรั่งเศส) König der Belgier (เยอรมัน) | |
สหพันธรัฐ | |
อยู่ในราชสมบัติ | |
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 | |
รายละเอียด | |
พระราชอิสริยยศ | สมเด็จพระราชาธิบดี แห่งชาวเบลเยียม |
รัชทายาท | เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ |
กษัตริย์องค์แรก | พระเจ้าเลออปอลที่ 1 |
สถาปนาเมื่อ | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1831[1] |
ที่ประทับ | พระราชวังหลวงบรัสเซลส์ พระราชวังลาเกิน |
เว็บไซต์ | The Belgian Monarchy |
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อประเทศเบลเยียมได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปีค.ศ. 1830 รัฐสภาแห่งชาติ ได้เลือกการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยได้เสียงสนับสนุนในรัฐสภาถึง 174 เสียงต่อ 13 เสียง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1831 รัฐสภาได้มีมติเลือกเจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเนอมูร์ พระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แต่ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ต่างกดดันไม่ให้พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 ทรงยอมรับ ซึ่งต่อมาทรงปฏิเสธในที่สุด รัฐสภาแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งเอราสม์ หลุยส์ ซูร์แล เดอ ชอกีเยเพื่อเป็นผู้สำเร็จราชการเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1831
ในที่สุดรัฐสภาได้มีมติเลือกเจ้าชายเลออปอลแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-โกทาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม โดยทรงได้รับการรับรองจากรัฐสภาเมื่อ 4 มิถุนายน และในอีกหกสัปดาห์ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีสาบานตนต่อหน้ารัฐธรรมนูญแห่งเบลเยียมที่บริเวณหน้าโบสถ์นักบุญเจมส์แห่งเกาเดินแบร์คที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อ 21 กรกฎาคม[1] ซึ่งต่อมาได้เป็นวันชาติเบลเยียม