เกษม จันทร์แก้ว
ศาสตราจารย์ ดร.เกษม จันทร์แก้ว (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2481) เป็นนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้[ต้องการอ้างอิง] ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์[1] รวมถึงหัวหน้าภาควิชา คณบดี และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีใน พ.ศ. 2564[2][3]
เกษม จันทร์แก้ว | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 (3 ปี 240 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2481 |
คู่สมรส | ฉลวย จันทร์แก้ว |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วท.บ.) มหาวิทยาลัยรัฐโคโรลาโด (M.S.) มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Ph.D.) |
ประวัติ
แก้เกษมจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลวัดตลิ่งชันใน พ.ศ. 2490 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยารามใน พ.ศ. 2498 จบชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนทวีธาภิเศกใน พ.ศ. 2500 สำเร็จปริญญาตรีวนศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน พ.ศ. 2506 สำเร็จปริญญาโทสาขา Watershed Management จากมหาวิทยาลัยโคโลราโดเมื่อ พ.ศ. 2508 และสำเร็จปริญญาเอกในสาขา Forest Hydrology จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันใน พ.ศ. 2518[4]
หลังจบการศึกษา เกษมเข้าเป็นอาจารย์ที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 จนเกษียณอายุราชการ เกษมยังเคยเป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี[5], คณบดีวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง], ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อาจารย์พิเศษทั้งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และภายนอก,[ต้องการอ้างอิง] ผู้ทรงคุณวุฒิหลายมหาวิทยาลัย,[ต้องการอ้างอิง] และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์[6] จนครบวาระในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560[7], มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร[8][9] และมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์[10]
ผลงานของเกษมส่วนใหญ่เป็นด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คือ งานวิจัยการจัดการลุ่มน้ำและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ เกษมยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การเกษตรดีเด่นสองสมัย (พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2539) จากสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ “เกษม จันทร์แก้ว” ผู้ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็น องคมนตรี คนล่าสุด
- ↑ "ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ลงวันที่ 24 มีนาคม 2564" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 138 (พิเศษ 66 ง): 1. 2021-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.
- ↑ ในหลวง-พระราชินี เสด็จออกพร้อมเจ้าคุณพระฯ โปรดเกล้าฯ องคมนตรี ถวายสัตย์
- ↑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2548). ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-ศาสตราจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [1] เก็บถาวร 2011-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงเมื่อ 21-8-52
- ↑ ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (นายพินิติ รตะนานุกูล)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏมหาสารคาม สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ง หน้า ๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๙๕ ง หน้า ๔, ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๗๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๖, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖