โรควิตกกังวลไปทั่ว

โรควิตกกังวลทั่วไป[1] (อังกฤษ: Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไป[ต้องการอ้างอิง]เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ[2] ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน[3][4]

โรควิตกกังวลไปทั่ว
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์

คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้[5] อาการเหล่านี้ต้องสม่ำเสมอและคงยืนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD[2][3]

ในแต่ละปี ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันและยุโรปประมาณ 2% จะเป็น GAD[6][7] โดยหญิงเป็นโรค 2 เท่าของชาย โรคจะสามัญในบุคคลที่มีประวัติเสพยาเสพติดหรือมีประวัติโรคในครอบครัว[8] เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว อาจจะกลายเป็นอาการเรื้อรัง แต่สามารถบริหารหรือกำจัดได้ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง[9]

แบบวัดมาตรฐานเช่น Generalized Anxiety Disorder 7 (GAD-7) สามารถใช้ประเมินความรุนแรงของ GAD[10] GAD เป็นเหตุพิการที่สามัญในที่ทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา[11]

วิดีโอเกี่ยวกับโรควิตกกังวลไปทั่ว (ภาษาอังกฤษ)

เหตุ

แก้

กรรมพันธุ์

แก้

ความแปรปรวนของโรคประมาณ 1/3 มีเหตุจากยีน[12] บุคคลที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับ GAD มีโอกาสสูงกว่าที่จะเกิดโรค โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองต่อตัวก่อความเครียดในชีวิต[13]

เกิดจากสาร

แก้

การใช้ยากลุ่ม benzodiazepines ในระยะยาวสามารถทำให้โรคแย่ลง[14][15] และมีหลักฐานด้วยว่าการลด benzodiazepines สามารถทำให้อาการวิตกกังวลดีขึ้น[16] โดยนัยเดียวกัน การดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ เป็นต้น) ระยะยาวก็สัมพันธ์กับโรควิตกกังวล[17] และมีหลักฐานว่า การอดเหล้าในระยะยาวอาจกำจัดอาการวิตกังวลโดยสิ้นเชิง[18] แต่ว่า อาจจะใช้เวลาถึงสองปีที่อาการจะกลับไปสู่ระดับปกติ (ของบุคคล) ในประมาณ 1/4 ที่เลิกสุรา[19]

ในงานศึกษาระหว่างปี 2531-2533 โรคในคนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งที่หาหมอคลินิกสุขภาพจิตในโรงพยาบาลประเทศอังกฤษ สำหรับโรควิตกกังวลรวมทั้งโรคตื่นตระหนก โรคกลัวสังคม (SAD) ระบุว่าเป็นผลของการติดเหล้าหรือยา benzodiazepine ในคนไข้เหล่านี้ แม้ว่าอาการวิตกกังวลจะแย่ลงในระยะต้น ๆ ของการอดเหล้า/ยา แต่ว่าในที่สุดอาการก็หายไป บางครั้ง ความกังวลก็มีอยู่ก่อนการเริ่มติดเหล้า/ยาแล้ว แต่ว่า การติดทำให้โรควิตกกังวลคงยืนและบ่อยครั้งทำให้แย่ลง ๆ การฟื้นตัวจากการติดยามักจะใช้เวลานานกว่าการติดเหล้า แต่ในที่สุดก็จะได้สุขภาพคืนมา[19]

นอกจากนั้นแล้ว การสูบบุหรี่มีหลักฐานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวล[20] และการทานกาเฟอีนมากเกิน (เช่นจากกาแฟ) ก็สัมพันธ์กับความวิตกกังวลด้วย[21]

 
ภาพเคลื่อนแสดงตำแหน่งอะมิกดะลาในสมอง

กลไกทางประสาท

แก้

งานศึกษาปี 2552 แสดงว่า GAD สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปกติของอะมิกดะลาในการประมวลความกลัวและความวิตกกังวล[22] คือ ข้อมูลประสาทสัมผัสจะเข้าสู่อะมิกดะลาผ่านนิวเคลียส basolateral complex (รวมทั้ง lateral, basal และ accessory basal nuclei) โดย basolateral complex มีหน้าที่ประมวลความทรงจำเกี่ยวกับความกลัวสัมพันธ์กับประสาทสัมผัส และสื่อความอันตรายของข้อมูลไปยังระบบที่ประมวลความจำและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ในสมอง เช่น medial prefrontal cortex และคอร์เทกซ์ประสาทสัมผัส (sensory cortices) ต่าง ๆ เขตสำคัญอีกเขตหนึ่งก็คือ central nucleus ของอะมิกดะลาที่อยู่ข้าง ๆ เป็นตัวควบคุมการตอบสนองโดยความกลัวของสัตว์แต่ละสปีชีส์ ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางก้านสมอง ไฮโปทาลามัส และสมองน้อย

ในคนไข้ การทำงานร่วมกันระหว่างเขตต่าง ๆ เหล่านี้ดูจะน้อยกว่า และยังพบเนื้อขาวมากกว่าใน central nucleus อีกด้วย ความแตกต่างอีกอย่างก็คือเขตอะมิกดะลาทำงานร่วมกับเขต insular cortex และ cingulate cortex น้อยกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุมความชัดเจน/ความเด่นทั่วไป (general salience) ของสิ่งเร้า และทำงานร่วมกับ parietal cortex และ prefrontal cortex มากกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุม Executive functions[22]

การทำงานแบบหลังแสดงว่า เป็นกลยุทธ์ทดแทนการประมวลความวิตกกังวลที่ผิดปกติของอะมิกดะลา นักวิจัยของงานได้ให้ข้อสังเกตว่า "การทำงานคู่กันของอะมิกดะลากับ parietal cortex และ prefrontal cortex ในคนไข้ GAD อาจ...สะท้อนให้เห็นการใช้ระบบควบคุมการรู้คิดเป็นนิสัยเพื่อคุมความกังวลที่เกินไป"[22] ซึ่งเข้ากับทฤษฎีทางการรู้คิดต่าง ๆ ที่เสนอให้ลดระดับอารมณ์โดยการใช้ความคิดสำหรับคนไข้โรคนี้[22]

การวินิจฉัย

แก้

เกณฑ์ของ DSM-5

แก้

เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับ GAD ดังที่นิยามโดยคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต DSM-5 (ปี 2556)[2] พิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ก็คือ[2]

  1. ความวิตกกังวลเกินส่วน (คือ ความคาดหมายประกอบด้วยความกลัว) เกิดขึ้นมากวันกว่าอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรม (เช่น เรื่องการทำงานหรือการเรียน)
  2. คนไข้มีปัญหาควบคุมความกังวล
  3. ความวิตกกังวลสัมพันธ์กับอาการ 3 อย่าง (หรือมากกว่านั้น) ดังต่อไปนี้ (โดยมีอาการบางอย่างอย่างน้อยเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิดใน 6 เดือนที่ผ่านมา) โดยสำหรับเด็ก อาการเพียงแค่อย่างเดียวก็พอ
    • การอยู่ไม่สุข หรือรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล
    • รู้สึกล้าง่าย
    • ไม่มีสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก
    • หงุดหงิด
    • กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
    • มีปัญหาการนอน เช่น มีปัญหาในการหลับหรือนอนไม่อิ่ม หรือรู้สึกไม่เป็นสุข หรือนอนแล้วไม่รู้สึกสดชื่น
  4. ความวิตกกังวล หรืออาการทางกาย เป็นเหตุให้เป็นทุกข์หรือเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญโดยเห็นได้ในการใช้ชีวิตทางสังคม ทางอาชีพ หรือทางด้านสำคัญอื่น ๆ
  5. ปัญหาไม่ใช่เกิดจากผลทางสรีรภาพของสาร (เช่น ยาเสพติด ยา) หรือโรคอื่น ๆ (เช่น อาการไฮเปอร์ไทรอยด์)
  6. ปัญหาอธิบายไม่ได้ดีกว่าด้วยโรคจิตอย่างอื่น เช่น กลัวจะตื่นตระหนกในโรคตื่นตระหนก กลัวถูกติเตียนวิพากษวิจารณ์ในโรคกลัวสังคม (SAD) ปัญหาหรือความหมกมุ่นเนื่องจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) การต้องจากผู้ที่ผูกพันในโรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (SepAD) เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจเนื่องกับเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีต (OCD) รู้สึกน้ำหนักเพิ่มในโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) ปัญหาทางกายจากโรคที่มีอาการทางกาย รู้สึกว่ารูปร่างผิดปกติในโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (BDD) รู้สึกว่ามีโรคหนักในโรควิตกกังวลว่ามีโรค หรือเชื่อแบบหลงผิดในโรคจิตเภทหรือโรคหลงผิด (delusional disorder)

เกณฑ์วินิจฉัย GAD โดยหลักยังไม่ได้เปลี่ยนตั้งแต่ DSM-IV-TR (ปี 2547) มีแต่คำเกี่ยวกับเกณฑ์วินิจฉัยที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย[23]

เกณฑ์ของ ICD-10

แก้

ต่อไปเป็นเกณฑ์วินิจฉัยโรควิตกกังวลไปทั่วของ ICD-10 (ICD-10 Chapter V: Mental and behavioural disorders) "F41.1" ให้สังเกตว่าเด็กอาจต้องมีเกณฑ์ต่างกัน (ดู F93.80 คือ ความผิดปกทางอารมณ์แบบอื่นในวัยเด็ก)

  • มีความเครียด ความกังวล หรือความหวาดกลัวที่เด่นชัดอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์และปัญหาชีวิตประจำวัน
  • ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างดังต่อไปนี้ และอย่างน้อยหนึ่งอย่างต้องมาจากรายการ 1-4
การเร้าของระบบประสาทอิสระ
(1) ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็ว
(2) เหงื่อออก
(3) สั่น
(4) คอแห้ง (ไม่ใช่เหตุจากยาหรือขาดน้ำ)
อาการที่หน้าอกหรือท้อง
(5) หายใจลำบาก
(6) รู้สึกหายใจไม่ออก
(7) เจ็บหน้าอกหรืออึดอัด
(8) คลื่นไส้หรือปัญหาที่ท้อง (เช่นท้องป่วน)
อาการทางสมองหรือทางจิต
(9) คลื่นไส้ ทรงตัวไม่ดี หัวเบา หรือเวียนหัว
(10) รู้สึกว่าวัตถุรอบ ๆ ไม่ใช่ของจริง (derealization) หรือว่าตัวไม่ได้อยู่ที่นี่ เหมือนอยู่ที่อื่น (depersonalization)
(11) กลัวควบคุมตนเองไม่ได้ จะเป็นบ้า หรือเป็นลม
(12) กลัวตาย
อาการทั่วไป
(13) ครั่นเนื้อครั่นตัว
(14) รู้สึกเหน็บชา
อาการตึงเครียด
(15) ตึงกล้ามเนื้อ หรือเจ็บปวด
(16) อยู่ไม่สุข ทำตัวสบาย ๆ ไม่ได้
(17) รู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล
(18) จุกคอ หรือกลืนไม่ลง
อาการไม่เฉพาะอื่น ๆ
(19) ตกใจมากในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
(20) ไม่มีสมาธิ คิดไม่ออก เพราะวิตกกังวล
(21) หงุดหงิดเรื่อย ๆ
(22) นอนไม่หลับเพราะกังวล
  • อาการไม่ผ่านเกณฑ์โรคตื่นตระหนก (panic disorder, F41.0) โรควิตกกังวลเพราะกลัว (phobic anxiety disorders, F40.-) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder, F42.-) หรือโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriacal disorder, F45.2)
  • ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ใช้กันโรคออกมากที่สุด คือ ไม่เป็นโรคทางกายอย่างอื่น เช่นอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคจิตเหตุร่างกาย (organic mental disorder, F0) หรือโรคเกี่ยวกับสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตต่าง ๆ (psychoactive substance-related disorder, F1) เช่น การบริโภคสารคล้ายกับแอมเฟตามีนมากเกินไป หรือว่าอาการขาดยากลุ่ม benzodiazepine[5]

ประวัติเกณฑ์วินิจฉัย

แก้

สมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) เริ่มเกณฑ์วินิจฉัยของ GAD ใน DSM-III ในปี 2523 ก่อนหน้านั้น GAD เป็นกลุ่มอาการหนึ่งในสองอย่างของ anxiety neurosis โดยอีกอย่างคือความตื่นตระหนก นิยามใน DSM-III เจาะจงว่าต้องมีความวิตกกังวลที่ควบคุมไม่ได้ มีไปทั่ว เกินควร ไม่สมจริง และคงยืนอย่างน้อย 1 เดือน แต่อัตราการเกิดโรคร่วมกับโรคซึมเศร้า (MDD) ในระดับสูงทำให้มีการวิจารณ์ว่า GAD น่าจะรวมเป็นส่วนของโรคซึมเศร้าแทนที่จะเป็นโรคต่างหาก[24] และมีนักวิจารณ์อื่นอีกที่อ้างว่า เกณฑ์วินิจฉัยของโรคนี้ไม่ชัดเจนจนกระทั่งออก DSM-III-R[25] และเพราะการเกิดร่วมกับโรคอื่นจะลดลงถ้ากำหนดเวลายาวนานขึ้น DSM-III-R จึงเปลี่ยนระยะที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD ไปเป็น 6 เดือนหรือมากกว่านั้น[26]

ส่วน DSM-IV เปลี่ยนนิยามของคำว่า ความกังวลเกินควร (excessive worry) และกำหนดอาการทางกายจิตอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย[24] นอกจากนั้นแล้ว DSM-IV ยังกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าอาการเช่นไรเรียกว่าเกิดขึ้น "บ่อย" (often)[27] DSM-IV บังคับว่า การมีปัญหาควบคุมความกังวลควรวินิจฉัยว่าเป็น GAD แต่ DSM-5 เน้นว่า ความกังวลเกินต้องเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิด และเน้นเรื่องอื่น ๆ อีก[25]

มีการอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์วินิจฉัยเรื่อย ๆ ทำให้ระบุเหตุทางชีวภาพและทางจิตของโรคได้ยาก ทำให้หายาโดยเฉพาะสำหรับโรคได้ยาก และทำให้ GAD ก็ยังคงเป็นโรคที่มักจะรักษาด้วยยากลุ่ม SSRI ซึ่งใช้รักษาโรคซึมเศร้าด้วย[25]

การป้องกัน

แก้

โรคจิตป้องกันได้ยาก แต่มีเทคนิคหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาและบริหารความกังวล คนไข้รู้สึกดีขึ้นด้วยวิธีผ่อนคลาย วิธีการหายใจลึก ๆ และการนั่งสมาธิ[28] นอกจากนั้นแล้ว การหลีกเลี่ยงกาเฟอีนอาจป้องกัน GAD[29] การหลีกเลี่ยงนิโคติน (เช่นในบุหรี่) ยังอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรควิตกกังวลต่าง ๆ รวมทั้ง GAD[30]

การรักษา

แก้

งานวิเคราะห์อภิมานแสดงว่า ทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และยา (เช่น SSRI) มีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวล การเปรียบเทียบผลทั่วไปของ CBT กับยาในโรคนี้ไม่แสดงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คือ มีประสิทธิผลพอ ๆ กันในการรักษาความกังวล) แต่ว่า CBT มีประสิทธิผลกว่าอย่างสำคัญในการลดระดับความซึมเศร้า และผลมีโอกาสที่จะคงยืน เทียบกับประสิทธิผลของยาที่มักจะลดลงเมื่อหยุดยา[31]

การรักษาด้วย CBT ร่วมกับยามองโดยทั่วไปว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุด[32] เพราะว่า ยาช่วยลดความวิตกกังวลที่รุนแรง ซึ่งอาจสำคัญในการช่วยให้คนไข้ปฏิบัติตามหลัก CBT ได้ดีกว่า

จิตบำบัด

แก้

GAD มีมูลฐานจากองค์ประกอบทางจิตต่าง ๆ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงทางการรู้คิด (cognitive avoidance), ความเชื่อว่าความกังวลมีประโยชน์, การแก้ปัญหาและการรับมือกับอารมณ์ที่ไม่มีประสิทธิผล, ปัญหากับบุคคลอื่น, ความบาดเจ็บทางกายใจที่มีมาก่อน, ความอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้, การมองปัญหาในแง่ลบ, การรับมือที่ไม่มีประสิทธิผล, การมีอารมณ์รุนแรง, การไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึก, การมีปฏิกิริยาทางการรู้คิดในเชิงลบต่ออารมณ์, การบริหารและจัดการอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวไม่ดี (maladaptive), การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์, หรือการจำกัดพฤติกรรม[33]

เพื่อรับมือกับปัญหาทาการรู้คิดและอารมณ์ที่สัมพันธ์กับ GAD นักจิตวิทยามักจะรวมองค์ประกอบการรักษาดังต่อไปนี้ในแผนการรักษา การตรวจดูตัวเอง, เทคนิคการผ่อนคลาย, การลดความไวอารมณ์เอง, การค่อย ๆ เพิ่มระดับสิ่งเร้า, การเปลี่ยนการรู้คิด, การตรวจดูผลของความวิตกกังวล, การเน้นปัจจุบัน, การใช้ชีวิตอย่างไม่คาดหวัง, เทคนิคการแก้ปัญหา, การรับมือกับความกลัวหลัก, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, การปรึกษาและเปลี่ยนกรอบของความเชื่อที่ทำให้เกิดความกังวล, การฝึกควบคุมอารมณ์, การเปิดรับสถานการณ์ที่กลัว (experiential exposure), การศึกษาด้านจิตใจ, การฝึกสติและการยอมรับ[33]

มีวิธีการบำบัดไม่ว่าจะทางพฤติกรรมหรือการรู้คิดหรือแบบผสมเพื่อบำบัด GAD ที่เน้นองค์ประกอบการรักษาเหล่านั้น จิตบำบัดที่เน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมและการรู้คิด 2 อย่างหลักก็คือ CBT และการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)[34] แต่การบำบัดการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน (Intolerance of uncertainty therapy) และการสัมภาษณ์ให้กำลังใจ (motivational interviewing) ก็เป็นวิธีการรักษาใหม่สองอย่างสำหรับ GAD โดยใช้รักษาโดด ๆ หรือเพิ่มที่อาจช่วย CBT[35]

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)

แก้

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นวิธีรักษาทางจิตวิทยาสำหรับ GAD ที่ผู้บำบัดทำการร่วมกับคนไข้เพื่อให้เข้าใจว่า ความคิดและความรู้สึก/อารมณ์สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้อย่างไร[36] องค์ประกอบการรักษาใน CBT รวมทั้งการให้คนไข้ประสบกับเหตุการณ์ที่ตนวิตกกังวลอย่างค่อย ๆ เพิ่มระดับ เพื่อให้รู้สึกโอเคกับเหตุการณ์ และเพื่อเป็นโอกาสฝึกทักษะการรับมือที่ได้เรียนรู้ CBT สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว ๆ หรือบวกเสริมยา[37]

องค์ประกอบสำหรับ GAD ของ CBT รวมทั้งการให้ศึกษาเรื่องจิต การตรวจตราตัวเอง เทคนิคการควบคุมสิ่งเร้า การผ่อนคลาย การลดความไวอารมณ์เอง การเปลี่ยนการรู้คิด การฝึกรับความกังวล การป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวล และการแก้ปัญหา

  • ขั้นแรกในการรักษา GAD ก็คือบอกคนไข้ให้ทราบถึงปัญหาและแผนการแก้
  • เป้าหมายของการให้ศึกษาเรื่องจิตก็เพื่อสร้างความบรรเทา ลดความเป็นมลทินของโรค ให้กำลังใจ และให้คนไข้ร่วมมือโดยเข้าใจวิธีการรักษา
  • เป้าหมายของการตรวจตราตัวเองก็เพื่อระบุสิ่งที่ทำให้กังวล
  • ส่วนการควบคุมสิ่งเร้าหมายถึงการลดสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าที่สร้างความกังวลให้น้อยที่สุด
  • เทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดระดับความเครียด และเพิ่มความใส่ใจในวิธีการตอบสนองอื่น ๆ ต่อสถานการณ์ที่กลัว (ที่ไม่ใช่เป็นความกังวล) เทคนิครวมทั้งการหายใจลึก ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปตามลำดับ[35]
  • การลดความไวอารมณ์เอง (Self-control desensitization) ให้คนไข้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ก่อนจะจินตนาการว่าตนอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลจนกระทั่งเริ่มกังวล แล้วให้จินตนาการรับมือกับสถานการณ์และลดระดับความกังวล ถ้ากังวลน้อยลง ก็ให้ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นอีกแล้วหยุดจินตนาการ
  • เป้าหมายของการเปลี่ยนการรู้คิด (cognitive restructuring) ก็เพื่อเปลี่ยนมุมมองจากที่ทำให้กังวล ไปเป็นแบบที่มีประสิทธิผลและเป็นการปรับตัวที่ดีเกี่ยวกับโลก อนาคต และตนเอง ซึ่งรวมเทคนิคการถามคำถามตามแนวของโสกราตีส (socratic questioning) ที่ช่วยให้คนไข้พิจารณาความวิตกกังวลของตนเพื่อให้เข้าใจว่ามุมมองอื่นและความรู้สึกอื่นอาจจะถูกต้องกว่า เป็นเทคนิคที่รวมการทดลองทางพฤติกรรมเพื่อตรวจสอบความสมเหตุผลของทั้งความคิดเชิงลบและความคิดแบบอื่น ๆ ในสถานการณ์ชีวิตจริง ๆ
  • ใน CBT สำหรับ GAD คนไข้ฝึกรับความกังวล (worry exposure) โดยให้จินตนาการถึงภาพที่ตนกลัวที่สุด แล้วทำตามวิธีการป้องกันความกังวลที่ไม่ให้หลีกเลี่ยงภาพที่กลัว และให้นึกถึงผลอย่างอื่นที่เป็นไปได้เนื่องจากเหตุการณ์ เป้าหมายของการฝึกรับความกังวลก็คือเพื่อทำให้ชินและเพื่อตีความหมายสิ่งเร้าที่ทำให้กลัวใหม่
  • ส่วนการป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวลให้คนไข้ตรวจดูพฤติกรรมที่ทำให้กังวล แล้วหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเยี่ยงนั้น แล้วให้ใช้วิธีการรับมืออื่นที่เรียนรู้มาแล้วใน CBT
  • การแก้ปัญหาฝึกการรับมือปัญหาเป็นกระบวนการ (1) กำหนดปัญหา (2) ตั้งเป้าหมาย (3) หาวิธีแก้ต่าง ๆ เป็นทางเลือก (4) ตัดสินใจ (5) ทำตามแผนและตรวจดูว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่[35]

ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งว่า CBT มีประสิทธิผลต่อ GAD หรือไม่ แต่ว่า ชัดเจนว่าสามารถปรับปรุงได้ เพราะว่า คนไข้เพียงครึ่งเดียวที่จบการรักษามีชีวิตที่ดีขึ้นหรือฟื้นสภาพหลังจากการรักษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์ประกอบบางอย่างของ CBT[35] CBT มักจะช่วยคนไข้ประมาณ 1/3 อย่างสำคัญ แต่คนไข้ 1/3 จะไม่ตอบสนองเลย[38]

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)

แก้

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) เป็นการบำบัดพฤติกรรมโดยฝึกการยอมรับได้ ACT ออกแบบมีเป้าหมายการรักษา 3 อย่างคือ

  1. ลดการรับมือด้วยการหลีกเลี่ยง เช่นหลีกเลี่ยงอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความจำ และความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
  2. ลดการตอบสนองตามความคิดของตน (เช่น เข้าใจความคิดว่า "ฉันหมดหนทางแก้ไข" ไม่ได้หมายความว่า ชีวิตของตนหมดทางแก้ไขจริง ๆ)
  3. เพิ่มสมรรถภาพในการรักษาสัญญาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของตน

เป้าหมายเหล่านี้สามารถถึงได้โดยเปลี่ยนความพยายามควบคุมเหตุการณ์ของคนไข้ ให้เป็นพฤติกรรมตามค่านิยมและเป้าหมายชีวิตของตน และพยายามประพฤติตัวเพื่อให้ถึงเป้าหมายชีวิตเหล่านั้น[39] การรักษานี้สอนการใช้สติ (การให้ความสนใจอย่างตั้งใจในปัจจุบันโดยไม่ตัดสินดีชั่ว) และความยอมรับ (ความเปิดใจและความสมัครใจต่อการมีประสบการณ์) เพื่อใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ แล้วให้มีพฤติกรรมแสดงออกที่สมกับค่านิยมของตน[40] เหมือนกับจิตบำบัดอื่น ๆ ACT จะมีผลดีที่สุดถ้าใช้พร้อมกับยา[ต้องการอ้างอิง]

การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้

แก้

การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้ (Intolerance of uncertainty therapy, IUT) พุ่งความสนใจไปที่ปฏิกิริยาเชิงลบที่สม่ำเสมอต่อเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนหรือไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ใไหน IUT สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยว ๆ สำหรับคนไข้โรคนี้ IUT ช่วยคนไข้ให้พัฒนาสมรรถภาพในการอดทน รับมือ และยอมรับความไม่แน่นอนในชีวิตเพื่อลดความกังวล โดยใช้หลักจิตวิทยาต่าง ๆ รวมทั้ง การให้ความรู้เกี่ยวกับจิต ความสำนึกรู้ถึงความกังวล การฝึกแก้ปัญหา การประเมินประโยชน์ของความกังวล การจินตนาการถึงสถานการณ์ที่ทำให้กังวล ความรู้จักความไม่แน่นอน และการเปิดรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน งานศึกษาหลายงานแสดงประสิทธิผลของการรักษานี้สำหรับคนไข้ GAD โดยความดีขึ้นจะคงยืนแม้ในช่วงติดตามหลังการรักษา[35]

การสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ

แก้

ฺวิธีการที่นำสมัยดูจะมีอนาคตอย่างหนึ่งในการเพิ่มอัตราฟื้นสภาพของคนไข้ GAD ก็คือการรักษาด้วย CBT บวกกับการสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ (Motivational Interviewing, MI) ซึ่งเป็นกลยุทธ์มีศูนย์ที่คนไข้โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังใจที่มีอยู่แล้ว และลดความรู้สึกคละ/ไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากการรักษา MI มีหลักสำคัญ 4 อย่าง คือ

  1. แสดงความเห็นอกเห็นใจ
  2. แสดงความขัดแย้งกันระหว่างพฤติกรรมที่ไม่ต้องการกับค่านิยมของคนไข้
  3. ดำเนินการแบบฝืน ไม่ใช่แบบเผชิญหน้าตรง ๆ
  4. ให้กำลังใจว่าคนไข้สามารถประสบผลสำเร็จได้

เป็นวิธีการที่อาศัยการถามคำถามแบบมีปลายเปิด แล้วฟังอย่างดี โดยพูดสะท้อนสิ่งที่เข้าใจให้คนไข้ฟัง (reflective listening), ชักชวนให้คุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง, และคุยกับคนไข้ถึงข้อดีข้อเสียของการเปลี่ยนแปลง มีงานศึกษาบางงานที่แสดงว่าการรักษา CBT ร่วมด้วยกับ MI มีประสิทธิภาพดีกว่ารักษาด้วย CBT เพียงอย่างเดียว[35]

งานปฏิทรรน์สากลที่ทบทวนการบริหารโรค GAD ของจิตแพทย์แสดงว่า ยาอันดับแรกที่เลือกใช้ในการรักษาคือ SSRI ที่ 80% ตามด้วย serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ที่ 43% และ pregabalin ที่ 35% ยาอันดับสองคือ SNRIs ที่ 41% และ pregabalin ที่ 36%[41]

Selective serotonin reuptake inhibitors

แก้

ยาที่ใช้รักษา GAD รวมยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)[37] ซึ่งเป็นยาที่แพทย์เลือกเป็นอันดับแรก (first line)[41] ยากลุ่ม SSRI ที่ใช้เพื่อการนี้รวมทั้ง escitalopram[42] และ paroxetine[43]

อาการข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งคลื่นไส้ อวัยวะเพศไม่ทำงาน (sexual dysfunction) ปวดหัว ท้องเสีย ท้องผูก อยู่ไม่สุข (Psychomotor agitation) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้น[44] อาการเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) เมื่อใช้ยาเกิน และผลข้างเคียงอื่น ๆ

Benzodiazepines

แก้

ยากลุ่ม Benzodiazepines ก็มักให้แก่คนไข้ GAD ด้วย งานศึกษาแสดงว่า ยาช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้น แต่เสี่ยง เพราะทำให้การรู้คิดและการเคลื่อนไหวบกพร่อง และเนื่องจากทำให้ติดทั้งทางกายใจ คนไข้จึงอาจมีปัญหาหยุดใช้ยา มีข้อสังเกตว่า คนไข้ที่ใช้ยา benzodiazepines ไม่ค่อยตื่นตัวทั้งในที่ทำงานหรือในสถาบันการศึกษา นอกจากนั้นแล้ว ยาอาจสร้างปัญหาในการขับรถ และบ่อยครั้งสัมพันธ์กับการล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลเป็นกระดูกตะโพกแตก ผลเสียเหล่านี้ทำให้ benzodiazepines เหมาะใช้บรรเทาความกังวลในระยะสั้นเท่านั้น[45] CBT และยามีประสิทธิผลใกล้เคียงกันในระยะสั้น แต่ว่า CBT จะได้เปรียบในระยะยาว[46]

Benzodiazepines เป็นยาระงับประสาทที่ช่วยให้นอนหลับ ที่ใช้ในการรักษา GAD และโรควิตกกังวลอื่น ๆ ด้วย[37] โดยแพทย์จะให้ Benzodiazepine สำหรับ GAD เพราะแสดงผลดีในระยะสั้น ยาจากกลุ่มนี้ที่นิยมก็คือ alprazolam, lorazepam, และคโลนะเซแพม แต่ว่า คณะกรรมการโรควิตกกังวลโลก (World Council of Anxiety) ไม่แนะนำให้ใช้ยาในระยะยาวเพราะว่าสัมพันธ์กับการดื้อยา ความพิการทางการเคลื่อนไหว ปัญหาทางการรู้คิดและความจำ การติดยาทางกายภาพ และอาการขาดยาเมื่อหยุดยา (benzodiazepine withdrawal syndrome)[47][48] ผลข้างเคียงรวมทั้งง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสาน และปัญหาการทรงตัว (equilibrioception)

Pregabalin และ gabapentin

แก้

Pregabalin (Lyrica) มีฤทธิ์ต่อช่องไอออนแคลเซียมที่ขึ้นกับศักย์ไฟฟ้า (voltage-dependent calcium channel) และลดการปล่อยสารสื่อประสาทเช่น กลูตาเมต, norepinephrine และ substance P ฤทธิ์ของยาจะปรากฏหลังจากเริ่มยา 1 สัปดาห์ และมีประสิทธิผลใกล้เคียงกับ lorazepam, alprazolam, และ venlafaxine แต่ได้เปรียบตรงที่ให้ผลการรักษาที่สม่ำเสมอเสมอกว่าต่ออาการวิตกกังวลทั้งทางกายใจ การทดลองระยะยาวแสดงประสิทธิผลที่คงยืนโดยไม่เกิดการดื้อยา นอกจากนั้นแล้ว โดยไม่เหมือน benzodiazepine มันไม่เปลี่ยนลำดับของการนอนหลับ (sleep architecture) และมีผลเสียน้อยกว่าต่อการรู้คิดและทางการเคลื่อนไหว ยายังมีโอกาสน้อยที่จะติดหรือใช้เป็นสิ่งเสพติด ดังนั้น จึงอาจดีกว่า benzodiazepines เพราะเหตุเหล่านี้[49][50] ผลคลายความกังวลของ pregabalin ปรากฏอย่างรวดเร็วหลังเริ่มรับประทานโดยคล้ายกับ benzodiazepines ซึ่งทำให้ได้เปรียบยาคลายกังวลหลายอย่างรวมทั้งยาแก้ซึมเศร้า[51]

ส่วนยา Gabapentin (Neurontin) เป็นยาที่ใกล้เคียงกับ pregabalin และมีฤทธิ์อย่างเดียวกัน และก็แสดงประสิทธิผลในการรักษา GAD ด้วย[52] แต่ไม่เหมือนกับ pregabalin มันยังไม่ได้อนุมัติเพื่อรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี มันน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันในการบริหารโรคนี้ และเพราะว่าหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว ก็จะได้เปรียบในเรื่องราคาย่อมเยาด้วย[53] ดังนั้น แพทย์จึงสั่งยานี้บ่อยครั้งเพื่อรักษา GAD[54]

ยาทางจิตเวชที่สามารถใช้รักษาอื่น ๆ

แก้
  • 5-HT1A receptor partial agonist เช่น buspirone (BuSpar) และ tandospirone (Sediel)
  • Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เช่น venlafaxine (Effexor) และ duloxetine (Cymbalta)
  • ยาแก้ซึมเศร้าที่มีผลต่อระบบเซโรโทนิน (serotonergic) นอกแบบ เช่น vilazodone (Viibryd), vortioxetine (Brintellix), และ agomelatine (Valdoxan)
  • Tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น imipramine (Tofranil) และ clomipramine (Anafranil) .
  • monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) บางอย่าง เช่น moclobemide (Aurorix) และที่ใช้น้อย คือ phenelzine (Nardil).

ยาอื่น ๆ

แก้

การเกิดร่วมกับโรคอื่น

แก้

โรคซึมเศร้า

แก้

งานสำรวจโรคที่เกิดร่วมกันของสหรัฐอเมริกาปี 2548 พบว่า 58% ของคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) มีโรควิตกกังวลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ในบรรดาคนไข้เหล่านั้น อัตราการเกิดร่วมกับ GAD อยู่ที่ 17.2% และกับโรคตื่นตระหนกที่ 9.9% คนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลยังมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมด้วยในอัตราที่สูง รวมทั้งคนไข้โรคกลัวสังคม (SAD) 22.4% คนไข้โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia) ที่ 9.4% คนไข้โรคตื่นตระหนกที่ 2.3%[ต้องการอ้างอิง] ส่วนงานศึกษาตามยาวตามรุ่น (longitudinal cohort study) พบว่าผู้ร่วมงานศึกษา 12% จาก 972 คนมี GAD ร่วมกับ MDD[55]

หลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่า คนไข้ที่มีโรคซึมเศร้าร่วมกับโรควิตกกังวลมักจะมีอาการหนักกว่าและตอบสนองต่อการรักษาน้อยกว่าคนไข้ที่มีโรคเพียงอย่างเดียว[56] นอกจากนั้นแล้ว การดำเนินชีวิตทางสังคมและคุณภาพชีวิตก็แย่กว่ามาก แต่สำหรับคนเป็นจำนวนมาก อาการทั้งของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลไม่รุนแรงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ dysthymia ซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ก็ยังเป็นโรคร่วมชุกที่สุดในคนไข้ GAD คนไข้ยังสามารถจัดได้ว่าเป็นโรคผสมระหว่างโรควิตกกังวล-โรคซึมเศร้า (mixed anxiety-depressive disorder) ซึ่งเสี่ยงต่อโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าอย่างเต็มตัวสูงขึ้นอย่างสำคัญ[ต้องการอ้างอิง]

การเสพสาร

แก้

คนไข้ GAD มีความชุกตลอดชีวิตที่จะเกิดโรคร่วมกับโรคจิตที่เกิดจากการเสพสุรา (alcohol use disorder) ที่ 30-35% และจากการเสพสารอื่น ๆ (substance use disorder) ที่ 25-30%[57] และคนไข้ที่มีทั้ง GAD และเสพสารเสพติดยังมีความชุกตลอดชีวิตที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วยที่สูงกว่า[57] งานศึกษาหนึ่งพบว่า GAD เป็นโรคหลักในคนไข้กว่าครึ่งหนึ่งในบรรดา 18 คนที่ร่วมการศึกษาผู้มีโรคร่วมเป็นโรคจิตที่เกิดจากการเสพสุรา[58]

โรคร่วมอื่น ๆ

แก้

นอกจากจะเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้าแล้ว งานวิจัยแสดงว่า GAD ยังบ่อยครั้งเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)[59] คนไข้ GAD บางครั้งจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือปวดหัว ร่วมกับความเจ็บปวด ปัญหาโรคหัวใจ หรือปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น[60] งานวิจัยอื่นแสดงว่า คนไข้โรคสมาธิสั้น (ADHD) 20-40% มีโรควิตกกังวลเป็นโรคร่วม โดยมี GAD สามัญที่สุด[61]

โรคร่วมและการรักษา

แก้

งานศึกษาปี 2553 เกี่ยวกับการเกิดร่วมของโรค GAD และโรคซึมเศร้าอื่น ๆ แสดงว่า การรักษาไม่ได้มีประสิทธิผลที่ดีกว่าหรือแย่กว่าเมื่อมีโรคเกิดร่วมกัน[62] ความรุนแรงของอาการยังไม่มีผลต่อการรักษาในกรณีเหล่านี้ด้วย

วิทยาการระบาด

แก้

โปรเจ็กต์ภาระโรคของโลก (Global Burden of Disease) ขององค์การอนามัยโลกไม่ได้รวม GAD[63] ดังนั้น แทนที่สถิติทั่วโลก นี่เป็นอัตราความชุกโรคจากรอบ ๆ โลก

อายุที่เริ่มเป็นโรคต่าง ๆ กัน เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยมีอายุมัธยฐานประมาณ 31 ปี[65] และอายุเฉลี่ยที่ 32.7 ปี[66] งานศึกษาโดยมากพบว่า GAD เกิดขึ้นเมื่ออายุน้อยกว่าและค่อย ๆ เกิด เทียบกับโรควิตกกังวลอื่น ๆ ความชุกของ GAD ในเด็กอยู่ที่ประมาณ 3% ส่วนในวัยรุ่นมีรายงานว่าสูงถึง 10.8%[67] ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นเป็น GAD ก็มักจะเริ่มที่อายุ 8-9 ขวบ[68]

กลุ่มประชากรที่วินิจฉัยว่าเป็น GAD ในอัตราที่สูงกว่าคือบุคคลที่มีความกดดันสูงจากประเพณีและสังคม รวมทั้งคนที่มีฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจต่ำและปานกลาง คนที่แยกอยู่จากคู่ชีวิต หย่า หรือเป็นม่าย หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย 2 เท่า โดยหลักก็เพราะว่าหญิงมีโอกาสยากจน ถูกเกียดกัน และถูกทารุณกรรมทั้งทางเพศและทางกายมากกว่า[69] ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามีโอกาสมี GAD สูงกว่า ที่มักจะปรากฏในรูปแบบที่ต่างจากปกติ[70][71] กลุ่มอื่นที่มีโอกาสมีโรคสูงกว่า ก็คือคนที่อยู่คนเดียว มีการศึกษาต่ำ และไม่มีงานทำ[72] GAD ยังเป็นโรคสามัญในผู้สูงอายุ[73]

เทียบกับกลุ่มประชากรปกติ คนไข้ที่มีโรคจิตและพฤติกรรมที่เก็บความรู้สึก/ปัญหาไม่บอกคนอื่น เช่น โรคซึมเศร้า GAD และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า แม้ว่าจะเสียชีวิตจากโรคที่สัมพันธ์กับอายุเหมือนกับกลุ่มประชากรปกติ เช่น โรคหัวใจ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง[74]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย ICD-10-TM
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Association, American Psychiatric (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5th ed.). Washington, D.C.: American Psychiatric Association. p. 222. ISBN 978-0-89042-554-1.
  3. 3.0 3.1 "What Is Generalized Anxiety Disorder?". National Institute of Mental Health. สืบค้นเมื่อ 28 May 2008.
  4. Torpy, Janet M.; Burke, AE; Golub, RM (2011). "Generalized Anxiety Disorder". JAMA. 305 (5): 522. doi:10.1001/jama.305.5.522. PMID 21285432.
  5. 5.0 5.1 International Classification of Diseases ICD-10
  6. 6.0 6.1 "The Numbers Count". National Institute of Mental Health. สืบค้นเมื่อ 28 May 2007.
  7. Lieb, Roselind; Becker, Eni; Altamura, Carlo (2005). "The epidemiology of generalized anxiety disorder in Europe". European Neuropsychopharmacology. 15 (4): 445–52. doi:10.1016/j.euroneuro.2005.04.010. PMID 15951160.
  8. "In The Clinic: Generalized Anxiety Disorder". Annals Of Internal Medicine. 159 (11). 2013.
  9. Rickels, K; Schweizer, E (1990). "The clinical course and long-term management of generalized anxiety disorder". Journal of Clinical Psychopharmacology. 10 (3 Suppl): 101S–110S. doi:10.1097/00004714-199006001-00017. PMID 1973934.
  10. Spitzer, Robert L.; Kroenke, K; Williams, JB; Löwe, B (2006). "A Brief Measure for Assessing Generalized Anxiety Disorder". Archives of Internal Medicine. 166 (10): 1092–7. doi:10.1001/archinte.166.10.1092. PMID 16717171.
  11. Ballenger, JC; Davidson, JR; Lecrubier, Y; Nutt, DJ; Borkovec, TD; Rickels, K; Stein, DJ; Wittchen, HU (2001). "Consensus statement on generalized anxiety disorder from the International Consensus Group on Depression and Anxiety". The Journal of Clinical Psychiatry. 62 Suppl 11: 53–8. PMID 11414552.
  12. Hettema, J. M.; Neale, MC; Kendler, KS (2001). "A Review and Meta-Analysis of the Genetic Epidemiology of Anxiety Disorders". American Journal of Psychiatry. 158 (10): 1568–78. doi:10.1176/appi.ajp.158.10.1568. PMID 11578982.
  13. Donner, Jonas; Pirkola, Sami; Silander, Kaisa; Kananen, Laura; Terwilliger, Joseph D.; Lönnqvist, Jouko; Peltonen, Leena; Hovatta, Iiris (2008). "An Association Analysis of Murine Anxiety Genes in Humans Implicates Novel Candidate Genes for Anxiety Disorders". Biological Psychiatry. 64 (8): 672–80. doi:10.1016/j.biopsych.2008.06.002. PMC 2682432. PMID 18639233.
  14. Galanter, Marc (1 July 2008). The American Psychiatric Publishing Textbook of Substance Abuse Treatment (American Psychiatric Press Textbook of Substance Abuse Treatment) (4 ed.). American Psychiatric Publishing, Inc. p. 197. ISBN 978-1-58562-276-4.
  15. Ashton, Heather (2005). "The diagnosis and management of benzodiazepine dependence". Current Opinion in Psychiatry. 18 (3): 249–55. doi:10.1097/01.yco.0000165594.60434.84. PMID 16639148.
  16. Lindsay, S.J.E.; Powell, Graham E., บ.ก. (28 July 1998). The Handbook of Clinical Adult Psychology (2nd ed.). Routledge. p. 173. ISBN 978-0-415-07215-1.
  17. Cargiulo, T. (2007). "Understanding the health impact of alcohol dependence". American Journal of Health-System Pharmacy. 64 (5 Supplement 3): S5-11. doi:10.2146/ajhp060647. PMID 17322182.
  18. Wetterling, T; Junghanns, K (2000). "Psychopathology of alcoholics during withdrawal and early abstinence". European Psychiatry. 15 (8): 483–8. doi:10.1016/S0924-9338(00)00519-8. PMID 11175926.
  19. 19.0 19.1 Cohen, SI (1995). "Alcohol and benzodiazepines generate anxiety, panic and phobias". Journal of the Royal Society of Medicine. 88 (2): 73–7. PMC 1295099. PMID 7769598.
  20. Morissette, Sandra Baker; Tull, Matthew T.; Gulliver, Suzy Bird; Kamholz, Barbara Wolfsdorf; Zimering, Rose T. (2007). "Anxiety, anxiety disorders, tobacco use, and nicotine: A critical review of interrelationships". Psychological Bulletin. 133 (2): 245–72. doi:10.1037/0033-2909.133.2.245. PMID 17338599.
  21. Bruce, MS; Lader, M; Lader (2009). "Caffeine abstention in the management of anxiety disorders". Psychological Medicine. 19 (1): 211–4. doi:10.1017/S003329170001117X. PMID 2727208.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Etkin, Amit; Prater, Katherine E.; Schatzberg, Alan F.; Menon, Vinod; Greicius, Michael D. (2009). "Disrupted Amygdalar Subregion Functional Connectivity and Evidence of a Compensatory Network in Generalized Anxiety Disorder". Archives of General Psychiatry. 66 (12): 1361–72. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2009.104. PMID 19996041.
  23. Möller, Hans-Jürgen; Bandelow, Borwin; Bauer, Michael; Hampel, Harald; Herpertz, Sabine C.; Soyka, Michael; Barnikol, Utako B.; Lista, Simone; Severus, Emanuel; Maier, Wolfgang (26 August 2014). "DSM-5 reviewed from different angles: goal attainment, rationality, use of evidence, consequences—part 2: bipolar disorders, schizophrenia spectrum disorders, anxiety disorders, obsessive-compulsive disorders, trauma- and stressor-related disorders, personality disorders, substance-related and addictive disorders, neurocognitive disorders". European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 265: 87–106. doi:10.1007/s00406-014-0521-9.
  24. 24.0 24.1 Kessler, Ronald C.; Keller, Martin B.; Wittchen, Hans-Ulrich (1 March 2001). "The Epidemiology of Generalized Anxiety Disorder". Psychiatric Clinics of North America. doi:10.1016/S0193-953X(05)70204-5.
  25. 25.0 25.1 25.2 Craighead, W. Edward (2013). Psychopathology: History, Diagnosis, and Empirical Foundations. John Wiley & Sons, Inc.
  26. Breslau, Naomi; Davis, Glenn C. (July 1985). "DSM-III generalized anxiety disorder: An empirical investigation of more stringent criteria". Psychiatry Research. doi:10.1016/0165-1781(85)90080-0.
  27. Wittchen, Hans-Ulrich; Kessler, Ronald C.; Zhao, Shanyang; Abelson, Jamie (March–April 1995). "Reliability and clinical validity of UM-CIDI DSM-III-R generalized anxiety disorder". Journal of Psychiatric Research. doi:10.1016/0022-3956(94)00044-R.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  28. Dinsmoor, Robert Scott; Odle, Teresa G. (2015). "Generalized Anxiety Disorder". The Gale Encyclopedia of Medicine. 4 (5): 2149–2150. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  29. Bruce, M. S.; Lader, M. (2009). "Caffeine abstention in the management of anxiety disorders". Psychological Medicine. 19 (1): 211–4. doi:10.1017/S003329170001117X. PMID 2727208.
  30. Morissette, SB; Tull, MT; Gulliver, SB; Kamholz, BW; Zimering, RT (March 2007). "Anxiety, anxiety disorders, tobacco use, and nicotine: a critical review of interrelationships". Psychological Bulletin. 133 (2): 245–72. doi:10.1037/0033-2909.133.2.245. PMID 17338599.
  31. Gould, Robert A.; Otto, Michael W.; Pollack, Mark H.; Yap, Liang (1997). "Cognitive behavioral and pharmacological treatment of generalized anxiety disorder: A preliminary meta-analysis". Behavior Therapy. 28 (2): 285–305. doi:10.1016/S0005-7894(97)80048-2.
  32. Bandelow, Borwin; Sher, Leo; Bunevicius, Robertas; Hollander, Eric; Kasper, Siegfried; Zohar, Joseph; Möller, Hans-Jürgen (June 2012). "Guidelines for the pharmacological treatment of anxiety disorders, obsessive–compulsive disorder and posttraumatic stress disorder in primary care" (PDF). International Journal of Psychiatry in Clinical Practice. 16 (2): 77–84. doi:10.3109/13651501.2012.667114. PMID 22540422. S2CID 16253034. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 April 2018. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  33. 33.0 33.1 Behar, Evelyn; Dimarco, Ilyse Dobrow; Hekler, Eric B.; Mohlman, Jan; Staples, Alison M. (2009). "Current theoretical models of generalized anxiety disorder (GAD) : Conceptual review and treatment implications". Journal of Anxiety Disorders. 23 (8): 1011–23. doi:10.1016/j.janxdis.2009.07.006. PMID 19700258.
  34. Ruiz, F. J. (2010). "A review of Acceptance and Commitment Therapy (ACT) empirical evidence: Correlational, experimental psychopathology, component and outcome studies". International Journal of Psychology and Psychological Therapy. 10 (1): 125–62.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 Hoyer, Jürgen; van der Heiden, Colin; Portman, Michael E. (February 2011). "Psychotherapy for Generalized Anxiety Disorder". Psychiatric Annals. 41 (2): 87–94. doi:10.3928/00485713-20110203-07.
  36. "A Guide to Understanding Cognitive and Behavioural Psychotherapies". British Association for Behavioural and Cognitive Psychotherapies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2007. สืบค้นเมื่อ 29 May 2007.
  37. 37.0 37.1 37.2 "Generalized anxiety disorder". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 29 May 2007.
  38. Barlow, DH (2007). Clincical Handbook of Psychological Disorders (4th ed.).[ต้องการเลขหน้า]
  39. Roemer, Lizabeth; Orsillo, Susan M. (2006). "Expanding Our Conceptualization of and Treatment for Generalized Anxiety Disorder: Integrating Mindfulness/Acceptance-Based Approaches with Existing Cognitive-Behavioral Models". Clinical Psychology: Science and Practice. 9: 54–68. doi:10.1093/clipsy.9.1.54.
  40. Smout, M (2012). "Acceptance and commitment therapy - pathways for general practitioners". Australian family physician. 41 (9): 672–6. PMID 22962641.
  41. 41.0 41.1 Baldwin, David S.; Allgulander, Christer; Bandelow, Borwin; Ferre, Francisco; Pallanti, Stefano (October 2012). "An international survey of reported prescribing practice in the treatment of patients with generalised anxiety disorder". The World Journal of Biological Psychiatry. 13 (7): 510–516. doi:10.3109/15622975.2011.624548. ISSN 1814-1412. PMID 22059936. S2CID 35359537.
  42. Bech P, Lönn SL, Overø KF (2010). "Relapse prevention and residual symptoms: a closer analysis of placebo-controlled continuation studies with escitalopram in major depressive disorder, generalized anxiety disorder, social anxiety disorder, and obsessive-compulsive disorder". Journal of Clinical Psychiatry. 71 (2): 121–9. doi:10.4088/JCP.08m04749blu. PMID 19961809.
  43. Wagstaff, Antona J.; Cheer, Susan M.; Matheson, Anna J.; Ormrod, Douglas; Goa, Karen L. (2002-01-01). "Paroxetine: an update of its use in psychiatric disorders in adults". Drugs. 62 (4): 655–703. doi:10.2165/00003495-200262040-00010. ISSN 0012-6667. PMID 11893234. S2CID 195692589.
  44. "Antidepressant Medications for Children and Adolescents: Information for Parents and Caregivers". NIMH. National Institute of Mental Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  45. Barlow, DH; Durand, VM (2009). Abnormal Psychology: An Integrative Approach (5th ed.). Belmont: Wadsworth Cengage Learning. [ต้องการเลขหน้า]
  46. Durham, Rob C. (2007). "Treatment of generalized anxiety disorder". Psychiatry. 6 (5): 183–187. doi:10.1016/j.mppsy.2007.03.003.
  47. Allgulander, C; Bandelow, B; Hollander, E; Montgomery, SA; Nutt, DJ; Okasha, A; Pollack, MH; Stein, DJ; Swinson, RP; World Council Of, Anxiety (2003). "WCA recommendations for the long-term treatment of generalized anxiety disorder". CNS spectrums. 8 (8 Suppl 1): 53–61. PMID 14767398.
  48. Stewart, S.; Westra, H. (2002). "Introduction to the Special Issue on: Benzodiazepine Side-Effects: From the Bench to the Clinic". Current Pharmaceutical Design. 8 (1): 1–3. doi:10.2174/1381612023396708. PMID 11812246.
  49. Bandelow, Borwin; Wedekind, Dirk; Leon, Teresa (2007). "Pregabalin for the treatment of generalized anxiety disorder: A novel pharmacologic intervention". Expert Review of Neurotherapeutics. 7 (7): 769–81. doi:10.1586/14737175.7.7.769. PMID 17610384.
  50. Owen, R.T. (2007). "Pregabalin: Its efficacy, safety and tolerability profile in generalized anxiety". Drugs of Today. 43 (9): 601–10. doi:10.1358/dot.2007.43.9.1133188. PMID 17940637.
  51. Wensel, T. M.; Powe, K. W.; Cates, M. E. (2012). "Pregabalin for the Treatment of Generalized Anxiety Disorder". Annals of Pharmacotherapy. 46 (3): 424–9. doi:10.1345/aph.1Q405. PMID 22395254.
  52. Rif S. El-Mallakh; S. Nassir Ghaemi (2 April 2007). Bipolar Depression: A Comprehensive Guide. American Psychiatric Pub. p. 158. ISBN 978-1-58562-651-9.
  53. Stephen M. Stahl; Bret A. Moore (13 February 2013). Anxiety Disorders: A Guide for Integrating Psychopharmacology and Psychotherapy. Routledge. p. 65. ISBN 978-1-136-44588-0.
  54. Reynolds, D John; Coleman, Jamie; Aronson, Jeffrey (10 November 2011). Oxford Handbook of Practical Drug Therapy. Oxford University Press. p. 765. ISBN 978-0-19-956285-5.
  55. Moffitt, Terrie E.; Harrington, H; Caspi, A; Kim-Cohen, J; Goldberg, D; Gregory, AM; Poulton, R (2007). "Depression and Generalized Anxiety Disorder". Archives of General Psychiatry. 64 (6): 651–60. doi:10.1001/archpsyc.64.6.651. PMID 17548747.
  56. Wolitzky-Taylor, Kate B.; Castriotta, Natalie; Lenze, Eric J.; Stanley, Melinda A.; Craske, Michelle G. (2010). "Anxiety disorders in older adults: A comprehensive review". Depression and Anxiety. 27 (2): 190–211. doi:10.1002/da.20653. PMID 20099273.
  57. 57.0 57.1 Scott, EL (6 September 2011). "Anxiety Disorders With Comorbid Substance Abuse". Psychiatric Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. Smith, Joshua P.; Book, Sarah W. (2010). "Comorbidity of generalized anxiety disorder and alcohol use disorders among individuals seeking outpatient substance abuse treatment". Addictive Behaviors. 35 (1): 42–5. doi:10.1016/j.addbeh.2009.07.002. PMC 2763929. PMID 19733441.
  59. Lee, S.; Wu, J.; Ma, Y. L.; Tsang, A.; Guo, W.-J.; Sung, J. (2009). "Irritable bowel syndrome is strongly associated with generalized anxiety disorder: A community study". Alimentary Pharmacology & Therapeutics. 30 (6): 643–651. doi:10.1111/j.1365-2036.2009.04074.x. PMID 19552631.
  60. http://web.a.ebscohost.com.une.idm.oclc.org/ehost/pdfviewer/pdfviewer?sid=250bfc45-6db0-46c5-9d2a-21828b2116ea%40sessionmgr4002&vid=4&hid=4112
  61. Stephen V. Faraone, PhD; Arun R. Kunwar, MD. "ADHD in Children With Comorbid Conditions: ADHD and Anxiety". Medscape. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  62. Newman, Michelle; Przeworski, Amy; Fisher, Aaron; Borkovec, Thomas (2010). "Diagnostic Comorbidityin Adults With Generalized Anxiety Disorder: Impact of Comorbidity on Psychotherapy Outcome and Impact of Psychotherapy on Comorbidity Diagnoses". Behav Ther. 41: 59–72. doi:10.1016/j.beth.2008.12.005. PMC 2827339. PMID 20171328.
  63. 63.0 63.1 "Relating the burden of anxiety and depression to effectiveness of treatment" (PDF). World Health Organization. 2000.
  64. 64.0 64.1 Yates, William R. "Anxiety Disorders". eMedicine.
  65. Kessler, Ronald C.; Chiu, WT; Demler, O; Merikangas, KR; Walters, EE (2005). "Prevalence, Severity, and Comorbidity of 12-Month DSM-IV Disorders in the National Comorbidity Survey Replication". Archives of General Psychiatry. 62 (6): 617–27. doi:10.1001/archpsyc.62.6.617. PMC 2847357. PMID 15939839.
  66. Grant, Bridget F.; Hasin, Deborah S.; Stinson, Frederick S.; Dawson, Deborah A.; June Ruan, W.; Goldstein, Risë B.; Smith, Sharon M.; Saha, Tulshi D.; Huang, Boji (2005). "Prevalence, correlates, co-morbidity, and comparative disability of DSM-IV generalized anxiety disorder in the USA: Results from the National Epidemiologic Survey on Alcohol and Related Conditions". Psychological Medicine. 35 (12): 1747–59. doi:10.1017/S0033291705006069. PMID 16202187.
  67. Albano, Anne Marie; Chorpita, Bruce F.; Barlow, David H. (2003). "Childhood Anxiety Disorders". ใน Mash, Eric J.; Barkley, Russell A. (บ.ก.). Child Psychopathology (2nd ed.). New York: Guilford Press. pp. 279–329. ISBN 978-1-57230-609-7.
  68. Keeton, CP; Kolos, AC; Walkup, JT (2009). "Pediatric generalized anxiety disorder: epidemiology, diagnosis, and management". Paediatric Drugs. 11 (3): 171–83. doi:10.2165/00148581-200911030-00003. PMID 19445546. S2CID 39870253.
  69. Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2011). "Generalized Anxiety Disorders". Psychology (2nd ed.). New York: Worth, Incorporated. pp. 559–560.
  70. Soto, José A.; Dawson-Andoh, Nana A.; Belue, Rhonda (March 2011). "The relationship between perceived discrimination and Generalized Anxiety Disorder among African Americans, Afro Caribbeans, and non-Hispanic Whites". Journal of Anxiety Disorders. 25 (2): 258–265. doi:10.1016/j.janxdis.2010.09.011. PMC 3053120. PMID 21041059.
  71. Neal, Angela M.; Turner, Samuel M. (May 1991). "Anxiety disorders research with African Americans: Current status". Psychological Bulletin. 109 (3): 400–410. doi:10.1037/0033-2909.109.3.400. PMID 2062979.
  72. "Socioeconomic correlates of generalized anxiety disorder and major depression in primary care: The GADIS II study (Generalized Anxiety and Depression Impact Survey II)". Depression and Anxiety. 26 June 2007. doi:10.1002/da.20306.
  73. Cameron, Alasdair (2004). Crash Course Psychiatry. Elsevier Ltd. ISBN 0-7234-3340-2.
  74. Shalev, I; Moffitt, Terrie Edith; Braithwaite, A W; Danese, A; Fleming, N I; Goldman-Mellor, S; Harrington, H L; Houts, R M; Israel, S; Poulton, R; Robertson, S P; Sugden, K; Williams, B; Caspi, A; และคณะ (2014-01-14). "Internalizing disorders and leukocyte telomere erosion: a prospective study of depression, generalized anxiety disorder and post-traumatic stress disorder" (PDF). Molecular Psychiatry. 19 (11): 1163–1170. doi:10.1038/mp.2013.183. PMC 4098012. PMID 24419039. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 April 2014. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Brown, TA; O'Leary, TA; Barlow, DH (2001). Generalised anxiety disorder. In D.H. Barlow (Ed.), Clinical handbook of psychological disorders: A step-by-step treatment manual (3rd ed.). New York: Guilford Press.
  • Barlow, DH; Durand, VM (2005). Abnormal psychology: An integrative approach. Australia; Belmont, CA: Wadsworth.
  • Tyrer, Peter; Baldwin, David (2006). "Generalised anxiety disorder". The Lancet. 368 (9553): 2156–66. doi:10.1016/S0140-6736(06)69865-6. PMID 17174708.
  • Mayo Clinic - Information on diagnosis and treatment for GAD
  • WebMD - Information on symptoms and causes of GAD
  • Anxiety Disorders Association of America - Information for families, clinicians and researchers
  • Generalized Anxiety Disorder on Medium - A patient's perspective