ซีเอ็มพังก์

(เปลี่ยนทางจาก CM Punk)

ฟิลลิป แจ็ก บรูกส์ (Phillip Jack Brooks; 26 ตุลาคม ค.ศ. 1978)[4][5][6][7] หรือที่รู้จักกันดีในนาม ซีเอ็มพังก์ (CM Punk) เป็นนักมวยปล้ำอาชีพ, นักเขียนหนังสือการ์ตูน, นักแสดง และนักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกัน[8] เขาเป็นแชมป์ WWEที่ครองนาน 434 วัน[9]

CM Punk
เกิดPhillip Jack Brooks
(1978-10-26) ตุลาคม 26, 1978 (46 ปี)
Chicago, Illinois, U.S.
อาชีพ
  • Professional wrestler
  • actor
  • commentator
  • mixed martial artist
ปีปฏิบัติงาน
  • 1999–2014; 2021–present (wrestling)
  • 2016–2018 (MMA)
  • 2015–present (acting)
คู่สมรสAJ Lee (สมรส 2014)
ชื่อบนสังเวียนCM Punk
ส่วนสูง6 ฟุต 2 นิ้ว (188 เซนติเมตร)
น้ำหนัก218 ปอนด์ (99 กิโลกรัม)
มาจากChicago, Illinois
ฝึกหัดโดย
เปิดตัวMarch 13, 1999
ส่วนสูง6 ฟุต 2 นิ้ว (1.88 เมตร)
น้ำหนัก170 lb (77 kg)
รุ่นWelterweight[3]
ช่วงระยะ73 in[3]
ทีมRoufusport
ครูผู้สอนHead coach: Duke Roufus
Brazilian Jiu-Jitsu: Daniel Wanderley
อันดับBlue belt in Brazilian Jiu-Jitsu under Daniel Wanderley
สถิติการต่อสู้แบบผสม
คะแนนรวม2
ชนะ0
แพ้1
โดยการยอม1
ไม่มีการแข่งขัน1
ข้อมูลอื่น
สถิติการต่อสู้แบบผสม จากเชอร์ด็อก
เว็บไซต์cmpunk.com
ลายมือชื่อ

เขาเป็นแชมป์โลก 9 สมัย (แชมป์โลก AEW 2 สมัย, แชมป์ WWE 2 สมัย, แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 3 สมัย, แชมป์โลก ECW 1 สมัย และแชมป์โลก ROH 1 สมัย) เป็นคนแรกที่ได้แชมป์โลกของสมาคม WWE, ECW, ROH และ AEW[10] นอกจากนี้เขายังได้เป็นแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 1 สมัย, แชมป์โลกแท็กทีม 1 สมัย (กับ โคฟี คิงส์ตัน) เป็นแชมป์ทริปเปิลคราวน์ WWE คนที่ 19 และเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ WWE เวลาเพียง 203 วัน[11] เป็นคนแรกที่ชนะมันนีอินเดอะแบงก์ชิงแชมป์โลกที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใด ก็ได้ 2 ปีซ้อน[12] และได้รับรางวัล สแลมมีอะวอร์ด ซุปเปอร์สตาร์แห่งปี 2011 ของ WWE ในปี 2022 ได้รับเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศของ ROH[13]

มวยปล้ำอาชีพ

แก้

ช่วงแรกเริ่มของอาชีพ

แก้

ซีเอ็มพังก์มีชื่อมาจากชื่อย่อแท็กทีมของทีมตนที่มีชื่อทีมคือ ชิก แม็กเน็ตส์ (Chick Magnets) ซึ่งทีมนี้เกิดจาก แบ็กยาร์ดเรสต์ลิง (ปล้ำเล่นกันเอง ณ.สวนหลังบ้านของเขา) ซึ่งพังก์จับคู่กับเพื่อนที่ชื่อว่า วีนอม พออยู่ในแท็กทีมเขาทั้งคู่จึงใช้นามแท็กทีมเป็นตัวย่อ "ซีเอ็ม" จึงเป็น ซีเอ็มวีนอม (CM Venom)[14][15][16][17][18][2][19][1]

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี

แก้

ช่วงแรก

แก้
 
ในตอนอยู่ ECW

พังก์ได้เปิดตัวครั้งแรกในอีซีดับเบิลยู(ECW) และได้ปล้ำแมตช์แรกในเฮาส์โชว์ วันที่ 24 มิถุนายน 2006 โดยชนะ สตีวี ริชาร์ดส[20] พังก์ได้เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการใน ECW (4 กรกฎาคม 2006) ในนามซุปเปอร์สตาร์ดาวรุ่งแห่งค่าย ECW ภายใต้สโลแกนด์ สเตรจต์เอดจ์ซูเปอร์สตาร์ "ไม่เสพสิ่งเสพติดใดๆ ไม่ดื่มเหล้า" และได้ขึ้นปล้ำอย่างเป็นทางการใน ECW (1 สิงหาคม 2006) โดยเอาชนะ จัสติน เครดิเบิล จากนั้นพังก์ก็สามารถล้มนักมวยปล้ำใน ECW ได้หลายคน ได้แก่ คริสโตเฟอร์ ดับเบิลยู. แอนเดอร์สัน, สตีวี ริชาร์ดส และ ชานนอน มัวร์ จนเป็นสถิติที่ไร้พ่ายหลังจากการเปิดตัว (ชนะ 4 แพ้ 0) ในช่วงนั้น[21]

ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ 2006 พังก์ได้เข้าร่วมทีมกับดี-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิลเอช และชอว์น ไมเคิลส์) และฮาร์ดี บอยซ์ (แมต ฮาร์ดี และเจฟฟ์ ฮาร์ดี) สามารถเอาชนะทีมเรท-อาร์เคโอ (เอดจ์ และแรนดี ออร์ตัน), ไมค์ น็อกซ์, เกรกอรี เฮมส์ และจอห์นนี ไนโตร มาได้[22] หลังจากนั้นมา พังก์ก็เริ่มเปิดศึกกับทางด้านไมค์ น็อกซ์ เนื่องจากเคลลี เคลลี แฟนสาวน็อกซ์ ไปแอบปลื้มพังก์ ทำให้น็อกซ์ไม่พอใจ ทั้งคู่เลยมีแมตช์ต้องเจอกัน แล้วพังก์ก็สามารถเอาชนะไปได้ ซึ่งแมตช์นี้เองที่ทำให้พังก์ได้ผ่านเข้ารอบเพื่อเข้าไปชิงแชมป์โลก ECW ในแมตช์เอกซ์ตรีม อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ ในดีเซมเบอร์ทูดิสเมมเบอร์ (2006) โดยถือว่าเป็นแมตช์ชิงแชมป์แรกของเขาในการปล้ำ WWE และยังคงความไร้พ่ายใน ECW ช่วงนั้นอีกด้วย และในแมตช์นี้ผู้เข้าร่วมอื่นได้แก่ บิ๊กโชว์(แชมป์), ร็อบ แวน แดม, เทสต์, ฮาร์ดคอร์ ฮอลลี และ บ็อบบี แลชลีย์ แต่พังก์ก็ยังคงไม่สามารถทำได้สำเร็จ ซึ่งผู้ชนะในครั้งนั้นเป็นการคว้าแชมป์ ECW สมัยแรกคือแลชลีย์ และเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกของพังก์ใน ECW ด้วย[23] แล้วอีกก้าวหนึ่งของพังก์ก็มาถึงเมื่อเขาได้ผ่านเข้ารอบเข้าสู่แมตช์ชิงกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 ซึ่งนี่คือเรสเซิลเมเนียครั้งแรกของพังก์ และถือว่าเป็นซูเปอร์สตาร์แห่ง ECW คนแรกที่ได้เข้าร่วมเรสเซิลเมเนีย แต่พังก์ก็ไม่สามารถคว้ากระเป๋ามาได้[24]

ใน ECW (10 เมษายน 2007) พังก์ได้ผันตัวกลายมาเป็นตัวร้ายในกลุ่มของนักมวยปล้ำ ECW ยุคใหม่อย่างทีมนิวบรีด (อีไลจาห์ เบิร์ก (หัวหน้า), มาร์คัส คอร์ วอน, เควิน ทอร์น และ แมต สไตรเกอร์)[25] ที่กำลังเปิดศึกกับนักมวยปล้ำ ECW แท้ดั้งเดิมอย่างอีซีดับเบิลยู ออริจินัล (ร็อบ แวน แดม, ทอมมี ดรีเมอร์, ซาบู และแซนด์แมน)[26][27] แต่จากนั้นอีก 2 สัปดาห์ พังก์ก็หักหลังทีมนิวบรีด หันกลับไปอยู่กับทีมอีซีดับเบิลยู ออริจินัล และกลับมาเป็นฝ่ายธรรมะอีกครั้ง[28] จนได้เกิดแมตช์แทกทีม 6 คนจับทุ่มใส่โต๊ะ ในวันไนท์สแตนด์ 2007 ระหว่างทีมอีซีดับเบิลยู ออริจินัล (พังก์, ดรีเมอร์ และแซนด์แมน) กับทีมนิวบรีด (อีไลจาห์, คอร์ วอน และสไตรเกอร์) และทีมออริจินัลก็เป็นฝ่ายชนะไปได้สำเร็จ[29]

แชมป์ ECW บ็อบบี แลชลีย์ ได้ถูกดราฟท์ไปอยู่รอว์ ทำให้ต้องถูกปลดจากตำแหน่ง เลยมีการจัดทัวร์นาเมนต์เพื่อหาแชมป์คนใหม่ ซึ่งในครั้งนั้นพังก์เอาชนะมาร์คัส คอร์ วอน และคริส เบนวาก็ชนะอีไลจาห์ เบิร์ก ทำให้ทั้งคู่ได้เข้ารอบชิงแชมป์กันในเวนเจินส์[30] แต่พอในคืนนั้นจริง เบนวามาไม่ได้จึงให้จอห์นนี ไนโตรมาปล้ำแทน สุดท้ายไนโตรก็คว้าแชมป์ไป[31] จากนั้นได้ขอท้าชิงถึง 3 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จสักครั้ง และใน ECW (1 กันยายน 2007) ความพยายามก็บรรลุผลด้วยการชิงเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้าย และพังก์สามารถคว้าแชมป์ ECW สมัยแรกได้สำเร็จ[32] จนกระทั่งใน ECW (22 มกราคม 2008) เสียแชมป์ให้ชาโว เกร์เรโรแบบไม่มีกฎกติกา ด้วยการก่อกวนของเอดจ์ที่วิ่งมาสเปียร์ใส่พังก์ ทำให้โดนจับกดแพ้[33]

แชมป์โลกเฮฟวี่เวท

แก้
 
กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24 พังก์ได้ชนะในแมตช์มันนีอินเดอะแบงก์คว้ากระเป๋าได้สำเร็จ[34][35] หลังจากที่ได้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์มาครอบครอง ไม่นานเขาก็ถูกดราฟท์มาอยู่รอว์ จากการดราฟท์ในรอว์ (23 มิถุนายน 2008) และในคืนนั้นบาทิสตาได้เล่นงานเอดจ์ เจ้าของแชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่จากนั้น พังก์ก็วิ่งออกมาใช้สิทธิ์กระเป๋าเอาชนะเอดจ์ คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เป็นสมัยแรกได้สำเร็จ[36] และจากนั้นพังก์ก็ป้องกันแชมป์มาได้ตลอด จนถึงอันฟอร์กิฟเว่น (2008) ซึ่งตามจริงพังก์ได้บรรจุเข้าสู่ Scramble Match เพื่อป้องกันตำแหน่งแชมป์ แต่ระหว่างที่พังก์ให้สัมภาษณ์อยู่หลังฉากก็โดนเดอะเลกาซี(แรนดี ออร์ตัน, โคดี โรดส์, เท็ด ดีบีอาซี และมานู) มารุมเล่นงานพังก์ และถูกออร์ตันเตะที่ศีรษะ ทำให้คืนนั้นพังก์มาปล้ำไม่ได้(ตามบท) เลยต้องสละแชมป์ไปโดยปริยาย[37]

ในรอว์ (27 ตุลาคม 2008) พังก์ได้มาจับคู่กับโคฟี คิงส์ตัน ผู้ที่มาช่วยพังก์ในอันฟอร์กิฟเว่น ทั้งคู่เอาชนะเดอะเลกาซี(โคดีและเท็ด)ได้แชมป์โลกแท็กทีมเป็นการแก้แค้นได้สำเร็จ[38] ในรอว์ธันวาคม 2008 ได้มีการจัดทัวร์นาเมนต์หาผู้ท้าชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลกับวิลเลียม รีกัล โดยพังก์ได้เข้าร่วมและได้มาสู่ทัวร์นาเมนต์รอบสุดท้ายกับเรย์ มิสเตริโอ ใน Live Event วันที่ 13 ธันวาคม 2008 พังก์และโคฟีเสียแชมป์ให้จอห์น มอร์ริสันและเดอะมิซ[39] ในอาร์มาเกดดอน (2008) พังก์ชนะเรย์ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 แชมป์อินเตอร์กับรีกัล ในรอว์ (5 มกราคม 2009) พังก์ได้ชิงแชมป์กับรีกัล แต่พังก์ถูกปรับแพ้ฟาล์วไม่ได้แชมป์[40] สัปดาห์ต่อมา สเตฟานี แม็กแมนประกาศให้พังก์รีแมตช์ แต่เป็นพังก์ที่แพ้ฟาล์วไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ[41] ในรอว์ (19 มกราคม 2009) ได้มีคำสั่งรีแมตช์อีกทีโดยไม่มีกฎกติกา และพังก์ก็สามารถคว้าแชมป์อินเตอร์ได้สำเร็จทำให้พังก์ได้เป็นแชมป์ทริปเปิลคราวน์คนที่ 19 ของWWE[42] ก่อนจะเสียแชมป์ให้เจบีแอลในรอว์ (9 มีนาคม 2009)[43]

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 พังก์ทำเซอร์ไพรส์แฟนๆ ด้วยการเอาคว้ากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์เป็นครั้งที่2 ติดต่อกัน[44] ในรอว์ 13 เมษายน หรือ WWE ดราฟท์ 2009 นั่นเอง พังก์ถูกดราฟต์จากรอว์มาสแมคดาวน์ ซึ่งพังก์ย้ายมาถึงก็ตั้งใจที่จะมาใช้สิทธิ์กระเป๋ากับเอดจ์อีกครั้ง แต่ระหว่างที่พังก์กำลังจะประกาศใช้ก็โดนอูมากาเข้ามาขัดขวาง เลยทำให้ยังไม่ได้ใช้[45] ต่อจากนั้นจึงเปิดศึกกับอูมากาและพังก์ก็แพ้ในจัดจ์เมนท์เดย์ (2009) แต่สุดท้ายพังก์ก็สามารถล้างตาเอาชนะไปได้ใน Samoan Strap Match ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2009)[46] แต่ในคืนเดียวกันนั้นเอง พังก์ทำคนดูทั้งโลกตกตะลึง โดยการออกมาใช้สิทธิ์กับขวัญใจคนดูอย่างเจฟฟ์ ฮาร์ดี หลังจากที่เจฟฟ์ได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากเอดจ์ในแมชต์ไต่บันได พังก์สามารถคว้าแชมป์แชมป์เป็นสมัยที่2 และได้กลายมาเป็นฝ่ายอธรรม[47]

พังก์ได้เปิดศึกกับเจฟฟ์ โดยพังก์มีแมตช์ป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวทในเดอะแบช (2009) แต่พังก์ใช้วิชามาร แกล้งเจ็บตา แล้วเตะหลังกรรมการ กรรมการเลยปรับพังก์แพ้ฟาล์ว แต่ไม่เสียแชมป์[48] จนกระทั่งในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2009) เจฟฟ์ได้รับโอกาสรีแมตช์ และคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กลับมาเป็นสมัยที่ 2 ได้สำเร็จ[49] เรื่องราวของทั่งคู่ก็ยังไม่จบลง พังก์ก็ได้รีแมตช์อีกครั้งในซัมเมอร์สแลม (2009) ในรูปแบบการปล้ำแมตช์ TLC และพังก์ก็คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 3 ได้สำเร็จอีกครั้ง หลังแมตช์ ดิอันเดอร์เทเกอร์ ได้มาเล่นงานพังก์[50] ต่อมาเจฟฟ์ขอรีแมตช์ชิงแชมป์อีกครั้งในสแมคดาวน์ (28 สิงหาคม 2009) ในการปล้ำในกรงเหล็ก โดยมีอาชีพของเจฟฟ์เป็นเดิมพัน และพังก์ก็ป้องกันแชมป์ไว้ได้ ทำให้เจฟฟ์ต้องออกจาก WWE[51] พังก์ได้เปิดศึกกับ ดิอันเดอร์เทเกอร์ ทั้งคู่มีแมตช์ได้เจอกันในรูปแบบซับมิสชั่นแมตช์ ในเบรกกิ้งพอยท์ โดยที่พังก์ตบพื้นยอมแพ้ด้วยท่า Hells's Gate และเสียแชมป์ แต่ว่า ทีโอดอร์ ลอง ได้ประกาศให้เริ่มแมตช์ใหม่อีกครั้ง เพราะท่านี้ถูกแบนพังก์เลยฉวยโอกาสจัดการใส่ Anaconda Vise และกรรมการตัดสินให้พังก์ชนะทั้งที่อันเดอร์เทเกอร์ไม่ได้ตบพื้นยอมแพ้เยี่ยงเหตุการณ์ มอนทรีออลสครูว์จ็อบ และพังก์ยังเป็นแชมป์ต่อไป[52] สุดท้ายแล้วพังก์ก็เสียแชมป์ให้กับอันเดอร์เทเกอร์ในเฮลอินเอเซล (2009)[53]

สเตรตเอดจ์ซะไซอะที

แก้
 
เดอะสเตรตเอดจ์ซะไซอะที

ในสแมคดาวน์ (27 พฤศจิกายน 2009) พังก์ได้ก่อตั้งกลุ่มเดอะสเตรตเอดจ์ซะไซอะที โดยมี พังก์ และลู้ก แกลโลส์[54] ภายใต้สโลแกนด์ “ปลอดสารเสพติด” โดยพังก์ได้มาบรรยายสรรพคุณของสเตรจต์เอดจ์โซไซอิตี ว่าเขาสามารถพัฒนาชีวิตของแกลโลส์ได้[55] จากนั้นพังก์ก็เริ่มเทศน์โดยเอาผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมลัทธิมาโกนหัว ต่อมาได้พบกับเซเรนาที่อยากจะเข้าร่วมก็จับโกนหัวและมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสเตรตเอดจ์ซะไซอะที[56] ต่อมาได้มีเรื่องกับเรย์ มิสเตริโอ โดยในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ในแมตช์อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์นั้น เรย์ได้ทำให้พังก์แพ้ตกรอบ[57] และในสแมคดวาน์ ได้มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมแมตช์มันนีอินเดอะแบงก์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 โดยพังก์มีแมตช์คัดเลือกกับเชลตัน เบนจามิน ทว่าเรย์เข้ามาก่อกวน ทำให้พังก์หมดโอกาสเข้าร่วมมันนีอินเดอะแบงก์[58] ทั้งคู่จึงมีความบาดหมางกัน และมีแมตช์ได้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย 26 โดยมีข้อเดิมพันว่า “ถ้าเรย์แพ้ต้องเข้าร่วมกลุ่มสเตรตเอดจ์ซะไซอะที” แต่เรย์ก็เอาชนะไปได้[59] และแล้วทั้งคู่ก็ได้เจอกันอีกในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) โดยมีเงื่อนไข “ถ้าพังก์แพ้ต้องโดนโกนหัว” แต่พังก์ก็เอาชนะไปได้ จากการช่วยเหลือของโจอี เมอร์คิวรี[60] ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2010) ทั้งคู่เจอกันเป็นแมตช์ครั้งที่3 โดยมีเงื่อนไขทั้งสองอย่าง “ถ้าเรย์แพ้ต้องเข้าร่วมกลุ่ม และถ้าพังก์แพ้ต้องโดนโกนหัว” สุดท้ายพังก์เป็นฝ่ายแพ้เรย์ จึงถูกเรย์โกนหัวทำให้พังก์หัวล้านและต้องใส่หน้ากากปล้ำตลอดเวลา[61][62] ในสแมคดาวน์ (16 กรกฎาคม 2010) พังก์ถูกบิ๊กโชว์จับถอดหน้ากากจนเห็นหัวล้าน[63] ทำให้พังก์แค้นมาก และได้จัดแมตช์แฮนดิแคป 3 รุม 1 ระหว่างสเตรตเอดจ์ซะไซอะที (พังก์, แกลโลส์ และเมอร์คิวรี) กับบิ๊กโชว์ ในซัมเมอร์สแลม (2010) แต่ก็ไม่สามารถล้มบิ๊กโชว์ได้[64] จากนั้นพังก์ได้ขอท้าเจอกับบิ๊กโชว์ แบบเดี่ยวๆตัวๆ ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010) แต่พังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้[65] ต่อมาเซเรนาได้ถูกไล่ออก[66] และเมอร์คิวรีได้รับบาดเจ็บ[67] จากนั้นไม่นานสเตรตเอดจ์ซะไซอะทีได้ยุติบทบาทลง[68]

 
ในตอนเป็นหัวหน้ากลุ่มเดอะนิวเน็กซัส

พังก์ได้ย้ายมาสังกัดรอว์ และได้เอาชนะอีแวน บอร์น ทำให้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกทีมฝั่งรอว์ ปะทะกับทีมฝั่งสแมคดาวน์ หลังแมตช์พังก์ได้เล่นงานบอร์นด้วยท่า Anaconda Vise[69] ในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2010) ทีมฝั่งรอว์ก็เป็นฝ่ายแพ้ให้กับทีมฝั่งสแมคดาวน์[70] ต่อมาพังก์มีอาการบาดเจ็บที่สะโพก พังก์จึงมาเป็นโฆษกผู้บรรยายอยู่ข้างเวทีชั่วคราว[71][72] ในรอว์ 22 พฤศจิกายน พังก์ได้เอาเก้าอี้มาตีใส่จอห์น ซีนาแบบไม่มีเหตุผล[73][74] จากนั้นไม่นานพังก์ก็ได้ประกาศตนเองเป็นหัวหน้ากลุ่มเดอะเน็กซัส แทนอดีตหัวหน้ากลุ่มเวด บาร์เร็ตต์[75] ต่อมาพังก์ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มจากเดอะเน็กซัส เป็นเดอะนิวเน็กซัส และเขาได้ทดสอบสมาชิกทุกคนด้วยความบ้าคลั่ง และต่อมาไม่นานก็ได้เปิดตัวสมาชิกใหม่อย่างเมสัน ไรอัน[76] ในรอยัลรัมเบิล (2011)พังก์ได้ไปก่อกวนการปล้ำของแรนดี ออร์ตันจนแพ้ให้เดอะมิซในการชิงแชมป์ WWE[77] จากนั้นได้เปิดศึกกับออร์ตันเพื่อต้องการล้างแค้นจากการที่ออร์ตันได้เตะศีรษะของพังก์ ทำให้ต้องสละแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเมื่อปี 2008 และพังก์ได้รอคอยวันที่จะล้างแค้นออร์ตันมานานจนกระทั่งมีกลุ่มเดอะนิวเน็กซัส ทำให้พังก์ได้โอกาสล้างแค้นอย่างสมใจ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 พังก์ได้เจอกับออร์ตันโดยจะไม่มีกลุ่มเดอะนิวเน็กซัสอยู่ข้างเวทีด้วย สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายแพ้[78] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011) พังก์ได้รีแมตช์กับออร์ตันแบบลาสแมนสแตนดิ้ง โดยใครถูกกรรมการนับ 10 ก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่พังก์เป็นฝ่ายถูกกรรมการนับ 10 แพ้ไปเป็นครั้งที่2 ติดต่อกัน[79][80]

การครองแชมป์ WWE

แก้
 
ในตอนคว้าแชมป์ WWEสมัยแรกที่มันนีอินเดอะแบงก์ (2011)

ในรอว์ 20 มิถุนายน พังก์ได้เอาชนะเรย์และอัลเบร์โต เดล รีโอ ในแมตช์ 3 เส้า ทำให้ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับจอห์น ซีนา ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2011) และในรอว์ต่อมา (27 มิถุนายน) พังก์ได้พูดด่าทั้ง WWE, ซีนา และอีกหลายๆ คนร่วมทั้งประธานบริษัท WWE และ CEO ของ WWE วินซ์ แม็กแมน จนถูกตัดเสียงไมโครโฟน ซึ่งเป็นการตัดสินใจของวินซ์ แล้วปิดรายการในทันที ซึ่งรายงานล่าสุดเป็นรายงานว่า พังก์ถูกระงับอย่างไม่มีกำหนดโดย WWE[81] ในรอว์ 11 กรกฎาคม วินซ์สั่งให้มีแมตช์ระหว่างซีนากับพังก์ในมันนีอินเดอะแบงก์ โดยมีข้อแม้ว่าถ้าพังก์ชนะ พังก์จะลาออกจาก WWE พร้อมกับแชมป์ WWE และซีนาก็ต้องออกจาก WWE อีกด้วย[82] สุดท้ายแล้วพังก์ก็เป็นฝ่ายเอาชนะซีนา และคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยแรกได้สำเร็จ และพังก์ก็ได้ลาออกจาก WWE พร้อมกับแชมป์ WWE และซีนาก็ต้องออกจาก WWE หลังแมตช์ วินซ์รีบเดินไปที่โต๊ะผู้บรรยายแล้วต่อสายเรียกเดล รีโอ ให้ออกมาใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ เดล รีโอวิ่งออกมาพร้อมกระเป๋า พังก์เตะก้านคอใส่เดล รีโอ และปีนที่กั้นคนดูหนีออกจากสนามไปท่ามกลางผู้ชมพร้อมกับเข็มขัดแชมป์ WWE[82]

ในรอว์ 25 กรกฎาคม พังก์ได้มาปรากฏตัวด้วยเพลงเปิดตัวใหม่อย่าง "Cult Of Personality" พร้อมกับเข็มขัดแชมป์ WWE และยืนจ้องหน้ากับซีนา เจ้าของแชมป์ WWE เส้นใหม่ หลังจากที่ ซีนาไม่ถูกไล่ออก จากนั้นต่างฝ่ายต่างชูเข็มขัดของตัวเองประกาศศักดา[83][84] ในซัมเมอร์สแลม (2011) พังก์เจ้าของแชมป์ WWE ได้เจอกับ จอห์น ซีนา เจ้าของแชมป์ WWE ในการชิงแชมป์อันดิสพิวเด็ต WWE โดยมีทริปเปิลเอชเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและคว้าแชมป์อันดิสพิวเด็ต WWE มาได้[85] หลังแมตช์ เควิน แนชได้มาลอบทำร้ายพังก์ และใส่ท่า Jackknife Powerbomb เล่นงานพังก์ จากนั้นเดล รีโอออกมาพร้อมกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ใช้สิทธิ์คว้าแชมป์จากพังก์ไปทันที[86] ต่อมาพังก์ได้กลับมาเป็นฝ่ายธรรมะ และเปิดศึกกับทริปเปิลเอช[87] และท้าเจอกันในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011) โดยมีข้อแม้ว่าถ้าพังก์ชนะ ทริปเปิลเอชจะต้องออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ แต่พังก์เป็นฝ่ายแพ้[88] ในเฮลอินเอเซล (2011) พังก์ได้ปล้ำชิงแชมป์ WWE ในกรงเหล็กเฮลอินเอเซลกับ จอห์น ซีนา และ อัลเบร์โต เดล รีโอ สุดท้ายเป็น เดล รีโอ ที่เป็นฝ่ายคว้าแชมป์ไปได้[89] ต่อมาพังก์ได้เปิดศึกกับอัลเบร์โต เดล รีโอ และขอท้าชิงแชมป์ WWE ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2011) และพังก์ก็เอาชนะเดล รีโอ และได้คว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยที่ 2[90][91]

พังก์ได้เปิดศึกกับดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ และได้มีเรื่องกับ จอห์น โลรีนายติส ผู้จัดการทั่วไปชั่วคราวของรอว์ ในรอยัลรัมเบิล (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซิกก์เลอร์ โดยมี โลรีนายติสเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ไว้ได้สำเร็จ[92] นศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์, คริส เจอริโค, เดอะมิซ, อาร์-ทรูธ และ โคฟี คิงส์ตัน ในแมตช์การปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ สุดท้ายพังก์เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ[93] ต่อมาพังก์ได้เปิดศึกกับ คริส เจอริโค ในรอว์ (20 กุมภาพันธ์ 2012) เจอริโคได้เป็นผู้ชนะในแมตช์ แบทเทิลรอยัล ทำให้เจอริโคได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับพังก์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 หลังแมตช์พังก์ได้ขึ้นมาแสดงความยินดีด้วยการจับมือแต่เจอริโคไม่จับมือแล้วเดินกลับไป[94] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับเจอริโค โดยโลรีนายติส สั่งไว้ว่าถ้าพังก์ถูกปรับแพ้ฟาล์ว พังก์จะเสียแชมป์ให้กับเจอริโคทันที สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้สำเร็จ[95] ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับเจอริโคอีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำชิคาโกสตรีทไฟท์ สุดท้ายพังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ไว้ได้อีกครั้ง[96]

 
ในตอนถือแชมป์ WWE โดยมีพอล เฮย์แมนเป็นผู้จัดการ

ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2012) พังก์สามารถป้องกันแชมป์กับแดเนียล ไบรอันเอาไว้ได้สำเร็จ[97] ในโนเวย์เอาท์ (2012) สามารถป้องกันแชมป์กับแดเนียล ไบรอัน และเคนไว้ได้[98] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2012) สามารถป้องกันแชมป์กับแดเนียล ไบรอันได้ในแมตช์ไม่มีการปรับแพ้ฟาล์ว โดยมีเอเจเป็นกรรมการพิเศษ[99] ในรอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา ผลปรากฏว่าบิ๊กโชว์ออกมาอัดซีนา ทำให้พังก์ถูกปรับแพ้ฟาวล์ไม่เสียแชมป์ หลังแมตช์บิ๊กโชว์กระทืบซีนาไม่ยั้ง แต่พังก์ก็ยืนดูเฉยๆ ไม่ยอมช่วย เดอะ ร็อก ออกมาช่วยซีนา และจะใช้ People's Elbow ใส่บิ๊กโชว์ แต่พังก์ขึ้นมาโคลทส์ไลน์ เล่นงานใส่ร็อก และจับใส่ GTS ก่อนจะเดินจากไปท่ามกลางเสียงโห่ของคนดูและกลายมาเป็นอธรรมอีกครั้ง[100][101][102] ในซัมเมอร์สแลม (2012) สามารถป้องกันแชมป์กับจอห์น ซีนาและบิ๊กโชว์เอาไว้ได้[103] ในรอว์ (3 กันยายน 2012) แมตช์ระหว่างจอห์น ซีนากับอัลเบร์โต เดล รีโอในการจับกดที่ไหนก็ได้ พังก์โผล่มาเตะก้านคอซีนาจนหลับ แล้วก็พาเดล รีโอมากดเอาชนะไป จากนั้นพังก์จับซีนามาโยนใส่ฝากระโปรงรถของตัวเอง และก็ขึ้นรถที่มีพอล เฮย์แมน เป็นคนขับแล้วก็ขับออกไป[104] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012) พังก์ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา ผลปรากฏว่าทั้งคู่เสมอกัน ทำให้พังก์ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[105]

ในรอว์ (24 กันยายน 2012) พังก์ออกมาและพูดกับซีนา ว่าพังก์จะไม่เจอกับซีนาในเฮลอินเอเซล (2012) ก่อนจะให้คำแนะนำซีนาไปว่ารีบวิ่งลงไปจากเวที ก่อนจะหันหลังแล้วนับ 1-5 พังก์ก็หันหลังพร้อมกับเฮย์แมนด้วย ระหว่างที่ทั้งคู่หันหลังอยู่นั้น ซีนาก็ควักแท่งเหล็กขนาดประมาณ 1 ฟุตออกมา พอพังก์ นับ 1-5 เสร็จ หันกลับมาโดนซีนาเอาแท่งเหล็กตีไปเต็มๆ จนทั้งคู่ต้องรีบลงจากเวที จากนั้นพังก์ก็เดินกลับไปหลังเวทีพร้อมกับเข็มขัดแชมป์ WWE ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว และไปเล่นงานมิค โฟลีย์ ก่อนจะเห็นไรแบ็กยืนจ้องอยู่[106] ในรอว์ (8 ตุลาคม 2012) พังก์ได้มีแมตช์กับ วินซ์ แม็กแมน ในแมตช์การปล้ำไม่มีการปรับแพ้ฟาล์ว โดยก่อนเริ่มปล้ำพังก์ได้มาลอบทำร้ายวินซ์จากด้านหลัง ท้ายแมตช์ไรแบ็กกับซีนาวิ่งออกมาช่วยวินซ์ ทำให้พังก์รีบหนีไปบนอัฒจรรย์พร้อมเข็มขัดแชมป์ WWE หลังแมตช์ วินซ์ประกาศให้พังก์ตัดสินใจว่าจะเจอกับไรแบ็กหรือซีนาในเฮลอินเอเซล[107] ในรอว์ (15 ตุลาคม 2012) ในช่วงการเซ็นสัญญาชิงแชมป์ WWE วินซ์ก็เลือกไรแบ็กให้ชิงแชมป์กับพังก์ โดยที่ซีนาก็สนับสนุนและช่วยเชียร์ไรแบ็กด้วย พังก์เข้าไปท้าทายไรแบ็ก หลังจากเซ็นสัญญาเสร็จ เลยโดนไรแบ็กจับหัวโขกโต๊ะ แล้วใส่ท่า Shell Shock[108] ในเฮลอินเอเซล พังก์ก็สามารถป้องกันแชมป์ไว้ได้ จากการช่วยเหลือของแบรด แมดด็อกซ์ ที่เป็นกรรมการในแมตช์ และเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกของไรแบ็กด้วย[109] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2012) พังก์สามารถป้องกันแชมป์ WWE กับซีนา และไรแบ็กไว้ได้ ทำให้พังก์ครองแชมป์ WWE มาได้ครบ 365 วันหรือ 1 ปีเต็ม จากการช่วยเหลือของกลุ่มเดอะชีลด์ (ดีน แอมโบรส, เซท รอลลินส์ และ โรแมน เรนส์)[110] ในรอยัลรัมเบิล (2013) พังก์ได้เสียแชมป์ WWE ให้กับ เดอะ ร็อก หลังจากที่พังก์ครองแชมป์มาเป็นเวลาถึง 434 วัน[111] จากนั้นพังก์ก็ได้ขอรีแมตช์ชิงแชมป์คืนกับเดอะ ร็อกในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2013) แต่ก็ไม่สำเร็จ[112] ในรอว์ (25 กุมภาพันธ์ 2013) พังก์ได้แพ้ให้กับจอห์น ซีนา ในการเดิมพันสิทธิ์ผู้ชนะรอยัลรัมเบิลของซีนา ที่จะชิงแชมป์ WWE กับเดอะ ร็อก ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29[113]

ช่วงท้ายกับ WWE

แก้

ในรอว์ (4 มีนาคม 2013) พังก์ออกมาประกาศว่าจะทำลายสถิติของ อันเดอร์เทเกอร์ 20-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 จากนั้นทั้ง ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ก็ออกมาบอกว่าอยากจะเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ จากนั้น วิคกี เกอร์เรโร ออกมาจัดแมตช์ 4 เส้า พังก์, ออร์ตัน, บิ๊กโชว์ และ เชมัส ผู้ชนะจะได้เจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย และพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและได้ไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ ในเรสเซิลเมเนีย[114] สุดท้ายพังก์ก็ไม่สามารถทำลายสถิติของอันเดอร์เทเกอร์ได้ และเพิ่มสถิติเป็น 21-0[115] จากนั้นพังก์ได้ขอพักการปล้ำไปซักระยะหนึ่ง เพื่อไปรักษาอาการบาดเจ็บที่สะสมมานาน[116]

ในศึก เพย์แบ็ค (2013) พังก์ได้กลับมาอีกครั้ง ในบ้านเกิดของเขา (ชิคาโก, อิลลินอยส์) โดยเอาชนะ คริส เจอริโค ไปได้สำเร็จ และได้กลับมาเป็นฝ่ายธรรมะอีกครั้ง[117] ในรอว์ (17 มิถุนายน 2013) พังก์ได้เจอกับ อัลเบร์โต เดล รีโอ โดยพังก์ชนะเคาท์เอาท์ หลังแมตช์ บร็อก เลสเนอร์ เดินออกมาและจ้องหน้าพังก์ บร็อกเอาไมค์มาทำท่าเหมือนจะพูดอะไรกับพังก์ แต่อยู่ๆ บร็อกก็จับใส่ F-5 แล้วก็เดินกลับไป ปล่อยให้พังก์นอนหมดสภาพอยู่บนเวที[118] ในรอว์ (24 มิถุนายน 2013) พังก์ออกมาและขอให้เฮย์แมนพูดความจริงว่าเขาส่ง บร็อก เลสเนอร์ มาเล่นงานเขาใช่มั้ย? แต่เฮย์แมนบอกว่าเขาไม่รู้เรื่องเลย นั่นมันเป็นเพราะพังก์เองที่ไปพูดว่าบร็อกต้องให้เฮย์แมนคอยช่วยเหลือ มันถึงได้เกิดเรื่องขึ้น เฮย์แมนบอกว่า พังก์เป็นคนที่เขาปั้นมากับมือและเขาจะไม่ทำลายความฝันของตัวเองที่จะเห็นพังก์เป็นคู่เอกใน เรสเซิลเมเนีย เพียงเพราะเรื่องเล็กน้อยหรอก พังก์ขอโทษที่เขาสงสัยเฮย์แมน จากนั้นก็กอดกัน ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2013) พังก์ได้เข้าร่วมแมตช์ชิงสัญญาในการชิงแชมป์ WWE โดยพังก์ได้ถูกเฮย์แมนหักหลัง ทำให้พลาดโอกาสคว้ากระเป๋า[119] ในรอว์ (15 กรกฎาคม 2013) พังก์ออกมาพูดเรื่องของเฮย์แมน และเฮย์แมนก็ออกมาตอบโต้ เฮย์แมนบอกว่า พังก์เป็นแชมป์ 434 วันได้เพราะเขา ถ้าไม่มีเขาแล้ว พังก์ก็ไม่ใช่ "สุดยอดที่สุดในโลก" เฮย์แมนบอกอีกว่า พังก์มันเป็นคนไม่มีครอบครัว พ่อแม่ก็ไม่รักมัน เมียก็หาไม่ได้ ลูกไม่มี จะมีก็แต่คนดูพวกนี้เท่านั้น และสาเหตุที่ว่าทำไมเขาต้องหักหลังพังก์ ก็เป็นเพราะว่า พังก์ไม่สามารถเอาชนะเลสเนอร์ได้ พังก์ก็บอกว่าจะอัดเฮย์แมน และคนของเฮย์แมนทุกคน เลสเนอร์ออกมาเล่นงานพังก์ ทั้งจับเหวี่ยงกระเด็นไปมา เหวี่ยงใส่โต๊ะผู้บรรยาย จับหลังไปกระแทกเสาเวที และสุดท้ายก็จับใส่ F-5 ลงบนโต๊ะผู้บรรยายจนหมดสภาพ[120] ในรอว์ (12 สิงหาคม 2013) พังก์ได้เจอกับเฮย์แมน แต่เฮย์แมนกลับเรียกเลสเนอร์ออกมาและเปิดคลิปวิดีโอที่เลสเนอร์เล่นงานพังก์ มาตลอดที่เจอกันหลายครั้ง เฮย์แมนเรียกพังก์ออกมาเจอกับเขา แต่ต้องเป็นแมตช์ 2 ต่อ 1 เท่านั้น เพลงของพังก์ดังขึ้น แต่พังก์โผล่มาจากอีกด้านของเวทีแล้วใช้กล้องถ่ายทอดสดฟาดเลสเนอร์ไม่ยั้ง จากนั้นก็ต่อด้วยเก้าอี้ เฮย์แมนพยายามวิ่งหนีพังก์ และ เคอร์ติส แอ็กเซล ก็ออกมาอีกคน แต่ก็โดนเก้าอี้ฟาดและใส่ GTS เข้าไปอีก โดยเลสเนอร์จ้องมองพังก์ด้วยความแค้น[121] ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2013) พังก์ได้เจอกับเลสเนอร์ แต่พังก์ก็ไม่สามารถเอาชนะเลสเนอร์ได้[122]

ในรอว์ (19 สิงหาคม 2013) พังก์ออกมาพูดเกี่ยวกับแมตช์ที่เจอกับเลสเนอร์ เฮย์แมนออกมาพร้อมกับแอ็กเซล เพื่อให้แอ็กเซลกระทืบพังก์ แต่กลายเป็นโดนพังก์เล่นงานจนหมดสภาพ เฮย์แมนมาขัดขวางไว้ ทำให้แอ็กเซลได้โอกาสเอาเก้าอี้มาฟาดและกระแทกซ้ำๆ ใส่ขาพังก์ที่บาดเจ็บอยู่ แอ็กเซลปิดบัญชีด้วยท่าไม้ตาย Neckbreaker จากนั้นก็เอาเก้าอี้มาหนีบขาพังก์ ก่อนจะขึ้นเชือกแล้วกระโดดลงมา แต่พังก์กลิ้งหลบได้ทันแล้วเอาเก้าอี้ไล่ฟาดแอ็กเซล ก่อนจะจับ GTS ลงบนขั้นบันไดเหล็ก ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) พังก์ได้เจอกับเฮย์แมนและแอ็กเซล ในแฮนดิแคป 2 ต่อ 1 ไม่มีกฏกติกา แบบคัดออก โดยในแมตช์พังก์ได้ถูกไรแบ็กเล่นงานจนแพ้ให้กับเฮย์แมน ในแบทเทิลกราวด์ พังก์เอาชนะไรแบ็กไปได้ ในรอว์ (14 ตุลาคม 2013) แบรด แมดด็อกซ์ ได้ประกาศจัดแมตช์ให้ไรแบ็กเจอกับอาร์-ทรูธ และพังก์เจอกับแอ็กเซล ในการแข่งขันแบบ Beat the Clock ใครชนะก็ให้ฝ่ายนั้นกำหนดเงื่อนไขในเฮลอินเอเซล (2013) โดยไรแบ็กเอาชนะทรูธไปด้วยเวลา 5:44 นาที และพังก์ก็เอาชนะแอ็กเซลไปด้วยเวลา 5:33 ทำให้พังก์มีสิทธิ์เลือกแมตช์โดยพังก์เลือกแมตช์ให้เป็นแฮนดิแคปกับไรแบ็กและเฮย์แมนในกรงเหล็กเฮลอินเอเซล สุดท้ายแล้วพังก์ก็เป็นฝ่ายชนะและล้างแค้นเฮย์แมนได้สำเร็จ[123] ในรอยัลรัมเบิล (2014) พังก์ได้ร่วมปล้ำแมตช์รอยัลรัมเบิล โดยออกมาเป็นลำดับแรก สุดท้ายแล้วพังก์ก็ไม่ได้เป็นผู้ชนะ โดยเคนได้มาเล่นงานพังก์จนตกรอบ[124]

การแยกทางกับ WWE

แก้

พังก์ได้มีปัญหากับ WWE และได้ขอลาออก ทางสมาคมก็จัดการตอบโต้พังก์ด้วยการลบชื่อออกจากตารางการปล้ำทั้งหมด เดิมทีพังก์มีคิวต้องเจอกับ ทริปเปิล เอช ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 โดย WWE ได้เปลี่ยนแผนให้ ทริปเปิล เอช ไปเจอกับ แดเนียล ไบรอัน แทนแล้ว สาเหตุที่พังก์ออกจาก WWE นั้น อาจเป็นเพราะปัญหาที่สะสมหลายอย่างไม่ว่าจะ ความเหนื่อยล้า, อาการบาดเจ็บ, ความแตกต่างในสิ่งที่ WWE มองว่านั่นคือ big push ที่เหมาะสมกับพังก์ ซึ่งพังก์รู้สึกอีกอย่างนึง โดยเฉพาะการที่ต้องเจอกับ ทริปเปิล เอช ในเรสเซิลเมเนีย ที่ผ่านมา พังก์ก็เคยพูดเอาไว้แล้วว่าเขาอาจจะรีไทร์ในปี 2015 ในขณะที่เป้าหมายสูงสุดคือการได้เป็นคู่เอก เรสเซิลเมเนีย สักครั้ง และพังก์ก็เป็นคนหนึ่งที่ต่อต้านการกลับมาของอดีตสตาร์ชื่อดังที่มักจะมาแบบพาร์ทไทม์แล้วมาแย่งบทเด่นๆ ไปจากสตาร์หน้าใหม่ๆ เสมอ ทั้งนี้สัญญาของพังก์กับ WWE ก็จะหมดลงในเดือนกรกฎาคม 2014[125][126][127] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ วินซ์ แม็กแมน ได้พูดถึงสถานะของพังก์กับสมาคมต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ระหว่างที่มีการประชุม conference call กับผู้ถือหุ้นของสมาคม โดยผู้ถือหุ้นได้ถามวินซ์ว่า สถานะของพังก์กับสมาคมตอนนี้เป็นไงบ้าง ซึ่งวินซ์ก็ยอมรับว่า พังก์ถือเป็นสตาร์ที่สำคัญที่สุดคนนึงของสมาคม ก่อนจะบอกว่า "เขากำลังอยู่ในช่วงหยุดพักผ่อน ปล่อยเขาไปก่อน"[128][129] ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมพังก์ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่ง โดยบอกว่าเขาได้รีไทร์แล้ว[130] ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2014 พังก์ได้ยุติการทำงานกับ WWE แล้ว หลังจากหน้าประวัติของเขาในเว็บไซต์ WWE.COM ถูกย้ายไปอยู่หมวดศิษย์เก่า Alumni[131] ในปลายเดือนกรกฎาคม พังก์ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าว และได้พูดถึง WWE ด้วย ซึ่งนักข่าวได้ถามคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่จะกลับมา WWE อีกครั้ง ซึ่งพังก์ก็ตอบกลับว่า "ไม่มีวัน มันไม่มีทางตลอดไป"[132][133]

ในเดือนพฤศจิกายน 2014 พังก์ได้เปิดใจเล่ารายละเอียดถึงสาเหตุที่เขาตัดสินใจออกจาก WWE ทั้งที่ยังไม่หมดสัญญาเมื่อช่วงต้นปี โดยเขาได้ไปออกรายการวิทยุ Art of Wrestling ที่ดำเนินรายการโดย โคลต์ คาบานา เพื่อนซี้ของเขาเอง[134] พังก์บอกว่าเขาออกจาก WWE หลังจบ รอยัลรัมเบิล ด้วยเหตุผลหลักคือเขามีอาการบาดเจ็บหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นซี่โครงร้าว, ศีรษะกระทบกระเทือน, เข่าพัง ซึ่งเขาต้องทนปล้ำทั้งที่บาดเจ็บมาโดยตลอด อีกทั้งยังเคยเป็นไข้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนระหว่างที่ WWE กำลังทัวร์ยุโรปด้วย แพทย์ WWE ต้องจ่ายยาให้เขาเยอะมากในตอนที่เขาเกิดอุบัติเหตุในสแมคดาวน์ แถมเงินเดือนของเขาก็น้อยลงอีกต่างหาก พังก์บอกว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขารู้สึกแย่ที่สุดในชีวิต พังก์บอกว่าเขาบาดเจ็บศีรษะกระทบกระเทือนตั้งแต่ช่วงต้นแมตช์ รอยัลรัมเบิล ซึ่งเขาก็ทนปล้ำจนจบ แต่ในวันรุ่งขึ้นแพทย์กลับบอกว่าเขาผ่านความฟิตขึ้นปล้ำได้ในรอว์ ซึ่งพังก์บอกว่าผลการทดสอบนี้มันมั่วมากๆ และในวันเดียวกันนั้นเขายังต้องตรวจหาสารกระตุ้น อีกทั้งยังต้องเซ็นเอกสารเพื่อขอวีซ่าไปทัวร์ต่างประเทศกับ WWE อีกด้วย พังก์ยังบอกอีกว่า ทริปเปิล เอช สกัดดาวรุ่งเขาในปี 2011 และบ่นเรื่องที่ วินซ์ แม็กแมน ไม่ยอมฟังไอเดียของเขาในการเขียนบท อีกทั้งยังบอกว่าการที่ แดเนียล ไบรอัน ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคู่เอก เรสเซิลเมเนีย (ในขณะนั้น) ว่าเป็นเรื่องที่งี่เง่ามาก ตอนที่เขาบอกกับวินซ์ และทริปเปิล เอช ว่าเขาจะกลับบ้านแล้วนั้น วินซ์ได้กอดอำลาเขาทั้งน้ำตาและบอกว่า พังก์เป็นเหมือนครอบครัวเดียวกับพวกเขา แต่หลังจากนั้น พังก์ก็ถูก WWE สั่งแบนเป็นเวลา 2 เดือนโดยวินซ์ ส่งเมสเซจมาบอกให้เขารู้ (ช่วงที่มีข่าวออกมาว่าวินซ์แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบในที่ประชุมว่า พังก์ลาพักร้อน) แต่พอครบ 2 เดือนก็ไม่มีการติดต่อใดๆ จาก WWE เลยว่าจะเอาอย่างไรต่อไป สุดท้ายก็ส่งเอกสารการยกเลิกสัญญามาให้พังก์อ่านในเดือนมิถุนายน โดย WWE บอกว่า พังก์ละเมิดข้อตกลงในสัญญาทำให้ WWE มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาได้ พังก์จึงได้ว่าจ้างทนายความเพื่อต่อสู้กับคำกล่าวหาของ WWE ที่ว่าเขาละเมิดสัญญาให้ได้ ซึ่งในที่สุด พังก์ กับ WWE ก็ตกลงกันได้และพังก์ ก็ได้รับในสิ่งที่เขาเรียกร้องทั้งหมด แต่เขาไม่สามารถบอกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยได้ และเขากับ WWE จบสิ้นกันแล้ว แม้ว่า WWE จะพยายามจะทำข้อตกลงร่วมกับเขาแต่เขาก็ตอบกลับไปว่า "ไปไกลๆ เลย" WWE กลัวว่า พังก์จะไปร่วม TNA แต่ทนายของพังก์ ก็ยืนยันแล้วว่า พังก์ไม่คิดจะกลับไปเป็นนักมวยปล้ำในตอนนี้และอาจจะไม่ปล้ำอีกเลยในอนาคต[135][136]

วินซ์ แม็กแมน ได้ให้สัมภาษณ์สดในรายการ เดอะ สตีฟ ออสติน โชว์ ซึ่งออกอากาศทาง WWE Network โดยวินซ์ ได้ขอโทษเรื่องที่ยกเลิกสัญญาเขาในวันแต่งงานนั้นเป็นเหตุบังเอิญ[137] หลังจากการกล่าวของโทษของวินซ์นั้น พังก์ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับรายการวิทยุ Art of Wrestling ของ โคลต์ คาบานา ตอนสอง และโต้กลับเรื่องการกล่าวขอโทษของวินซ์ว่า "ฉันไม่อยากได้ยินว่ามันเป็นเหตุบังเอิญ ฉันไม่อยากได้ยินว่าฝ่ายกฎหมายกับฝ่ายบุคคลไม่ได้คุยกัน ฉันบอกกับ ทริปเปิล เอช ไปในวันที่ 11 มิถุนา แล้ววันที่ 13 มิถุนาก็มีจดหมายส่งมาหาฉันอย่างรวดเร็ว ฉันได้รับจดหมายที่จ่าหัวว่าวันที่ 12 มิถุนา นอกจากนี้ภรรยาของฉันขอพักงานเพื่อจะได้มาแต่งงาน แล้วหลังจากเสร็จฮันนีมูนเธอก็กลับไปคืนจอ พวกเขารู้ หากการขอโทษนั้นจริงใจจริงๆ คุณไม่ควรจะขอโทษต่อสาธาณะแบบจอมปลอมผ่านรายการของ Austin อย่างนั้น คุณก็มีเบอร์โทรศัพท์ผม มีที่อยู่ผม คุณควรจะส่งข้อความ คุณควรจะโทรหา คุณควรจะมาหาผมตอนที่คุณอยู่ห่างจากบ้านผมเพียงขับรถแค่ 10 นาที แล้วขอโทษผมอย่างลูกผู้ชาย นั่นถึงจะจริงใจ ฉันเบื่อ เจ็บปวด และเหนื่อยล้า ฉันถึงเดินออกจากสมาคม และฉันสามารถทำมันได้เพราะฉันคือผู้ที่ทำสัญญาด้วยตัวเอง (independent contractor) ฉันถูกแบน แล้วก็ไม่มีใครติดต่อมาหาฉันหลังครบกำหนดแบน ไม่มีใครบอกว่า "คุณพ้นแบนแล้วนะ เราอยากให้คุณมารอว์" เมื่อหลายปีก่อนโทรศัพท์นั้นเคยโทรมาหาฉัน หนึ่งวันหลังผ่าตัดศอก, หนึ่งวันหลังผ่าตัดเข่า แล้วทำไมตอนนั้นถึงไม่โทรละ? บางทีใน 2 เดือนนั้นฉันอาจจะรู้สึกดีขึ้นและคิดพิจารณา แต่ไม่มีใครทำเพราะไม่มีใครสนใจ นั่นคือการขอโทษแบบจอมปลอมต่อสาธารณะ แสดงความเป็นลูกผู้ชายแล้วโทรหาฉันสิ มันต้องทำแบบนี้ สุดท้ายพังก์ บอกว่า "ฉันชื่นชมกับคำพูดนั้น แต่ไม่คิดว่ามันจริงใจ"[138]

ในเดือนพฤศจิกายน 2019 พังก์ได้ปรากฏตัวอย่างเซอร์ไพรส์ทางช่อง Fox Sports 1 ในรายการ WWE Backstage โดยร่วมทำหน้าที่เป็นพิธีกรนักวิเคราะห์พิเศษ[139]

ออลอีลิตเรสต์ลิง

แก้

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2021 แหล่งข่าวหลายแห่งเริ่มรายงานว่าพังก์ได้เซ็นสัญญากับ All Elite Wrestling (AEW)[140][141] วันที่ 20 สิงหาคม พังก์ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการกับ AEW ใน The First Dance ของรายการ Rampage พร้อมประกาศว่าจะกลับมาสู่มวยปล้ำอาชีพหลังจากรีไทร์ 7 ปี ก่อนจะท้า Darby Allin เจอกันในศึก All Out และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้[142][143] ในศึก Double or Nothing 2022 พังก์สามารถคว้าแชมป์โลก AEWได้จากอดัม เพจเป็นแชมป์เส้นแรกของพังก์ในรอบ 9 ปี[144] ก่อนจะแพ้แชมป์เฉพาะกาลอย่างจอน ม็อกซ์ลีย์ในการรวมแชมป์โลก 2 เส้น[145] และชิงคืนได้เป็นสมัยที่ 2 ในศึก All Out 4 กันยายน 2022[146]

ใน Media scrum หลังจบ All Out พังก์หยิบประเด็นปัญหากับสื่อบางคนในขณะที่เขาพูดถึงข่าวลือในชีวิตจริงว่าเขาพยายามทำให้โคลท์ คาบาน่าอดีตเพื่อนของเขาถูกไล่ออกจาก AEW ซึ่งเขาปฏิเสธอย่างยืนกราน การปฏิเสธข่าวลือของเขาได้รับการสนับสนุนจากโทนี่ ข่าน ประธาน AEW ซึ่งเคยปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวหลังจากศึก Death Before Dishonor 2022 ของ ROH พังก์อ้างถึง "คนที่เรียกตัวเองว่า EVP ที่ขาดความรับผิดชอบ" (EVP ของ AEW คือ Kenny Omega และ Young Bucks) และ "Hangman" Adam Page เป็นเหตุผลว่าทำไมข่าวลือถึงรั่วไหลในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนถึง All Out นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ Page นอกบทในการโปรโมตกับเขาก่อนถึงแมตช์ที่ Double or Nothing ในเดือนพฤษภาคม โดยพังก์กล่าวว่า "เมื่อบางคนไม่ได้ทำอะไรในวงการนี้กับการมีบ้านหลักล้านหลังแรก สมาคมนี้ได้เงินจากผมและการไปอยู่บนโทรทัศน์ มันน่าอับอายนะในวงการนี้ น่าอับอายสำหรับสมาคมนี้ด้วย ตอนนี้เรามาไกลจากคำขอโทษแล้ว ผมให้โอกาสเขาแล้ว มันไม่ได้ถูกจัดการ และ คุณเห็นว่าผมต้องลดตัวไปอยู่ระดับเดียวกับเขา แต่นั่นคือสิ่งที่เกิดในตอนนี้”[147][148] สื่อพิมพ์หลายฉบับรายงานว่าความคิดเห็นของ Punk ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่าง Punk, Ace Steel เพื่อนของเขา, Omega และ Young Bucks หลังเวที[149][150] เมื่อวันที่ 7 กันยายน ในรายการ AEW Dynamite ข่านประกาศว่า Punk ถูกพักงานจาก AEW อย่างไม่มีกำหนดและปลดแชมป์ AEW World Championship เนื่องจากการทะเลาะวิวาท นำไปสู่ทัวร์นาเมนต์ที่จบลงโดย Moxley ได้แชมป์คืน[151] Omega และ Young Bucks ถูกพักงานและปลดแชมป์ AEW World Trios Championship[152][153] เมื่อวันที่ 8 กันยายน Dave Meltzer รายงานว่า Punk ได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อแขนฉีกระหว่างการแข่งขันที่ All Out และจะต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่ คาดว่าอาการบาดเจ็บจะทำให้เขาพักจากสังเวียนนานถึง 8 เดือน แม้ว่าอนาคตของเขากับ AEW โดยไม่คำนึงถึงอาการบาดเจ็บจะยังไม่ชัดเจน[154]

หลังจากพักไป 9 เดือนพังก์ได้กลับมาปล้ำอีกครั้งในรายการใหม่ของ AEW อย่าง Collision โดยร่วมทีมกับ FTR เอาชนะ Samoa Joe, Juice Robinson และ Jay White ไปได้[155] และต่อมาได้เข้าร่วมทัวร์นาเมนต์โอเวน ฮาร์ตคัพแต่แพ้ให้กับ Ricky Starks ในรอบชิง[156][157] 29 กรกฎาคมพังก์ได้เปิดตัวเข็มขัดแชมป์โลก AEW ที่ยังไม่เสีย ทำการพ่นสีสเปรย์ใส่เข็มขัดเป็นตัว X และสถาปนาชื่อว่า Real World Champion ในศึก All In ที่ลอนดอนพังก์สมารถป้องกันแชมป์กับซามัว โจได้สำเร็จ ในโชว์นี้มีรายงานว่าพังก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาทหลังเวทีกับแจ็ก เพอร์รีเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เพอร์รีทำในระหว่างการแข่งขันของเขาในช่วงต้นของรายการ (เป็นการอ้างถึงพังก์ที่ปฏิเสธไม่ให้เพอร์รีใช้แก้วจริงในรายการ Collision) หลังจากการสอบสวนเรื่องการทะเลาะวิวาทโดย AEW พังก์ก็ถูกยกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา[158]

กลับสู่ WWE

แก้

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2023 ในศึกเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ พังก์ได้เซอร์ไพรส์รีเทิร์นกลับมา WWE อีกครั้งในรอบเกือบ 10 ปี[159][160] และได้เซ็นสัญญาสังกัดรอว์ในเวลาต่อมา พร้อมประกาศจะเข้าร่วมรอยัลรัมเบิล 30 คนในปี 2024 เพื่อคว้าสิทธิ์ผู้ชนะไปท้าชิงแชมป์โลกเฮวีเวตกับเซธ รอลลินส์ในคู่เอกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 40[161][162][163] โดยอยู่เป็นสองคนสุดท้ายกับโคดี โรดส์แต่ก็พ่ายแพ้ตกรอบเป็นคนสุดท้าย[164] ระหว่างแมตช์พังก์ได้รับบาดเจ็บที่ไทรเซบขวาจากการถูกดรูว์ แม็กอินไทร์ใส่ Future Shock DDT ทำให้ต้องพลาดปล้ำศึกเรสเซิลเมเนีย 40[165][166][167] ในเรสเซิลเมเนีย 40 พังก์ได้ร่วมเป็นผู้บรรยายแมตช์ชิงแชมป์โลกเฮวีเวตระหว่างเซธและดรูว์ ซึ่งดรูว์สามารถคว้าแชมป์ได้ก่อนจะเยาะเย้ยพังก์หลังแมตช์เลยโดนพังก์เล่นงานเปิดโอกาสให้แดเมียน พรีสต์ออกมาใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์คว้าแชมป์ไป[168] หลังจากนั้นพังก์ได้ตามก่อกวนดรูว์ตลอดทุกครั้งในการที่จะคว้าแชมป์โลก[169][170][171] พังก์ได้ท้าดรูว์เจอกันในซัมเมอร์สแลมโดยมีเซธ รอลลินส์เป็นกรรมการพิเศษผลปรากฎว่าดรูว์เป็นฝ่ายชนะ[172] ในแบชอินเบอร์ลินพังก์สามารถเอาชนะดรูว์คืนได้ในกติกาสแตรปแมตช์[173] ในแบดบลัดพังก์เอาชนะดรูว์ไปได้อีกครั้งในกติกาเฮลอินเอเซลและเป็นการยุติเรื่องราวทั้งคู่[174]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

บรูกส์เป็นคนที่ไม่เชื่อในพระเจ้า[175][176] และเป็นมังสวิรัติ[177] เขาเป็นแฟนตัวยงของชิคาโก แบล็กฮอกส์[178] และชิคาโกคับส์[179] ในเวลาว่างของเขาเขาอ่านและเก็บรวบรวมการ์ตูน ครั้งหนึ่งเขาเคยทำงานให้กับร้านค้าที่มีชื่อ All American Comics[180] และอ้างอิงเทศน์เป็นการ์ตูนที่เขาชื่นชอบ[181] เขาเป็นเพื่อนสนิทกับเพื่อนนักมวยปล้ำอาชีพอย่าง โคลต์ คาบานา ซึ่งเขาได้พบกันเมื่อตอนที่เขาได้รับการฝึกฝนมวยปล้ำที่ Steel Domain Wrestling ของคลิฟ คอมป์ตัน[182] และ Rancid vocalist Lars Frederiksen เพื่อนสนิทของเขาได้ให้สัมภาษณ์กับ WWE เกี่ยวกับสารคดี ซีเอ็ม พังก์: สุดยอดที่สุดในโลก[183]

ในขณะที่ทำงานให้กับสมาคมริงออฟออเนอร์ บรูกส์ได้มีความสัมพันธ์กับนักมวยปล้ำอาชีพอย่าง Shannon Spruill[184] และเทรซี บรูกชอว์ หลังจากที่เข้าร่วมสมาคม โอไฮโอแวลลีย์เรสต์ลิง เขาเริ่มคบกับมาเรีย กาเนลลิส ซึ่งเป็นโฆษกผู้สัมภาษณ์[185][186] พวกเขาเลิกกันหลังจากที่พังก์ย้ายไปสมาคม WWE สังกัด ECW[187] บรูกส์ได้คบกับลิตา มานานตลอดทั้งปี 2009[188] ในเดือนมีนาคม 2010 แมต ฮาร์ดีกล่าวว่าทั้งสองไม่ได้คบกันแล้ว[189] ในการให้สัมภาษณ์ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2011 แม็กซิมกล่าวว่าบรูกส์อยู่ในความสัมพันธ์กับเพื่อนนักมวยปล้ำ WWE เบท ฟีนิกซ์[190] ในเมษายน 2013 มีรายงานว่าเขาและลิตาได้กลับมาคืนดีกัน อย่างไรก็ตามพวกเขาก็เลิกกันในปี 2013[191], เขาได้แต่งงานกับเอเจ ลี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2014[192][193]

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2015 Dr. Chris Amann แพทย์ของ WWE ได้ยื่นฟ้องทั้ง Punk และ Colt Cabana เนื่องจากคำวิจารณ์ของทั้งคู่ที่พูดถึงเขาในรายการวิทยุออนไลน์ Art of Wrestling ของ Cabana เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014[194] โดย Amann ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายมากกว่า 1,000,000 เหรียญรวมถึงเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการลงโทษซึ่งยังไม่ได้ประเมินด้วย[195] เพราะเขาต้องเสียชื่อเสียงจากคำพูดของ Punk ที่พูดถึงเขาในรายการวิทยุดังกล่าวซึ่งเป็นเท็จ รวมถึง Cabana ที่มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บรูกส์ เอกสารที่ Amann ส่งฟ้องนั้นได้รวมเอกสารซึ่งถอดคำพูดจากรายการวิทยุดังกล่าวแนบไว้ด้วย โดย Amann บอกว่าคำพูดของ Punk และ Cabana ในรายการวิทยุนั้นเป็นเท็จ ถือเป็นการหมิ่นประมาท และทำเขาเสื่อมเสีย จากการพูดเป็นนัยๆของทั้งคู่ว่าเขาไม่มีจรรยาบรรณและ/หรือไม่มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ประกอบอาชีพแพทย์[196][197] ในปี 2018 ผลการพิจารณาคดีสรุปว่าฝ่าย Punk และ Cabana เป็นฝ่ายชนะคดี[198][199]

วงการบันเทิง

แก้
Film appearances
Year Title Role Notes Ref.
2013 Queens of the Ring Himself [200]
2015 The Flintstones & WWE: Stone Age SmackDown! CM Punkrock Direct-to-video film; voice only [201]
2019 Girl on the Third Floor Don Koch [202][203]
Rabid Billy [204]
2021 Jakob's Wife Deputy Colton [205]
Television appearances
Year Title Role Notes Ref.
2004 Monster Garage Himself Episode: "Box Truck Wrestling Car" [206]
2006 Ghost Hunters Himself Episode: "Live Halloween Special: Stanley Hotel" [207]
2011 Jimmy Kimmel Live! Himself 1 episode [208]
2012 Late Night with Jimmy Fallon Himself 1 episode [209]
2012–2014 Talking Dead Himself 3 episodes [210]
2014–2015 Maron Himself 2 episodes [211][212]
2016 The Evolution of Punk Himself Documentary mini-series; 4 episodes [213]
2017 The Challenge: Champs vs. Pros Himself Reality competition [214]
2018 Ultimate Beastmaster Himself United States co-host; season 3 [215]
2019–2020 WWE Backstage Himself 5 episodes [216]
2021 Heels Ricky Rabies 2 episodes [217]

แชมป์และความสำเร็จ

แก้

อาชีพนักต่อสู้แบบผสม

แก้

อัลติเมทไฟต์ติงแชมเปียนชิพ

แก้

ซีเอ็ม พังก์ได้เซ็นสัญญากับทางสมาคมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบผสมอย่างอัลติเมทไฟต์ติงแชมเปียนชิพ หรือ UFC แล้ว[3] โดยพังก์ได้ไปร่วมชมอีเวนต์ UFC 181 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2014[288][289] พังก์อายุ 36 ในช่วงเวลาของการเซ็นสัญญา[290][291] มีพื้นหลังใน Kenpo และบราซิลเลี่ยน ยูยิสสู[292] ที่โดดเด่นมากที่สุดภายใต้ Rener Gracie[293] ตั้งแต่ปี 2012[294]

เกี่ยวกับชื่อวงของเขาเขาบอกว่าลาสเวกัส Sun, "ฉันมาไกลขนาดนี้กับซีเอ็ม พังก์. นั่นคือสิ่งที่คนรู้. ฉันพยายามที่จะยึดติดอยู่กับที่. ฉันไม่อายห่างจากมัน. ฉันไม่ได้ ละอายใจของมัน."[295] ประวัติใน UFC ของเขาใช้ชื่อว่า ซีเอ็ม พังก์[296]

พังก์คือการฝึกอบรมสำหรับการแข่งขันครั้งแรกของเขาภายใต้ Duke Roufus pat Roufusport วีคสถาบันการศึกษาควบคู่ไปกับอดีต UFC จริงจังแชมป์แอนโธนี Pettis และ ONE เอฟซีแชมป์มวยปล้ำเบน Askren ห้องออกกำลังกายอยู่ในมิลวอกีรัฐวิสคอนซินค่อนข้างใกล้กับบ้านของเขาในชิคาโก[297] ในเดือนมิถุนายนปี 2015 พังก์ย้ายไปมิลวอกีจะใกล้ชิดกับโรงยิม Roufusport ขณะที่การรักษาที่บ้านของเขาในเมืองชิคาโก[298]

พังก์ที่คาดว่าจะต่อสู้กับมิกกี้น้ำดี (2-0) ซึ่งการแข่งขันครั้งแรกและโทรออกจากพังก์ได้รับการให้ความสำคัญกับ UFC ของ มอง 'สำหรับการต่อสู้' 'แสดงและผู้ที่ออกมาสำหรับโปรโมชั่นที่' 'UFC ต่อสู้คืน: เฮ็นดริกกับ ธอมป์สัน , สำลักออกไมค์แจ็กสัน (0-1) ใน 45 วินาที[299] ตามที่ Dana White, การต่อสู้อาจจะเกิดขึ้นใน UFC 199[300]

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์วันแห่งการต่อสู้ Gall-Jackson แพทย์พังก์บอกเขาว่าเขาจะต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมแผ่นดิสก์ในด้านหลังของเขามีอาการบาดเจ็บที่เลวร้ายลงจากวันที่เขา WWE การผ่าตัดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่มีระยะเวลาการฟื้นตัวของ 4-6 สัปดาห์ที่ผ่านมาจะชะลอการเปิดตัวในช่วงฤดูร้อนของเขาก่อนหน้านี้มีการกำหนดเป้าหมาย เขายังคงคาดว่าจะต่อสู้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2016[301]

วันที่ 10 กันยายน 2016 ในศึก UFC 203 พังก์ได้ขึ้นชกเป็นไฟต์แรกในชีวิตโดยแพ้ให้ Mickey Gall ไปแบบซับมิสชั่นในเวลาเพียง 2:14 นาที[302][303] เขาได้รับค่าตอบแทน 500,000 ดอลลาร์[304]

วันที่ 10 มิถุนายน 2018 พังก์ได้ขึ้นชกเป็นไฟต์ที่สองโดยแพ้ให้กับ Mike Jackson แบบเอกฉันท์[305]

สถิติการต่อสู้แบบผสม

แก้
Res. สถิติ คู่ต่อสู้ Method Event วันที่ รอบ เวลา สถานที่ หมายเหตุ
Loss 0–2 Mike Jackson Decision (unanimous) UFC 225 มิถุนายน 9, 2018 3 5:00 Chicago, Illinois, United States
Loss 0–1 Mickey Gall Submission (rear-naked choke) UFC 203 กันยายน 10, 2016 1 2:14 Cleveland, Ohio, United States

หมายเหตุและอ้างอิง

แก้
หมายเหตุ
  1. Punk held the title concurrently with Rey Mysterio and John Cena during his first reign. After defeating Cena, Punk became the undisputed champion, but he was not recognized by WWE as having won the title a second time.[258]
อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 Punk, CM (January 23, 2007). "Congratulations to Ace". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2008. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Wojick, Alan (June 21, 2003). "Wojick Interview". The Wrestling Clothesline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2011. สืบค้นเมื่อ September 26, 2006.
  3. 3.0 3.1 3.2 "CM Punk – official UFC fighter profile". Ultimate Fighting Championship. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
  4. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. August 7, 2008. สืบค้นเมื่อ August 17, 2008.
  5. "Datenbank Profil – CM Punk" (ภาษาเยอรมัน). Cagematch.de. สืบค้นเมื่อ September 26, 2006.
  6. "CM Punk profile". NNDB.com. สืบค้นเมื่อ September 22, 2007.
  7. CM Punk; Colt Cabana (July 1, 2005). Straight Shootin' with CM Punk & Colt Cabana (DVD). Ring of Honor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ April 14, 2007.
  8. Milner, John M.; Kamchen, Richard (April 3, 2016). "CM Punk". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 22, 2018.
  9. "Are long title reigns cursed?". WWE. สืบค้นเมื่อ January 28, 2013.
  10. "Ring of Honor official title histories". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2008. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  11. Woodward, Buck (January 19, 2009). "CM Punk makes WWE history with title win". PWInsider. สืบค้นเมื่อ March 7, 2012.
  12. Cohen, Eric. "Money in the Bank". about.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ February 24, 2010.
  13. 13.0 13.1 "CM Punk Inducted Into Inaugural ROH Hall Of Fame Class". Rohwrestling.com. February 21, 2022. สืบค้นเมื่อ February 27, 2022.
  14. CM Punk (November 2003). Shoot with CM Punk (DVD). RF Video. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-30. สืบค้นเมื่อ April 14, 2007.
  15. Lagattolla, Al (December 17, 2001). "CM Venom Interview". Chicago Wrestling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-22. สืบค้นเมื่อ September 26, 2006.
  16. Robinson, Jon (December 1, 2006). "CM Punk Interview". IGN. สืบค้นเมื่อ June 21, 2014.
  17. Gomez, Luis (March 26, 2012). "Pipe bomb! More from my interview with WWE Champ CM Punk". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ April 5, 2012.
  18. "CM Punk". Online World of Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ December 9, 2014.
  19. CM Punk; Samoa Joe (March 10, 2005). Straight Shootin' with Samoa Joe & CM Punk (DVD). Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2011. สืบค้นเมื่อ June 21, 2014.
  20. Magee, Bob (2006-06-25). "6/24 WWE at ECW Arena". Pro Wrestling Torch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-09-26.
  21. Hoffman, Brett (2006-09-12). "Garden Showstopper". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
  22. Dee, Louis (2006-11-26). "D-Xtreme dominance". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  23. Tello, Craig (2006-12-03). "Mission accomplished". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  24. Plummer, Dale; Nick Tylwalk. "Undertaker the champ, McMahon bald". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ January 15, 2008.
  25. Robinson, Bryan (2007-04-10). "New Breed gets the straight edge". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
  26. Tello, Craig (2007-03-06). "Rattlesnake's venomous visit". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  27. Robinson, Bryan (2007-03-21). "Masterpiece theater, Lashley-style". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  28. Robinson, Bryan (April 24, 2007). "Making painful statements". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2007.
  29. Rote, Andrew (June 3, 2007). "CM Punk splinters the New Breed". WWE. สืบค้นเมื่อ September 8, 2008.
  30. Robinson, Bryan (June 19, 2007). "The beginning of a new ECW dawn". WWE. สืบค้นเมื่อ June 24, 2007.
  31. Robinson, Bryan (June 24, 2007). "ECW World Title goes A-list". WWE. สืบค้นเมื่อ June 25, 2007.[ลิงก์เสีย]
  32. Rote, Andrew (September 4, 2007). "Golden grin". WWE. สืบค้นเมื่อ April 23, 2009.
  33. Tello, Craig (2008-01-22). "Chavo's Night". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  34. "WWE WrestleMania XXIV Results". Pro-Wrestling Edge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
  35. Clayton, Corey (March 30, 2008). "Perseverance makes Punk 'Mr. Money' in Orlando". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2008. สืบค้นเมื่อ March 12, 2012.
  36. Sitterson, Aubrey (June 23, 2008). "A Draft Disaster". WWE. สืบค้นเมื่อ June 25, 2008.
  37. Tello, Craig (September 7, 2008). "Punk possibly unable to compete?". WWE. สืบค้นเมื่อ September 8, 2008.
  38. Sitterson, Aubrey (October 27, 2008). "Just Desserts". WWE. สืบค้นเมื่อ January 4, 2009.
  39. "Miz and Morrison's first reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ January 4, 2009.
  40. Sitterson, Aubrey (January 5, 2009). "Big Night in the Big Easy". WWE. สืบค้นเมื่อ February 26, 2009.
  41. Sitterson, Aubrey (January 12, 2009). "Sioux City Showstopper". WWE. สืบค้นเมื่อ February 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. 42.0 42.1 Tylwalk, Nick. "Raw: CM Punk rises, Vince falls in Chicago". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ May 1, 2009.[ลิงก์เสีย]
  43. Sitterson, Aubrey (March 9, 2009). "In your house". WWE. สืบค้นเมื่อ April 5, 2009.
  44. Rote, Andrew (April 5, 2009). "Twice as nice for CM Punk". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  45. Sitterson, Aubrey (April 13, 2009). "Rough Draft". WWE. สืบค้นเมื่อ April 20, 2009.
  46. Medalis, Kara A. (June 7, 2009). "Results:Samoan Goes To Sleep". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  47. Medalis, Kara A. (2009-06-07). extremerules/history/2009/matches/10300540/results/ "Results:Samoan Goes To Sleep". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  48. Passero, Mitch (June 26, 2009). "Results: Punk crushes Hardy's dreams ... again".
  49. Murphy, Ryan (July 26, 2009). "A lifelong dream comes true". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  50. Murphy, Ryan (August 23, 2009). "CM Punk comes out on top". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  51. Burdick, Michael (August 28, 2009). "Extreme exodus". WWE. สืบค้นเมื่อ August 28, 2009.
  52. Tello, Craig (September 13, 2009). "Hell's Gate-crasher". WWE. สืบค้นเมื่อ September 13, 2009.
  53. Sokol, Chris; Sokol, Brian. "Title changes highlight Hell in a Cell". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ October 5, 2009.
  54. Burdick, Michael (2009-11-27). "Hungry Animal heading to WWE TLC". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
  55. McNichol, Rob (January 25, 2009). "In Punk we trust". The Sun. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
  56. Burdick, Michael (January 29, 2010). "Whirlwind before the Rumble". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  57. Caldwell, James (February 21, 2010). "WWE Elimination Chamber PPV Report 2/21: Complete coverage of Raw & Smackdown Elimination Chamber matches – Sheamus and Undertaker defend titles". PWTorch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  58. Parks, Greg (March 19, 2010). "WWE SmackDown Report 3/19: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Jericho on the Cutting Edge". PWTorch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  59. McNichol, Rob (March 29, 2010). "Shawn's career ends on a high". The Sun. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  60. Keller, Wade (April 25, 2010). "WWE Extreme Rules Results: Keller's complete PPV report – Cena vs. Batista, Mysterio vs. Punk, Edge vs. Jericho". PWTorch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  61. Bishop, Matt (2010-05-23). "Batista quits to end disappointing Over The Limit". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  62. "Rey Mysterio shaves CM Punk's head". WWE. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
  63. Bishop, Matt (July 16, 2010). "Smackdown: Kane strikes again, Punk unmasked". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.[ลิงก์เสีย]
  64. McNichol, Rob (2010-08-16). "SummerSlam is only lukewarm". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  65. Tylwalk, Nick (2010-09-20). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.[ลิงก์เสีย]
  66. "Serena released". WWE. August 27, 2010. สืบค้นเมื่อ August 28, 2010.
  67. Gerweck, Steve (September 1, 2010). "Smackdown star likely out six months". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-27. สืบค้นเมื่อ September 2, 2010.
  68. Hillhouse, Dave (September 25, 2010). "Smackdown: Kickin' it old school". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ November 27, 2010.
  69. Tylwalk, Nick (2010-10-12). "Raw: Team Raw assembles while Cena stews". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.[ลิงก์เสีย]
  70. Tylwalk, Nick (2010-10-12). "Raw: Team Raw assembles while Cena stews". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.[ลิงก์เสีย]
  71. Shaw, Toby (2010-11-02). "WWE hit by dual injury blow". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  72. McNichol, Rob (2010-11-23). "Miz wins title on awesome Raw". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  73. Bishop, Matt (2010-12-21). "Smackdown: Ziggler takes Cena to the limit again, CM Punk makes impact". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  74. McNichol, Rob (2010-11-23). "Miz wins title on awesome Raw". The Sun. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  75. Bishop, Matt (December 21, 2010). "Smackdown: Ziggler takes Cena to the limit again, CM Punk makes impact". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  76. Adkins, Greg (January 3, 2011). "Steel resolve". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  77. Adkins, Greg (2011-01-03). "Steel resolve". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
  78. "Randy Orton def. CM Punk". WWE.
  79. Hillhouse, Dave (May 1, 2011). "Extreme Rules: Championship make-over edition". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ June 21, 2011.[ลิงก์เสีย]
  80. Connell, Charlie (March 23, 2012). "Q+A: CM Punk". Inked. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-20. สืบค้นเมื่อ June 21, 2014.
  81. "WWE Chairman Vince McMahon suspends CM Punk". WWE. June 28, 2011. สืบค้นเมื่อ June 28, 2011.
  82. 82.0 82.1 James Wortman (July 4, 2011). "Raw results: Stars and gripes". WWE. สืบค้นเมื่อ July 5, 2011.
  83. "CM Punk Invades Comic-Con". 2011-07-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  84. "CM Punk invaded Comic-Con, mocking Triple H and WWE". WWE. 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
  85. "SmackDown results: Truth and Consequences". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-07-30.
  86. "CM Punk def. John Cena; Alberto Del Rio cashed in Raw Money in the Bank briefcase (New Undisputed WWE Champion)". WWE. สืบค้นเมื่อ September 1, 2011.
  87. Adkins, Greg (August 29, 2011). "Raw results: Triple H to battle Punk".
  88. "Kevin Nash vs. Triple H". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
  89. "WWE Championship Triple Threat Hell in a Cell Match". WWE. สืบค้นเมื่อ September 20, 2011.
  90. Murphy, Ryan (31 October 2011). "WWE Raw SuperShow results: It's time to meet The Muppets!". สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  91. Murphy, Ryan. "Entertainment era begins".
  92. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Royal Rumble report 1/29: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rumble match, Punk-Ziggler, Cena-Kane, steel cage". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
  93. Herrera, Tom (February 19, 2012). "WWE Champion CM Punk won the Raw Elimination Chamber Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.
  94. Passero, Mitch. "Raw SuperShow results: Triple H accepts Undertaker's WrestleMania challenge". WWE. สืบค้นเมื่อ February 26, 2012.
  95. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 28 PPV REPORT 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  96. Meltzer, Dave. "WWE Extreme Rules live coverage from Chicago". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
  97. "WWE Champion CM Punk def. Daniel Bryan". WWE. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
  98. "WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan vs. Kane – Triple Threat Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  99. WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan, WWE, สืบค้นเมื่อ 2012-06-25
  100. Styles, Joey (23 July 2012). "Was CM Punk justified?". WWE. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  101. Martin, Todd (23 July 2012). "Raw 1000th Episode Report". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  102. Herrera, Tom (23 July 2012). "Raw 1,000 results: John Cena failed to win the WWE Title; The Rock floored by CM Punk". WWE. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  103. Meltzer, Dave (August 19, 2012). "It's SummerSlam day live from Staples Center, HHH vs Brock". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ August 21, 2012.
  104. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/3: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - Punk returns home, Anger Management".
  105. "WWE Champion CM Punk vs. John Cena ended in a draw". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
  106. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/24: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – Cena announcement, Lawler interview, latest on WWE Title picture".
  107. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 10/8: Complete coverage of live Raw – Cena returns, but McMahon dominates show".
  108. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 10/15: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – what was McMahon's "decision?," ten matches".
  109. "Caldwell's WWE Hell in a Cell PPV Report 10/28: Complete "virtual time" coverage of live PPV – Did WWE pull the trigger on Ryback as top champ?".
  110. Murphy, Ryan (November 19, 2012). "WWE Champion CM Punk def. John Cena and Ryback (Triple Threat Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-11-24.
  111. "CALDWELL'S WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/27: Complete "virtual-time" coverage of Punk vs. Rock, 30-man Rumble".
  112. Caldwell, James. "WWE NEWS: Chamber PPV results & notes – WM29 main event set, World Title match set, Shield big win, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ February 18, 2013.
  113. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 2/25: Complete "virtual-time" coverage of live & loaded Raw - Cena vs. Punk Instant Classic, Heyman-McMahon "fight," big returns, but did Taker return?".
  114. Tylwalk, Nick (March 5, 2013). "Raw: Four men enter, one man leaves as Undertaker's WrestleMania opponent". SLAM! Wrestling. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.[ลิงก์เสีย]
  115. WrestleMania 29 results | WWE.com
  116. "While addressing the WWE Universe, CM Punk walks away: Raw, April 15, 2013". WWE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-20. สืบค้นเมื่อ 2013-04-22.
  117. "CALDWELL'S WWE PAYBACK PPV RESULTS 6/16 (Hour 2): Punk vs. Jericho, New World Hvt. champion & double-turn".
  118. "6/17 Powell's WWE Raw Live Coverage: Brock Lesnar and C.M. Punk, Mark Henry returns in a big way, Payback fallout with new champions Alberto Del Rio, Curtis Axel, and A.J. Lee". LAST ROW MEDIA LLC. 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
  119. "BREAKING NEWS: Paul Heyman Double Crosses CM Punk at WWE Money In The Bank". 2013-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-15.
  120. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/15 (Hour 3): Punk-Heyman epic promo exchange, Jericho vs. RVD, Cena picks his Summerslam PPV opponent".
  121. http://www.philly.com/philly/blogs/pattisonave/WWE-Raw-results-81213-CM-Punk-gets-the-best-of-Brock-Lesnar-John-Cena-Daniel-have-heated-verbal-exchange-The-Big-Show-finally-returns.html
  122. "CALDWELL'S WWE SSLAM PPV RESULTS 8/18 (Hour 2): Lesnar vs. Punk brutal fight".
  123. Benigno, Anthony. "Raw results: The Rhodes get golden, Orton traps Bryan and Heyman goes to 'Hell'". WWE. สืบค้นเมื่อ October 15, 2014.
  124. "Punk eliminated by Kane in Royal Rumble 2014".
  125. "The Undertaker vs. CM Punk". Wayback Machine. WWE. March 4, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ December 15, 2014. Punk decries the fact he's never headlined The Show of Shows.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  126. "WWE news: Report - C.M. Punk leaves WWE". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  127. Hooton, Christopher. "CM Punk 'quits the WWE' just weeks before Wrestlemania 30". The Independent. สืบค้นเมื่อ January 29, 2014.
  128. Caldwell, James. "WWE NEWS: McMahon addresses Punk's departure from WWE". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  129. WWE Q4/2013 Investors Conference Call (31:35)
  130. Caldwell, James. "WWE news: Is C.M. Punk retired?, Punk addresses status". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
  131. "WWE NEWS: C.M. Punk no longer on the roster; Punk speaks". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  132. "CM Punk 'never ever ever' returning to WWE (so that means he probably will)". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
  133. "Wrestling Star CM Punk 'Never Ever' Returning to WWE?". Christian Post. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
  134. Namako, Jason. "CM Punk breaks silence on WWE exit in new podcast". wrestleview.com. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  135. Johnson, Mike. "WWE Fired CM Punk on His Wedding Day, The Health Issue That Should Have Killed Him and More: Quick Highlights of Punk Interview on Cabana Podcast". pwinsider.com. สืบค้นเมื่อ November 27, 2014.
  136. Caldwell, James. "WWE news: The C.M. Punk Interview - Punk says he was fired on his wedding day & will never work for WWE again, plus why he left WWE, legal battle that followed, Final Meeting with McMahon & Hunter, independent contractor status, much more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  137. Traina, Jimmy (December 2, 2014). "Vince McMahon apologizes to C.M. Punk, says he'd work with him again". Fox Sports. สืบค้นเมื่อ December 2, 2014.
  138. "WWE News: C.M. Punk rejects Vince McMahon's apology in Cabana Podcast Part 2, calls it "publicity stunt," more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 5 December 2014.
  139. "CM Punk Makes Surprise Appearance On WWE Backstage, Set For 11/19 Episode | Fightful Wrestling". www.fightful.com. November 13, 2019.
  140. Sapp, Sean Ross (July 21, 2021). "CM Punk In Talks For In-Ring Return". Fightful Select. สืบค้นเมื่อ July 22, 2021 – โดยทาง Patreon.
  141. Heydorn, Zack (July 21, 2021). "CM Punk reportedly negotiating a return to wrestling". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ July 23, 2021.
  142. Raimondi, Marc (August 20, 2021). "CM Punk makes pro-wrestling return, signs with All Elite Wrestling". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-21. สืบค้นเมื่อ August 20, 2021.
  143. Barrasso, Justin (September 5, 2021). "Daniel Bryan becomes All Elite at 'All Out'". Sports Illustrated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2021. สืบค้นเมื่อ September 6, 2021.
  144. Brent Brookhouse (May 29, 2022). "2022 AEW Double or Nothing results, recap, grades: CM Punk wins first world title in more than nine years". CBS Sports.
  145. Barnett, Jake (August 24, 2022). "8/24 AEW Dynamite results: Barnett's live review of CM Punk vs. Jon Moxley for the unified AEW World Championship, Death Triangle vs. Will Ospreay and Aussie Open in an AEW Trios Title tournament match, Dax Harwood vs. Jay Lethal, Billy Gunn vs. Colten Gunn, Britt Baker vs. KiLynn King, Chris Jericho and Daniel Garcia meeting". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 25, 2022.
  146. Powell, Jason (September 4, 2022). "AEW All Out results: Powell's live review of Jon Moxley vs. CM Punk for the AEW World Championship, Toni Storm vs. Britt Baker vs. Jamie Hayter vs. Hikaru Shida for the Interim AEW Women's Title, Chris Jericho vs. Bryan Danielson, Ricky Starks vs. Powerhouse Hobbs, "Jungle Boy" Jack Perry vs. Christian Cage, Casino Ladder Match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 4, 2022.
  147. Defelice, Robert; Lambert, Jeremy (September 5, 2022). "CM Punk Details Issues With Colt Cabana, EVPs, And Hangman Page". fightful.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2022.
  148. Radican, Sean (September 5, 2022). "CM Punk sounds off on Young Bucks and others at All Out media scrum, talks Cabana, more". pwtorch.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2022.
  149. Johnson, Mike (September 5, 2022). "Lots of stories of backstage fight at AEW PPV, here is what we know". PWInsider.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2022.
  150. Van Boom, Daniel (September 5, 2022). "CM Punk's Explosive AEW Press Conference Comments Explained". CNET. สืบค้นเมื่อ September 6, 2022.
  151. Russell, Skylar (September 7, 2022). "AEW World Championship Vacated, New Champion Set To Be Crowned At 9/21 AEW Dynamite Grand Slam". Fightful. สืบค้นเมื่อ September 8, 2022.
  152. Van Boom, Daniel. "Explaining CM Punk's Real-Life Backstage Fight After AEW All Out". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  153. Barnett, Jake (September 8, 2022). "9/7 AEW Dynamite results: Barnett's live review of Tony Khan addressing the status of the AEW World Championship and AEW Trios Titles, MJF's return promo, Wheeler Yuta vs. Daniel Garcia for the ROH Pure Rules Title, Death Triangle vs. Best Friends, Interim AEW Women's Champ Toni Storm vs. Penelope Ford in an eliminator match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 8, 2022.
  154. Chiari, Mike. "Meltzer: AEW's CM Punk Could Miss Up to 8 Months Following Surgery for Arm Injury". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-08.
  155. Jason, Powell (June 17, 2023). "AEW Collision results (6/17): Powell's live review of CM Punk and FTR vs. Samoa Joe, Jay White, and Juice Robinson, Wardlow vs. Luchasaurus for the TNT Title, Toni Storm and Ruby Soho vs. Willow Nightingale and Skye Blue, Andrade El Idolo vs. Buddy Matthews, Miro in action". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ June 17, 2023.
  156. Powell, Jason (June 21, 2023). "AEW Dynamite results (6/21): Powell's live review of Chris Jericho, Minoru Suzuki, and Sammy Guevara vs. Darius Martin, Action Andretti, and AR Fox, Jeff Jarrett vs. Mark Briscoe in a Concession Stand Brawl, Kris Statlander vs. Taya Valkyrie for the TBS Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ June 21, 2023.
  157. Powell, Jason (June 25, 2023). "AEW-NJPW Forbidden Door results: Powell's live review of Bryan Danielson vs. Kazuchika Okada, Kenny Omega vs. Will Ospreay for the IWGP U.S. Championship, MJF vs. Hiroshi Tanahashi for the AEW World Championship". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ June 25, 2023.
  158. Barrasso, Justin (September 2, 2023). "Breaking: CM Punk Finished In AEW". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ September 2, 2023.
  159. Lambert, Jeremy (November 25, 2023). "CM Punk Returns To WWE At WWE Survivor Series 2023". Fightful. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2023. สืบค้นเมื่อ November 25, 2023.
  160. Smart, Ryan (November 25, 2023). "CM Punk makes stunning return to WWE at Survivor Series, he got one of the loudest pops of all time". Sport Bible. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2023. สืบค้นเมื่อ November 25, 2023.
  161. Mendoza, Jordan (November 27, 2023). "'I'm home': CM Punk addresses WWE universe on 'Raw' in first appearance in nearly 10 years". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 27, 2023.
  162. Tessier, Colin (December 4, 2023). "WWE Confirms CM Punk Is A 'Free Agent' On 12/4 WWE RAW". WrestleZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2023. สืบค้นเมื่อ December 4, 2023.
  163. "CM Punk is coming to Friday Night SmackDown". WWE.com. December 1, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2023. สืบค้นเมื่อ December 4, 2023.
  164. "Cody Rhodes and Bayley win the Royal Rumble Matches to earn the right to headline WrestleMania". WWE. January 27, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2024. สืบค้นเมื่อ January 28, 2024.
  165. Barrasso, Justin (January 29, 2024). "CM Punk Injured at Royal Rumble, Announces He Will Miss WrestleMania". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ January 30, 2024.
  166. "CM Punk Reveals His Original WrestleMania 40 Plans". WWE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
  167. Brennan, Corey; Lambert, Jeremy (March 23, 2024). "Drew McIntyre: CM Punk Is Made Of Glass, Real Glass, And I'll Break Him". Fightful. สืบค้นเมื่อ April 11, 2024.
  168. "WrestleMania 40 Night 2: Results and analysis". ESPN. April 7, 2024. สืบค้นเมื่อ April 11, 2024.
  169. Mendoza, Jordan. "WWE Clash at the Castle 2024 live results: Winners, highlights of matches in Scotland". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-06-15.
  170. Roling, Chris. "Quality Storytelling for CM Punk, Seth Rollins and Drew McIntyre Sets WWE Apart". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-07-07.
  171. Mueller, Doc-Chris. "WWE Money in the Bank 2024 Results: Winners, Live Grades, Reaction and Highlights". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-07-07.
  172. Powell, Jason (August 3, 2024). "WWE SummerSlam results: Powell's review of Cody Rhodes vs. Solo Sikoa in a Bloodline Rules match for the WWE Championship, Damian Priest vs. Gunther for the World Heavyweight Championship". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 3, 2024.
  173. McGuire, Colin (August 31, 2024). "WWE Bash in Berlin results: McGuire's review of Gunther vs. Randy Orton for the World Heavyweight Title, Cody Rhodes vs. Kevin Owens for the WWE Championship, CM Punk vs. Drew McIntyre in a strap match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 31, 2024.
  174. Powell, Jason (October 5, 2024). "WWE Bad Blood results: Powell's review of Roman Reigns and Cody Rhodes vs. Solo Sikoa and Jacob Fatu, CM Punk vs. Drew McIntyre in a Hell in a Cell match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 5, 2024.
  175. "Twitter/CMPunk: @PipeBombAlert I'm an atheist". Twitter. November 30, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013. @PipeBombAlert I'm an atheist.
  176. "Twitter/CMPunk: @ambenja yes". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013. "were you always an Atheist?" yes.
  177. "Twitter/CMPunk: "@lKlMONO: @CMPunk Are you a Pescetarian?" Correct". Twitter. March 28, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013. "@lKlMONO: @CMPunk Are you a Pescetarian?" Correct.
  178. "Twitter/@CMPunk: Readying the daggers. Lets go @NHLBlackhawks! #CHIvsLAK". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013. Readying the daggers. Lets go @NHLBlackhawks! #CHIvsLAK
  179. "Twitter/@CMPunk: Chicago Cubs". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013. "Who's your fav sports team?" Chicago Cubs.
  180. Singh, Arune (March 26, 2010). "Fightin' Fanboys: WWE's CM Punk". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  181. "Twitter/CMPunk: @KenedyJJohnson Preacher". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013. "What is your all time favorite comic book or graphic novel of all time? #subjecttoblock" Preacher
  182. http://www.pwinsider.com/article/88766/cm-punk-signing-with-tna-heres-whats-going-on.html?p=1
  183. "Talent List Interviewed for CM Punk DVD - Ace Steel, Chris Hero, Lita". สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  184. Cash, Chris; Walk, Henry (November 12, 2005). "Mick Foley Discusses WWE Return & Flair, Daffney Discusses TNA & Diva Search". Rajah. สืบค้นเมื่อ September 27, 2006. On the topic of CM Punk and their relationship, she said that the break-up was partially contributed to the two never being able to see each other (her in Louisville and him in Philly).
  185. Punk, CM (January 9, 2007). "Who's Jennifer?". WWE. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
  186. The Lilsboys (June 3, 2006). "Maria: I'm just one big fan". The Sun. London. สืบค้นเมื่อ August 1, 2006.
  187. McNichol, Rob (October 16, 2007). "Maria: I've split from CM Punk". The Sun. London. สืบค้นเมื่อ October 16, 2007.
  188. Rothstein, Simon (September 10, 2009). "Lucky Punk". The Sun. London. สืบค้นเมื่อ September 12, 2009.
  189. "WWE News: Matt Hardy predicts TNA wrestler Jeff Hardy will return to WWE, comments on rumors that ex-girlfriend Lita is dating C.M. Punk". March 27, 2010. สืบค้นเมื่อ November 27, 2012.
  190. "Magazine Says CM Punk Is Dating WWE Diva, Bobby Lashley Appearing In NYC". Yardbarker. Fox Sports. October 23, 2011. สืบค้นเมื่อ February 22, 2014.
  191. "UFC 159 Fighter Almost Signed With WWE, Where Will CM Punk Be This Weekend?, Punk & Lita Note". สืบค้นเมื่อ 2013-04-28.
  192. Scherer, Dave (June 14, 2014). "CM Punk—AJ Lee Update". PWInsider. สืบค้นเมื่อ June 14, 2014.
  193. "C.M. Punk wedding note". Wrestling Observer Newsletter. June 14, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-16. สืบค้นเมื่อ June 14, 2014.
  194. ""WWE ringside doctor files lawsuit against Colt Cabana, CM Punk", by George Slefo, Chicago Sun Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-22. สืบค้นเมื่อ 2015-03-21.
  195. Payne, Marissa (February 20, 2015). "WWE's ringside doctor is suing CM Punk and Colt Cabana for $1 million". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 22, 2015.
  196. WWE physician slaps CM Punk with defamation lawsuit for podcast by Marcus Vangerburg of Yahoo Sports on 20 Feb 2015
  197. WWE addresses CM Punk's allegations เก็บถาวร 2015-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20 Feb 2015 by WWE.com Staff
  198. Kolur, Nihal (June 5, 2018). "CM Punk Wins Civil Lawsuit Against WWE Dr. Chris Amann". Sports Illustrated. Meredith Corporation. สืบค้นเมื่อ June 5, 2018.
  199. "CM Punk talks winning WWE lawsuit, UFC 225, possible return to wrestling and more". MMA Fighting. สืบค้นเมื่อ June 7, 2018.
  200. "WWE Studios joins 'Queens of the Ring'". WWE. April 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2012. สืบค้นเมื่อ June 14, 2017.
  201. "Yabba Dabba WWE! Cena, McMahon Set For Flintstones Movie". Variety. สืบค้นเมื่อ June 6, 2013.
  202. Collis, Clark (September 19, 2018). "See WWE Superstar CM Punk in first look at horror film The Girl on the Third Floor". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ September 19, 2018.
  203. Wiseman, Andreas (February 6, 2019). "'The Girl on the Third Floor': First Teaser For SXSW Midnighters Horror Starring Phil 'CM Punk' Brooks". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  204. Pollard, Andrew (July 18, 2018). "Shooting Now Under Way on the Soska Sisters' Rabid Remake". Starburst. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2018. สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
  205. Milner, Kyle (April 13, 2021). "Interview : Jakob's Wife director Travis Stevens on the cultural rebirth of the vampire". Moviehole (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ April 14, 2021.
  206. "Interview Highlights: Samoa Joe talks about his decision to sign with TNA, his future". Pro Wrestling Torch. TDH Communications Inc. August 1, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2007. สืบค้นเมื่อ November 8, 2006.
  207. Medalis, Kara A. (October 30, 2006). "CM Punk goes ghost hunting". WWE. สืบค้นเมื่อ November 4, 2006.
  208. Caldwell, James (July 26, 2011). "WWE News: C.M. Punk appears on Jimmy Kimmel Live Monday night – 6-year-old kid books entire Raw episode". Pro Wrestling Torch. TDH Communications Inc. สืบค้นเมื่อ August 12, 2015.
  209. "CM Punk discusses Raw's 1000th episode on "Late Night with Jimmy Fallon"". WWE. June 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2013. สืบค้นเมื่อ June 6, 2013.
  210. First appearance: "CM Punk guest stars on AMC's "Talking Dead"". WWE. November 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
    Second appearance: Caldwell, James. "Punk News: C.M. Punk returning to TV, but not for WWE". สืบค้นเมื่อ March 10, 2014.
  211. Locker, Melissa (July 28, 2015). "MMA Star CM Punk Wants to Pump Marc Maron Up". IFC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2019. สืบค้นเมื่อ February 23, 2019.
  212. Giri, Raj (July 31, 2015). "CM Punk And Colt Cabana On 'Maron' Videos, Stardust Pulled, Paige, Seth Rollins Talks His Diet". Wrestling, Inc.
  213. Currier, Joseph (August 9, 2016). "Video: 'The Evolution of Punk' Trailer". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ August 10, 2016.
  214. Ossad, Jordana (April 24, 2017). "Champs vs. Pros: Beloved Challenge Victors Set To Battle Top Athletes". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ April 24, 2017.
  215. Sandberg, Bryn Elise (February 27, 2018). "'Ultimate Beastmaster' Renewed for Season 3 by Netflix". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ February 27, 2018.
  216. Hartmann, Graham (November 13, 2019). "CM Punk Returns to WWE Television After Nearly Six Years Away". Loudwire. สืบค้นเมื่อ July 12, 2020.
  217. Middleton, Marc (April 23, 2021). "CPhotos: CM Punk's "Heels" Character Revealed, More From Upcoming Starz Wrestling Drama". Wrestling Inc. สืบค้นเมื่อ August 15, 2021.
  218. "Official AEW World Championship Title History". All Elite Wrestling.
  219. Knight, Cain A. (2023-08-05). "CM Punk's real world championship doesn't change hands opposite SummerSlam". Cageside Seats (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-06. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.
  220. Defelice, Robert (August 19, 2023). "CM Punk To Defend 'Real' World Title Against Samoa Joe At AEW All In". Fightful. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2023. สืบค้นเมื่อ August 19, 2023.
  221. Woodward, Hamish (2023-08-22). "CM Punk's Real World Championship Defenses, Ranked - Atletifo". Atletifo (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-04. สืบค้นเมื่อ 2023-12-01.
  222. Eck, Kevin (January 27, 2010). "2009 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  223. "CM Punk Honored with Coveted 2023 Iron Mike Mazurki Award by Cauliflower Alley Club" (ภาษาอังกฤษ). Cauliflower Alley Club. 2023-05-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
  224. ESPN.com (December 26, 2023). "Pro Wrestling 2023 awards: The best male and female wrestler, feud, faction, promo and more". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
  225. "Independent Wrestling Association Mid-South Heavyweight Title". wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  226. Kreikenbohm, Philip (December 5, 2001). "IWA Mid-South Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  227. "Independent Wrestling Association Mid-South Light Heavyweight Title". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  228. Kreikenbohm, Philip (June 9, 2001). "IWA Mid-South Light Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  229. Roelfsema, Eric. "IWC – International Wrestling Cartel World Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  230. Kreikenbohm, Philip (April 13, 2002). "IWC World Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  231. cite web|url= https://www.cagematch.net/?id=5&nr=6174
  232. Westcott, Brian. "MAW – Mid-American Wrestling MAW Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  233. Kreikenbohm, Philip (December 15, 2001). "MAW Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  234. cite web|url= https://www.cagematch.net/?id=1&nr=13571
  235. Staszewski, Joseph (December 26, 2023). "The Post's 2023 pro wrestling awards". New York Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
  236. Westcott, Brian. "NWA National Wrestling Alliance/Cyberspace Wrestling Federation CSWF/NWA Cyberspace Tag Team Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  237. Kreikenbohm, Philip (May 21, 2005). "NWA Cyberspace Tag Team Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  238. Westcott, Brian. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Heavyweight/Ohio Valley Wrestling Heavyweight Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  239. Kreikenbohm, Philip (May 3, 2006). "OVW Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  240. Westcott, Brian. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Southern Tag Team Title history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  241. Kreikenbohm, Philip (July 28, 2007). "OVW Southern Tag Team Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  242. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Hardcore/Ohio Valley Wrestling Television history". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  243. Kreikenbohm, Philip (November 9, 2005). "OVW Television Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  244. 244.0 244.1 Grifol, Ignacio (January 14, 2022). "Pro Wrestling Illustrated anuncia los ganadores de sus PWI Awards 2021". Solowrestling.com. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  245. 245.0 245.1 245.2 245.3 245.4 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  246. Lambert, Jeremy (January 12, 2023). "MJF Tapes Over CM Punk's Name On PWI Award, Punk Replies, 'Maybe Find Tape For The Ratings'". Fightful. สืบค้นเมื่อ January 29, 2023.
  247. "2011 Match of the Year". Pro Wrestling Illustrated. 33 (3): 80–81. 2012.
  248. "2012 PWI 500". Pro Wrestling Illustrated. 33 (7): 12–18. 2012. ISSN 1043-7576.
  249. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2012". Pro Wrestling Illustrated. Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
  250. Kreikenbohm, Philip (March 1, 2003). "NWA Revolution Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  251. Passero, Mitch (April 12, 2012). "Chris Jericho ruins CM Punk's "metal" moment". WWE. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  252. Kreikenbohm, Philip (June 18, 2005). "ROH World Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  253. Kreikenbohm, Philip (April 24, 2004). "ROH Tag Team Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  254. Kreikenbohm, Philip (January 28, 2000). "SPCW Northern States Light Heavyweight Championship/SDW Television Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  255. cite web|url= https://www.cagematch.net/?id=1&nr=265466
  256. "CM Punk's first WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  257. "CM Punk's second WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  258. "WWE Championship title history". WWE. สืบค้นเมื่อ February 5, 2012.
  259. Kreikenbohm, Philip (July 17, 2011). "WWE Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  260. "CM Punk's first World Heavyweight Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  261. "CM Punk's second World Heavyweight Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  262. "CM Punk's third World Heavyweight Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  263. Kreikenbohm, Philip (June 30, 2008). "World Heavyweight Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  264. "CM Punk's first ECW Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  265. Kreikenbohm, Philip (September 1, 2007). "ECW Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  266. "CM Punk's first Intercontinental Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  267. Kreikenbohm, Philip (January 19, 2009). "WWE Intercontinental Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  268. Kreikenbohm, Philip (December 14, 2008). "WWE Intercontinental Championship #1 Contender's Tournament (2008)". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ May 29, 2021.
  269. "Punk and Kingston's first World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2012. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  270. Kreikenbohm, Philip (October 27, 2008). "World Tag Team Championship". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  271. Kreikenbohm, Philip (April 5, 2009). "WWE WrestleMania 25 – "The 25th Anniversary Of WrestleMania"". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  272. Kreikenbohm, Philip (March 30, 2008). "WWE WrestleMania 24 – "The Biggest WrestleMania Under The Sun"". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  273. "411MANIA". WWE House Show Results 07.05.11 – Brisbane, Australia.
  274. Paglino, Nick (July 5, 2011). "WWE House Show Results (7/5): Brisbane, Australia".
  275. "What is a Slammy?". WWE. February 23, 2008. สืบค้นเมื่อ April 14, 2018.
  276. "2008 Slammy Awards". WWE. December 8, 2008. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
  277. "2009 Slammy Awards". WWE. December 14, 2009. สืบค้นเมื่อ January 2, 2010.
  278. Adkins, Greg (December 13, 2010). "Saluting the Slammys". WWE. สืบค้นเมื่อ January 30, 2011.
  279. 279.0 279.1 "2011 Slammy Award Winners". WWE. December 12, 2011. สืบค้นเมื่อ July 19, 2012.
  280. "WWE.com Exclusive Slammy Awards 2011". WWE. สืบค้นเมื่อ December 12, 2012.
  281. "2013 Slammy Award winners". WWE. December 8, 2013. สืบค้นเมื่อ April 6, 2016.
  282. "And the Winner of the 2023 Gooker Award Is... | the Worst of Misc".
  283. 283.0 283.1 Meltzer, Dave (February 18, 2022). "February 21, 2022 Observer Newsletter: 2021 Awards issue, Cody and Brandi Rhodes leave AEW". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ February 18, 2022.
  284. 284.0 284.1 Meltzer, Dave (January 27, 2010). "2009 Awards Issue, Possible biggest wrestling news story of 2010". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593.
  285. 285.0 285.1 285.2 285.3 Meltzer, Dave (January 30, 2012). "Gigantic year-end awards issue, best and worst in all categories plus UFC on FX 1, death of Savannah Jack, ratings, tons and tons of news". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593.
  286. Meltzer, Dave (January 23, 2013). "The 2012 Wrestling Observer Newsletter Annual Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593.
  287. 287.0 287.1 Morris, Dan (October 12, 2022). "Wrestling Observer Newsletter's Last 10 "Most Disgusting Promotional Tactics", Explained". TheSportster.com.
  288. Okamoto, Brett (December 8, 2014). "CM Punk joins UFC, will fight in 2015". ESPN. สืบค้นเมื่อ December 8, 2014.
  289. Beacham, Greg (December 7, 2014). "UFC signs pro wrestler CM Punk for 2015 MMA debut". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-09. สืบค้นเมื่อ December 7, 2014.
  290. Fowlkes, Ben. "Dana White says UFC won't 'throw the kitchen sink' at CM Punk right away". MMA Junkie. สืบค้นเมื่อ December 7, 2014.
  291. Martin, Todd. "Pro wrestler CM Punk joins UFC, will begin fighting in 2015". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 7, 2014.
  292. "UFC press release on signing C.M. Punk". Wrestling Observer Newsletter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ September 26, 2015.
  293. http://fansided.com/2014/12/06/cm-punk-training-jiu-jitsu-rener-gracie/
  294. Rener Gracie wouldn’t put it past CM Punk to try MMA by Chuck Mindenhall of MMAfighting.com, December 4, 2014: Rener has been training CM Punk – real name Phil Brooks – for a couple of years in California.
  295. "CM Punk set for real fight game with UFC debut". Las Vegas Sun. December 22, 2014. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
  296. "CM Punk – official UFC fighter profile". Ultimate Fighting Championship. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
  297. "Dana White: Former WWE Star CM Punk Planning to Train at Roufusport", by Tristen Critchfield, Sherdog.com
  298. Raimondi, Marc (June 24, 2015). "CM Punk moves to Milwaukee to be closer to Roufusport gym". MMAFighting.com. สืบค้นเมื่อ June 28, 2015.
  299. "UFC Fight Night ‘Hendricks vs. Thompson’ Results: Play-by-Play & Updates", from Sherdog.com
  300. ""Dana White: CM Punk likely to fight at UFC 199, not UFC 200", by Lewis Mckeever, BloodyElbow.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-26. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.
  301. "CM Punk to undergo back surgery on Wednesday; UFC debut delayed", by Ariel Helwani, MMAFighting.com
  302. UFC Unfiltered: The Rock and CM Punk. Ultimate Fighting Championship. June 22, 2016. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 10:33. สืบค้นเมื่อ June 23, 2016.
  303. http://www.foxsports.com/ufc/story/cm-punk-on-poetic-debut-in-the-same-building-where-he-quit-wwe-for-good-090716
  304. Al-Shatti, Shaun (September 12, 2016). "UFC 203 salaries: CM Punk banks $500,000 in MMA debut". MMAFighting.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2017.
  305. Doyle, Dave (June 9, 2018). "UFC 225 results: Mike Jackson cruises to one-sided win over CM Punk". MMAFighting.com. สืบค้นเมื่อ June 9, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้