คเณศจตุรถี
คเนศจตุรถี (ไอเอเอสที: Gaṇēśa Chaturthī), หรือ วินายกะจตุรถี (Vināyaka Chaturthī) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองการประสูติของพระพิฆเนศ ตรงกับช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน พิธีกรรมเด่นของคเณศจตุรถีคือการสร้างเทวรูปพระพิฆเนศด้วยดินเหนียวแล้วประดิษฐานในบ้านเรือน อาคาร องค์กร หรือในสถานที่สาธารณะ บนฐาน pandal (ฐานเวทีชั่วคราว) ที่สูงใหญ่ พิธีกรรมประกอบด้วยการสวดบทสวดในพระเวทหรือคัมภีร์ฮินดูอื่น ๆ และการ vrata (อดอาหาร)[2] การแจกจ่ายประสาทะ (Prasāda) จากพิธีสวดจากบน pandal สู่ชุมชน รวมถึงขนมอย่าง ขนมโมทกะ ซึ่งเชื่อว่าเป็นขนมทรงโปรดของพระพิฆเนศ[3][4] เทศกาลสิ้นสุดในวันที่ 10 นับจากวันที่เริ่มเทศกาล ซึ่งศาสนิกชนจะนำเทวรูปพระพิฆเนศที่ปั้นจากดินมาตั้งในสถานที่สาธารณะ โดยมีขบวนดนตรีและขับสวดกันไปยังแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเล ก่อจะทำพิธีนำเทวรูปดินนั้นแช่หรือละลายลงแม่น้ำ เทศกาลคเนศจตุรถีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจัดในเมืองมุมไบ ซึ่งมีการนำเทวรูปแช่ละลายลงน้ำมากถึง 150,000 องค์ในมุมไบทุก ๆ ปี[5] เชื่อกันว่าเทวรูปดินและพระพิฆเนศที่ได้ละลายไปในสายน้ำนั้นจะกลับไปยังเขาไกรลาศ เคียงคู่กับพระศิวะ และ พระปารวตี[2][6] เทศกาลนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองพระพิฆเนศซึ่งชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ และการขจัดอุปสรรค รวมทั้งเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาและความฉลาดเฉลียว[7][8] เทศกาลนี้มีการเฉลิมฉลองทั่วอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฏระ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐกัว, รัฐเตลังคานา, รัฐคุชราต และ รัฐฉัตตีสครห์[2][9] และพบฉลองกันภายในบ้านเรือนส่วนบุคคลในรัฐทมิฬนาฑู, รัฐอานธรประเทศ[10] ส่วนในบรรดาชาวฮินดูโพ้นทะเลก็มีการจัดในประเทศต่าง ๆ ทั้งเนปาล ออสเตรเลีย, แคนาดา, มาเลเซีย, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, สุริเนม, ส่วนอื่น ๆ ของแคริบเบียน, ฟิจิ, มอริเชียส, แอฟริกาใต้,[11] สหรัฐ, และในทวีปยุโรป[6][12] (ในเกาะเตเนริเฟ)[13]
คเณศจตุรถี | |
---|---|
พิธีกรรมอัญเชิญเทวรูปดินเหนียวของพระพิฆเนศลงละลายในอ่าวมุมไบ ส่วนหนึ่งของเทศกาลจตุรถีในมุมไบ ประเทศอินเดีย | |
ชื่อทางการ | จตุรถี/วิไนยกะ จตุรถี |
ชื่ออื่น | จวัตถี, Chouthi, Ganeshotsav |
จัดขึ้นโดย | ศาสนิกชนฮินดู |
ประเภท | ศาสนาฮินดู |
การเฉลิมฉลอง | การขับบทสวดฮินดู และพิธีนำเทวรูปพระพิฆเนศละลายลงแหล่งน้ำ |
เริ่ม | ภัทรบท Shukla จตุรถี |
สิ้นสุด | 11 วันหลังการเริ่มเทศกาล |
วันที่ | ภัทรบท (Bhadrapada) คือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน |
วันที่ในปี 2023 | 19 กันยายน[1] |
วันที่ในปี 2024 | 7 กันยายน[1] |
ความถี่ | รายปี |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtad
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Ganesh Chaturthi: Hindu Festival, Encyclopædia Britannica (2014)
- ↑ Darra Goldstein (2015). The Oxford Companion to Sugar and Sweets. Oxford University Press. pp. 82, 254, 458. ISBN 978-0-19-931361-7.
- ↑ K. T. Achaya (2001). A Historical Dictionary of Indian Food. Oxford University Press. pp. 68–69, 132. ISBN 978-0-19-565868-2.
- ↑ "Ganesh Chaturthi".
- ↑ 6.0 6.1 Patrick Taylor; Frederick I. Case (2013). The Encyclopedia of Caribbean Religions. University of Illinois Press. p. 332. ISBN 978-0-252-09433-0.
- ↑ Heras 1972, p. 58.
- ↑ Getty 1936, p. 5.
- ↑ Lawrence A. Babb (1975). The Divine Hierarchy: Popular Hinduism in Central India. Columbia University Press. pp. 62–63. ISBN 978-0-231-08387-4.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRoy2005p178
- ↑ Ramesh Dutt Ramdoyal (1990). Festivals of Mauritius. Editions de l'Océan Indien. pp. 21–22.
- ↑ "Festivals, Cultural Events and Public Holidays in Mauritius". Mauritius Tourism Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2012. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
- ↑ "Ganesh Chaturthi - CONCURSO FOTOGRÁFICO: MIGRACIONES INTERNACIONALES Y FRONTERAS". investigacion.cchs.csic.es.