คริส เบนวา
คริสโตเฟอร์ ไมเคิล เบนวา (อังกฤษ: Christopher Michael Benoit) หรือ คริส เบนวา (21 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 - 24 มิถุนายน ค.ศ. 2007) นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา สังกัดสมาคม ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เป็นอดีตแชมป์โลก 2 สมัย, แชมป์โลก WCW 1 สมัย[6] และ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 1 สมัย[7] เป็นนักมวยปล้ำชนิดเลือกชอบใช้ความรุนแรง แต่ก็อยู่ฝ่ายธรรมะ เป็นลูกศิษย์ของ สตู ฮาร์ต ถือว่าตัวของเขาอาจจะแข็งแกร่งไปพอสมควรเลยก็ว่าได้ ปัจจุบันได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 40 ปี[8][9]
คริส เบนวา | |
---|---|
เกิด | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1967[1] Montreal, Quebec, Canada[1] |
เสียชีวิต | 24 มิถุนายน ค.ศ. 2007 Fayetteville, Georgia, USA[2] | (40 ปี)
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ | |
ชื่อบนสังเวียน | Chris Benoit[1] Pegasus Kid[1] Wild Pegasus[1] Pegusaas Kid [1] |
ส่วนสูง | 5 ft 11 in (1.80 m)[1] |
น้ำหนัก | 220 lb (100 kg)[1] |
มาจาก | Edmonton, Alberta, Canada Atlanta, Georgia |
ฝึกหัดโดย | Bruce Hart[3][4][5] New Japan Pro Wrestling Frank Cullen[1] |
เปิดตัว | 22 พฤศจิกายน 1985[1] |
ประวัติ
แก้ในตอนเด็ก ๆ Benoit มีความชื่นชอบกีฬามวยปล้ำเป็นอย่างมาก ซึ่งนักมวยปล้ำหนึ่งในดวงใจตลอดกาลของเค้านั้นก็คือ Dynamite kid และเมื่อ Benoit จบการศึกษาที่ Arch Bishop O’Lieary High School ใน Edmonton, Alberta[10] ในปี 1985 Benoit ก็มุ่งหน้าไปฝึกเรียนมวยปล้ำทันทีที่โรงเรียน Stu Hart วิทยาคม (ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงมวยปล้ำศึกษาธิการ ISO 2007) ที่ Alberta Canada ในช่วงระยะเวลาที่เค้าฝึกอยู่ที่โรงเรียน Stu Hart วิทยาคมนี้นั้น เค้าได้ฝึกร่วมกับนักมวยปล้ำชั้นยอดที่มีอนาคตมากมาย อาทิเช่น, Bret Hart, Owen Hart, Brian Pillman, Y2J Chris Jericho จนเมื่อเค้าอายุได้ 17 ปี กับช่วงวัยดัชชี่หน้าใสปิ๊ง เค้าก็เริ่มต้นอาชีพนักมวยปล้ำครั้งแรก บนสังเวียนผืนผ้าใบของสมาคม Stampede Wrestling Federation Benoit ปล้ำอยู่ที่ Stampede ได้ไม่นานนักเค้าก็เริ่มออกเดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์การปล้ำใหม่ ๆ มากขึ้นจากหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ญี่ปุ่นแดนปลาดิบ, ที่แม็กซิโก ดินแดนต้นกำเนิดหนังแอ้คชั่นสุดมันส์อย่าง “ไอ้ปืนโตทะลักเดือด” ก่อนที่เค้าจะมาโด่งดังอย่างสุดขีดในประเทศสุดท้ายของการเดินทางของเค้า อย่าง “เมืองลุงแซม สหรัฐอเมริกา” ตลอดระยะเวลาการเดินทางเพื่อสั่งสมประสบการณ์มวยปล้ำของเค้ายังประเทศต่าง ๆ Benoit ได้ใช้ชื่อบนสังเสียนมวยปล้ำหลากหลายชื่อด้วยกัน อาทิเช่น Pegasus Kid, Wild Pegasus, Chris Benoit[11]
ในช่วงที่เค้าปล้ำอยู่ที่ญี่ปุ่นและ Mexico เค้าได้ใช้ชื่อว่า Pegasus Kid (คำว่า “Kid” ต่อท้าย ได้แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบในตัว Dynamite kid นักมวยปล้ำหนึ่งในดวงใจของ Benoit อย่างเห็นได้ชัด) กับบุคลิกนักมวยปล้ำสวมหน้ากากเหมือนดั่ง Rey JR. (นักมวยปล้ำในช่วงเริ่มแรก มากรายนักมักจะสวมบทบาทเป็นนักมวยปล้ำสวมหน้ากากขึ้นปล้ำ) ความเป็นเทพของ Benoit/Pegasus Kid ได้เริ่มส่อแววมากขึ้น เมื่อในปี 1990 Pegasus Kid สามารถกระชากเข็มขัดแชมป์ IWGP Light Heavyweight มาครองได้ จากการเอาชนะเทพจตุคามรามซูปเปอร์ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง Jushin Thunder Liger และในเวลาต่อมา เค้าก็ต้องมาปล้ำรีแมตท์กับ Jushin อีกครั้ง ในแมตท์ที่ต้องเอาเข็มขัดและหน้ากากมาเดิมพัน ซึ่งผลปรากฏคือ Benoit พ่ายแพ้ให้กับ Jushin เสียทั้งเข็มขัดและหน้ากาก ยุติบทบาทนักมวยปล้ำสวมหน้ากาก “Pegasus Kid“ โดยทันที จนกระทั่งเวลาผ่านสักพักหนึ่ง Benoit ก็กลับมาใหม่อีกหนึ่งคราด้วยบทบาทนักมวยปล้ำสวมหน้ากากคนเก่าในยุคใหม่ที่มีชื่อว่า Wild Pegasus ในช่วงนี้เค้ามีพัฒนาการทางเบสิคการปล้ำที่ดีขึ้น จนสามารถครองแชมป์ Inaugural Super J. Cup ได้ในปี 1994
Chris Benoit ได้ข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาหาความท้าทายการปล้ำใหม่ ๆ ที่ดินแดนแห่งการแสวงหาโอกาสอย่าง “สหรัฐอเมริกา” โดยในช่วงแรก ๆ Benoit ได้เข้า ๆ ออก ๆ อยู่ที่สมาคม WCW เป็นครั้งเป็นคราว จนกระทั่ง ECW ได้เริ่มเห็นแววโคตรเทพของ Benoit จากการขึ้นปลืที่สมาคมอินดี้และสมาคม WCW ECW จึงตกลงตัดสินใจจับ Benoit เซ็นต์สัญญาให้เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำดางรุ่งของสมาคม ECW ในปี 1994 ช่วงเวลาที่ Benoit อยู่ที่สมาคม ECW นี้ ก็ได้ทำให้เค้าได้ค้นพบนิยามฉายาใหม่ที่แสนคลาสสิคอย่าง The Canadian Cripper จากแมตท์ที่เค้าเจอกับ Sabu ในปี 1994
ปี 1995 ถือเป็นปีทองของอุตสาหกรรมวงการมวยปล้ำเมืองอเมริกัน ที่ตื่นตัวแข่งขันกันมากที่สุดระหว่าง 2 ค่ายสมาคมยักษ์ใหญ่อย่าง WCW ที่มีบิชอพกุมบังเหียนอยู่ และสมาคม WWF ที่มี Vince Mcmahon กำกับและเป็นเจ้าของอยู่ ในปี 1995 บิชอพเริ่มไปค้นหานักมวยปล้ำฝีมือดี ๆ ที่โลกลืม เพื่อนำมาเก็บไว้ยังสต๊อคของสมาคม WCW เอาไว้มากมาย เช่น Rey, Eddie, Malengo, Jericho รวมไปถึง Chris Benoit ในช่วงแรก ๆ กับเรื่องราวของ Benoit ใน WCW เค้าได้เปิดศึกกับคู่ปรับตลอดกาล Eddie Guerrero อยู่เป็นอาจิณในศึก Monday Nitro ยุคบุกเบิก
Ric Flair, Arn Anderson, Pillman เริ่มมองเห็นแววความดุดันของ Benoit บนเวทีมากขึ้น จนต้องทาบทามเค้าให้มาเข้าร่วมกลุ่มสี่ม้าโหดในปี 1995 และในเวลาต่อ Benoit ก็ต้องมาเปิดศึกกับคู่ปรับทั้งในชีวิตจริงและนอกสังเวียนอย่างKevin Sullivan ในประเด็นเรื่องชู้สาวกับสตรีสุดสวยที่มากความสามารถคนหนึ่งที่มีนามว่า “Woman” (Woman/Nancy ภรรยาของ Benoit ในชีวิตจริง)[12]
ห้วงนาฬิกาที่ Benoit ได้เปิดศึกกับ Kevin Sullivan ในปี 1996 ถือเป็นช่วงที่ Benoit เริ่มที่จะได้รับความนิยมจากคนดูเมกันมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น และก็มากขึ้น จากความดุดัน เด็ดเดี่ยว ปล้ำโหดเร้าใจ ไม่หยั่นว่าแมตท์นั้นจะ Hardcore เยี่ยงไร จนในที่สุดคู่ระหว่าง Benoit vs Kevin Sullivan ก็ได้รับการโหวตจากแฟน ๆ ของ WCW ในปี 1996 ให้เป็นคู่ปรับสุดมันส์ที่ปล้ำกันโคตรเทพมันส์แห่งปี 1996
ชื่อเสียงของ Benoit เริ่มโด่งดังมากขึ้นทุกขณะเมื่อครั้นสมัยที่เค้าอยู่สมาคม WCW เค้ารับบทบาทเกือบทุกนิยาม[13] ไม่ว่าจะเป็นบทบาทนักมวยปล้ำหมูถูกเชือดนิ่มให้กับ Randy Savage ในศึก Nitro 1996 เปิดศึกการปล้ำแบบมาราธอน 4/7 แมตท์ เพื่อหาผู้ท้าชิงแชมป์ TV อันดับ 1 กับ Boorker T ในปี 1998, จับคู่กับ Dean ในนามสมาชิกของ Horsemen ยุคสุดท้าย ปี1998/1999 เจอกับคู่ของ Barry Windham กับ Curt Hennig, แบกน้ำหนักขึ้นปล้ำป้องกันแชมป์ US กับนักมวยปล้ำร่างยักษ์อย่าง Sid ใน Fall Brawl ที่ Winston-Salem ปี 1999, เจอกับ Bret The Hitman Hart ในไนโตร 1999 ในแมตท์ระลึกการจากไปของ Owen Hart ก่อนที่ Benoit จะมาประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในศึก Souled Out ปี 2000 ด้วยการเอาชนะ Sid ด้วยท่า Crippler Crossface จนกลายเป็นแชมป์โลกของ WCW ในที่สุด[14]
Benoit มีปัญหาการเมืองมากมายกับทีมงานหลังฉากของ WCW จนทำให้ Benoit ได้ตัดสินใจสละแชมป์ WCW ทิ้งและย้ายค่ายไปยังสมาคมคู่แข่ง WWF ที่ตอนนั้นกำลังบูมสุด ๆ และเป็นช่วงที่ WWF กำลังจะพัง WCW Nitro ให้พังร่วงดิ่งลงเหวแล้วดิ่งลงเหวเล่าในทุก ๆ สัปดาห์ “Moday Night War”
Benoit, Eddie Guerrero, Dean Malenko, และ Perry Saturn ได้ย้ายมายัง WWF ในปี 2000 โดยได้ตั้งชื่อทีมว่า “The Radicalz“ ในช่วงแรก ๆ Benoit และสมาชิกในกลุ่มได้รับบทบาทให้เป็นสมุนขุนพลให้กับ HHH กลุ่ม “The Radicalz“ ของ Benoit และเพื่อน ๆ ได้สร้างสีสันให้กับ WWF ในช่วงปี 2000 เป็นอย่างมาก แต่ในเวลานักกลุ่ม “The Radicalz“ ของ Benoit และเพื่อน ๆ ก็ต้องมาแตกทีมกันในที่สุดในปี 2000 ยังไม่ครบปีดิบดี
Benoit ผันตัวเองมาเป็นศิลปินเดี่ยวมากขึ้น โดยเค้าเริ่มมาเปิดศึกกับหน้ามวยปล้ำระดับเกรด A ของ WWF ในช่วงนั้นมากมาย อาทิเช่น คริส เจอริโค, เดอะร็อก, สโตน โคลด์, ไรโน, เคิร์ต แองเกิล, RVD, บิ๊กโชว์ จนกระทั่ง WWF ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมมาเป็น WWE[15] ในปี 2004 เบนวาได้ผ่านการทดสอบด่านต่างๆของ พอล เฮย์แมน เพื่อที่จะได้สิทธิไปปล้ำ รอยัลรัมเบิล เขาถูกสั่งให้ขึ้นไปปล้ำเป็นคนแรกโดยมิได้จับฉลากลำดับในการปล้ำเลย เบนวาได้ใช้พละกำลังและสติปัญญาในการเหวี่ยงนักมวยปล้ำที่ตัวใหญ่กว่าเขาได้ เช่น มาร์ก เฮนรี, แมต มอร์แกน, บิ๊กโชว์ และปราบไปจนหมด ทำให้ค่าย สแมคดาวน์ มีเรทติ้งที่สูงขึ้น และเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง[16] ไม่นานก็ขอใช้สิทธินี้ไปสังกัดค่าย รอว์ และได้แชมป์จาก ทริปเปิลเอช[17][18] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ท้ายแมตท์ Eddie ได้ขึ้นมาบนเวทีเพื่อเข้ามาสวมกอด Benoit และยืนร่ำไห้ปิดฉากศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 20 ที่ Madison Square Garden ไปอย่างสุดประทับใจ[19]
Benoit ได้รับการจัดอันดับจากทาง PWI ให้เป็นนักมวยปล้ำยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี เรียกได้ว่าในปี 2004 ถือเป็นปีทองสำคัญที่สุดในชีวิตการเป็นนักมวยปล้ำทั้งชีวิตของ Benoit เลยทีเดียว แต่ทว่าหลังจากที่เค้าเสียแชมป์ให้ แรนดี ออร์ตัน ใน Summerslam ปี 2004 Benoit ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงฟอร์มตกอย่างรุนแรง ช่วงชีวิตของเค้าเมื่อเคยอยู่ในจุดสูงสุดก็ต้องย่อมมาสู่จุดต่ำสุด Benoit ในช่วงระยะสุดท้ายในชีวิตการปล้ำของเค้า หลายต่อหลายครั้งกลับเป็นได้แค่บันไดให้รุ่นน้องไต่เต้าเท่านั้นเอง ถึงแม้นว่า Benoit จะสามารถนำเข็มขัดแชมป์ยูเอส มาครองได้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าให้พูดถึงประเด็นเรื่องที่เค้าจะได้กลับมาเป็นแชมป์โลก (รอว์/สแมคดาวน์) อีกครั้งนั้น มันกลับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งในมุมมองของแฟนๆ และทีมงานเขียนบทของ WWE
การเสียชีวิต
แก้เบนวาได้เสียชีวิตลงแล้ว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2007 โดยฆ่าภรรยา (แนนซี เบนวา) และลูกชาย (แดเนียล เบนวา) ต่อมาก็ผูกคอฆ่าตัวตายตาม[20][21][22][23]
แชมป์และรางวัล
แก้- Cauliflower Alley Club
- Catch Wrestling Association
- Extreme Championship Wrestling
- New Japan Pro Wrestling
- IWGP Junior Heavyweight Championship (1 time)[26]
- Super J-Cup (1994)[27]
- Top/Best of the Super Juniors (1993, 1995)[28]
- Super Grade Junior Heavyweight Tag League (1994) – with Shinjiro Otani[29]
- Pro Wrestling Illustrated
- Feud of the Year (2004) vs. Triple H[30]
- Match of the Year (2004) vs. Shawn Michaels and Triple H at WrestleMania XX[31]
- Wrestler of the Year (2004)[32]
- Ranked No. 1 of the top 500 singles wrestlers in the PWI 500 in 2004[33]
- Stampede Wrestling
- Stampede British Commonwealth Mid-Heavyweight Championship (4 times)[34]
- Stampede Wrestling International Tag Team Championship (4 times) – with Ben Bassarab (1), Keith Hart (1), Lance Idol (1), and Biff Wellington (1)[35]
- Stampede Wrestling Hall of Fame[36]
- Universal Wrestling Association
- World Championship Wrestling
- World Wrestling Federation/Entertainment
- World Heavyweight Championship (1 time)[45]
- WWF/WWE Intercontinental Championship (4 times)[46]
- WWE United States Championship (3 times)[47]
- WWE Tag Team Championship (1 time) – with Kurt Angle[48]
- WWF/World Tag Team Championship (3 times) – with Chris Jericho (1) and Edge (2)[49]
- Royal Rumble (2004)
- Twelfth Triple Crown Champion
- Wrestling Observer Newsletter
- 5-Star Match (1994) vs. The Great Sasuke at Super J-Cup[ต้องการอ้างอิง]
- Best Brawler (2004)[50]
- Best Technical Wrestler (1994, 1995, 2000, 2003, 2004)[50]
- Feud of the Year (2004) vs. Shawn Michaels and Triple H[50]
- Match of the Year (2002) with Kurt Angle vs. Edge and Rey Mysterio[50]
- Most Outstanding Wrestler (2000, 2004)[50]
- Most Under-rated (1998)[50]
- Readers' Favorite Wrestler (1997, 2000)[50]
- Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame (Class of 2003)[c]
- ↑ Benoit's reign with the championship is not recognized by WWE, who does not recognize any reign prior to December 1997.[38]
- ↑ After Benoit left WCW for the WWF, WCW refused to acknowledge Benoit's victory as an official title reign, and Benoit's title reign was not listed in the title lineage at WCW.com.[40] However, the WWF recognized Benoit's title win, and Benoit's title reign is still listed in the title lineage at WWE.com.[41]
- ↑ Benoit underwent a special recall election in 2008 due to the double murder-suicide of his wife and son. The recall was supported by a majority of 53.6% of voters, but was below the 60% threshold necessary to remove him.
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Chris Benoit Profile". Online World Of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.
- ↑ "WWE wrestler Chris Benoit and family found dead". 2007-06-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ Randazzo V, Matthew (2008). Ring of Hell: The Story of Chris Benoit & the Fall of the Pro Wrestling Industry. Phoenix Books. p. 51. ISBN 978-1-59777-622-6.
- ↑ McCoy, Heath (2007). Pain and Passion: The History of Stampede Wrestling. ECW Press. pp. 214–215. ISBN 978-1-55022-787-1.
- ↑ Hart, Bruce (2011). Straight From the Hart. ECW Press. p. 130. ISBN 978-1-55022-939-4.
- ↑ "Inside WWE > Title History > WCW World Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "Inside WWE > Title History > World Heavyweight Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "Wrestler Chris Benoit Double murder–suicide: Was It 'Roid Rage'? - Health News | Current Health News | Medical News". FOXNews.com. 2007-06-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "Benoit's Dad, Doctors: Multiple Concussions Could Be Connected to murder–suicide - ABC News". Abcnews.go.com. 2007-09-05. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ Lunney, Doug (2000-01-15). "Benoit inspired by the Dynamite Kid, Crippler adopts idol's high-risk style". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-10.
- ↑ Bret "Hit Man" Hart: The Best There Is, the Best There Was, the Best There Ever Will Be, WWE Home Video, (2005). "I always looked up to him, I always emulated him"... "I spent so many years looking up to, idolizing [Bret]; he was somewhat of a role model to me."
- ↑ Chris Benoit, 1967-2007 | MetaFilter
- ↑ Cole, Glenn (1999-04-17). "Ring of intrigue in WWF shows". SLAM! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
- ↑ "Wrestling Timeline (1999-2002)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
- ↑ McAvennie, Michael (2003). "WWE The Yearbook: 2003 Edition". Pocket Books. p. 102.
- ↑ "SmackDown — 1st January 2004 Results". สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ "RAW — 26 January 2004 Results". สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ "RAW — 16 February 2004 Results". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-29. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ PWI Staff (2007). "Pro Wrestling Illustrated presents: 2007 Wrestling almanac & book of facts". "Wrestling’s historical cards". Kappa Publishing. p. 115.
- ↑ Ahmed, Saeed and Kathy Jefcoats (June 25, 2007). "Pro wrestler, family found dead in Fayetteville home". The Atlanta Journal Constitution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ "Canadian wrestler Chris Benoit, family found dead". CBC.ca. 2007-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ name="Double Murder Suicide">"Wrestling Champ Chris Benoit Found Dead with Family". ABC News. June 25, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-15. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ "Sheriff: Wrestler Chris Benoit murder–suicide Case Closed - Local News | News Articles | National News | US News". FOXNews.com. 2008-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ "Catch Wrestling Association Title Histories". titlehistories.com. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
- ↑ "ECW World Tag Team Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "IWGP Junior Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com.
- ↑ Royal Duncan & Gary Will (2000). "Japan; New Japan Super Junior Heavyweight (Super J) Cup Tournament Champions". Wrestling Title Histories. Archeus Communications. p. 375. ISBN 0-9698161-5-4.
- ↑ Royal Duncan & Gary Will (2000). "Japan; Top of the Super Junior Heavyweight Champions". Wrestling Title Histories. Archeus Communications. p. 375. ISBN 0-9698161-5-4.
- ↑ "New Japan Misc. Junior Tournaments".
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners – Feud of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-05-04.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners – Match of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-04.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners – Wrestler of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-04.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Top 500 – 2004". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-05-04.
- ↑ "British Commonwealth Mid-Heavyweight Title (Calgary Stampede) history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "Stampede International Tag Team Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "Stampede Wrestling Hall of Fame Inductees history". Wrestling-titles.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWF World Light Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWE light Heavyweight Championship official history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WCW World Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "World Heavyweight Champion and WCW/NWA Title History". WCW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-08-17. สืบค้นเมื่อ October 20, 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "WCW World Championship". WWE.com. สืบค้นเมื่อ October 20, 2016.
- ↑ "WCW World Tag Team Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "NWA/WCW World Television Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "NWA/WCW United States Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "World Heavyweight Title (WWE Smackdown) history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWF/WWE Intercontinental Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWWF/WWE United States Heavyweight Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWE Tag Team Title (Smackdown) history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ "WWWF/WWF/WWE World Tag Team Title history". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ 50.0 50.1 50.2 50.3 50.4 50.5 50.6 Meltzer, Dave (January 26, 2015). "Jan. 26, 2015 Wrestling Observer Newsletter: 2014 awards issue w/ results & Dave's commentary, Conor McGregor, and much more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 4–29. ISSN 1083-9593. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- สลด!! “เบนวา” ลงมือฆ่าเมียและลูกชาย เก็บถาวร 2007-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2550 13:49 น.