เจียง ไคเชก

นักการเมืองและผู้นำทหารชาวจีน (ค.ศ. 1887–1975)
(เปลี่ยนทางจาก เจียงไคเช็ก)

เจียง ไคเชก (อักษรโรมัน: Chiang Kai-shek; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตามภาษาจีนมาตรฐาน คือ เจี่ยง จงเจิ้ง (蔣中正) หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) เป็นชาวจีนที่เป็นนักการเมืองฝ่ายชาตินิยม นักปฏิวัติ และผู้นำทหารที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1975 ครั้งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1949 ต่อมาที่เกาะไต้หวันจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

เจียง ไคเชก
蔣中正
蔣介石
เจียง ไคเชกในปี ค.ศ. 1943
ประธานรัฐบาลจีนชาตินิยม
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 1928 – 15 ธันวาคม 1931
หัวหน้ารัฐบาลถาน หยานไข่
ซ่ง จื่อเหวิน
ก่อนหน้ากู้ เหวย์จฺวิน (รักษาการ)
ถัดไปหลิน เซิน
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 1943 – 20 พฤษภาคม 1948
รักษาการตั้งแต่ 1 สิงหาคม 1943 จนถึง 10 ตุลาคม 1943
หัวหน้ารัฐบาลซ่ง จื่อเหวิน
ก่อนหน้าหลิน เซิน
ถัดไปเขาเอง (ในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน)
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 1948 – 21 มกราคม 1949
หัวหน้ารัฐบาลจาง ฉฺวิน
เวิง เหวินฮ่าว
ซุน เคอ
รองประธานาธิบดีหลี่ จงเหริน
ก่อนหน้าเขาเอง (ในฐานะประธานรัฐบาลจีนชาตินิยม)
ถัดไปหลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 1950 – 5 เมษายน 1975
หัวหน้ารัฐบาลหยาน ซีชาน
เฉิน เฉิง
ยฺหวี หงจฺวิน
หยาน เจียก้าน
เจี่ยง จิงกั๋ว
รองประธานาธิบดีหลี่ จงเหริน
เฉิน เฉิง
หยาน เจียก้าน
ก่อนหน้าหลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ถัดไปหยาน เจียก้าน
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
4 ธันวาคม 1930 – 15 ธันวาคม 1931
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าซ่ง จื่อเหวิน
ถัดไปเฉิน หมิงชู
ดำรงตำแหน่ง
7 ธันวาคม 1935 – 1 มกราคม 1938
ประธานาธิบดีหลิน เซิน
ก่อนหน้าวาง จิงเว่ย์
ถัดไปข่ง เสียงซี
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤศจิกายน 1939 – 31 พฤษภาคม 1945
ประธานาธิบดีหลิน เซิน
ก่อนหน้าข่ง เสียงซี
ถัดไปซ่ง จื่อเหวิน
รักษาการนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 1947 – 18 เมษายน 1947
ประธานาธิบดีเขาเอง
ก่อนหน้าซ่ง จื่อเหวิน
ถัดไปจาง ฉฺวิน
ประธานพรรคก๊กมินตั๋ง
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤษภาคม 1936 – 1 เมษายน 1938
ก่อนหน้าหู ฮั่นหมิน
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม 1926 – 11 มีนาคม 1927
ก่อนหน้าจาง เหรินเจี๋ย
ถัดไปอู๋ จื้อฮุย และ หลี่ ฉือเฉิง
ผู้อำนวยการใหญ่พรรคก๊กมินตั๋ง
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน 1938 – 5 เมษายน 1975
ก่อนหน้าหู ฮั่นหมิน
ถัดไปเจี่ยง จิงกั๋ว (ในฐานะประธานพรรคก๊กมินตั่ง)
ประธานคณะกรรมการกิจการทหาร
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม 1931 – 31 พฤษภาคม 1946
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ตุลาคม ค.ศ. 1887(1887-10-31)
เฟิงหัว เจ้อเจียง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต5 เมษายน ค.ศ. 1975(1975-04-05) (87 ปี)
ไทเป ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน
ศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์ (สายเมทอดิสต์)[1]
พรรคการเมืองพรรคก๊กมินตั๋ง
คู่สมรสซ่ง เหม่ย์หลิง
บุตรเจี่ยง จิงกั๋ว
เจี๋ยง เหว่ย์กั๋ว
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยทหารบกแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
อาชีพทหาร (จอมพล),
นักการเมือง
รางวัลเครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งชาติ, เครื่องอิสริยาภรณ์ตะวันฉาย ฟ้าใส, ชั้นที่ 1 เครื่องอิสริยาภรณ์คนโทศักดิ์สิทธิ์, ลีเจียนออฟเมอริต
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐจีน
สังกัด กองทัพบก
ประจำการ1911–1975
ยศ จอมพลสูงสุด (特級上將)
ผ่านศึกการปฏิวัติซินไฮ่, การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ, สงครามจีน-ธิเบต, กบฎคูมูล, วิกฤติการณ์โซเวียตในซินเจียง, สงครามกลางเมืองจีน, สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง, Kuomintang Islamic Insurgency in China (1950–1958)

เขาเกิดในมณฑลเจ๊เกี๋ยง (เจ้อเจียง) เจียงเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) และเป็นนายทหารระดับยศร้อยโทของดร.ซุน ยัตเซ็นในการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลเป่ย์หยางและรวมชาติจีนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยความช่วยเหลือจากโซเวียตและคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC)) เจียงได้จัดตั้งกองทัพใหม่ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมกวางตุ้งของดร.ซุน และหัวหน้าโรงเรียนการทหารหวงผู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (จากที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักกันคือ จอมพลสูงสุด) เขานำการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 ถึง 1928 ก่อนที่จะเอาชนะกลุ่มพันธมิตรขุนศึกต่าง ๆ และรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมใหม่ ครึ่งทางของการทัพ ความเป็นพันธมิตรของพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แตกหักกันและเจียงได้ทำการปราบปรามคอมมิวนิสต์ภายในพรรค ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งในที่สุดเขาได้ประสบความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1949

ในฐานะที่เป็นผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนในทศวรรษหนานจิง เจียงพยายามที่จะรักษาความสมดุลที่ยากลำบากระหว่างการปรับปรุงจีนให้มีความทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ทุ่มเททรัพยากรเพื่อปกป้องประเทศชาติจากภัยคุกคามจากญี่ปุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงได้พยายามหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันก็ได้ทำสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์จีนต่อไป เขาได้ถูกจับตัวในอุบัติการณ์ซีอานและจำเป็นต้องจัดตั้งแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ระดมพลทหารจีนสำหรับสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เป็นเวลาแปดปีที่เขานำสงครามต่อต้านกับศัตรูที่มีความได้เปรียบที่เหนือกว่ามาก ส่วนใหญ่มาจากเมืองหลวงฉงชิ่งในยามสงคราม ในฐานะผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญ เจียงได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ในการประชุมไคโรเพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับการยอมจำนนของญี่ปุ่น ไม่นานหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เขาก็ได้เริ่มทำสงครามกลางเมืองอีกครั้งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำโดยเหมา เจ๋อตง ฝ่ายชาตินิยมของเจียงส่วนใหญ่ได้ประสบความพ่ายแพ้ในการรบแตกหักไม่กี่ครั้งในปี ค.ศ. 1948

ในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลและกองทัพของเจียงได้หลบหนีไปยังไต้หวันซึ่งเจียงได้ประกาศบังคับใช้กฎอัยการศึกและปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมืองในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงการปฏิรูปสังคมและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เจียงได้รับชัยชนะการเลือกตั้งถึงห้าครั้งในระยะเวลาหกปีในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และเป็นอธิบดีทั่วไปของพรรคก๊กมินตั๋งจนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรม สามปีในวาระที่ห้าในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีและเพียงหนึ่งปีก่อนที่เหมาจะถึงแก่อสัญกรรมเช่นกัน

หนึ่งในประมุขแห่งรัฐที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 20 เจียงเป็นผู้ปกครองที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งที่ยาวนานที่สุดในจีน เป็นเวลายาวนานถึง 46 ปี เช่นเดียวกับเหมา เขาได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ได้มีการโต้เถียงมากที่สุด ผู้ที่สนับสนุนเขาต่างได้ยกย่องเขาถึงการมีบทบาทสำคัญในการรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งและเป็นผู้นำจีนต่อต้านญี่ปุ่น รวมทั้งการต่อต้านการรุกรานของโซเวียต-คอมมิวนิสต์ ผู้กล่าวร้ายและนักวิจารณ์ต่างประณามเขาว่าเป็นเผด็จการที่ด้านหน้าของระบอบลัทธิอำนาจนิยมที่ได้ทำการปราบปรามฝ่ายศัตรูทางการเมืองอย่างไร้ความปราณี

ประวัติ

แก้

วัยเด็ก

แก้

เจียงไคเชกเกิดที่เมืองเฟิงหัว มณฑลเจ้อเจียง ห่างจากเมืองท่าทางตะวันออกของเมืองหนิงโปไปเป็นระยะทาง 30 ไมล์ ในวัยเด็กเจียงมีชื่อเริ่มแรกว่า "จูไท่" ครอบครัวของเจียงมีฐานะที่ดีได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนในเมือง บิดาของเจียง เจียง จ้าวกง () และมารดา หวัง ไคหยู่ () ทั้งคู่เป็นครอบครัวที่ทำการค้าเกลือและใบชา

เจียงมีบุคคลิกที่ซุกซนโกรธง่ายและหัวรั้น ในวัย 3 ขวบ เขาได้ทดลองจวกตะเกียบแหย่ลงลำคอด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าตะเกียบจะลงไปได้ลึกเท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายมันก็ติดค้างและแม่ของเขาได้เรียกให้ผู้คนละแวกบ้านมาช่วยกันเอาตะเกียบออกด้วยความยากลำบาก

ในบันทึกของเจียง เขาเขียนพรรณนาถึงมารดาของเขาในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของลัทธิขงจื้อ เพราะมารดาของเขามีอิทธิพลอย่างมากในวัยเด็ก เขาได้เติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมารดา มารดาของเจียงได้อบรมสั่งสอนให้เขาเติบโตมามีความเป็นสุภาพบุรุษอีกทั้งยังสอนถึงหลักคุณธรรมแบบจีนโบราณ เมื่อเจียงสูญเสียบิดาเมื่อเขามีอายุได้ 9 ปี ครอบครัวของเจียงมีเพียงมารดาที่ทำหน้าที่พยุงฐานะของครอบครัว มารดาของเจียงได้ทำงานหนักประหยัดอดออมและเสียสละอย่างมากเพื่อให้เจียงได้เล่าเรียนหนังสือ ในภายหลังเจียงได้ตระหนักมากขึ้นถึงประเด็นครอบครัวของเขาในวัยเด็ก ขณะที่กล่าวคำปราศรัยให้แก่สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งในปี ค.ศ. 1945 ว่า

ในฐานะที่ทุกคนรับรู้ ในตอนที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กในครอบครัวที่แสนยากลำบาก ปราศจากการดูแลคุ้มครอง หลังบิดาของข้าพเจ้าตาย มารดาของข้าพเจ้าได้เปิดเผยเรื่องราวการเอาเปรียบที่เลวร้ายจากเหล่าเพื่อนบ้านที่ล้วนเห็นแก่ตัวและพวกผู้ดีท้องถิ่นอันธพาล ความพยายามของเธอในการต่อสู้กับเหล่าครอบครัวที่คิดร้ายเหล่านี้คือ การเลี้ยงดูอบรมลูกของเธอให้เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่มีจิตวิญญาณในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ข้าพเจ้ารู้สึกว่าในตลอดช่วงชีวิตวัยเด็ก มารดาของข้าพเจ้าและตัวข้าพเจ้าได้ร่วมต่อสู้ดิ้นรนอย่างปราศจากความช่วยเหลือและโดดเดี่ยว พวกเรานั้นโดดเดี่ยว ไม่มีความช่วยเหลือที่เป็นไปได้ที่พวกเราจะมองเห็น หากแต่การตัดสินใจของพวกเราไม่เคยหวั่นไหวและไม่ทอดทิ้งความหวัง[2]

การศึกษาเล่าเรียน

แก้
 
ครอบครัวของเจียงไคเชกในช่วงแรก ประกอบด้วย เจียง ไคเชก (ขวามือ) และภรรยาคนแรกของเขา เหมา ฟูเหมย (ซ้ายมือ) มารดาของเจียง หวัง ไคหยู่ (นั่งตรงกลาง) กำลังอุ้มลูกชายคนแรกของเจียง เจียงจิงกั๋ว

ในช่วงที่เจียงเริ่มเรียน เขามีความสนใจในการสงครามอย่างมาก มีการเล่นเอาไม้มาทำเป็นดาบและอาวุธจำลองเป็นสนามรบหลังเลิกเรียนอยู่เป็นประจำ โรงเรียนประถมของเจียงได้สอนวิชาลัทธิขงจื้อและปรัชญาจีนโบราณ เจียงจึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "จูไท่" เป็น ไคเชก (介石) ในสำเนียงแบบเจ้อเจียง หรือ เจี้ยฉือ ในสำเนียงภาษาจีนกลาง ที่แปลว่า หินบริสุทธิ์ เมื่อเจียงอายุได้ 14 ปี มารดาของเจียงได้จัดให้เจียงแต่งงานกับภรรยาชาวชนบทอายุ 19 ปี นามว่า เหมา ฟูเหมย (毛福梅) แต่เจียงกลับไม่ชอบคอและมีความรักกับภรรยาคนแรกคนนี้ เนื่องจากเขาพบว่าถูกบังคับจากมารดาที่ต้องการหาภรรยาให้กับเขาและให้เขายอมรับ เจียงจึงย้ายไปศึกษาในโรงเรียนอีกเมืองหนึ่งและให้ภรรยาของเขาคอยดูแลมารดาที่บ้าน

ในช่วงนี้เองเจียงได้พบและตระหนักถึงสภาพอันน่าเวทนาของบ้านเมืองในขณะนั้นเจียงได้พบว่าปัญหาหลักของประเทศมาจากการปกครองของราชวงศ์ชิงที่เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจูซึ่งมาจากดินแดนแมนจูเรียทางตอนเหนือเข้ามาปกครองประเทศจีนเป็นเวลาหลายร้อยปี

ในปี ค.ศ. 1901 การปกครองของราชวงศ์ชิงได้ประสบแต่ความเหลวแหลกมาโดยตลอด ราชสำนักต้องพบภัยล่าอาณานิคมจากประเทศอังกฤษ ราชสำนักเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นจนถึงภายใต้พระนางซูสีไทเฮา การปกครองยังคงล้มเหลวต่อเนื่อง พระนางไม่สามารถปกป้องประเทศจากการคุกคามจากชาติตะวันตกและญี่ปุ่นที่เริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมและยึดครองประเทศจีนเช่นกัน เจียงจึงเริ่มมีแนวคิดอุดมการณ์ที่จะให้ประเทศจีนปกครองโดยชาวจีนและกอบกู้ฟื้นฟูประเทศขึ้น

เจียงได้เรียนหนังสือจบมัธยมเมื่อเขาอายุได้ 17 ปี เจียงวางแผนจะเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมายแต่มีเหตุที่ทำให้กลับใจเขาได้พบกับเหล่าคนหนุ่มที่ได้ต่างทะยอยตัดหางเปียยาวแบบแมนจูทิ้ง เนื่องจากในขณะนั้นชาวแมนจูที่เข้ามาปกครองประเทศจีนได้มีประเพณีที่จะต้องบังคับให้ชายทุกคนไว้ผมทรงหางเปียยาว เมื่อเจียงถามคนกลุ่มนั้นเหตุใดจึงตัดหางเปียทิ้ง พวกเขากลับตอบว่า "เพื่อเป็นการต่อต้านความโหดร้ายและฉ้อฉลของราชสำนักชิง" ทำให้เจียงหันมาสนใจกับอาชีพทหารและล้มเลิกในการเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมาย

การเข้าเป็นทหาร

แก้
 
เจียง ไคเชกขณะเรียนที่โรงเรียนทหารเป่าติ้ง

ก่อนหน้าที่เจียงจะตัดสินใจเข้าเป็นทหารได้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งขึ้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศจนเป็นมหาอำนาจแบบตะวันตกและส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศจีนที่กำลังอ่อนแอ สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของราชสำนักชิง ทำให้จีนต้องถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ความอัปยศดังกล่าวทำให้เจียงเห็นว่าจีนควรเรียนรู้บทเรียนจากสงครามครั้งนี้และควรศึกษาจากความสำเร็จทางการทหารของญี่ปุ่น แม้ว่าเจียงจะไม่ชอบการที่ญี่ปุ่นได้รุกรานและข่มเหงประเทศจีนก็ตาม แต่เขากลับเห็นว่าหากประเทศจีนจะเข้มแข็งได้ต้องเรียนรู้จากศัตรู เขาจึงคิดจำใจไปเรียนทางด้านการทหารที่ญี่ปุ่นและหาวิธีเดินทางไปญี่ปุ่น

เจียงได้ขออนุญาตมารดาของเขาเพื่อไปเรียนโรงเรียนการทหารของญี่ปุ่น ในช่วงแรกเธอคัดค้าน แต่ด้วยความมุมานะและพยายามอ้อนวอนมารดาของเจียงให้คล้อยตามจนในที่สุดมารดาของเขาก็อนุญาตและสนับสนุนทางด้านการเงินไปต่างประเทศ[3] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1906 เมื่อเจียงเดินทางถึงญี่ปุ่นเขาพยายามสมัครเข้าโรงเรียนทหารทันทีแต่กลับถูกปฏิเสธและเมื่อเงินที่ได้มาเริ่มขัดสนเขาจึงเดินทางกลับประเทศจีน

ในปีเดียวกันเมื่อเจียงเดินทางกลับมา เหมาฝูเหม่ย์ภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่เจียงคนแรก เจียงตั้งชื่อลูกชายว่า เจียง จิงกั๋ว ต่อมาเจียงได้เข้าสมัครการฝึกฝนการทหารที่โรงเรียนการทหารเป่าติ้งที่เป็นสถาบันการทหารที่สนับสนุนโดยราชวงศ์ชิง เมื่อเจียงได้เข้ารับการฝึกที่เป่าติ้ง เขาได้ฝึกฝนอย่างขยันหมั่นเพียรและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาตลอดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกและเพื่อนทหารเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเจียงได้ขึ้นชั้นปี 2 ของโรงเรียนทหาร เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนตัวแทนนักเรียนทหารแลกเปลี่ยนจีน หนึ่งในสี่นายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารของญี่ปุ่น[4]

การศึกษาที่ญี่ปุ่น

แก้

เหล่านักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนเริ่มเดินทางจากเมืองท่าต้าเหลียนนั่งเรือโดยสารมายังเมืองโกเบของญี่ปุ่นและเดินทางต่อไปยังกรุงโตเกียว เมื่อเจียงเดินทางมาถึงญี่ปุ่นอีกครั้ง เจียงได้เข้าเรียนในสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะ[5] ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนที่จะช่วยสอนเรื่องกิจการทางทหารและสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เป็นนายทหารชั้นประทวน[5]

เมื่อเจียงจบการศึกษาจากสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1910 รายงานจากทางญี่ปุ่นระบุว่าคะแนนรวมทั้งหมดของเจียงได้อันดับที่ 55 จากทั้งหมด 62 อีก 8 คนเป็นที่สุดท้าย ถือว่าปานกลางไม่ดีมาก[6]: 53–84 

หลังจากนั้นเจียงได้เข้าเรียนต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ได้จัดเอาไว้ให้เหล่านักเรียนทุนแลกจากจีนที่มาศึกษา เจียงได้ถูกคัดเลือกเข้ากองพลที่ 13 แห่งหน่วยเหล่าปืนใหญ่ทะคะดะ ในขณะที่เรียนปืนใหญ่นั้นแม้เพื่อนร่วมชั้นชาวญี่ปุ่นจะดูถูกและกลั่นแกล้งเจียงและนักเรียนจากจีน แต่เจียงกลับอดทนและมุ่งมั่นไม่สนใจการดูถูกใด ๆ เจียงฝึกฝนล้างห้องน้ำ อาบน้ำให้ม้าและอยู่ในสนามรบที่มีอาหารเพียงน้อยนิดทั้งหมดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกทหารชาวญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง

ในฐานะนักปฏิวัติ

แก้

ระหว่างที่เรียนที่ญี่ปุ่นนี้เองเจียงได้ข่าวการเคลื่อนไหวของดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยหนีการตามล่ามาอยู่ญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นผู้นำในขบวนการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิงหรือ "ถงเหมิงฮุ่ย" เจียงยังได้พบกับเฉิน ฉี่เหม่ย์ที่เป็นชาวเจ้อเจียงเหมือนกัน เฉินฉี่เหม่ย์ได้ช่วยสอนด้านลัทธิการเมืองให้กับเจียง เขาเปรียบเสมือนเป็นครูที่ดีและต่อมาได้กลายมาเป็นสหายคนสนิทของเจียง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในคำปราศรัยของดร.ซุนที่จะปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของราชวงศ์ชิงและก่อตั้งสาธารณรัฐ ปีเดียวกันนั้นเฉิน ฉี่เหม่ย์ได้พาเจียงเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ย

เจียงรู้สึกตื่นเต้นและชื่นชมความกล้าหาญของนักปฏิวัติพวกนี้และคิดว่าเขาควรจะถือปืน หัดวางแผน เคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนนักปฏิวัติบ้าง เขาตัดทรงผมหางเปียแบบแมนจูทิ้งในที่สุด ฤดูร้อนในช่วงปิดเทอมปีนั้นเอง เจียงก็กลับเจ้อเจียงมาเยี่ยมแม่ จากนั้นเดินทางไปเซี่ยงไฮ้ เขากับเฉินฉีเหม่ย์รับหน้าที่ปล้นสถานที่ราชการ ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกทางการกลั่นแกล้งรังแกและลอบสังหารเจ้าหน้าที่ในราชสำนักชิงอยู่หลายครั้ง จนชื่อของเขาก็เข้าไปอยู่ในบัญชีดำของกรมตำรวจ กิจกรรมปล้น-ฆ่าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามจรยุทธ์และมันก็ทำให้สังคมแยกไม่ออกว่าใครเป็นพวกปฏิวัติ ใครเป็นพวกโจรนักเลง

การเดินทางกลับประเทศจีน

แก้

เข้าร่วมการปฏิวัติซินไฮ่

แก้

เจียงสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการทหารญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1911 เขาตัดสินใจอุทิศตนเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ยเต็มตัว เจียงได้เดินทางกลับไปยังประเทศจีนโดยตั้งใจจะสู้รบเป็นนายทหารปืนใหญ่ เขาทำหน้าที่ในกองกำลังปฏิวัตินำกองทหารในเซี่ยงไฮ้ จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญคือการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิงที่อู่ชางได้ขยายวงกว้างกลายเป็นการปฏิวัติซินไฮ่

เดือนพฤศจิกายน เฉิน ฉีเหม่ย์ใช้กองกำลังอาวุธบุกยึดเซี่ยงไฮ้ เฉินขึ้นมาเป็นจอมพลคุมเซี่ยงไฮ้ได้ เฉินสนิทกับเจียงมาก แต่แทนที่เขาจะแต่งตั้งเจียงเป็นเสนาธิการทหาร เขากลับยกตำแหน่งนี้ให้แก่นักเรียนแลกเปลี่ยนทหารคนอื่นที่สุขุมเยือกเย็นกว่าเจียง ขณะนั้น เฉินเอือมระอากับนิสัยเลวของเจียงเต็มที เจียงทั้งขี้เหล้า เสเพล เจ้าอารมณ์ กระนั้นก็ตามเฉินก็ยังมองว่าเจียงก็ยังมีข้อดีในตัว เขาเป็นคนเก่ง เป็นบุคคลากรที่ควรถนอมไว้ เฉินจึงให้เขาเป็นหัวหน้าหน่วยกล้าตาย พาทหารหมู่หนึ่งบุกเข้าไปช่วยนักปฏิวัติที่ถูกปิดล้อมอยู่ในเมืองหังโจวและเจียงก็ทำสำเร็จ เขากลายเป็นวีรบุรุษในท่ามกลางกองทัพนักปฏิวัติ และเฉินได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พันคุมกองร้อยทหารในเจียงซู

เจียงในฐานะเป็นร้อยโทของเฉิน ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1912 เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเฉินกับ เถา เฉิงกัง ศัตรูทางการเมืองของเฉิน ฉี่เหม่ย์ เมื่อเจียงทราบเรื่องเข้าก็ถึงขั้นอาสากำจัดเถา เฉิงกัง

ในระหว่างพำนักที่เซี่ยงไฮ้

แก้

เถา เฉิงกังเป็นสมาชิกผู้มีอิทธิพลของคณะปฏิวัติพันธมิตรถงเหมิงฮุ่ยที่ทรยศทั้งซุนยัตเซ็นและเฉิน ไปตั้งตนเป็นหัวหน้าพรรคซิงหมิงซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับ "พรรคปฏิวัติจีน" พรรคใหม่ที่เปลี่ยนมาจากถงเหมิงฮุ่ยของดร.ซุน เจียงถือโอกาสช่วงที่เถา เฉิงกังนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล เมื่อรอบตัวเถาไม่มีมือปืนคอยคุ้มกัน เจียงฉวยจังหวะใช้ปืนพกยิงลอบสังหารเถาในโรงพยาบาล[7]

เมื่อเจียงสังหารเถาเสร็จ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่หนีหลบซ่อนกบดานที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในระหว่างนั้นเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเขียนบทความด้านการทหาร และเขาก็ใช้ชีวิตเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา อีกทั้งยังเจ้าอารมณ์ ดื้อรั้น มีปากเสียงกับผู้คนบ่อยๆ ทำให้เพื่อน ๆ ที่ร่วมงานต่างขยาดและไม่มีผู้อื่นกล้าเข้าใกล้ เจียงรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ เขามักจะเข้าไปขลุกอยู่ในบาร์ ในไนต์คลับ ที่นั่นมีทุกอย่างที่เขาชื่นชอบ ทั้งสุราและสตรีอีกทั้งยังได้พบปะกับเพื่อนที่มีรสนิยมต่างกัน

ด้วยความสนิทสนมกับเฉิน ฉี่เหม่ย์ทำให้เจียงได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับกลุ่มคดีอาญากรรมของเซี่ยงไฮ้ (กลุ่มแก๊งเขียวของตู้ เย่ว์เซิงและหวง จิ่นหลง) เจียงเข้าร่วมกลุ่มแก็งเขียวก่อคดีปล้นฆ่าหลายคดี ทำให้เจียงเริ่มสนิทสนมกับพวกเจ้าพ่อมาเฟีย โดยเฉพาะตู้ เย่ว์เซิง ผู้มีมาดเจ้าพ่ออันเฉียบขาด เขาเป็นมาเฟียที่รักชาติที่มักจะทำร้ายและฆาตรกรรมชาวจีนที่ทำการขายชาติให้กับเหล่าประเทศที่มาแสวงหาผลประโยชน์ในจีน ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่โจษจันกัน ในช่วงเวลาของเจียงในเมืองเซี่ยงไฮ้ ในเขตสัมปทานอังกฤษที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตสัมปทานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเหล่าชาติตะวันตกที่เข้ามาแสวงหาอิทธิพลในจีน ตำรวจอังกฤษได้เฝ้าดูเขาและกล่าวโทษเขาด้วยความร้ายกาจต่าง ๆ แต่เจียงไม่เคยถูกจับ ไม่เคยถูกสอบสวนและไม่เคยติดคุก[8]

ต่อต้านยฺเหวียน ชื่อไข่

แก้

หลังจากราชวงศ์ชิงล่มสลายลง รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งสถาปนาโดยดร.ซุน ก็เสียอำนาจในการปกครองประเทศให้กับยฺเหวียน ชื่อไข่ที่เข้ามาครอบครองตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน ยฺเหวียน ชื่อไข่ผู้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ปรารถนาที่จะตั้งตนเป็นฮ่องเต้ เขาควบคุมอำนาจกองกำลังทหาร และส่งมือสังหารไปลอบสังหารคู่แข่งทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ซึ่งก็คือบรรดาแกนนำฝ่ายประชาธิปไตยในพรรคปฏิวัติจีนของดร.ซุน

การกวาดล้างทางการเมืองของยฺเหวียนได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยฺเหวียนได้ปลดผู้ว่าราชการมณฑลต่างๆแล้วเอาขุนศึกที่จงรักภักดีเข้าไปทำหน้าที่แทนและเตรียมตั้งตนเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง จนวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 ภายใต้การกระตุ้นของ ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้มีการประกาศต่อต้านยฺเหวียน ชื่อไข่ที่จะรื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิขึ้นมาอีกและทำให้พัฒนาการประชาธิปไตยของสาธารณรัฐล่าช้าทำให้การปฏิวัติรอบสองเปิดฉากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1913 คณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัติครั้งที่สอง เพื่อขับไล่ยฺเหวียน ชื่อไข่ เจียง ไคเชกได้บุกเข้าไปปลุกระดมเพื่อนๆในค่ายทหารเจียงหนัน แต่พลาดท่าเสียทีเกือบถูกทหารของยฺเหวียนจับได้ เจียงได้หนีไปขอความช่วยเหลือจากตู้ เย่ว์เซิง ได้นักเลงอันธพาลกลุ่มใหญ่มาเป็นทหาร เจียงได้พูดปลุกระดมให้เหล่านักเลงนั้นสู้เพื่อประเทศชาติอย่างห้าวหาญ แต่เนื่องจากกองกำลังของเขาไม่มีระเบียบวินัย สู้รบไม่กี่อึดใจ ก็แตกพ่ายเสียที เจียงหนีเข้าไปในเขตเช่าอังกฤษอีกครั้ง ในเดียวกันกองกำลังของดร.ซุนพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่า ดร.ซุนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ปี ค.ศ. 1915 เจียงกับเฉินถูกยฺเหวียน ชื่อไข่ตามล่าอย่างหนักทั้งคู่จึงจำใจหนีไปญี่ปุ่นอีกเช่นกันและคอยหาโอกาสลักลอบเข้าเซี่ยงไฮ้มาเคลื่อนไหวก่อการปฏิวัติอีก

ในปี ค.ศ. 1916 นักฆ่าของยฺเหวียน ชื่อไข่ได้ลักลอบเข้ามาในกองบัญชาการของฝ่ายปฏิวัติและยิงเฉิน ฉี่เหม่ย์ตาย การตายของเฉิน ฉี่เหม่ย์ สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่เจียง ไคเชกเป็นอย่างยิ่ง เฉินเป็นทั้งเพื่อนรัก เจ้านาย ผู้มีพระคุณและพี่น้องร่วมสาบานของเจียง ขณะนั้นเจียงอายุ 30 เขาสุขุมเยือกเย็นมากยิ่งขึ้นความตายของเฉินทำให้เจียงยิ่งตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสาระและไม่เที่ยวเตร็ดเตร่แบบเมื่อก่อนอีก

ขณะเดียวกันเจียงได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งและปฏิบัติการแทนเฉินในฐานะหัวหน้าพรรคปฏิวัติจีนที่เซี่ยงไฮ้ ทำให้เจียงมีบทบาทในพรรคมากขึ้น

การก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง

แก้

การปฏิบัติการที่กวางตุ้งครั้งแรก

แก้
 
เจียง ไคเชก ในช่วงปี ค.ศ. 1920
 
เจียง ไคเชก (ยืนทางซ้าย) และ ดร.ซุน ยัตเซ็น (นั่งทางขวา)

เมื่อยฺเหวียน ชื่อไข่ตั้งต้นเป็นฮ่องเต้ ประชาชนทั่วประเทศต่างพากันต่อต้านคัดค้าน อีกทั้งกลุ่มทหารที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อฟื้นระบอบฮ่องเต้กลับมาจึงทำการต่อสู้นำไปสู่สงครามพิทักษ์ชาติขึ้น ในปี ค.ศ. 1916 ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เสียชีวิตลงระบอบจักรพรรดิที่เขารื้อฟื้นก็สิ้นสุดลง บรรดาแว่นแคว้นจังหวัดต่าง ๆ ได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางอีกต่อไปทำให้ประเทศจีนเข้าสู่ยุคแห่งความแตกแยกหรือยุคขุนศึกในที่สุด ที่กรุงปักกิ่ง รัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางได้สืบทอดอำนาจต่อและยังคงบริหารประเทศต่อไป เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจอมปลอมที่มีประธานาธิบดีที่ถูกแต่งตั้งเป็นเพียงหุ่นเชิดให้แก่กองทัพเท่านั้น

ในปี ค.ศ. 1917 ดร.ซุน ยัตเซ็นได้ย้ายไปตั้งฐานที่มั่นปฏิวัติที่เมืองกวางตุ้ง (ปัจจุบันคือเมืองกวางโจว) เนื่องจากเมืองกวางตุ้งมีชัยภูมิที่ดีแต่ทหารของฝ่ายพรรคปฏิวัติจีนมีกำลังพลน้อยทำให้ควบคุมพื้นที่เมืองกวางตุ้งไม่ครอบคลุม บริเวณรอบเมืองมีแต่ทหารที่จงรักภักดีต่อขุนศึกทางเหนือ ระหว่างที่ทำการต่อสู้ ทหารที่มีความสามารถของดร.ซุนถูกฆ่าตายไปหลายคน เพื่อความปลอดภัยบรรดาสมาชิกของพรรคปฏิวัติจีนแนะนำเจียง ไคเชก มาเป็นผู้ช่วยทางการทหารให้กับ ดร.ซุน ท่ามกลางความสิ้นหวัง ดร.ซุนจึงเริ่มมองเห็นความสำคัญของเจียง ไคเชกและมักจะเรียกเจียงเข้ามาปรึกษาปัญหาต่าง ๆ

ในเวลานี้ดร.ซุนยังคงถูกไล่ล่าและไม่มีอาวุธหรือเงินสนับสนุน เจียงแนะนำให้ดร.ซุนจ้างทหารรับจ้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของแก๊งมาเฟีย ทหารพวกนี้จงรักภักดีต่อเจ้านายที่จ่ายเงินให้พวกเขาเท่านั้น ดังนั้นกองทหารของดร.ซุนจึงมีปัญหาเรื่องการเงินแทบตลอดเวลา ดร.ซุนต้องการกองทหารที่มีอุดมการณ์ เป็นทหารปฏิวัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่แก๊งมาเฟีย แต่เจียงแย้งว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนอย่างเท่าเทียม ถึงแม้จะเป็นนักเลงมาเฟียก็สามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ และทหารที่มีอุดมการณ์ต้องบ่มเพาะและฝึกขึ้นมา ต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล ด้วยเหตุนี้จึงต้องพึ่งทหารรับจ้างไปพลาง ๆ ก่อน ดร.ซุนจึงยอมตกลงด้วย แต่อย่างไรก็ตามกองทัพปฏิวัติก็ถูกตีโต้และต้องลี้ภัยไปเซี่ยงไฮ้อีกรอบ

การปฏิบัติการที่กวางตุ้งครั้งที่สอง

แก้

รัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางได้สั่งต้องห้ามพรรคคณะปฏิวัติจีน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ดร.ซุนได้ตั้งพรรคใหม่ ชื่อว่า จงกั๋ว ก๊กมินตั๋ง (จีนตัวย่อ: 中国国民党; จีนตัวเต็ม: 中國國民黨; พินอิน: Zhōngguó guómíndǎng) ซึ่งก็คือ "พรรคก๊กมินตั๋ง" หรือ "จีนคณะชาติ" ขึ้น โดยมีเจียง ไคเชกได้ให้การสนับสนุนพรรคใหม่นี้อย่างแข็งขัน[9]

ในปี ค.ศ. 1920 กองทัพปฏิวัติของดร.ซุนกลับคืนสู่กวางตุ้งด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างอีกครั้ง ดร.ซุนได้พยายามสร้างพันธมิตรทางทหารกับขุนศึกเจ้าเมืองและบรรดาเหล่าผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นในกวางตุ้ง หลังจากกลับมาที่กวางตุ้งความแตกแยกที่พัฒนาขึ้นระหว่างพรรคของดร.ซุนซึ่งพยายามใช้กองทัพรวมประเทศจีนเข้าด้วยกันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋งและเฉิน เจียงหมิง ขุนศึกเจ้าเมืองมณฑลกวางตุ้งที่ต้องการปกครองเมืองกวางตุ้งแบบระบบศักดินาขุนศึกต่อไป จึงได้ทรยศหักหลังและวางแผนลอบสังหารดร.ซุน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1920 เย่ จู นายพลของเฉินทำการโจมตีทำเนียบประธานาธิบดีกวางตุ้ง[10] ทำให้ดร.ซุนต้องหนีไปที่ลานท่าเรือ[11] และลี้ภัยโดยสารเรือ เอสเอส ไห่ฉี,[12] ภรรยาของดร.ซุนซึ่งหนีไม่ทันและให้ดร.ซุนหลบหนีไปก่อน ได้หลบกระสุนที่ทำเนียบประธานาธิบดีกวางตุ้งและได้หนีรอดตามออกมาได้ ทั้งคู่พบกันที่เรือเอสเอสหยงฟาง ขณะนั้นเจียงไคเชกที่กำลังจัดพิธีงานศพให้แม่ของเขาที่เซี่ยงไฮ้[13] ได้รับโทรเลขด่วนจากดร.ซุน ดังนั้นเจียงจึงพากองกำลังกองหนึ่งกระหืดกระหอบมาจากเซี่ยงไฮ้มาช่วยดร.ซุนที่กวางตุ้ง ขณะนั้นดร.ซุนใช้เรือรบเป็นกองบัญชาการสู้กับพวกกบฎของเฉิน เจียงหมิงอยู่ 50 วันเหตุการณ์ไม่มีทีท่าสงบ จนกระทั่งเจียงไคเชกยกทัพมาถึง เหตุการณ์จึงคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ขณะที่อยู่บนเรือเจียงเป็นองครักษ์คอยปกป้องคุ้มกันดร.ซุนและได้รับความไว้วางใจเป็นมือขวาในที่สุด

โรงเรียนการทหารหวงผู่

แก้
 
ซุน ยัดเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และเจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนการทหารหวงผู่ในปี ค.ศ. 1924

เจียงและดร.ซุนแล่นเรือมาถึงเกาะหวงผู่ (ปัจจุบันคือเกาะฉางโจว (长洲岛)) ปี ค.ศ. 1924 ดร.ซุนได้ตั้งโรงเรียนการทหารขึ้น เพื่อบ่มเพาะนักการทหารและนักการเมืองรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นแกนนำในการปฏิวัติ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะหวงผู่ จึงได้ชื่อว่าโรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียง ไคเชกได้รับเลือกเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ฝึกสอนคนแรกของโรงเรียนทหารแห่งนี้ ช่วงปี ค.ศ. 1920 เจียงสนใจภาษารัสเซีย เขาศึกษาวัฒนธรรมและการทหารของรัสเซียอยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็เขียนจดหมายไปคุยกับดร.ซุน ให้ขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย การตั้งโรงเรียนดังกล่าวทำ ให้พรรคก๊กมินตั๋งได้ทหารอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ได้มีการลดจำนวนและเลิกพึ่งพาทหารรับจ้างซึ่งไม่มีอุดมการณ์ไปในที่สุด ดังนั้นกองทัพปฏิวัติที่อ่อนแอของพรรคก๊กมินตั๋งจึงเริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถยึดเมืองกวางตุ้งคืนมาได้อย่างรวดเร็ว

การศึกษาที่รัสเซีย

แก้

ดร.ซุนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์นและได้ส่งเจียงไปใช้เวลาสามเดือนในมอสโกเพื่อศึกษาระบบการเมืองและการทหารของสหภาพโซเวียต ระหว่างการเดินทางไปรัสเซีย เจียงพบกับเลออน ทรอตสกีและผู้นำโซเวียตคนอื่นๆ เจียงได้พบว่าแนวความคิดของคอมมิวนิสต์ขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมวัฒธรรมอันดีงามของจีน เนื่องจากหลักความคิดในลัทธิคอมมิวนิสต์จะเน้นความชิงชัง การต่อสู้ดิ้นรน ส่วนลัทธิขงจื๊อจะเน้นความรัก ความสามัคคีและคุณธรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้ต่างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง นั้นทำให้เจียงได้ข้อสรุปอย่างรวดเร็วว่าระบบรัฐบาลของรัสเซียไม่เหมาะกับประเทศจีน เจียงจึงได้มากลับมาแนะนำดร.ซุนให้รับแต่ความช่วยเหลือด้านการทหารไม่ต้องรับความช่วยเหลือทางด้านการเมือง

แต่การที่ดร.ซุนรับความช่วยเหลือทางทหารจากองค์การโคมินเทิร์นทางตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์สากลที่เลนินส่งมาได้ปรับปรุงโครงสร้างพรรค ให้ตัวแทนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง เปิดทางให้เหมา เจ๋อตง สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีตำแหน่งรัฐมนตรีโฆษณาการ เจียง ไคเชกได้บันทึกลงในบันทึกประจำวันเขาว่า "ดร.ซุนได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง ทันทีที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตั้งหลักบนแผ่นดินจีนได้นั้นย่อมเป็นการยากที่ขจัดพวกเขาเหล่านั้นไป"

เจียงไคเชกกลับมาที่กวางตุ้งและในปี ค.ศ. 1924 เขาได้รับแต่งตั้ง ผู้บัญชาการของโรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียงขอลาออกจากสำนักงานเป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยไม่เห็นด้วยกับการที่ดร.ซุนให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่เจียงก็กลับมาตามความต้องการของดร.ซุน ในช่วงปีแรกๆที่โรงเรียนการทหารหวงผู่อนุญาตให้เจียงสามารถปลูกฝังนายทหารหนุ่มที่ซื่อสัตย์ต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและตัวเขาเอง

การขึ้นสู่อำนาจ

แก้

การแย่งชิงอำนาจกับวาง จิงเว่ย

แก้
 
เจียง ไคเชกขณะเข้าร่วมพิธีศพ ดร.ซุน ยัตเซ็น
 
เจียง ไคเชก (ขวา) และ วาง จิงเว่ย (ซ้าย) ค.ศ. 1926

ดร.ซุน ยัตเซ็นได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925,[14] ได้การสร้างสุญญากาศทางการเมืองในพรรคก๊กมินตั๋ง มีการแข่งขันอำนาจบารมีเกิดขึ้นในหมู่บรรดาสมาชิกของพรรคอันได้แก่ วาง จิงเว่ย, เลี่ยว จ้งข่ายและหู ฮั่นหมิน ในเดือนสิงหาคม เลี่ยวถูกลอบสังหารและหูถูกจับเพราะเกี่ยวข้องกับฆาตกร ส่วนวาง จิงเว่ยผู้ซึ่งได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากดร.ซุนในฐานะประธานผู้บริหารของรัฐบาลกวางตุ้ง แม้ว่าจะเขาขึ้นครองตำแหน่งแต่ก็ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน เนื่องจากถูกบังคับให้ถูกเนรเทศโดยเจียง ไคเชก โดยการรัฐประหารกวางตุ้ง เรือรบเอสเอสหยงเฟิง ได้ถูกเปลี่ยนชื่อจงซานเพื่อเป็นเกียรติแก่ดร.ซุน ได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่ฉางโจว[15] วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1926 ฝ่ายขวาของพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพทั้งหมดรวมถึงทหารจากโรงเรียนหวงผู่เจียงได้พร้อมใจกันเสนอชื่อ เจียง ไคเชกให้รับการตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน[16]

เจียง ไคเชกรวมแผ่นดิน

แก้
 
รัฐบาลชาตินิยมแห่งนานกิง-ปกครองทั่วทั้งประเทศจีนในปี 1930
 
จอมพลสูงสุด เจียงไคเชก, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน, ผู้มีบทบาทในชัยชนะการกรีฑาทัพขึ้นเหนือและต่อมาได้เป็นผู้นำของประเทศจีน
 
เหล่าบรรดานายพล ข้าราชการ ต่างรวมเฉลิมฉลองรวมชาติหลังจากตั้งรัฐบาลที่หนานจิง

ในวันที่ 27 กรกฎาคม ในที่สุดเจียงก็ได้เสนอนโยบายรวมชาติอีกครั้ง เพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของดร.ซุน ยัตเซ็นที่ต้องการรวมชาติจีน ปราบเหล่าขุนศึก และใช้ระบอบประชาธิปไตยโดยใช้หลักลัทธิไตรราษฎร ที่ผ่านมาต้องประสบความล่าช้าจากการกรีฑาทัพขึ้นเหนือเพื่อปราบเหล่าขุนศึกมาตลอด เมื่อเจียงจึงนำทัพกรีฑาทัพขึ้นเหนือ เพื่อมุ่งเอาชนะขุนศึกภาคเหนือและรวมจีนเข้าด้วยกันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง

เจียงได้แบ่งกองทัพแยกออกเป็นสามฝ่าย: ทางตะวันตกคือวางจิงเว่ยที่กลับมารับตำแหน่งซึ่งนำกองทัพไปหวู่ฮั่น; ไป๋ ฉงซี นำกองทัพไปทางตะวันออกเพื่อไปที่เซี่ยงไฮ้ เจียงนำทางทัพของตัวเองในเส้นทางสายกลางวางแผนที่จะเข้ายึดหนานจิง ก่อนและนำทัพเข้ายึดปักกิ่งอีกที แต่อย่างไรก็ตามในเดือนมกราคมปีค.ศ. 1927 วาง จิงเว่ยและพันธมิตรฝ่ายซ้ายของพรรคก๊กมินตั๋งของเขาพาเมืองหวู่ฮั่นท่ามกลางการระดมพลและการประโคม วางเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและได้รับคำแนะนำจากตัวแทน โซเวียตมิคาอิล โบโรดิน วาง จิงเว่ยได้ประกาศให้รัฐบาลแห่งชาติย้ายไปหวู่ฮั่น หลังจากเข้ายึดเมืองหนานจิงในเดือนมีนาคม (และได้ไปเยือนเซี่ยงไฮ้โดยสังเขปแล้วตอนนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของพันธมิตรใกล้ชิดของเขาไป๋ ฉงซี) เจียงหยุดการกรีฑาทัพของเขาและเตรียมพร้อมที่จะหยุดพักอย่างดุเดือดด้วยองค์ประกอบฝ่ายซ้ายของวางซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อพรรคก๊กมินตั๋ง

เมื่อรัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางถูกกองทัพของเจียงปราบอย่างราบคาบ ได้มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นที่เมืองหนานจิงหรือ รัฐบาลชาตินิยม (จีนคณะชาติ) ขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากพรรคก๊กมินตั๋งสายอนุรักษ์นิยมรวมถึง หู ฮั่นหมิน, การขับไล่คอมมิวนิสต์ของเจียงและที่ปรึกษาโซเวียตของพวกเขานำไปสู่การเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองจีน รัฐบาลแห่งชาติของวาง จิงเว่ยอ่อนแอทางทหารและในไม่ช้าก็จบลงด้วยการได้รับการสนับสนุนจากขุนศึกท้องถิ่น (หลี่ ซงเรินจากกวางสี ในที่สุดวางและพรรคฝ่ายซ้ายของเขายอมจำนนต่อเจียงและเข้าร่วมกับเขาในหนานจิง และในสงครามที่ราบภาคกลาง ปักกิ่งถูกยึดคืนเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928 จากพันธมิตรของขุนศึกเฟิง ยวี่เซียง และ หยัน ซีชาน ในเดือนธันวาคมในดินแดนแมนจูเรีย ขุนพล จางเซวเหลียง ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะจงรักภักดีต่อรัฐบาลของเจียง นอกจากนี้ดินแดนทิเบตก็ยอมรับอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลจีนคณะชาติแต่ขอให้มีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง ส่วนมองโกเลียนอกยอมอยู่ภายใต้รัฐบาลจีนคณะชาติแต่ขอมีทั้งรัฐบาลท้องถิ่นและกองทัพของตนเองด้วยเนื่องจากถูกบีบบังคับจากสหภาพโซเวียต ทำให้การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของจีนเสร็จสิ้นและสิ้นสุดยุคขุนศึกอย่างสมบูรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "蒋介石宋美龄结婚照入《上海大辞典》". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-08-20.
  2. Tong, Hollington K. (1953). Chiang Kai-Shek. China Publishing Company. p. 5. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  3. 《董顯光自傳:一個中國農夫的自述》. 台北: 台灣新生報社. 1981.
  4. 王成斌主編, บ.ก. (1998). 《民國高級將領列傳》 (1). 北京: 解放軍出版社. ISBN 7506502615.
  5. 5.0 5.1 李敖汪榮祖 (2012). 《蔣介石評傳》(上). 長春: 時代文藝出版社.
  6. 黃自進 (2015). "〈蔣介石在日本學習的一段歲月〉". 《阻力與助力之間:孫中山、蔣介石親日、抗日50年》. 北京: 九州出版社.
  7. Loh, Pichon (1971). The Early Chiang Kai-shek. Columbia University Press. p. 27.
  8. Loh 1971, pp. 20, 133.
  9. Ch'ien Tuan-sheng. The Government and Politics of China 1912–1949. Harvard University Press, 1950; rpr. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0551-8, ISBN 978-0-8047-0551-6. pp. 83–91.
  10. Chan, Anthony B. (2010), Arming the Chinese: The Western Armaments Trade in Warlord China, 1920–1928, Vancouver: UBC Press, p. 106
  11. Hahn (1955), p. 42.
  12. Dreyer, Edward L. (1995), China at War, 1901–1941, Abingdon: Routledge, p. 104.
  13. Biographical Dictionary of Republican China, Vol. III, "Chiang Kai-shek", p. 322.
  14. Eileen, Tamura (1998). China: Understanding Its Past. p. 174.
  15. Van de Ven, Hans (2003), War and Nationalism in China: 1925–1945, Studies in the Modern History of Asia, London: RoutledgeCurzon, p. 101, ISBN 978-0415145718.
  16. Taylor 2009, p. 57
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๒
ก่อนหน้า เจียง ไคเชก ถัดไป
วอลลิส ซิมป์สัน ดัชเชสแห่งวินด์เซอร์   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1937
ร่วมกับ มาดามซ่งเหม่ย์หลิง ภริยา)
  อดอล์ฟ ฮิตเลอร์