เทอร์มินอล 21 อโศก

(เปลี่ยนทางจาก เทอร์มินัล 21 อโศก)

เทอร์มินอล 21 อโศก เป็นศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ ภายใต้เครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ร่วมกับสยาม รีเทล ดีเวลอปเมนท์ เจ้าของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ โดยพัฒนาที่ดินบริเวณทางแยกอโศกมนตรีที่เคยเป็นห้องแสดงรถยนต์วอลโวมาก่อนให้เป็นศูนย์การค้าและห้องอยู่อาศัยที่ให้บริการในลักษณะเดียวกับโรงแรม (serviced apartment) ครบวงจร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีอโศก และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน สถานีสุขุมวิท ตัวโครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า 9 ชั้น และห้องอยู่อาศัยที่ให้บริการในลักษณะเดียวกับโรงแรม 20 ชั้น โดดเด่นด้วยกลยุทธ์แทงค์น้ำ ศูนย์อาหารราคาถูก[1] นับเป็นแม็กเน็ตสำคัญ ทำให้คนใช้บริหารห้างมากขึ้น[2]

เทอร์มินอล 21 อโศก
เทอร์มินอล 21 อโศก logo
แผนที่
ที่ตั้ง2, 88 ซอยสุขุมวิท 19 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
พิกัด13°44′14″N 100°33′40″E / 13.7371°N 100.5610°E / 13.7371; 100.5610
เปิดให้บริการ11 ตุลาคม พ.ศ. 2554; 13 ปีก่อน (2554-10-11)
ผู้บริหารงานทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์
พื้นที่ชั้นขายปลีก145,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น9 (ศูนย์การค้า)
20 (โรงแรมและห้องอยู่อาศัยที่ให้บริการในลักษณะเดียวกับโรงแรม)
ที่จอดรถ1,100 คัน
ขนส่งมวลชน อโศก
สุขุมวิท
รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 25, 40, 136, 185, 501, 508, 511, 3-1, 3-8, 3-11, 3-53, 3-54, 3-55
เว็บไซต์www.terminal21.co.th

ประวัติ

แก้

เทอมินัล อโศก เป็นที่ดิน 9 ไร่ บริเวณซอยสุขุมวิท 19 เดิมเป็นโชว์รถ วอลโว่ โดย อนันต์ อัศวโภคิน ซึ่งเคยพัฒนาแฟชั่นไอส์แลนด์ ในนามสยามรีเทล[3]เป็นประธาน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ร่วมกับ GIC จากสิงค์โปร์ เช่าที่จากตระกูลหวั่งหลี ซี่งเป็นผู้พัฒนาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต[4] มีกำหนดการเช่า 30 ปี[5] เริ่มก่อสร้างปี 2549-2550 แล้วเสร็จปี 2554[6] เงินลงทุน 6,000 ล้านบาท[7] เทอมินัล 21 ตัวเลข 21 นั้นเอามาจากชื่อซอยสุขุมวิท 21 ( ถนนอโศกมนตรี)

การจัดสรรพื้นที่

แก้

โครงการเทอร์มินอล 21 อโศก ออกแบบโดยยึดแนวคิด "จุดหมายปลายทางแห่งการช็อปปิ้ง" (The Destination for Inspiration) แต่ละชั้นจะตกแต่งเป็นบรรยากาศของเมืองสำคัญของโลก ได้แก่ อิสตันบูล, โรม, ลอนดอน, โตเกียว, แซนแฟรนซิสโก และลอสแอนเจลิส โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้

  • กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาแรกนอกห้างสรรพสินค้ากลุ่มเดอะมอลล์
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 8 โรงภาพยนตร์
  • ฟิตเนส เฟิรส์ท
  • สปอร์ตเวิลด์
  • ศูนย์อาหาร เพียร์ 21
  • โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยท์ สุขุมวิท เทอร์มินอล 21

นอกจากนี้ยังมีทางเชื่อมไปยังสถานีอโศกของรถไฟฟ้าบีทีเอส และสถานีสุขุมวิทของรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน อีกด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. ""เจ้าสัวอนันต์" เจ้าของเทอร์มินอล 21 ไม่เก็บค่าเช่า ยอมขาดทุน ย้ำทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องได้กำไรตั้งแต่วันแรก". thousandreason. 2020-02-18.
  2. "แก่นของการมองต่าง แปลงขาดทุนเป็นกำไร เปิดโอกาสธุรกิจเดินหน้าเหนือกว่าได้?". www.thairath.co.th. 2021-05-22.
  3. https://www.matichonweekly.com/column/article_275602 ศัลยา ประชาชาติ : พลิกปูม… เทอร์มินอล 21 โคราช อาณาจักรค้าปลีก “อนันต์ อัศวโภคิน”
  4. "สรุปแบรนด์ Terminal 21 และ Grande Center Point ที่ LH เป็นคนปั้น". www.brandcase.co. 2022-10-29.
  5. "Investor - News". investor.lh.co.th.[ลิงก์เสีย]
  6. "Terminal 21 | 35 Storey | Asoke". SkyscraperCity Forum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-12-18.
  7. Buyers, Home. "บิ๊กมูฟ อนันต์ อัศวโภคิน ปั้น Terminal 21 ค้าปลีกแนวใหม่ค่าย แลนด์ & เฮ้าส์". www.home.co.th/news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-10. สืบค้นเมื่อ 2023-11-10.