จักรวรรดิซิลูซิด
จักรวรรดิซิลูซิด (อังกฤษ: Seleucid Empire; กรีกโบราณ: Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν, อักษรโรมัน: Basileía tōn Seleukidōn) เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312–63 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองหลวงคือซิลูเซียและแอนติออก จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดยซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ หลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอาของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล การแบ่งดินแดนนี้ทำให้ซิลูคัสได้ครอบครองบาบิโลเนีย ก่อนจะขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนจรดแม่น้ำสินธุ จักรวรรดิซิลูซิดในช่วงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่อานาโตเลียกลาง ลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน[7]
จักรวรรดิซิลูซิด Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν Basileía tōn Seleukidōn | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
312 ปีก่อน ค.ศ.–63 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
จักรวรรดิซิลูซิด (สีน้ำเงิน) ใน 281 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนการปลงพระชนม์ของซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ | |||||||||||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||
บาซิเลวส์ | |||||||||||||||||||
• 305–281 ปีก่อน ค.ศ. | ซิลูคัสที่ 1 (แรก) | ||||||||||||||||||
• 65–63 ปีก่อน ค.ศ. | ฟิลิปที่ 2 (สุดท้าย) | ||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยเฮลเลนิสต์ | ||||||||||||||||||
312 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
301 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
192–188 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
188 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
167–160 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
63 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||
303 ปีก่อน ค.ศ.[6] | 3,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,200,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
301 ปีก่อน ค.ศ.[6] | 3,900,000 ตารางกิโลเมตร (1,500,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
240 ปีก่อน ค.ศ.[6] | 2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
175 ปีก่อน ค.ศ.[6] | 800,000 ตารางกิโลเมตร (310,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
100 ปีก่อน ค.ศ.[6] | 100,000 ตารางกิโลเมตร (39,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
|
เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตอย่างกะทันหันใน 323 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัส หนึ่งในไดแอโดไค (ผู้ใกล้ชิดอเล็กซานเดอร์) ให้การสนับสนุนเพอร์ดิกคัส ผู้สำเร็จราชการแทนพีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา ลูกพี่ลูกน้องของอเล็กซานเดอร์ผู้ไม่สมประกอบซึ่งได้รับเลือกเป็นรัชทายาท การขึ้นสู่อำนาจของเพอร์ดิกคัสทำให้เกิดความขัดแย้งกับไดแอโดไคคนอื่น ๆ จนเกิดเป็นสงครามที่กินเวลายาวนานเกือบ 50 ปี[8] ต่อมาเมื่อเพอร์ดิกคัสถูกสังหารโดยบันทึกบางแห่งระบุว่าซิลูคัสอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[9] ซิลูคัสได้รับตำแหน่งเซแทร็ปแห่งบาบิโลน[10] และร่วมมือกับแอนติโกนัสที่ 1 มอน็อพธาลมอส หนึ่งในไดแอโดไคผู้มีอำนาจสูงสุด แต่ภายหลังความสัมพันธ์ของทั้งคู่ตกต่ำจนซิลูคัสต้องลี้ภัยไปที่อียิปต์ก่อนจะกลับมาทำสงครามกับแอนติโกนัส และสร้างฐานอำนาจในบาบิโลน มีเดียและเอลาม[11] ใน 305 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสขยายดินแดนไปทางตะวันออกจนปะทะกับกองทัพของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะแห่งราชวงศ์โมริยะในอินเดีย ทั้งสองทำสงครามกันนาน 2 ปี ก่อนซิลูคัสจะยอมหย่าศึกเพื่อยกทัพไปช่วยคาสแซนเดอร์และไลซีมาคัสรบกับแอนติโกนัสในยุทธการที่อิปซัส ชัยชนะในยุทธการที่อิปซัสทำให้จักรวรรดิมั่นคงยิ่งขึ้น 281 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสรบชนะไลซีมาคัสในยุทธการที่คอรูเปเดียม ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรไดแอโดไคทั้งหมด[12]
จักรวรรดิซิลูซิดดำรงต่อไปจนกระทั่งขัดแย้งกับสาธารณรัฐโรมัน กลายเป็นสงครามโรมัน–ซิลูซิดใน 192 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ บวกกับสงครามกับจักรวรรดิพาร์เธีย การลุกฮือของชาวยิว และความขัดแย้งภายใน ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดอ่อนแอลง[13] กลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิซิลูซิดถูกพิชิตโดยจักรพรรดิมิทริเดทีสที่ 1 แห่งพาร์เธีย ในขณะที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจักรวรรดิแยกออกไปเป็นราชอาณาจักรกรีก-แบคเตรีย อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ราชวงศ์ซิลูซิดยังคงปกครองดินแดนที่หลงเหลืออยู่ในซีเรีย จนกระทั่งถูกสมเด็จพระเจ้าไทกราเนสมหาราชโจมตีใน 83 ปีก่อนคริสตกาล และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโรมโดยปอมปีย์ใน 63 ปีก่อนคริสตกาล[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cohen, Getzel M; The Hellenistic Settlements in Syria, the Red Sea Basin, and North Africa, pp. 13.
- ↑ Lynette G. Mitchell; Every Inch a King: Comparative Studies on Kings and Kingship in the Ancient and Medieval Worlds, page 123.
- ↑ Grainger 2020, pp. 130, 143.
- ↑ 4.0 4.1 Richard N. Frye, The History of Ancient Iran, (Ballantyne Ltd, 1984), 164.
- ↑ Julye Bidmead, The Akitu Festival: Religious Continuity and Royal Legitimation in Mesopotamia, (Gorgias Press, 2004), 143.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D.". Social Science History. 3 (3/4): 121. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
- ↑ Gill, N. S. (August 15, 2018). "The Seleucids and Their Dynasty". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ Wasson, Donald L. (July 14, 2016). "Wars of the Diadochi". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ Grainger 1990, pp. 20–24
- ↑ Grainger 1990, pp. 21–29
- ↑ "The beginning of the Babylonian war". Livius.org. April 17, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ "Seleucid Empire". New World Encyclopedia. August 27, 2015. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ "Seleucid Empire". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ "Seleucids". Livius.org. April 21, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรวรรดิซิลูซิด
- "Seleucid Empire". Ancient History Encyclopedia.