โรคตื่นตระหนก
โรคตื่นตระหนก (อังกฤษ: panic disorder) เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะเกิดอาการตื่นตระหนกกระทันหัน (panic attack) เป็นซ้ำ ทำให้เกิดช่วงวิตกกังวลสุดขีดเข้มข้นเป็นชุดระหว่างอาการตื่นตระหนกกะทันหัน อาจรวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างสำคัญกินเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความนัยหรือความกังวลว่าจะมีอาการครั้งต่อ ๆ ไป
โรคตื่นตระหนก | |
---|---|
คนหนึ่งกำลังเรียกขวัญอีกคนที่มีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์, จิตวิทยาคลินิก |
อาการ | รู้สึกกลัว, ใจสั่น, เหงื่อแตก, สั่น, หอบ, อาการชาชั่วครู่[1][2] |
การตั้งต้น | ทันทีและกำเริบ[1] |
สาเหตุ | ไม่ทราบ[3] |
ปัจจัยเสี่ยง | ประวัติควอบครัว, การสูบบุหรี่, ความเครียด (จิตวิทยา), มีประวัติการกระทำทารุณต่อเด็ก[2] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ[2][3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคหัวใจ, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน, การใช้ยา[2][3] |
การรักษา | จิตบำบัด, ยา[3] |
ยา | ยาแก้ซึมเศร้า, เบ็นโซไดอาเซพีน, เบตาบล็อกเกอร์[1][3] |
ความชุก | 2.5% ต่อคน[4] |
โรคตื่นตระหนกมิใช่อย่างเดียวกับโรคกลัวที่โล่ง (agoraphobia) แม้ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกจำนวนมากยังเป็นโรคกลัวที่โล่งด้วย อาการตื่นตระหนกกระทันหันไม่สามารถทำนายได้ ฉะนั้นบุคคลจึงอาจเครียด วิตกกังวลหรือกังวลสงสัยว่าจะเกิดอาการครั้งถัดไปเมื่อไร โรคตื่นตระหนกอาจแยกได้เป็นภาวะทางการแพทย์ หรือภาวะเสียดุลเคมี DSM-IV-TR อธิบายโรคตื่นตระหนกและความวิตกกังวลไว้แยกกัน ขณะที่ความวิตกกังวลจะมีสิ่งกระตุ้นความเครียด (stressor) เรื้อรังนำมา ซึ่งสร้างปฏิกิริยาปานกลางซึ่งกินเวลาได้หลายวัน สัปดาห์หรือเดือน แต่อาการตื่นตระหนกเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งเกิดจากสาเหตุกระทันหันและไม่ได้คาดหมาย ระยะเวลาสั้นและอาการรุนแรงกว่ามาก อาการตื่นตระหนกกระทันหันเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการตื่นตระหนกในเยาวชนอาจเป็นทุกข์เป็นพิเศษ เพราะเด็กมีแนวโน้มเข้าใจน้อยกว่าว่าเกิดอะไรขึ้น และบิดามารดายังมีแนวโน้มประสบความทุกข์เมื่อเกิดอาการ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Anxiety Disorders". NIMH. มีนาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 American Psychiatric Association (2013), Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.), Arlington: American Psychiatric Publishing, pp. 208–217, 938, ISBN 978-0890425558
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Panic Disorder: When Fear Overwhelms". NIMH. 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
- ↑ Craske MG, Stein MB (December 2016). "Anxiety". Lancet. 388 (10063): 3048–3059. doi:10.1016/S0140-6736(16)30381-6. PMID 27349358. S2CID 208789585.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |