ไม้ม้วน

ตัวอักษรไทย

ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

การประสมรูป

แก้
การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
ไม้ม้วน + (พยัญชนะต้น) ใ– ใอ /aj/, /aːj/

ประวัติ

แก้

ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนเดิมเป็นเสียงสระผสม อะ+อึ (/aɰ/) [1] ซึ่งหายไปจากภาษามาตรฐาน แต่ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและภาษาไทกลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียง อะ+ย เหมือนไม้มลาย (ไ) นอกจากภาษาไทยมาตรฐานแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น ภาษาลาว และภาษาไทใหญ่ ที่ปรากฏไม้ม้วนในภาษาเขียน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้

ใฝ่ใจแลให้ทาน ทังนอกในแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้แลใหลหลง
ใส่กลสใพ้ใบ้ ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช้จง ญี่สิบม้วนคือวาจา

ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้

หนึ่งไซร้หมู่ไม้ม้วน ปราชประมวลแต่บูราณ
จักลอกจำลองสาร ตามอาจารย์บังคับไข
ใฝ่ใจให้ทานนี้ นอกในมีแลใหม่ใส
ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้อย่าใหลหลง
ใส่กลสะใภ้ใบ้ ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง
ใกล้ใบแลใช่จง ใช้ให้คงคำบังคับ

หลังจากนั้น ยังมีบทกลอน (กาพย์ยานี) ที่สอนการใช้ไม้ม้วน ที่รู้จักกันดีจนปัจจุบัน ดังนี้

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จักใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสยามนั้นการใช้ไม้ม้วนจำกัดอยู่ที่คำศัพท์ 20 คำ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย และคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ไม้มลายทั้งสิ้น (เว้นแต่ลูกคำที่แตกจากแม่คำ ซึ่งใช้ไม้ม้วนอยู่แล้ว) แม้คำศัพท์เฉพาะ ที่เป็นชื่อต่างๆ ก็ไม่นิยมที่จะใช้ไม้ม้วนนอกเหนือจาก 20 คำดังกล่าว

คำที่ใช้ไม้ม้วนในปัจจุบัน

แก้

ในภาษาไท-ไตอื่น

แก้

ในภาษาไทอื่นนั้น ยังมีการใช้เสียง ใ เดิมอยู่ (//) ซึ่งเป็นเสียง อะ-อึ โดยเป็นเสียงที่ไม่เหมือน ไ ซึ่งเป็นเสียง อะ-อิ หรือ อะ-ย (/aj/) ภาษาไท-ไตเหล่านี้คือ ภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทดำ และ ภาษาไทขาว เป็นต้น การเปรียบเทียบเสียงศัพท์รากเดียวกันที่ปรากฏต่อไปนี้ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาษาไทยกับภาษาไทใหญ่

ไทย สัทอักษรสากล ไทใหญ่ สัทอักษรสากล หมายเหตุ
ใคร่ kʰrâj ၶႂ်ႈ kʰaɯ ใข้ คฺร ในไทยมักตรงกับเสียง ค หรือ ข ของไทใหญ่ (ไม่มีเสียง ร เรือควบกล้ำ)
ใจ tɕaj ၸႂ် tsǎɯ ใจ๋
ใช่ tɕʰâj ၸႂ်ႈ tsaɯ ใจ้ ช ในไทยมักตรงกับเสียง จ ในไทใหญ่ (ไม่มีเสียง ช ช้าง)
ใช้ tɕʰáj ၸႂ်ႉ tsâɯ ใจ้ (โทสั้น)
ใด daj လႂ် lǎɯ ใหล ด ในไทยมักตรงกับเสียง ล หรือ หล ในไทใหญ่ (ไม่มีเสียง ด เด็ก)
ใต้ tâaj တႂ်ႈ taɯ ใต้
ใน naj ၼႂ်း náɯ ใน้
ใบ baj မႂ် mǎɯ ใหม บ ในไทยมักตรงกับเสียง ม หรือ หม ในไทใหญ่ (ไม่มีเสียง บ ใบไม้)
ใบ้ bâj မႂ်ႈ maɯ ใม่/ใหม้ "ใบ้" แปลว่า โง่ ในไทใหญ่ อันเหมือนลาว (ໃບ້) และไทอื่น ๆ
ใฝ่ fàj ၾႂ်ႇ fàɯ ใฝ่
ใย jaj ယႂ်း jáɯ ใย้
ใส sǎj သႂ် sʰǎɯ ใส
ใส่ sàj သႂ်ႇ sʰàɯ ใส่
ใหม่ màj မႂ်ႇ màɯ ใหม่

อ้างอิง

แก้
  1. พื้นฐานภาษาไทยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน[ลิงก์เสีย], ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.