อ่าวเปอร์เซีย
อ่าวเปอร์เซีย (อังกฤษ: Persian Gulf; เปอร์เซีย: خلیج فارس, อักษรโรมัน: xalij-e fârs, แปลตรงตัว 'อ่าวฟอร์ส', ออกเสียง: [xæliːdʒe fɒːɾs]) บางครั้งเรียกว่า อ่าวอาหรับ (อาหรับ: اَلْخَلِيْجُ ٱلْعَرَبِيُّ, อักษรโรมัน: Al-Khalīj al-ˁArabī) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตก พื้นที่น้ำส่วนนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมของมหาสมุทรอินเดียที่ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่านกับคาบสมุทรอาหรับ[1] โดยเชื่อมกับอ่าวโอมานทางตะวันออกด้วยช่องแคบฮอร์มุซ และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบก่อให้เกิดชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือ
อ่าวเปอร์เซีย | |
---|---|
อ่าวเปอร์เซียมองจากอวกาศ | |
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันตก |
พิกัด | 26°N 52°E / 26°N 52°E |
ชนิด | อ่าว |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | อ่าวโอมาน |
ประเทศในลุ่มน้ำ | อิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน (ดินแดนส่วนแยกมุซันดัม) |
ช่วงยาวที่สุด | 989 กิโลเมตร (615 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 251,000 ตารางกิโลเมตร (97,000 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 50 เมตร (160 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 90 เมตร (300 ฟุต) |
อ่าวเปอร์เซียมีพื้นที่ประมงมากมาย หินโสโครกที่กว้างขวาง (ส่วนใหญ่เป็นหินและมีพืดหินปะการัง) และหอยมุกจำนวนมาก แต่ระบบนิเวศถูกทำลายจากการทำอุตสาหกรรมและน้ำมันรั่วไหล
อ่าวเปอร์เซียอยู่ในแอ่งน้ำอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งมีต้นกำเนิดในมหายุคซีโนโซอิกและมีความเกี่ยวข้องกับการมุดตัวของแผ่นอาหรับลงในเทือกเขาซากรอส[2] แอ่งน้ำนี้เกิดน้ำท่วมเมื่อ 15,000 ปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจากการล่าถอยของธารน้ำแข็งในสมัยโฮโลซีน[3]
ชื่อ
แก้ในสมัยก่อน อ่าวเปอร์เซียมีชื่อเรียกหลายชื่อ อัสซีเรียเรียกพื้นที่นี้ว่า "ทะเลขม"[4] ใน 550 ปีก่อนคริสต์ศักรราช จักรวรรดิอะคีเมนิดจัดตั้งจักรวรรดิดบราณแห่งแรกในเปอร์ซิส (ปารร์ส หรือ ฟอร์สในสมัยใหม่) ในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงอิหร่าน[5] ด้วยเหตุนี้ ในแหล่งข้อมูลกรีกระบุแหล่งน้ำที่ล้อมรอบจังหวัดนี้จึงได้ชื่อว่า "อ่าวเปอร์เซีย"[6] ในหนังสือของNearchusที่รู้จักกันในชื่อ Indikê (300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำว่า "Persikon kolpos" ที่กล่าวถึงหลายครั้ง มีความหมายว่า "อ่าวเปอร์เซีย"[7]
เมื่อพิจารณาถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของอ่าวเปอร์เซีย อาร์โนลด์ วิลสันระบุไว้ในหนังสิอที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1928 ว่า "ไม่มีร่องน้ำใดที่มีความสำคัญมากไปกว่าอ่าวเปอร์เซียต่อนักธรณีวิทยา นักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ พ่อค้า นักการเมือง นักทัศนาจร และนักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน ร่องน้ำนี้ที่แยกที่ราบสูงอิหร่านออกจากแผ่นอาหรับ ทำให้เกิดอัตลักษณ์อิหร่านตั้งแต่ 2200 ปีเป็นอย่างน้อย"[1][8]
ข้อพิพาทเรื่องชื่อ
แก้พื้นที่น้ำในอดีตและในระดับนานาชาติมีชื่อเรียกว่า อ่าวเปอร์เซีย[9][10][11] รัฐบาลอาหรับเรียกบริเวณนี้เป็นอ่าวอาหรับ หรือ The Gulf[12] และบางประเทศและองค์กรเริ่มใช้คำว่าอ่าวอาหรับ[13] ทางองค์การอุทกศาสตร์สากลเรียกพื้นที่นี้ว่า อ่าวอิหร่าน (อ่าวเปอร์เซีย)[14]
ข้อพิพาทนี้เริ่มพบบ่อยขึ้นนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960[15] ความเป็นศัตรูระหว่างอิหร่านและรัฐอาหรับบางประเทศ ควบคู่กับการก่อตัวของอุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับและชาตินิยมอาหรับ ทำให้ชื่อ "อ่าวอาหรับ" กลายเป็นชื่อที่นิยมในประเทศอาหรับส่วนใหญ่[16][17]
น้ำมันและแก๊ส
แก้อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก [ต้องการอ้างอิง]และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[18][19][20]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 United Nations Group of Experts on Geographical Names Working Paper No. 61 เก็บถาวร 2012-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23rd Session, Vienna, 28 March – 4 April 2006. accessed October 9, 2010
- ↑ A Brief Tectonic History of the Arabian basin. Retrieved from the website: http://www.sepmstrata.org/page.aspx?pageid=133 เก็บถาวร 2018-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "A hot survivor". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-14.
- ↑ Bagg, Ariel M. (1 March 2020). "The unconquerable country: the Babylonian marshes in the Neo-Assyrian sources". Water History. 12 (1): 57–73. doi:10.1007/s12685-020-00245-5. S2CID 216032694.
- ↑ Touraj Daryaee (2003). "The Persian Gulf Trade in Late Antiquity". Journal of World History. 14 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2013.
- ↑ "Documents on the Persian Gulf's name the eternal heritage ancient time by Dr.Mohammad Ajam".
- ↑ Nearchus (2013). "The Voyage of Nearchus from the Indus to the Euphrates". The Voyage of Nearchus. 1 (1).
- ↑ "Tehran Times article". 29 April 2020.
- ↑ Central Intelligence Agency (CIA). "The World Fact Book". สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ nationsonline.org. "Political Map of Iran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ United Nations. "United Nations Cartographic Section (Middle East Map)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2017-06-29.
- ↑ Niusha Boghrati, Omission of 'Persian Gulf' Name Angers Iran เก็บถาวร 2007-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Press.com, December 28, 2006
- ↑ Zraick, Karen (January 12, 2016). "Persian (or Arabian) Gulf Is Caught in the Middle of Regional Rivalries". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 9, 2022.
- ↑ "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
- ↑ Eilts, Hermann (Fall 1980). "Security Considerations in the Persian Gulf". International Security. 5 (2): 79–113. doi:10.2307/2538446. JSTOR 2538446. S2CID 154527123.
- ↑ Abedin, Mahan (December 4, 2004). "All at Sea over 'the Gulf'". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Bosworth, C. Edmund (1980). "The Nomenclature of the Persian Gulf". ใน Cottrell, Alvin J. (บ.ก.). The Persian Gulf States: A General Survey. Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University Press. pp. xvii–xxxvi.
Not until the early 1960s does a major new development occur with the adoption by the Arab states bordering on the Persian Gulf of the expression al-Khalij al-Arabi as weapon in the psychological war with Iran for political influence in the Persian Gulf; but the story of these events belongs to a subsequent chapter on modern political and diplomatic history of the Persian Gulf.
[1] (p. xxxiii.){{cite book}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|quote=
- ↑ Central Intelligence Agency (CIA). "The World Fact Book". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ nationsonline.org. "Political Map of Iran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ United Nations. "United Nations Cartographic Section (Middle East Map)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2017-06-29.