เบ-ลอ กุน (นามแรกเกิด เบ-ลอ โกฮ์น; 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 1938) เป็นนักการเมืองและนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ชาวฮังการี ผู้ซึ่งปกครองสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีใน ค.ศ. 1919 หลังจากเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรันทซ์โยเซ็ฟ ณ เมืองซิลาจแชฮ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศโรมาเนีย) กุนได้ทำงานเป็นนักข่าว ต่อมาเขาได้รับใช้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกจับกุมตัวโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย ใน ค.ศ. 1916 หลังจากนั้นเขาถูกส่งตัวไปยังค่ายเชลยศึกบริเวณเทือกเขายูรัล ในช่วงเวลานี้เองที่กุนได้เปิดรับแนวคิดของคอมมิวนิสต์ และใน ค.ศ. 1918 เขาได้ก่อตั้งกลุ่มฮังการีของพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียในมอสโก ทำให้เขาเป็นเพื่อนสนิทกับวลาดีมีร์ เลนิน และร่วมต่อสู้กับเหล่าบอลเชวิคในสงครามกลางเมืองรัสเซีย

เบ-ลอ กุน
เบ-ลอ กุน ใน ค.ศ. 1919
กรรมการราษฎร
ฝ่ายกิจการต่างประเทศโซเวียตฮังการี
ดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม – 1 สิงหาคม 1919
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ โยแฌ็ฟ โปกาญและ
เปแตร์ อาโก็ชโตน
ก่อนหน้าแฟแร็นตส์ ฮอร์แรร์
ถัดไปเปแตร์ อาโก็ชโตน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886(1886-02-20)
แลล ราชอาณาจักรฮังการี
(ปัจจุบันคือฮอด็อด โรมาเนีย)
เสียชีวิต29 สิงหาคม ค.ศ. 1938(1938-08-29) (52 ปี)[1]
สนามยิงเป้าคอมมูนาร์คา มอสโก รัสเซียโซเวียต สหภาพโซเวียต
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมฮังการี (MSZDP)
พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (KMP)
คู่สมรสอิเรน กาล
บุตรมิกโลช
อากแนช
บุพการีชอมู โกฮ์น
โรซอ โกล์ดแบร์แกร์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟรันทซ์โยเซ็ฟ
วิชาชีพนักการเมือง นักข่าว

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 กุนได้เดินทางกลับฮังการีด้วยการสนับสนุนจากโซเวียต และจัดตั้งพรรคอมมิวนิสต์ฮังการี ด้วยการใช้กลวิธีต่าง ๆ ของเลนิน ทำให้เขาสามารถก่อกวนรัฐบาลของมิฮาย กาโรยี ได้อย่างดี และกุนยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากแม้ตัวเขาจะถูกคุมขังอยู่ก็ตาม หลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กุนจึงกระทำการรัฐประหารได้สำเร็จ เขาได้ก่อตั้งรัฐบาลผสมคอมมิวนิสต์-ประชาธิปไตยสังคมนิยม และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี แม้ว่าผู้นำทางนิตินัยของสาธารณรัฐจะเป็นประธานาธิบดีซานโดร์ กอร์บอยี แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของกุน ซึ่งเป็นกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการต่างประเทศ เขายังคงติดต่อกับเลนินผ่านทางวิทยุโทรเลขและได้รับคำสั่งและคำแนะนำโดยตรงจากเครมลิน[2]

ระบอบการปกครองใหม่ที่พึ่งก่อตั้งขึ้นได้ล่มสลายภายในสี่เดือน เนื่องจากการรุกรานของโรมาเนีย และความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งของหมู่ประชาชนชาวฮังการี กุนได้หลบหนีไปยังสหภาพโซเวียต ซึ่งเขาได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่องค์การคอมมิวนิสต์สากล ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการปฏิวัติไครเมีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 เขาจัดตั้งและเข้าไปมีส่วนร่วมในความน่าสะพรึงกลัวแดงในไครเมีย (ค.ศ. 1920–1921) ต่อมาเขาได้มีส่วนร่วมกับการจราจลเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 ในเยอรมนี แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ระหว่างการกวาดล้างใหญ่ช่วงปลายทศวรรษ 1930 กุนถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกทรอตสกี เขาถูกจับกุม สอบปากคำ และถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัด ร่างของเขาได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งโดยผู้นำโซเวียตใน ค.ศ. 1956 หลังจากการเสียชีวิตของโจเซฟ สตาลิน พร้อมกับการล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน ภายใต้คำสั่งการของนีกีตา ครุชชอฟ

อ้างอิง

แก้
  1. "Victims of Political Terror in the USSR - Kun Bela Morisovich". Memorial with Commissioner on Human Rights in the Russian Federation, Russian United Democratic Part "Yabloko" and Swiss Agency for Development and Cooperation (ภาษารัสเซีย). 2007.
  2. Arthur Asa Berger (2017). The Great Globe Itself: A Preface to World Affairs. Routledge. p. 85. ISBN 9781351481861.


หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้