แฟชั่นไอส์แลนด์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แฟชั่นไอส์แลนด์ (อังกฤษ: Fashion Island) และ เดอะพรอมานาด (อังกฤษ: The Promenade) เป็นโครงการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมถนนรามอินทรากิโลเมตรที่ 10 ในพื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดยบริษัท สยาม รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ที่ตั้ง | 587,589, 589/7-9 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°49′33″N 100°40′45″E / 13.82595°N 100.67922°E |
เปิดให้บริการ | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (แฟชั่นไอส์แลนด์) 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เดอะพรอมานาด) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 350,000 ตารางเมตร (แฟชั่นไอซ์แลนด์) 119,100 ตารางเมตร (เดอะพรอมานาด) |
จำนวนชั้น | 4 (แฟชั่นไอส์แลนด์) 5 (เดอะพรอมเมนาด) |
ขนส่งมวลชน | วงแหวนรามอินทรา |
เว็บไซต์ | www |
การจัดสรรพื้นที่
แก้แฟชั่นไอส์แลนด์ ออกแบบอาคารในท้องเรื่อง "สถานีกลาง" (Grand Station) โดยแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็นสถานีต่าง ๆ และเดอะพรอมานาด ออกแบบอาคารในท้องเรื่อง "หมู่บ้านอังกฤษ" (English Village) เน้นสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษร่วมสมัย โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
แฟชั่นไอส์แลนด์
แก้- เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท แฟชั่นไอส์แลนด์ และร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
- ท็อปส์
- บีทูเอส
- ซูเปอร์สปอร์ต
- ซูเปอร์สปอร์ต แฟคทอรี เอาท์เล็ต
- เพาเวอร์บาย
- ออฟฟิศเมท
- บิ๊กซี สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
- ดอง ดอง ดองกิ
- โฮมโปร สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ อาคารบี (ย้ายมาจากอาคารศูนย์การค้าเดิม)
- เดอะเพาเวอร์ บาย โฮมโปร
- ไบค์ เอ็กซ์เพรส
- สปอร์ตเวิลด์
- ศูนย์อาหารฟู้ด ไอส์แลนด์
- สวนสนุก ฮาร์เบอร์แลนด์
- เดอะริงก์ ไอซ์ สเก็ต
- โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 7 โรงภาพยนตร์
- ศูนย์ประชุมไอส์แลนด์ ฮอลล์
เดอะพรอมานาด
แก้- กูร์เมต์ มาร์เก็ต
- บีทูเอส
- พรอม การ์เดน
- พรอม มาร์เก็ต
- สถานออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์สท์
- คิดส์ซูนา
- โรงภาพยนตร์พรอมานาด ซีนีเพล็กซ์ ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ GLS (Giant Laser Screen) และคิดส์ซีนีมา อย่างละ 1 โรง
พื้นที่จัดสรรในอดีต
แก้- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (เดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของอาคาร ปิดกิจการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เพื่อปรับปรุงเป็น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์) แต่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งแทนโรบินสันเดิม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
- โรงภาพยนตร์อีจีวี สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (ปรับปรุงเป็น เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แฟชั่นไอส์แลนด์)
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (ปิดกิจการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เพื่อปรับปรุงเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล)
การคมนาคม
แก้- รถไฟฟ้าสายสีชมพู: สถานีวงแหวนรามอินทรา
- รถโดยสารประจำทาง
- รถเมล์มีสาย 60(สวนสยาม-คลองคูเมืองเดิม) 26(มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(เกาะพหลโยธิน)) 73(ผ่านเฉพาะขากลับ สวนสยาม) (สวนสยาม-สะพานพุทธ) 501(มีนบุรี-หัวลำโพง) 178(สวนสยาม-นวลจันทร์-ลาดพร้าว (วนซ้าย)) (สวนสยาม-ลาดพร้าว-นวลจันทร์ (วนขวา)) 71(ขสมก.)(สวนสยาม-วัดธาตุทอง) 197(ขสมก.)(มีนบุรี-หทัยราษฎร์-คู้บอน (วนซ้าย)) (มีนบุรี-คู้บอน-หทัยราษฎร์ (วนขวา)) 36ก(สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(เกาะดินแดง)) 520(ตลาดมีนบุรี-ตลาดไท) 96(มีนบุรี-หมอชิต 2) 150(ตลาดปากเกร็ด-ตลาดมีนบุรี) 26(ขสมก.)(เอกมัย)(วิ่งเฉพาะ เช้า-เย็น) (มีนบุรี-ซอยเจียรสวัสดิ์) 71(1-39)(TSB)(สวนสยาม-โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์) 197(1-52)(TSB)(มีนบุรี-หทัยราษฎร์-คู้บอน (วนซ้าย)) (มีนบุรี-คู้บอน-หทัยราษฎร์ (วนขวา)) 1-62(ตลาดเก่ามีนบุรี-กระทรวงพาณิขย์) 26A(1-77)(TSB)(ตลาดเก่ามีนบุรี-สนามกีฬาการท่าเรือ) 3-32(ผ่านเฉพาะไป สวนสยาม) (พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ-สวนสยาม) 1-64(ซาฟารีเวิลด์-นวลจันทร์ (วนซ้าย)(วนขวา)) 559(S3)(ผ่านเฉพาะขาไป สนามบินสุวรรณภูมิ) (หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี-สนามบินสุวรรณภูมิ)
- รถตู้มีสาย ต.22(มาร์เก็ตพาเหรด มีนบุรี-ท่าเรือปากเกร็ด)
เหตุเพลิงไหม้รถลอยฟ้า พ.ศ. 2545
แก้รถลอยฟ้า | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
เจ้าของ | บริษัท เมจิคเวิลด์ จำกัด[1] |
ที่ตั้ง | แฟชั่นไอส์แลนด์ |
ประเภท | โมโนเรลแบบแขวน |
จำนวนสาย | 1 |
จำนวนสถานี | 4 |
การให้บริการ | |
เลิกให้บริการ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2545[2] |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 1.4 km (0.9 mi) |
รถลอยฟ้าในสวนสนุกแฟชั่นไอส์แลนด์[1] หรือ รถไฟลอยฟ้า คือโมโนเรลแบบแขวนซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเล่นภายในสวนสนุกภายในแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งเคยเปิดให้บริการในอดีต[2][1][3] ดูแลโดยบริษัท เมจิคเวิลด์ จำกัด[1] ความยาว 1.4 กิโลเมตร และมี 4 สถานี[4] โดยขบวนรถจะเคลื่อนตัวไปตามรางที่คดเคี้ยวสำหรับนั่งชมภายในศูนย์การค้า ทั้งขบวนมีทั้งหมด 5 ตู้ แต่ละตู้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 4 คน[2]
กระทั่งวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้เกิดเหตุไฟไหม้เครื่องเล่นดังกล่าว[3] ตัวรถลอยฟ้าไม่มีระบบตัดไฟและภายในห้องโดยสารไม่ได้บุฉนวนกันไฟ[4] ทำให้มีผู้โดยสารซึ่งเป็นนักเรียนหญิงสองคนถูกไฟคลอกเสียชีวิต[2][1][3] และมีผู้บาดเจ็บสองคนเป็นเพศชายและหญิงอย่างละหนึ่งคนเพราะกระโดดมาจากรถลอยฟ้าด้วยอารามตกใจ[2]
หลังเกิดเหตุ หน่วยงานจากรัฐบาลได้เข้ามาตรวจสอบที่เกิดเหตุ แล้วสรุปได้ว่ารถลอยฟ้าไม่มีความปลอดภัย โครงสร้างทำจากวัสดุติดไฟง่ายทั้งหมด หากจะขออนุญาตเปิดทำการต่อต้องแก้ปัญหาอีกหลายจุด ทางแฟชั่นไอส์แลนด์จึงยุติการบริการรถลอยฟ้าทันที[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ไฟไหม้รถลอยฟ้าในสวนสนุกแฟชั่นไอส์แลนด์ คลอกเด็กเสียชีวิต 2 ศพ". สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). 28 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "รวมที่สุด! ฝันร้ายเที่ยวสวนสนุก ที่จบลงแสนเศร้า". ไทยรัฐออนไลน์. 12 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "โศกนาฏกรรมเด็ก ต้องป้องกัน มิใช่(รอ)ล้อมคอก!". ผู้จัดการออนไลน์. 14 มกราคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 The Monorail Society (2002-06-26). "Bangkok amusement monorail fire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-18. สืบค้นเมื่อ 2008-10-12.