เอลาม หรือ จักรวรรดิเอลาไมท์ (อังกฤษ: Elam หรือ Elamite Empire; ลิเนียร์อีลาไมต์: hatamti; อักษรรูปลิ่มเอลาไมต์: 𒁹𒄬𒆷𒁶𒋾 haltamti; ซูเมอร์: 𒉏𒆠 elam; แอกแคด: 𒉏𒈠𒆠 elamtu; ฮีบรู: עֵילָם ʿēlām; เปอร์เซียเก่า: 𐎢𐎺𐎩 hūja)[1][2] เป็นอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบัน เอลามเป็นศูนย์กลางทางตะวันตกสุดและทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบันที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่ลุ่มคูเซสสถาน (Khuzestan) และ จังหวัดอิลาม (Ilam Province) ที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เอลาม” ไปจนถึงจิรอฟท์ในจังหวัดเคอร์มาน (Kerman province) และเบอร์เนดในซาโบล (Zabol) [ต้องการอ้างอิง] และรวมทั้งบางส่วนเล็กน้อยของทางใต้ของอิรัก จักรวรรดิเอลาไมท์รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2800 ปีจนถึง 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช

เอลาม
ฮัลตัมตี
𒁹𒄬𒆷𒁶𒋾
d
แผนที่แสดงพื้นที่จักรวรรดิเอลาม (สีส้ม) และดินแดนเพื่อนบ้าน โดยแสดงพื้นที่อ่าวเปอร์เซียในยุคสัมฤทธิ์ด้วย
ชื่อภาษาท้องถิ่นElamites, Susiana
ภูมิภาคอิหร่าน, อิรักตอนใต้
สมัยก่อนกลุ่มชนอิหร่าน
ช่วงเวลา3200 – 539 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนหน้าเอลามดั้งเดิม
ถัดไปจักรวรรดิอะคีเมนิด
ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
Faravahar background
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป 637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928
จักรวรรดิซัฟฟาริยะห์ 861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187
จักรวรรดิกอร์ 1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389
จักรวรรดิข่านอิล 1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432
ราชวงศ์เตมือร์ 1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล 1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1738
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่

ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียเอลามเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในตะวันออกโบราณระหว่างยุคทองแดง (Chalcolithic) การเริ่มใช้บันทึกโดยตัวอักษรจากตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชประจวบกับประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ในสมัยเอลาไมท์โบราณ (ยุคสัมริดตอนกลาง) เอลามประกอบด้วยกลุ่มราชอาณาจักรบนที่ราบสูงอิหร่านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อันชาน และจากราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชศูนย์กลางก็ย้ายไปอยู่ที่ซูซา (Susa) บนที่ราบต่ำคูเซสสถาน วัฒนธรรมของเอลามมีบทบาทสำคัญในหมู่ชนกูเทียน (Gutian people) โดยเฉพาะในสมัยที่จักรวรรดิอคีเมนียะห์เข้ามาแทนที่และภาษาเอลาไมท์ยังคงใช้เป็นภาษาราชการ

ภาษาเอลาไมท์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาใดๆ และดูเหมือนจะเป็นภาษาอิสระเช่นภาษาสุเมเรียน แต่นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน (Elamo-Dravidian)

อ้างอิง

แก้
  1. "Elam (GN)". Oracc: The Open Richly Annotated Cuneiform Corpus.
  2. "Elamtu [ELAM] (GN)". Oracc: The Open Richly Annotated Cuneiform Corpus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-26. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.

ข้อมูล

แก้
  • Quintana Cifuentes, E., "Historia de Elam el vecino mesopotámico", Murcia, 1997. Estudios Orientales. IPOA-Murcia.
  • Quintana Cifuentes, E., "Textos y Fuentes para el estudio del Elam", Murcia, 2000. Estudios Orientales. IPOA-Murcia.
  • Quintana Cifuentes, E., La Lengua Elamita (Irán pre-persa), Madrid, 2010. Gram Ediciones. ISBN 978-84-88519-17-7
  • Khačikjan, Margaret: The Elamite Language, Documenta Asiana IV, Consiglio Nazionale delle Ricerche Istituto per gli Studi Micenei ed Egeo-Anatolici, 1998 ISBN 88-87345-01-5
  • Persians: Masters of Empire, Time-Life Books, Alexandria, Virginia (1995) ISBN 0-8094-9104-4
  • Pittman, Holly (1984). Art of the Bronze Age: southeastern Iran, western Central Asia, and the Indus Valley. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 9780870993657.
  • D. T. Potts, "Elamites and Kassites in the Persian Gulf",Journal of Near Eastern Studies, vol. 65, no. 2, pp. 111–119, (April 2006)
  • Potts, Daniel T. (2016) [1999]. The Archaeology of Elam: Formation and Transformation of an Ancient Iranian State. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-09469-7.
  • McAlpin, David W., Proto Elamo Dravidian: The Evidence and Its Implications, American Philosophy Society (1981) ISBN 0-87169-713-0
  • Vallat, François. 2010. "The History of Elam". The Circle of Ancient Iranian Studies (CAIS)
  • Álvarez-Mon, Javier; Basello, Gian Pietro; Wicks, Yasmina, บ.ก. (2018). The Elamite World. Routledge Worlds. Oxford: Routledge. ISBN 978-1-138-99989-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

29°54′N 52°24′E / 29.900°N 52.400°E / 29.900; 52.400