การกวาดล้างใหญ่
การกวาดล้างใหญ่ (อังกฤษ: Great Purge) ความน่าสะพรึงกลัวครั้งใหญ่ (Great Terror) หรือ ปี 37 (Year of 37) เป็นการกดขี่ทางการเมืองในสหภาพโซเวียตช่วง ค.ศ. 1936–1938[7] โดยเป็นการกดขี่อย่างใหญ่หลวงต่อชาวนาที่ร่ำรวยซึ่งเรียกว่าคูลัค การกวาดล้างทางชาติพันธุ์ต่อชนกลุ่มน้อย การกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์และข้าราชการ การกวาดล้างกลุ่มผู้นำกองทัพแดง การเฝ้าระวังโดยตำรวจเป็นวงกว้าง การสงสัยบุคคลว่าก่อวินาศกรรม การต่อต้านการปฏิวัติ การจำคุก และการประหารโดยพลการ[8] เฉพาะการกดขี่แบบสตาลินที่ดำเนินในช่วง ค.ศ. 1937―1938 นั้น นักประวัติศาสตร์ประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 950,000 คนไปจนถึง 1.2 ล้านคน[1]
การกวาดล้างใหญ่ | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การกวาดล้างพรรคบอลเชวิค | |
ผู้คนในวินนิตเซียกำลังค้นหาศพญาติที่ตกเป็นเหยื่อในการสังหารหมู่ที่วินนิตเซีย ค.ศ. 1943 | |
สถานที่ | สหภาพโซเวียต |
วันที่ | ค.ศ. 1936–1938 |
เป้าหมาย | ศัตรูทางการเมือง, ลัทธิทรอตสกี, ผู้นำกองทัพแดง, คูลัค, ชนกลุ่มน้อย, ผู้นำและผู้ประท้วงทางศาสนา |
ประเภท | |
ตาย | 950,000 ถึง 1.2 ล้านคน[1] (สูงสุดโดยประมาณทับซ้อนกับผู้ที่เสียชีวิตในระบบกูลักอย่างน้อย 136,520 คน[2]) |
ผู้ก่อเหตุ | โจเซฟ สตาลิน, พลาธิการกิจการภายในของประชาชน (เกนริค ยาโกดา, นีโคไล เยจอฟ, ลัฟเรนตีย์ เบรียา, อีวาน เซรอฟ และคนอื่น ๆ), วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ, อันเดรย์ วืยชินสกี, ลาซาร์ คากาโนวิช, คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ, โรเบิร์ต เอเค และคนอื่น ๆ |
เหตุจูงใจ | การกำจัดศัตรูทางการเมือง,[3] การรวมอำนาจ,[4] ความกลัวต่อการปฏิวัติซ้อน,[5] ความกลัวต่อการแทรกซึมในพรรค[6] |
ลักษณะหลัก ๆ ของการกวาดล้างใหญ่นี้ คือ การกวาดล้างชนชั้นคูลัคที่เรียกปฏิบัติการคูลัค และการกำหนดเป้าหมายเป็นชนกลุ่มน้อยในชาติ โดย 9 ใน 10 ของคำพิพากษาประหารชีวิต และ 3 ใน 4 ของคำพิพากษาให้จองจำไว้ในค่ายแรงงานเกณฑ์แบบกูลัก เป็นผลมาจากปฏิบัติการทั้งสองนี้
ในโลกตะวันตก คำว่า "ความน่าสะพรึงกลัวครั้งใหญ่" เป็นที่นิยมขึ้นเพราะหนังสือชื่อนั้นของโรเบิร์ต คอนเควสต์ ออกเผยแพร่ใน ค.ศ. 1968 ชื่อหนังสือดังกล่าวอิงมาจากชื่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่เรียกสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว[9]
บทนำ
แก้เหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งเป็นการที่โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต เบียดเบียนผู้คนที่ตนมองว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิวัติและเป็นศัตรูของประชาชนนั้น เรียกอย่างเป็นทางการว่า การกดขี่ นักประวัติศาสตร์อภิปรายกันว่า สาเหตุของการกดขี่มีหลายประการ เป็นต้นว่า โรคจิตหวาดระแวงของสตาลินเอง หรือความต้องการของสตาลินที่จะกำจัดผู้เห็นต่างออกไปจากพรรคคอมมิวนิสต์หรือที่จะควบรวมอำนาจ การกดขี่นี้เริ่มขึ้นในกองทัพแดง และวิธีกดขี่ที่พัฒนาขึ้นในกองทัพนั้นก็เริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างรวดเร็วแก่การกดขี่ในที่อื่น[10] การกดขี่ส่วนที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนทั่วไปนั้น คือ การกดขี่กลุ่มผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงข้าราชการและผู้นำกองทัพซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ แต่การกดขี่ดังกล่าวยังกระทบต่อภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมด้วย เป็นตนว่า ปัญญาชน ชนชั้นรากหญ้าที่มีฐานะหรือปล่อยกู้ซึ่งเรียกคูลัค และผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ[11]
ปฏิบัติการที่พลาธิการกิจการภายในของประชาชนดำเนินการนั้น ส่งผลต่อชนกลุ่มน้อยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นประชาคม "แนวที่ห้า" องค์การทหารโปแลนด์ออกคำอธิบายอย่างเป็นทางการว่า การกดขี่ดังกล่าวเป็นไปเพื่อขจัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดวินาศกรรมและจารกรรมจากต่างชาติ แม้ว่าภายหลังผู้ถูกกดขี่จะรวมถึงพลเมืองโปแลนด์ทั่ว ๆ ไปเองก็ตาม
ตามสุนทรพจน์ของ นิกิตา ครุสชอฟ ชื่อ "ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน" เมื่อ ค.ศ. 1956 และตามคำอธิบายของโรเบิร์ต คอนเควสต์ นักประวัติศาสตร์ ข้อกล่าวหาจำนวนมากที่ใช้ในการกดขี่ โดยเฉพาะที่ฟ้องในการพิจารณาคดีมอสโควนั้น มาจากการบังคับให้รับสารภาพ ซึ่งมักได้โดยการทรมาน[12] และโดยการตีความมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายอาญาโซเวียตรัสเซีย (ซึ่งว่าด้วยความผิดฐานต่อต้านการปฏิวัติ) อย่างหละหลวม นอกจากนี้ ยังมักนำกระบวนพิจารณาแบบรวบรัดของคณะตุลาการที่เรียกทรอยคามาใช้แทนขั้นตอนที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายโซเวียตขณะนั้น[13]
ผู้เคราะห์ร้ายหลายหมื่นคนถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางการเมืองหลายรูปแบบ เช่น จารกรรม การสร้างความเสียหาย วินาศกรรม การปลุกปั่นให้ต่อต้านโซเวียต และการสมคบกันเพื่อตระเตรียมการลุกฮือหรือรัฐประหาร ในไม่ช้าผู้เคราะห์ร้ายมักถูกประหารด้วยการยิงเสียให้ตายหรือส่งไปจองจำไว้ในค่ายแรงงานเกณฑ์แบบกูลัก หลายคนตายลงในค่ายแรงงานเกณฑ์เพราะความอดอยาก โรค การเสี่ยงชีวิต และการถูกใช้แรงงานเกินควร นอกจากนี้ มีการทดลองใช้วิธีการอื่น ๆ มากำจัดผู้เคราะห์ร้าย เช่น ในมอสโคว มีการใช้รถก๊าซฆ่าผู้เคราะห์ร้ายขณะขนส่งเขาเหล่านั้นไปยังลานประหารที่เรียกแนวยิงบูโทโว[note 1]
การกวาดล้างใหญ่นี้เริ่มขึ้นในช่วงที่ Genrikh Yagoda เป็นหัวหน้าพลาธิการกิจการภายในฯ แต่รุนแรงถึงขีดสุดในช่วงกันยายน ค.ศ. 1936 ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1938 ที่นีโคไล เยจอฟ เป็นหัวหน้าพลาธิการฯ การกวาดล้างดำเนินไปตามคำสั่งที่เรียกว่าแนวปฏิบัติทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วได้แก่คำสั่งโดยตรงของคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีสตาลินเป็นประธาน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Ellman, Michael (2002). "Soviet Repression Statistics: Some Comments" (PDF). Europe-Asia Studies. 54 (7): 1151–1172. doi:10.1080/0966813022000017177. S2CID 43510161.
The best estimate that can currently be made of the number of repression deaths in 1937–38 is the range 950,000–1.2 million, i.e. about a million. This is the estimate which should be used by historians, teachers and journalists concerned with twentieth century Russian—and world—history
- ↑ WHEATCROFT, STEPHEN G. (1999). "Victims of Stalinism and the Soviet Secret Police: The Comparability and Reliability of the Archival DataÐ Not the Last Word" (PDF). Europe-Asia Studies. 51 (2): 339. doi:10.1080/09668139999056.
- ↑ Conquest 2008, p. 53.
- ↑ Brett Homkes (2004). "Certainty, Probability, and Stalin's Great Party Purge". McNair Scholars Journal. 8 (1): 13.
- ↑ Harris 2017, p. 16.
- ↑ James Harris, "Encircled by Enemies: Stalin's Perceptions of the Capitalist World, 1918–1941," Journal of Strategic Studies 30#3 [2007]: 513–545.
- ↑ Gellately 2007.
- ↑ Figes 2007, pp. 227–315.
- ↑ Helen Rappaport (1999). Joseph Stalin: A Biographical Companion. ABC-CLIO. p. 110. ISBN 978-1576070840. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Whitewood, Peter. 2015. "The Purge of the Red Army and the Soviet Mass Operations, 1937–38." Slavonic & East European Review 93(2)) 286–314.
- ↑ Conquest 2008, pp. 250, 257–8.
- ↑ Conquest 2008, p. 121 which cites his secret speech.
- ↑ Conquest 2008, p. 286.
อ่านเพิ่ม
แก้- Andrew, Christopher; Mitrokhin, Vasili (2000) [1999]. The Sword and the Shield: The Mitrokhin Archive and the Secret History of the KGB. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-00312-9.
- A. Artizov, Yu. Sigachev, I. Shevchuk, V. Khlopov under editorship of acad. A. N. Yakovlev. Rehabilitation: As It Happened. Documents of the CPSU CC Presidium and Other Materials. Vol. 2, February 1956–Early 1980s. Moscow, 2003.
- Chase, William J. (2001). Enemies within the Gates?: The Comintern and the Stalinist Repression, 1934–1939. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-08242-5.
- Colton, Timothy J. (1998). Moscow: Governing the Socialist Metropolis. Belknap Press. ISBN 978-0-674-58749-6.
- Conquest, Robert (1973) [1968]. The Great Terror: Stalin's Purge of the Thirties (Revised ed.). London: Macmillan. ISBN 978-0-02-527560-7.
- —— (1987). Stalin and the Kirov Murder. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-505579-5.
- —— (2008) [1990]. The Great Terror: A Reassessment. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-531700-8.
- Courtois, Stéphane (1999). The Black Book of Communism: Crimes, Terror, Repression. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-07608-2.
- Figes, Orlando (2007). The Whisperers: Private Life in Stalin's Russia. London: Allen Lane. ISBN 978-0-7139-9702-6.
- Gellately, Robert (2007). Lenin, Stalin, and Hitler: The Age of Social Catastrophe. Knopf. ISBN 978-1-4000-4005-6.
- Harris, James (2017). The Great Fear: Stalin's Terror of the 1930s. Oxford University Press. ISBN 978-0198797869.
- Haynes, John Earl; Klehr, Harvey (2003). In Denial: Historians, Communism, and Espionage. Encounter Books. ISBN 978-1-893554-72-6.
- Hill, Alexander (2017), The Red Army and the Second World War, Cambridge University Press, ISBN 978-1-1070-2079-5.
- Hoffman, David L., บ.ก. (2003). Stalinism: The Essential Readings. Oxford: Blackwell Publishers. ISBN 978-0-631-22890-5.
- Ilic, Melanie, บ.ก. (2006). Stalin's Terror Revisited. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
- Karlsson, Klas-Göran; Schoenhals, Michael (2008). Crimes against humanity under communist regimes – Research review (PDF). Forum for Living History. ISBN 978-91-977487-2-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-24.
- Koestler, Arthur (1940). Darkness at Noon.
- Kuromiya, Hiroaki (2007). The Voices of the Dead: Stalin's Great Terror in the 1930s. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-12389-0.
- Lyons, Eugene (1937). Assignment in Utopia. Harcourt Brace and Company.
- McLoughlin, Barry; McDermott, Kevin (2002). Stalin's Terror: High Politics and Mass Repression in the Soviet Union. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-0119-4.
- Merridale, Catherine (2002). Night of Stone: Death and Memory in Twentieth-Century Russia. London: Penguin. ISBN 978-0-14-200063-2.
- Naimark, Norman M. (2010). Stalin's Genocides (Human Rights and Crimes against Humanity). Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-14784-0.
- Parrish, Michael (1996). The Lesser Terror: Soviet state security, 1939–1953. Westport, CT: Praeger Press. ISBN 978-0-275-95113-9.
- Rogovin, Vadim (1996). Two Lectures: Stalin's Great Terror: Origins and Consequences—Leon Trotsky and the Fate of Marxism in the USSR. Mehring books. ISBN 978-0-929087-83-2.
- —— (1998). 1937: Stalin's Year of Terror. Mehring Books. ISBN 978-0-929087-77-1.
- Rosefielde, Steven (2009). Red Holocaust. London: Routledge. ISBN 978-0-415-77757-5.
- Snyder, Timothy (2005). Sketches from a Secret War: A Polish Artist's Mission to Liberate Soviet Ukraine. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-10670-1.
- —— (2010). Bloodlands: Europe Between Hitler and Stalin. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-00239-9 – โดยทาง Google Books.[ลิงก์เสีย]
- Solzhenitsyn, Aleksandr I. (1973). The Gulag Archipelago, 1918–1956: In Three Volumes. New York: Harper and Row.
- Thurston, Robert (1998) [1996]. Life and Terror in Stalin's Russia, 1934–1941. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-07442-0.
- Tzouliadis, Tim (2008). The Forsaken: An American Tragedy in Stalin's Russia. London: Penguin. ISBN 978-1-59420-168-4.
- Watt, Donald Cameron. "Who plotted against whom? Stalin's purge of the soviet high command revisited." Journal of Soviet Military Studies 3.1 (1990): 46–65.
- Wheatcroft, Stephen (1996). "The Scale and Nature of German and Soviet Repression and Mass Killings, 1930–45" (PDF). Europe-Asia Studies. 48 (8): 1319–1353. doi:10.1080/09668139608412415. JSTOR 152781.
- —— (2000). "The Scale and Nature of Stalinist Repression and its Demographic Significance: On Comments by Keep and Conquest" (PDF). Europe-Asia Studies. 52 (6): 1143–1159. doi:10.1080/09668130050143860. PMID 19326595. S2CID 205667754.
- Whitewood, Peter. The Red Army and the Great Terror: Stalin's Purge of the Soviet Military (2015)
- Whitewood, Peter. "The Purge of the Red Army and the Soviet Mass Operations, 1937–38." Slavonic & East European Review 93.2 (2015): 286–314. online
- —— "Subversion in the Red Army and the Military Purge of 1937–1938." Europe-Asia Studies 67.1 (2015): 102–122.
- —— "In the shadow of the war: Bolshevik perceptions of polish subversive and military threats to the Soviet Union, 1920–32." Journal of Strategic Studies (2019): 1-24.
- Yakovlev, Alexander N., บ.ก. (1991). Реабилитация. Политические процессы 30-50-х годов [Rehabilitation: Political Trials of the 1930s–50s]. Moscow: ROSSPEN.
- —— (2004) [2002]. A Century of Violence in Soviet Russia. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-10322-9.
ภาพยนตร์
แก้- Pultz, David, dir. 1997. Eternal Memory: Voices from the Great Terror [81:00, documentary film]. Narrated by Meryl Streep. USA.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Great Purge
- The Case of Bukharin—Transcript of Nikolai Bukharin's testimonies and last plea; from "The Case of the Anti-Soviet Block of Rights and Trotskyites", Red Star Press, 1973, pages 369–439, 767–779
- Actual video footage from Third Moscow Trial ที่ยูทูบ
- Nicolas Werth Case Study: The NKVD Mass Secret Operation n° 00447 (August 1937 – November 1938)
- "Documenting the Death Toll: Research into the Mass Murder of Foreigners in Moscow, 1937–38" by Barry McLoughlin, American Historical Association, 1999
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน