สถานีสุขุมวิท
สถานีสุขุมวิท (อังกฤษ: Sukhumvit Station, รหัส BL22) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกอโศกมนตรี เป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีอโศก
สุขุมวิท BL22 Sukhumvit | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนอโศกมนตรี (ซอยสุขุมวิท 21) เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°44′19″N 100°33′41″E / 13.738524°N 100.561446°E | ||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | อโศก | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | BL22 | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | ||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||
2564 | 9,627,729 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
นอกจากนี้ สถานีสุขุมวิทยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการมากที่สุดของสาย[1]
ที่ตั้ง
แก้ถนนอโศกมนตรี หน้าตลาดอโศก ด้านทิศเหนือของสี่แยกอโศกมนตรี จุดบรรจบกับถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 และถนนอโศกมนตรี (ถนนสุขุมวิท 21) ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี
แก้FB สะพานลอย |
- | อโศก และเทอร์มินัล 21 อโศก |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท |
B1 ทางเดินลอดถนน |
ทางเดินลอดถนน | ทางออก 1-3, ศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B3 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
รายละเอียดของสถานี
แก้- สัญลักษณ์ของสถานี
ตราสัญลักษณ์เป็นรูป กาแล ซึ่งสื่อความหมายถึง “เรือนคำเที่ยง” ซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ในสยามสมาคม ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบกาแลที่ดีที่สุดในกรุงเทพ และใช้สีน้ำเงินเพื่อแสดงถึงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟลอยฟ้า [2]
- รูปแบบของสถานี
เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 199 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึกจากผิวดิน 17 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)
- ทางเข้า-ออก
- 1 แอชตันอโศก, สยามสมาคม, ถนนอโศกมนตรี
- 2 อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21, ซอยคาวบอย, ซอยสุขุมวิท 23 (ประสานมิตร)
- 3 อโศก และเทอร์มินัล 21 (อาคารเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อน), ตลาดอโศก, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท
-
ทางเข้า-ออกที่ 3 เชื่อมต่อกับสถานีอโศก
-
อาคารเชื่อมต่อสถานีอโศก พร้อมบันไดเลื่อน
- การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย
- 1 ชั้นศูนย์การค้าเมโทรมอลล์
- 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
- 3 ชั้นชานชาลา
- สิ่งอำนวยความสะดวก
- ลิฟท์สำหรับผู้พิการ
- มีพื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า 1 ด้านข้างสยามสมาคม และมีที่จอดรถเพิ่มเติมภายในอาคารคอนโดมิเนียมแอชตัน อโศก โดยปัจจุบันที่จอดรถได้ปิดให้บริการชั่วคราวจนกว่าโครงการแอชตัน อโศก ก่อสร้างแล้วเสร็จ
ศูนย์การค้าภายในสถานี
แก้ภายในสถานีสุขุมวิท ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ เปิดในสถานีรถไฟฟ้ามหานครเป็นที่แรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ที่ชั้นบนสุดของสถานีโดยเป็นแนวเส้นทางเดินระหว่างทางเข้า-ออกที่ 1 ด้านทิศเหนือ และทางออกที่ 2-3 ด้านทิศใต้
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[3] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05:53 | 23:56 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 06:02 | 23:56 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ | 05:59 | 23:42 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:58 | 23:42 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22:56 |
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
แก้- รถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เชื่อมต่อที่ สถานีอโศก
- รถโดยสารประจำทาง
ถนนรัชดาภิเษก
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
2 | 3 (กปด.13) |
สําโรง | อโศกมนตรี | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | 'รถเสริมอโศก |
2 | อู่เมกาบางนา | ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
185 | 1 (กปด.31) |
อู่รังสิต | อู่คลองเตย | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
136 | 4 (กปด.14) |
ท่าเรือคลองเตย | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
- ถนนสุขุมวิท ด้านนานา สาย 2(ขสมก.) 23 25 40(4-39) 48(3-11) 501 508 511 3-53 2(3-1)(TSB) 3-54
- ถนนรัชดาภิเษก สาย 136 185 2(เมกา บางนา-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) 71(1-39)(TSB) 3-54 3-55
ถนนอโศกมนตรี
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
185 | 1 (กปด.31) |
อู่รังสิต | อู่คลองเตย | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |
136 | 4 (กปด.14) |
ท่าเรือคลองเตย | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
- ถนนอโศกมนตรี สาย 38(3-8) 136 185 3-53 3-55
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- คริสตจักรวัฒนา
- โรงเรียนนานาชาติใหม่แห่งประเทศไทย (N.I.S.T.)
- ซอยคาวบอย
- สถานเอกอัครราชทูตเลบานอนประจำประเทศไทย (อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์)
- สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย (ซอยประสานมิตร)
- สวนเบญจกิตติ
- ศูนย์การค้า
- เทอร์มินัล 21
- โรบินสัน สุขุมวิท
- ไทม์สแควร์
- สุขุมวิท พลาซ่า
- ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาสุขุมวิท 16
- อาคารสำนักงาน
- อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21
- อาคารเอกซ์เชนจ์ ทาวเวอร์
- อาคารไพรม์
- อาคารชิโนไทย
- อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์
- อาคารรัชต์ภาคย์
- อาคารโอเชี่ยน ทาวเวอร์ 1 และ 2
- อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส
- อาคารบีบี
- อาคารจัสมิน
- อาคารบ้านฉาง กลาสเฮ้าส์
- อาคาร ไทม์สแควร์ ทาวเวอร์
- อาคารซีทีไอ
- อาคารเลครัชดา ทาวเวอร์
- โรงแรม
- โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
- โรงแรมซิตี้ลอดจ์ ซอย 19
- โรงแรมเวสต์ทิน แกรนด์ สุขุมวิท
- โรงแรมแมนฮัตตัน
- โรงแรมไทปัน
- โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ แกรนด์ สุขุมวิท
- โรงแรมซิทาดินส์ สุขุมวิท 16 และสุขุมวิท 23
- โรงแรมวินด์เซอร์สวีสท์ กรุงเทพฯ
- โรงแรมแรมแบรนท์
- โรงแรมซอมเมอร์เซ็ท เลคพอยท์
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.otp.go.th/images/stories/PDF/2559/3_March/mrt_160359.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม เก็บถาวร 2022-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สถานีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล | |
---|---|
ท่าพระ–บางซื่อ | |
บางซื่อ–หัวลำโพง | |
หัวลำโพง–หลักสอง | |
หลักสอง–พุทธมณฑล สาย 4 (โครงการ) |