โพไซดอน

(เปลี่ยนทางจาก โปเซดอน)

โพไซดอน (อังกฤษ: Poseidon, ออกเสียง: /poʊˈsaɪdᵊn, pəˈsaɪdᵊn,/; กรีก: Ποσειδών, [pose͜edɔ́͜ɔn]) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker)[1] เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses)[2] พระองค์มักได้รับการพรรณาว่าเป็นบุรุษวัย 20 มีพระเกษาหยิก และมีรูปพรรณสัณฐานบึกบึนหล่อเหลา

โพไซดอน
เทพเจ้าแห่งเสน่ห์ ทรัพย์สมบัติ ทะเล แผ่นดินไหว พายุและม้า
ที่ประทับยอดเขาโอลิมปัส หรือ ทะเล
สัญลักษณ์ตรีศูล, ปลา, โลมา, ม้า และกระทิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองแอมฟิไทรที
บุตร - ธิดาธีซีอัส ไทรทัน, พอลิฟีมัส, บีลัส, อะจีนอร์, เนเลอุส, แอตลัส (มิใช่เทพไททันผู้แบกโลก)
บิดา-มารดาโครนัสและเรีย
พี่น้องเฮดีส, ดีมิเทอร์, เฮสเตีย, ฮีรา, ซูส
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในโรมันเนปจูน

แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นเทพเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นเทพเจ้าโอลิมปัสในฐานะพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกิน[3]

โฮเมอร์แต่งเพลงสวดสรรเสริญแด่โพไซดอน โพไซดอนทรงเป็นผู้พิทักษ์นครเฮเลนหลายนคร แม้พระองค์จะแพ้อะธีนาในการประชันชิงกรุงเอเธนส์ก็ตาม ส่วนในบทสนทนา Timaeus และ Critias ของเพลโตว่า เกาะแอตแลนติสเป็นพระราชอาณาเขตที่โพไซดอนทรงเลือก[4][5][6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. Modern Greek media (e.g. "The Pacific: A history full of earthquakes" Ta Nea, 2011) and scholars (e.g. Koutouzis, Vassilis เก็บถาวร 2012-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Volcanoes and Earthquakes in Troizinia) do not metaphorically refer to Poseidon but instead to Enceladus, the chief of the ancient Giants, to denote earthquakes in Greece.
  2. Burkert, Walter (1985). Greek Religion. Cambridge, MA: Harvard University Press. pp. 136–39. ISBN 0-674-36281-0.
  3. In the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias. (Pausanias viii.8.2.)
  4. The story of Atlantis เก็บถาวร 2013-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved October 02, 2012.
  5. Plato (1971). Timaeus and Critias. London, England: Penguin Books Ltd. p. 167. ISBN 9780140442618.
  6. Timaeus 24e–25a, R. G. Bury translation (Loeb Classical Library).
  7. Also it has been interpreted that Plato or someone before him in the chain of the oral or written tradition of the report accidentally changed the very similar Greek words for "bigger than" ("meson") and "between" ("mezon") – Luce, J.V. (1969). The End of Atlantis – New Light on an Old Legend. London: Thames and Hudson. p. 224.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Poseidon