เกษม บุญศรี
เกษม บุญศรี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2531) อดีตแม่กองธรรมสนามหลวง ราชบัณฑิตภาคีสมาชิก อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 2 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 1 สมัย
เกษม บุญศรี | |
---|---|
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พึ่ง ศรีจันทร์ |
ดำรงตำแหน่ง 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2493 | |
ก่อนหน้า | พึ่ง ศรีจันทร์ |
ถัดไป | พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เสียชีวิต | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (82 ปี) |
คู่สมรส | อาพรรณ บุญศรี |
ประวัติ
แก้เกษม บุญศรี เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ที่บ้านเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายดิน และนางน้อม บุญศรี[1] ได้บวชเป็นพระภิกษุ มีฉายาทางธรรมว่า ภทฺทธมฺโม ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 7 ประโยค[2] อาศัยอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะมีนามว่าพระศรีสมโพธิ[3] และดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2486 จนลาสิกขาบทในปี พ.ศ. 2488[4]
ต่อมาได้สมรสกับนางอาพรรณ บุญศรี[5]
งานการเมือง
แก้เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489[6] และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 3 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดนครสวรรค์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดนครสวรรค์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดพระนคร พรรคประชาธิปัตย์
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
แก้เกษม บุญศรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ เกษม บุญศรี[ลิงก์เสีย] จาก province.myfirstinfo.com
- ↑ "นายเกษม บุญศรี". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๕๘, ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔, หน้า ๔๙๙
- ↑ "ทำเนียบแม่กองธรรมสนามหลวง". สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นายเกษม บุญศรี และ นางอาพรรณ บุญศรี[ลิงก์เสีย] ประวัติและผลงาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทน ตอนที่ ๔๐, เล่ม ๖๓, ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
ก่อนหน้า | เกษม บุญศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) | แม่กองธรรมสนามหลวง (พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2488) |
พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ) |