อีซูซุ ฟาสเตอร์
อีซูซุ ฟาสเตอร์ (อังกฤษ: Isuzu Faster) เป็นรถกระบะที่ผลิตและทำการตลาดโดยอีซูซุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง 2545 มีการพัฒนารูปแบบทั้งหมด 3 รุ่น (โฉม) รถรุ่นนี้ถูกจำหน่ายภายใต้ชื่อที่หลากหลาย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้รหัสรุ่นในการทำการตลาด ได้แก่ อีซูซุ KB สำหรับรุ่นแรกและรุ่นที่สอง และ TF สำหรับรุ่นที่สาม ในประเทศญี่ปุ่น ชื่อ "ฟาสเตอร์" ถูกแทนด้วยชื่อ "โรดีโอ" นอกจากนี้รถรุ่นนี้ยังทำการตลาดภายใต้แบรนด์อื่น ๆ อีกหลายแบรนด์ซึ่งอยู่ในกลุ่มเจเนรัลมอเตอร์ ฟาสเตอร์ถูกแทนที่ด้วยอีซูซุ ดีแมคซ์ (อังกฤษ: Isuzu D-Max) ในตลาดทั่วโลกยกเว้นญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ
อีซูซุ ฟาสเตอร์ Isuzu Faster | |
---|---|
อีซูซุ พีอัป โฉมที่ 2 (สหรัฐ) | |
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | อีซูซุ |
เรียกอีกชื่อ | เชฟโรเลต LUV |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2515–2545 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถกระบะ |
โครงสร้าง | เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | อีซูซุ วอสป์ โฮลเดน WB (ในออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี 2527) |
รุ่นต่อไป | อีซูซุ ดีแมคซ์ อีซูซุ ฮอมเบร (อเมริกาเหนือ) |
รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2515–2523)
แก้รุ่นที่ (โฉมที่) 1 | |
---|---|
เชฟโรเลต แอลยูวี (สหรัฐ) | |
ภาพรวม | |
เรียกอีกชื่อ | อีซูซุ ฟาสเตอร์ (ประเทศไทย) อีซูซุ KB เบดฟอร์ด เคบี เชฟโรเลต LUV |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2515–2523 |
แหล่งผลิต | ญี่ปุ่น: ฟูจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศไทย: สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ อินโดนีเซีย: เบอกาซี จังหวัดชวาตะวันตก ฟิลิปปินส์: ดาสมารีญาส |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | 2 ประตู ไม่มีกระบะ รถกระบะ 2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู |
รุ่นที่คล้ายกัน | อีซูซุ ฟลอเรียน |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | |
ระบบเกียร์ |
|
มิติ | |
ระยะฐานล้อ |
|
ความยาว |
|
ความกว้าง |
|
น้ำหนัก | 1,099–1,290 กิโลกรัม (2,423–2,844 ปอนด์) |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นต่อไป | เชฟโรเลต S-10 |
อีซูซุประเทศญี่ปุ่นเปิดตัวอีซูซุ ฟาสเตอร์ รหัสตัวถัง KB20/25 ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 รุ่นฐานล้อมาตรฐานได้รับการกำหนดให้เป็น "20" ขณะที่รุ่นฐานล้อยาวได้รับการกำหนดให้เป็น "25" มีพื้นฐานมาจากอีซูซุ ฟลอเรียน (Isuzu Florian) โดยมีส่วนประกอบร่วมกันหลายส่วน เช่น ประตูและชุดประกอบด้านหน้า รถรุ่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนอีซูซุ วอสป์ (Isuzu Wasp) ซึ่งเป็นรถกระบะที่ดัดแปลงมาจากเบลเลตต์ (Isuzu Bellett) และผลิตก่อนหน้าฟลอเรียน มีการผลิตทั้งแบบไฟหน้าเดี่ยวและคู่
เนื่องด้วยสัดส่วนมิติภายนอกและเครื่องยนต์ที่นำเสนอนั้นสอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับการจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยม และสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นอื่น ๆ ที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น
ในตลาดส่งออกส่วนใหญ่ อีซูซุได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อของฟาสเตอร์เป็น "KB"[1] อย่างไรก็ตาม ฟาสเตอร์มักจำหน่ายผ่านช่องทางขายปลีกของเจเนรัลมอเตอร์ (GM) และจำหน่ายภายใต้แบรนด์เชฟโรเลตในชื่อ "เชฟโรเลต LUV" ซึ่ง LUV ย่อมาจาก "light utility vehicle"[2] เบดฟอร์ด (Bedford) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือด้านรถเพื่อการพาณิชย์ในยุโรปของ GM ก็ได้จำหน่ายรถรุ่นนี้ภายใต้ชื่อ "เบดฟอร์ด KB" เช่นกัน[3]
อีซูซุ ฟาสเตอร์ ใช้โครงสร้างแบบรถกระบะทั่วไปที่มีแชสซีส์แบบบันไดและและระบบกันสะเทือนด้านหลังแบบแหนบพร้อมคานแข็ง ด้านหน้าใช้ปีกนกรูปตัว A ในระบบกันสะเทือนแบบอิสระ รุ่นฐานล้อสั้น (KB20) มีความยาว 2,600 มิลลิเมตร (102.4 นิ้ว) มีขนาดใกล้เคียงกับคู่แข่งในตลาด และกระบะยาว 1,855 มิลลิเมตร (73.0 นิ้ว) แตกต่างจากวอสป์รุ่นก่อนหน้า รุ่น KB25 มีฐานล้อที่ยาวขึ้น โดยมีความยาวระหว่างเพลาหน้าและเพลาหลัง 2,995 มิลลิเมตร (117.9 นิ้ว) ทำให้กระบะมีความยาวถึง 2,290 มิลลิเมตร (90.2 นิ้ว)[4]
ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการเปิดตัวรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ โดยใช้รหัสตัวถัง KB40 แต่จำหน่ายภายใต้ชื่อ "ฟาสเตอร์ โรดีโอ" ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีรุ่นสองตอน (บนแชสซีส์ที่ยาวขึ้น) อีกด้วย การจำหน่ายสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2523 เมื่อมีการเปิดตัวโฉมที่สอง เครื่องยนต์ที่ใช้ในตลาดส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียง SOHC ขนาด 1.6 ลิตร (1,584 ซีซี) จ่ายเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์ ให้กำลังสูงสุด 94 แรงม้า (69 กิโลวัตต์) เสริมด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบเรียง (รหัส KBD) ขนาด 2.0 ลิตร (1,951 ซีซี) ให้กำลังสูงสุด 62 แรงม้า (46 กิโลวัตต์) ความเร็วสูงสุดของรถรุ่นนี้เมื่อใช้เชื้อเพลิงเบนซินและดีเซลอยู่ที่ 145 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ 115 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ตามลำดับ[4] เดิมทีในประเทศญี่ปุ่น รถรุ่นนี้ติดตั้งเครื่องยนต์แบบวาล์วเหนือสูบรหัส G161 ให้กำลังสูงสุด 84 แรงม้า (62 กิโลวัตต์) ทำให้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (84 ไมล์ต่อชั่วโมง)[5]
- ออสเตรเลีย
เจเนรัลมอเตอร์-โฮลเดน ได้นำเข้าฟาสเตอร์เข้าสู่ประเทศออสเตรเลียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "เชฟโรเลต แอลยูวี" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อีซูซุ KB" ในปี พ.ศ. 2520 ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยโฉมที่สองในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งใช้ชื่อว่า "โฮลเดน โรดีโอ"[6][7][8] โฮลเดนได้เปิดตัว LUV ในประเทศออสเตรเลีย โดยติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียง ขนาด 1.6 ลิตร ให้กำลังสูงสุดประมาณ 67 แรงม้า (50 กิโลวัตต์) และแรงบิดสูงสุดประมาณ 110 นิวตันเมตร (81 ปอนด์-ฟุต)[8] ด้วยชื่อเสียงในด้านความน่าเชื่อถือและความทนทานที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่เริ่มแรก รุ่นดั้งเดิมเหล่านี้ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 4 สปีด โครงสร้างฐานล้อสั้น และมีความสามารถในการบรรทุกประมาณ 1 ตัน[8]
ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการปรับปรุงและขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ LUV ซึ่งประกอบด้วยรุ่น KB20 ที่มีฐานล้อสั้น รุ่น KB25 ที่มีฐานล้อยาวรุ่นใหม่ และรุ่น KB40 ที่มีฐานล้อสั้นและระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ[8] รุ่น KB25 และ KB40 มีให้เลือกทั้งแบบแค็บแชสซีส์ (cab chassis) และแบบกระบะ (utility หรือ pickup) โดยมีให้เลือกทั้งเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.6 ลิตร หรือเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบเรียงขนาด 1.95 ลิตร[8] เครื่องยนต์ดีเซลผลิตกำลังได้ 60 แรงม้า (45 กิโลวัตต์) และแรงบิด 113 นิวตันเมตร (83 ปอนด์-ฟุต)[8]
- อเมริกาเหนือ
ความรับผิดชอบในการขายในทวีปอเมริกาเหนือได้ถูกมอบหมายให้แก่เจเนรัลมอเตอร์ ส่งผลให้รถอีซูซุถูกจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายเชฟโรเลตภายใต้ชื่อ "เชฟโรเลต LUV" โดยมีเครื่องยนต์เพียงแบบเดียว คือ เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียง ขนาด 1.8 ลิตร (1,817 ซีซี) SOHC ให้กำลังสูงสุด 75 แรงม้า (56 กิโลวัตต์)
การจำหน่ายในสหรัฐได้เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการแข่งขันในตลาดรถกระบะจากดัทสันและโตโยต้า ตลอดจนรถกระบะคูเรียร์ที่ฟอร์ดนำเข้ามาจากมาสด้า [2] เพื่อเลี่ยงอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 25 ที่เรียกว่าภาษีไก่ สำหรับรถกระบะขนาดเล็ก LUV จึงถูกนำเข้ามาในรูปแบบแค็บแชสซีส์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนของรถกระบะทั้งหมด ยกเว้นกระบะท้าย และถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น[9] จากนั้นจึงติดตั้งกระบะเข้ากับตัวถัง และรถดังกล่าวก็สามารถจำหน่ายได้ในฐานะรถบรรทุกขนาดเล็ก
ภายนอกได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2517 แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2519 โดยมีการเพิ่มตัวเลือกเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และระบบดิสก์เบรกที่ล้อหน้า ในปี พ.ศ. 2520 กำลังของเครื่องยนต์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 80 แรงม้า (60 กิโลวัตต์) และยอดขายก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกและการเพิ่มตัวเลือกพื้นที่บรรทุกขนาด 2,285 มิลลิเมตร (90 นิ้ว) พร้อมฐานล้อที่ยาวขึ้นเป็น 2,995 มิลลิเมตร (118 นิ้ว) ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 71,145 คันในปี พ.ศ. 2521 การเพิ่มรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อในปี พ.ศ. 2522 นั้นทำให้ LUV ได้รับความสนใจจากนิตยสาร Motor Trend และได้รับรางวัล "รถกระบะยอดเยี่ยมแห่งปี" ครั้งที่สอง LUV เป็นรถบรรทุกเล็กขับเคลื่อนสี่ล้อรุ่นแรกที่มีวางจำหน่ายและสร้างกระแสใหม่[10] ยอดขายสูงสุดแตะที่ 100,192 คัน
รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2523–2531)
แก้รุ่นที่ 2 | |
---|---|
เชฟโรเลต LUV 2 ประตู รุ่นปี พ.ศ. 2524 (สหรัฐ) | |
ภาพรวม | |
เรียกอีกชื่อ |
|
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2523–2531 พ.ศ. 2523–2537 (อินโดนีเซียและลาตินอเมริกา) |
แหล่งผลิต | ญี่ปุ่น: ฟูจิซาวะ, จังหวัดคานางาวะ โคลอมเบีย: โบโกตา ชิลี: อาริกา นิวซีแลนด์: เทรนแธม ไทย: สำโรงใต้, สมุทรปราการ ฟิลิปปินส์: ดาสมารีญาส (Pilipinas GM) อินโดนีเซีย: เบอกาซี, จังหวัดชวาตะวันตก (ถึง 2537) ซูราบายา, จังหวัดชวาตะวันออก (โฮลเดน ลินจา/ไรเดอร์) |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | 2 ประตู ไม่มีกระบะ รถกระบะ 2 ประตู รถกระบะ 2 ประตู (Spacecab) SUV 3/5 ประตู รถกระบะ 4 ประตู (Crew Cab) |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ |
|
ความยาว |
|
ความกว้าง |
|
น้ำหนัก | 1,099–1,450 กิโลกรัม (2,423–3,197 ปอนด์) |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | โฮลเดน WB (ออสเตรเลีย) |
โฉมที่สองนี้มักถูกทำการตลาดทั่วโลกภายใต้แบรนด์อีซูซุ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า "อีซูซุ KB" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Pick Up" อีซูซุยังคงใช้คำว่า "โรดีโอ" ต่อท้ายเพื่อระบุถึงรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ โฉมนี้ถือเป็นรุ่นแรกที่นำเสนอตัวเลือกห้องโดยสารสามรูปแบบ ได้แก่ ตอนเดียว สองตอน และตอนครึ่ง หรือ "Spacecab" ("Sportscab" ในบางตลาด) แม้จะได้รับการออกแบบตัวถังใหม่ทั้งหมด แต่แชสซีส์ของรุ่นนี้ยังคงเหมือนกับรุ่นก่อนหน้า ในสหราชอาณาจักร การจำหน่ายรถรุ่นนี้ยังคงดำเนินต่อไปภายใต้ชื่อ เบดฟอร์ด KB
โฉมนี้ไม่ได้ใช้ร่วมกับแพลตฟอร์ม GMT325 ของเจเนรัลมอเตอร์ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ เชฟโรเลต LUV ในทวีปอเมริกาเหนือในปี พ.ศ. 2525
ออสตราเลเชีย
แก้โฮลเดนในภูมิภาคออสตราเลเซียได้ทำการจัดจำหน่ายอีซูซุ ฟาสเตอร์ โฉมที่สองในช่วงระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อว่า "โฮลเดน โรดีโอ" โฉมแรก หรือซีรีส์ KB ซึ่งเริ่มการผลิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[6][13] ในช่วงแรกติดตั้งไฟหน้าทรงกลมและกระจังหน้าแนวนอน 4 ช่อง แต่ได้มีการปรับโฉมในเดือนธันวาคมในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมาพร้อมกับไฟหน้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กระจังหน้าแบบ 12 ช่อง และกระจกมองข้างดีไซน์ใหม่[13][14]
เมื่อเปิดตัว โฮลเดนได้นำเสนอโรดีโอในรูปแบบรถกระบะ และแค็บแชสซีส์ โดยมีให้เลือกทั้งแบบขับเคลื่อนล้อหลัง (ฐานล้อยาว) และขับเคลื่อนสี่ล้อ (ฐานล้อสั้น) ทุกรุ่นมาพร้อมกับระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดาซิงโครเมช 4 สปีด ซึ่งติดตั้งอยู่ที่พื้นหรือคอพวงมาลัย จับคู่กับเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.6 ลิตร หรือเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.0 ลิตร[15] การปรับปรุงในรุ่นปี พ.ศ. 2526 ทำให้ปริมาตรกระบอกสูบเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 และ 2.2 ลิตร ตามลำดับ พร้อมกันนั้นได้เปิดตัวรุ่น "LS" (รหัส KB28) ซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.0 ลิตร และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด[16] สำหรับรถรุ่นปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ได้มีการติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.0 ลิตร เป็นเครื่องยนต์มาตรฐาน[17]
เมื่อโฮลเดน WB หยุดการผลิตในปี พ.ศ. 2527 โรดีโอกลายเป็นรถกระบะและรถแชสซีส์แค็บรุ่นเดียวที่โฮลเดนนำเสนอ (จนกระทั่งมีการเปิดตัวโฮลเดน ยูทิลิตี ที่มีพื้นฐานมาจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในปี พ.ศ. 2533) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2528 รุ่นปี 2528 ได้รับการปรับโฉมอีกครั้ง[13] โดยมีการเปิดตัวรุ่นห้องโดยสารตอนครึ่งหรือที่เรียกว่า Spacecab พร้อมกันกับการเปิดตัวเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.3 ลิตรรุ่นใหม่ และการยกเลิกเกียร์ธรรมดา 4 สปีดพร้อมคันเกียร์ที่คอพวงมาลัย ทำให้เกียร์ธรรมดา 5 สปีดแบบคันเกียร์ที่พื้นกลายเป็นแบบมาตรฐาน[18] ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 (สำหรับรุ่นปี พ.ศ. 2529) เครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.3 ลิตรได้กลายเป็นเครื่องยนต์มาตรฐาน และในเดือนเมษายนปีถัดมาในรุ่นปี พ.ศ. 2530 ได้มีการปรับโฉมครั้งสุดท้าย โดยมีกระจังหน้าแบบสี่เหลี่ยมเปิด และพวงมาลัยเพาเวอร์เป็นตัวเลือกอุปกรณ์เสริม[13][19][20]
รุ่นที่มีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับท้องถิ่นถูกประกอบขึ้นที่โรงงานประกอบของเจเนรัลมอเตอร์ ในเมืองเทรนแธรม ประเทศนิวซีแลนด์ รถเหล่านี้ยังได้รับการติดตราโฮลเดนด้วย
ยุโรป
แก้KB โฉมที่สองได้รับการเปิดตัวในหลายตลาดของทวีปยุโรป ไม่เพียงแต่ในสหราชอาณาจักรเท่านั้น เช่น เบดฟอร์ด KB ในปีต่อมา ตลาดในทวีปยุโรปได้เปลี่ยนมาใช้ตราอีซูซุ เนื่องจากเจเนรัลมอเตอร์ได้ยุติการใช้ตราว็อกซอลล์และเบดฟอร์ดนอกสหราชอาณาจักร[21] มีรหัสรุ่นเป็นชื่อเรียก ข้อมูลจำเพาะและรุ่นย่อยต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละตลาด แต่โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.6 ลิตร รหัส G161Z พร้อมระบบคาร์บูเรเตอร์คู่ ให้กำลังสูงสุด 80 แรงม้า (59 กิโลวัตต์) หรือเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.0 ลิตร 4 สูบเรียง รหัส C190 ให้กำลังสูงสุด 54.5 แรงม้า (40 กิโลวัตต์) มีการนำเสนอรุ่นขับเคลื่อนล้อหลังในรุ่นฐานล้อยาว ซึ่งไม่ได้มีให้เลือกในรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ[22]
อเมริกาเหนือ
แก้สหรัฐยังคงจำหน่ายฟาสเตอร์ภายใต้ชื่อเชฟโรเลต LUV โฉมที่สอง ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2523 สำหรับรุ่นปีแบบ พ.ศ. 2524 เครื่องยนต์เบนซินยังคงเดิม แต่ LUV มีเครื่องยนต์ดีเซลรหัส C223 ให้เลือก ซึ่งให้กำลังสูงสุด 58 แรงม้า (43 กิโลวัตต์) ที่ 4,300 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 93 ปอนด์-ฟุต (126 นิวตัน-เมตร) ที่ 2,200 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ใหม่นี้ทำให้ LUV รุ่นขับเคลื่อนล้อหลังมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยในเมืองที่ 33 ไมล์ต่อแกลลอนสหรัฐ (7.1 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร) และนอกเมืองที่ 44 ไมล์ต่อแกลลอนสหรัฐ (5.3 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร)
หลังจากรุ่นปี พ.ศ. 2525 เจเนรัลมอเตอร์ได้ยุติการจำหน่ายเชฟโรเลต LUV ในสหรัฐ (แม้ว่ารถรุ่นปี พ.ศ. 2525 จำนวนมากจะยังคงมีจำหน่ายอยู่ในโชว์รูมต่อมาอีกหนึ่งปี) เพื่อหันมาให้ความสำคัญกับรถกระบะขนาดเล็ก S-10 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเองแทน ขณะเดียวกัน อีซูซุได้ทำการจำหน่ายรถรุ่นของตนเองควบคู่ไปกับรถ LUV ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเข้าสู่ตลาดสหรัฐ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า "อีซูซุ พีอัป" (Isuzu P'Up) (ย่อมาจากคำว่า "pickup") รุ่นของอีซูซุได้รับการออกแบบให้แตกต่างจาก LUV ด้วยกระจังหน้ารูปแบบใหม่และรายละเอียดอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอักษร "ISUZU" ขนาดใหญ่บนฝาท้ายรถ[10] พีอัปใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกันกับ LUV ซึ่งมีให้เลือกสองชนิด ได้แก่ เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียงขนาด 1.8 ลิตร กำลัง 80 แรงม้า (60 กิโลวัตต์) รหัส G180Z และเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร กำลัง 58 แรงม้า (43 กิโลวัตต์) รหัส C223 ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อสามารถติดตั้งได้กับเครื่องยนต์ทั้งสองชนิด แต่มีให้เลือกเฉพาะในรุ่นฐานล้อสั้น[23] อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าพบรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อฐานล้อยาวเครื่องยนต์ดีเซลบางคัน ซึ่งอาจติดตั้งโดยตัวแทนจำหน่ายหรือเป็นการดัดแปลงในภายหลัง เนื่องจากข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างเจเนรัลมอเตอร์กับอีซูซุ ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลยังคงเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับรถที่เข้ามาทดแทน LUV จนถึงปี พ.ศ. 2528 ต่อมาเครื่องยนต์เบนซินได้รับการปรับปรุงเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.95 ลิตรของอีซูซุ และมีการเพิ่มรุ่นดีเซลเทอร์โบเข้ามา โดยระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล[24]
ในปี พ.ศ. 2530 ได้เปิดตัวรุ่นห้องโดยสารตอนครึ่งหรือที่เรียกว่า Spacecab[24] แต่มีให้เลือกเพียงในสองรุ่นย่อยคือ LS และ Deluxe เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกใหม่คือ เครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.3 ลิตร 4 สูบ ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ[24] การผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดเม็กซิโกและลาตินอเมริกายังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2537
อเมริกาใต้
แก้เช่นเดียวกับอเมริกาเหนือ อีซูซุ KB มักจะถูกจำหน่ายภายใต้ชื่อ "เชฟโรเลต LUV" ในทวีปอเมริกาใต้ ผลิตขึ้นในประเทศโคลอมเบีย โดยใช้ชุดประกอบสำเร็จรูป (Complete Knock Down; CKD) ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการผลิตในปี พ.ศ. 2523 เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ และดำเนินการผลิตต่อเนื่องมาจนถึงการเปิดตัวรุ่น TF ในปี พ.ศ. 2531 ในช่วงเริ่มต้น รุ่นที่ประกอบขึ้นมามีรหัส K-26 และ K-28 พร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด 1,584 ซีซี รหัส G161Z[25] นอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,951 ซีซี รหัส C190 กำลัง 62 แรงม้า (46 กิโลวัตต์) ให้เลือกอีกด้วย[26] อีซูซุ KB โฉมนี้มีการประกอบเฉพาะที่ประเทศชิลี โดยใช้ชุดประกอบสำเร็จรูปที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น[26]
-
อีซูซุ KB 2 ประตู (ชิลี)
-
โฮลเดน โรดีโอ (KBD26) แชสซีส์แค็บ 2 ประตู รุ่นปี พ.ศ. 2524
-
โฮลเดน โรดีโอ (KB) 2 ประตู (นิวซีแลนด์) รุ่นปี พ.ศ. 2528
-
โฮลเดน โรดีโอ (KB28) 2 ประตู LS รุ่นปี พ.ศ. 2525–2528
-
เชฟโรเลต LUV DLX 4 ประตู รุ่นปี พ.ศ. 2531
ประเทศไทย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
รุ่นที่ 3 (TF; พ.ศ. 2531–2545)
แก้รุ่นที่ 3 | |
---|---|
อีซูซุ TF 4 ประตู (อิตาลี) | |
ภาพรวม | |
เรียกอีกชื่อ | อีซูซุ โรดีโอ (ญี่ปุ่นและไทย; ขับเคลื่อน 4 ล้อ) อีซูซุ ดราก้อน อายส์ (ประเทศไทย; 2539–45) อีซูซุ ดราก้อน เพาเวอร์ (ประเทศไทย; 2543–45) อีซูซุ ฟเวโก (ฟิลิปปินส์) อีซูซุ อินเวเดอร์ (มาเลเซีย) อีซูซุ อิปปอน (อิสราเอล) อีซูซุ KB (แอฟริกาใต้) อีซูซุ พิกอัป (อเมริกาเหนือ) อีซูซุ TF อีซูซุ TFR (ประเทศไทย) อีซูซุ TT ฟอร์ติโก เชฟโรเลต LUV เชฟโรเลต ที-ซีรีส์ (อียิปต์) โฮลเดน โรดีโอ ฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ (ประเทศไทย) โอเปิล คัมโป ว็อกซอลล์ บราวา (สหราชอาณาจักร) เบดฟอร์ด บราวา (สหราชอาณาจักร) โฟตอน SUP (จีน) จินเป่ย์ จินเตี้ยน SY10 (จีน) เจียงหลิง เป่าเตี้ยน (จีน) เจียงหลิง ฮันเตอร์ (ฟิลิปปินส์) วินเนอร์เวย์ ZH6500/ZH1021LU2 (จีน) ซินไค เซ็นจูรี (จีน) ออโตราด เซ็นจูรี (จีน) จีเอ็มซี ดรากอน (เม็กซิโก; 2539–44) จีเอ็มซี อินเวเดอร์ (เม็กซิโก; 2541–45) |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2531–2545 พ.ศ. 2535–2559 (จีน) |
แหล่งผลิต | ชิลี: จีเอ็มชิลี อาริกา จีน: ปักกิ่ง (โฟตอนมอเตอร์), เฉิ่นหยาง (จินเป่ย์), ฉงชิ่ง (ชิ่งหลิงมอเตอร์), หนานชาง (เจียงหลิงมอเตอร์) โคลอมเบีย: โรงงานจีเอ็มโคลโมโตเรส โบโกตา ญี่ปุ่น: ฟูจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ ฟิลิปปินส์: ดาสมาริญาส (2532–35) บีนัน (2535–48) (อีซูซุฟิลิปปินส์)[27] โปรตุเกส: เวนดาสนอวาส (ITUK) ประเทศไทย: สำโรง สมุทรปราการ ตูนีเซีย: อัลก็อยเราะวาน (IMM) สหรัฐ: ลาฟาแยต รัฐอินเดียนา |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | รถกระบะ 2 ประตู รถกระบะ 2 ประตู (Spacecab) รถกระบะ 4 ประตู (Cab4) |
รุ่นที่คล้ายกัน | อีซูซุ วิซาร์ด (โฉมแรก) อีซูซุ แพนเทอร์ |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | 2.0 L 4G63 I4 (จีน - เจียงหลิง) 2.2 L I4 (จีน - จินเป่ย์) 2.2 L 115 hp (85 kW) C22NE / 22LE I4 2.3 L 4ZD1 I4 2.4 L I4 (จีน - เจียงหลิว) 2.5 L 4ZE3 I4 (จีน - ชิ่งหลิงอีซูซุ) 2.6 L 4ZE1 I4 2.5 L 4JA1-T 2.1 L td I4 (จีน - จินเป่ย์) 2.2 L td I4 (จีน - จินเป่ย์) 2.4 L td I4 (จีน - จินเป่ย์) 2.8 L 4JB1-T td I4 3.0 L 4HK1-TC1 td I4 (จีน - ชิ่งหลิงอีซูซุ) 3.0 L 4JH1-T 3.1 L 4JG2-T td I4 3.1 L LG6 V6 3.2 L 6VD1 V6 "2.5.L 2500 cc Isuzu C240 (ดีเซล) (จีน) |
ระบบเกียร์ | เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เกียร์ธรรมดา 5 สปีด |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ |
|
ความยาว |
|
ความกว้าง |
|
น้ำหนัก | 1,295–1,698 กิโลกรัม (2,855–3,743 ปอนด์) |
สำหรับโฉมที่สาม (TF) ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2531 ตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นได้แบ่งสายผลิตภัณฑ์ออกเป็นสองส่วนโดยใช้ชื่อ "ฟาสเตอร์" สำหรับรุ่นขับเคลื่อนล้อหลัง ส่วนรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อได้เปลี่ยนชื่อเป็นอีซูซุ โรดีโอ ชื่อ "โรดีโอ" กลายเป็นชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดส่วนใหญ่สำหรับรถรุ่นนี้ แต่การใช้ชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละตลาดยังคงดำเนินต่อไป รุ่นที่จำหน่ายในอเมริกาเหนือนั้นมีชื่อเรียกว่า อีซูซุ พิกอัป และเชฟโรเลต LUV ในสหราชอาณาจักรมีชื่อเรียกทั้ง อีซูซุ TF และเบดฟอร์ด บราวา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึง 2534 ก่อนที่ตราเบดฟอร์ดจะถูกยกเลิก และรถรุ่นนี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นว็อกซอลล์ บราวา อีซูซุยังได้จำหน่ายในทวีปยุโรปควบคู่ไปกับโอเปิล แคมโป ตราโอเปิลนี้ยังได้ถูกไปใช้ในภูมิภาคตะวันออกกลาง บางส่วนของทวีปแอฟริกาเหนือ และบางประเทศในทวีปเอเชีย
ในภูมิภาคออสตราเลเซียใช้ชื่อ โฮลเดน โรดีโอ เพียงชื่อเดียวในการเรียกรถรุ่นนี้ ในขณะที่ในแอฟริกาใต้และตลาดอื่น ๆ นั้นใช้ชื่อ อีซูซุ KB แทน ชื่ออีซูซุ ฟาสเตอร์แซด, อีซูซุ TFR และฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ ถูกใช้ในประเทศไทย รถยนต์อเนกประสงค์ (SUV) สำหรับตลาดประเทศไทยซึ่งพัฒนามาจากพื้นฐานของรุ่น TF นั้นได้รับการจำหน่ายภายใต้ชื่อ "ไทยรุ่ง แอดเวนเจอร์" โดยบริษัทไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ ผลิตในรูปแบบชุดประกอบกึ่งสำเร็จรูป ในตลาดอื่น ๆ รถรุ่นนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ เชฟโรเลต ที-ซีรีส์ (อียิปต์), อีซูซุ อิปปอน (อิสราเอล), อีซูซุ ฟเวโก (ฟิลิปปินส์) และอีซูซุ อินเวเดอร์ (ในรัฐซาบะฮ์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย) รุ่นที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาตถูกจำหน่ายในนามจินเป่ย์ SY10 และโฟตอน ออหลิง ที-ซีรีส์ ในประเทศจีน ซึ่งรถรุ่นนี้ได้ทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับรถที่ผลิตเลียนแบบภายในประเทศจำนวนมาก ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต
ในประเทศญี่ปุ่น รุ่นขับเคลื่อนสองล้อถูกเรียกว่า "อีซูซุ ฟาสเตอร์" ขณะที่ชื่อ "โรดีโอ" ถูกสงวนไว้สำหรับรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการเปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบขนาด 2.8 ลิตร รหัส 4JB1 รุ่นปรับปรุงใหม่ ซึ่งมาพร้อมระบบหัวฉีดตรง ให้กำลังสูงสุด 110 แรงม้าที่ 3,600 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 23.0 กิโลกรัม-เมตร (226 นิวตันเมตร; 166 ปอนด์-ฟุต) ที่ 2,300 รอบต่อนาที ซึ่งสูงกว่าเครื่องยนต์รุ่นเดิมที่มีกำลัง 100 แรงม้า การจำหน่ายรถรุ่นนี้ในประเทศญี่ปุ่นสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2537 โดยไม่มีการผลิตทดแทน แม้ว่าตลาดส่งออกยังคงได้รับรถรุ่นนี้อยู่จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยอีซูซุ ดีแมคซ์ ในปี พ.ศ. 2545
อีซูซุประเทศญี่ปุ่นได้มอบหมายให้บริษัท โยโกฮามะ มอเตอร์เซลส์ จำกัด (Yokohama Motor Sales) ดำเนินการผลิตรถบ้าน 4 ที่นอนบนพื้นฐานโครงสร้างตัวถังอีซูซุ โรดีโอ รหัสตัวถัง TFS55H ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึง 2536 รุ่นนี้เป็นรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ซึ่งมอบทั้งสมรรถนะในการขับขี่บนเส้นทางออฟโรดและความสะดวกสบาย มีให้เฉพาะในรุ่นเครื่องยนต์ขนาด 2.8 ลิตร รหัส 4JB1-T และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด พร้อมชุดเกียร์ทรานเฟอร์ความเร็วสูง/ต่ำเท่านั้น ไม่มีเกียร์อัตโนมัติให้เลือก
-
อีซูซุ โรดีโอ รหัสตัวถัง TFS55H รุ่นปี พ.ศ. 2541
รุ่น TF ได้รับการปรับโฉมในปี พ.ศ. 2540 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอก เน้นรูปทรงโค้งมนมากขึ้นบริเวณด้านหน้า และปรับปรุงแผงควบคุมให้มีความคล้ายคลึงกับอีซูซุ วิซาร์ดรุ่นปี พ.ศ. 2538 ถึง 2540 ในประเทศจีน บริษัท ชิ่งหลิงมอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมทุนในท้องถิ่นของอีซูซุยังคงทำการผลิตรุ่น TF อยู่ โดยได้มีการปรับโฉมครั้งที่สองในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558
ออสเตรเลีย
แก้โฮลเดนนำรุ่น TF เข้าสู่ตลาดออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่าโฮลเดน โรดีโอ ซึ่งสืบทอดชื่อมาจากรถกระบะขนาดเล็กที่ใช้พื้นฐานขาดอีซูซุและจำหน่ายโดยโฮลเดนในออสเตรเลียมาก่อนหน้านี้ โฮลเดน โรดีโอมีจำหน่ายครั้งแรกด้วยเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียงขนาด 2.6 ลิตร กำลังสูงสุด 118 แรงม้า (88 กิโลวัตต์) ต่อมาไม่นานก็มีการเปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 4 สูบเรียงขนาด 2.8 ลิตร กำลังสูงสุด 99 แรงม้า (74 กิโลวัตต์) รูปแบบตัวถังที่นำเสนอประกอบด้วย ตอนเดียวสองประตู ตอนครึ่งสองประตู (Spacecab) ซึ่งมีพื้นที่สำหรับเบาะนั่งเสริมขนาดเล็กสองที่นั่งด้านหลังผู้โดยสารตอนหน้า (พบเห็นได้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยในออสเตรเลีย) และสองตอนสี่ประตู (Crewcab) ซึ่งมีพื้นที่สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารอีก 4 คน มีรุ่นย่อยให้เลือกหลายรุ่น ได้แก่ DX (รุ่นพื้นฐาน) LX (รุ่นกลางขับเคลื่อนล้อหลัง รุ่นสูงสุดในกลุ่มขับเคลื่อนสี่ล้อ) และ LT (รุ่นสูงสุด มีให้เลือกเฉพาะแบบขับเคลื่อนล้อหลัง เครื่องยนต์เบนซิน Crewcab)
โฮลเดน โรดีโอที่ได้รับการปรับโฉมในปี พ.ศ. 2540 (สำหรับรุ่นปี พ.ศ. 2541) ได้เปิดตัวรุ่นย่อยใหม่นั่นคือ LT Sport โดยมีให้เลือกเฉพาะรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ Crewcab เท่านั้น ถุงลมนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้าได้รับการเพิ่มเข้ามาเป็นอุปกรณ์เสริม ภายในปี พ.ศ. 2541 เครื่องยนต์ขนาด 2.6 ลิตรได้ถูกยกเลิกการผลิต และมีการทดแทนด้วยเครื่องยนต์ V6 ขนาด 3.2 ลิตร กำลังสูงสุด 188 แรงม้า (140 กิโลวัตต์ เครื่องยนต์นี้มีให้เลือกทั้งแบบขับเคลื่อนล้อหลังและสี่ล้อ รุ่นขับเคลื่อนล้อหลังมีแชสซีส์และความสูงจากพื้นเท่ากับรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ แต่ไม่มีกระปุกเกียร์แบ่งกำลังและเพลาขับหน้า เครื่องยนต์ V6 ขนาด 3.2 ลิตรเคยเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังที่สุดในรถกระบะในออสเตรเลีย จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยโรดีโอโฉมใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากอีซูซุ ดีแมคซ์ในปี พ.ศ. 2546 ด้วยเหตุนี้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวจึงได้รับความนิยมสูงสุดในโรดีโอ และโรดีโอก็สามารถทำยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยมีปริมาณใกล้เคียงกับโตโยต้า ไฮลักซ์ ซึ่งเป็นรถเพื่อการพาณิชย์ที่มียอดขายสูงสุดในออสเตรเลีย
โฮลเดน โรดีโอได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2544 สำหรับรุ่นปี 2545 โดยมีการติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ขนาด 3.1 ลิตร กำลังสูงสุด 129 แรงม้า (96 กิโลวัตต์) พร้อมระบบหัวฉีดตรง เทอร์โบชาร์จเจอร์ และอินเตอร์คูลเลอร์ การปรับปรุงครั้งนี้ยังมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรูปลักษณ์ภายนอกเล็กน้อย เช่น โคมไฟเลี้ยวแบบใส และกระจังหน้าแบบใหม่
ยุโรป
แก้ในทวีปยุโรป รถรุ่นนี้ถูกจำหน่ายภายใต้ชื่อรุ่น TF ควบคู่ไปกับโอเปิล แคมโป ซึ่งเป็นรถรุ่นเดียวกันแต่มีการติดตราของโอเปิล รถรุ่นนี้ยังมีจำหน่ายในชื่อ "อีซูซุ แคมโป" อีกด้วย ในสหราชอาณาจักรมีการใช้ตรา "เบดฟอร์ด บราวา" แทนโอเปิล เมื่อตราบดฟอร์ดถูกยกเลิกไป รถรุ่นนั้นก็ถูกเปลี่ยนตราใหม่ให้เป็นว็อกซอลล์ รถเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงเช่นเดียวกับอีซูซุ TF ในตลาดทั่วไป และมีรูปแบบของตัวถังให้เลือกหลากหลาย โดยมักจะจับคู่กับเครื่องยนต์ดีเซล
อเมริกาเหนือ
แก้ในทวีปอเมริกาเหนือ รถตระกูล TF ได้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อจำหน่ายเพียงแค่ "อีซูซุ พิกอัป" อีซูซุได้ผลิตรถรุ่น TF อย่างต่อเนื่องในโรงงานผลิตที่เมืองลาฟาแยต รัฐอินดีแอนา จนถึงปี พ.ศ. 2539 ก่อนจะมีการแทนที่ด้วยรุ่นออมเบร ซึ่งเป็นรถที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของเชฟโรเลต S-10 เครื่องยนต์ที่ใช้สำหรับรถรุ่นนี้ในรุ่นปี พ.ศ. 2534 ถึง 2537 มีเพียง 3 ขนาด ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.3 ลิตร รหัส 4ZD1 กำลังสูงสุด 96 แรงม้า (72 กิโลวัตต์), เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.6 ลิตร รหัส 4ZE1 กำลังสูงสุด 120 แรงม้า (88 กิโลวัตต์) และเครื่องยนต์เบนซิน V6 ขนาด 3.1 ลิตร ผลิตโดยเจเนรัลมอเตอร์ รหัส LG6 กำลังสูงสุด 120 แรงม้า (89 กิโลวัตต์) และแรงบิดสูงสุด 170 ปอนด์-ฟุต (230 นิวตัน-เมตร)[29] รุ่นเครื่องยนต์ 2.3 ลิตรถือเป็นรถยนต์ค์ส่วนบุคคลรุ่นสุดท้ายที่ใช้ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ที่จำหน่ายในสหรัฐ (รุ่นปี พ.ศ. 2537) นอกจากนี้ยังมีรุ่นหนึ่งตันที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น ออกแบบมาเพื่อการใช้งานหนักเป็นพิเศษ[30] โฉมนี้ยังคงจำหน่ายในประเทศเม็กซิโกและลาตินอเมริกาจนกระทั่งการผลิตสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2559
อเมริกาใต้
แก้เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้าในตระกูล KB ตลาดในอเมริกาใต้ยังคงได้รับรถตระกูล TF ภายใต้ชื่อเชฟโรเลต LUV งานประกอบในประเทศชิลีได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ขณะที่ในประเทศโคลอมเบียเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ในกระบวนการประกอบนั้น อัตราส่วนการใช้ชิ้นส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนที่สูงและมีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการผลิตรถ LUV[26][31] ในประเทศชิลี กฎหมายกำหนดให้อัตราส่วนของชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศต้องมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ขณะที่ในประเทศโคลอมเบีย อัตราส่วนดังกล่าวสูงเกินร้อยละ 70[32]
โครงการส่งออกที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นขึ้นในประเทศชิลีในช่วงทศวรรษที่ 1980 มุ่งสู่ประเทศในประชาคมแอนดีส ได้แก่ โบลิเวีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา และในปี พ.ศ. 2536 ได้เริ่มต้นการส่งออกรถที่ประกอบในประเทศชิลี (เฉพาะรุ่น SpaceCab) ไปยังประเทศโบลิเวีย เปรู อาร์เจนตินา เม็กซิโก อุรุกวัย ปารากวัย โคลอมเบีย และเวเนซุเอลา[26] โดยรวมแล้วมีการผลิตมากกว่า 220,000 คันในชิลี และมากกว่า 300,000 คันในโคลอมเบีย บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด ได้ส่งชิ้นส่วนตัวถังที่ออกแบบพิเศษจาก "อีซูซุ แกรนด์แอดเวนเจอร์" ไปยังโรงงานผลิตของเชฟโรเลต เมืองอาริกา ประเทศชิลี เพื่อใช้ในการประกอบรถยนต์รุ่น "เชฟโรเลต แกรนด์แอดเวนเจอร์" และ "เชฟโรเลต แกรนด์ LUV" แกรนด์แอดเวนเจอร์เป็นรุ่นสเตชันแวกอนของรถกระบะตระกูล TF
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 บริษัท ออมนิบัส บีบี ทรานสปอร์เตส จำกัด (ปัจจุบันคือเจเนรัลมอเตอร์ เอกวาดอร์) ได้เริ่มการประกอบชิ้นส่วนเพิ่มเติมในเมืองกีโต ประเทศเอกวาดอร์ โดยใช้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบเรียงขนาด 1.6 ลิตร กำลังสูงสุด 80 แรงม้า 60 กิโลวัตต์)
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 การผลิตอีซูซุ ฟาสเตอร์ในชิลีได้สิ้นสุดลง ในโคลอมเบีย การผลิตอีซูซุ ฟาสเตอร์ได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2553 ฟาสเตอร์คันสุดท้ายได้ออกจากสายการผลิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในทั้งสองประเทศ อีซูซุ ฟาสเตอร์ได้ถูกแทนที่ด้วยอีซูซุ ดีแมคซ์ โดยชุดประกอบแรกถูกประกอบขึ้นในประเทศเอกวาดอร์เท่านั้น และต่อมาได้มีการนำเข้าจากประเทศไทย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา)
-
อีซูซุ พิกอัป รุ่นปี 2533 ห้องโดยสารธรรมดา สหรัฐ
-
โฮลเดน โรดีโอ แค็บแชสซีส์ 2 ประตู รุ่นปี 2531–33
-
โฮลเดน โรดีโอ แค็บแชสซีส์ 2 ประตู DLX รุ่นปี 2534–35
-
โฮลเดน โรดีโอ แค็บแชสซีส์ 2 ประตู รุ่นปี 2544–46
-
ฮอนด้า ทัวร์มาสเตอร์ LXS รุ่นปี 2539
-
โอเปิล แคมโป สี่ประตู (TFS54) รุ่นปี 2539
-
เชฟโรเลต LUV LS รุ่นปี 2543
-
เชฟโรเลต แกรนด์ LUV แวกอน รุ่นปี 2545
-
เชฟโรเลต LUV คาร์โก รุ่นปี 2547
-
เชฟโรเลต LUV รุ่นปี 2548
-
ว็อกซอลล์ บราวา รุ่นปี 2542
-
ชิ่งหลิงอีซูซุ TF140 (ปรับโฉมครั้งที่สอง) รุ่นปี 2559
อ้างอิง
แก้- ↑ Ruiz (1986), p. 131.
- ↑ 2.0 2.1 "Chevrolet Colorado History". Edmunds. สืบค้นเมื่อ 6 May 2011.
- ↑ "Bedford KB (KB25) brochure (Europe, left-hand drive)". Bedford Vehicles. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
- ↑ 4.0 4.1 The Isuzu KB pick-up. More than ever, Your kind of pick-up. For your kind of work, Tokyo: Isuzu Motors Limited, December 1977, p. 8, E781-KB/KBD
- ↑ 自動車ガイドブック: Japanese motor vehicles guide book 1973/1974 (ภาษาญี่ปุ่น), vol. 20, Japan: Japan Automobile Manufacturers Association, 1973-10-30, p. 230
- ↑ 6.0 6.1 Bebbington (2009), p. 279. "KB Rodeo: December 1980 to August 1988"; "GM-H had been importing light and heavy Isuzu trucks from Japan since the early 1970s. First of these was the Isuzu KB utility, sold as the Chevrolet LUV (Light utility Vehicle). The reputation and recognition of this little utility grew over time until in 1977, the Chevrolet name was deleted and the Isuzu nameplate was used instead. Late in 1980, KB received a major
facelift[redesign]. With new sheetmetal, the opportunity was taken to re-badge the car yet again – this time as Holden Rodeo." - ↑ "Holden Rodeo – Used Car Research". GoAuto. John Mellor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Holden Rodeo (Isuzu Utility)". GoAuto. John Mellor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2012. สืบค้นเมื่อ 8 May 2011.
- ↑ Ikenson, Daniel (18 June 2003). "Ending the 'Chicken War': The Case for Abolishing the 25 Percent Truck Tariff" (PDF). Cato Institute. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
- ↑ 10.0 10.1 Gandy, Jim (1982-05-03). "Life with the P'UP". Autoweek. Vol. 32 no. 18. Crain Press Inc. p. 24. ISSN 0192-9674.
- ↑ Alfan, Charis (2016-06-26). "Holden Lincah/Holden Raider". Mobilmotorlama (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01.
- ↑ Raharja, Santosa Budi (September 24, 2018). "Embrio Mobil Nasional yang gagal: "Lincah" mobnas bagus yang gagal karena kendala penjualan" [Failed Embryo of a National Car: "Lincah" was a good car which failed due to sales constraints] (ภาษาอินโดนีเซีย).
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Bebbington (2009), p. 280.
KB Rodeo Released Initial release Jan-81 1983 upgrade Dec-82 1984 upgrade Feb-84 1985 upgrade Jul-85 1986 upgrade Mar-86 1987 upgrade Apr-87 - ↑ Bebbington (2009), p. 279–280. "These early series Rodeos could be identified by: the simple horizontal-slat grille design, round headlamps and central Holden lion logo."; "In late 1982, Rodeo received a facelift with a bold new twelve-segment grille and rectangular headlights."
- ↑ Bebbington (2009), p. 279. "Initially, Rodeo was sold in utility (pick-up) and cab chassis body styles, with a choice of two or four-wheel drive. All versions were offered with a 1600cc petrol or 2000cc diesel powerplant. The transmission was a 4-speed all-synchro manual gearbox with floor or column shift."
- ↑ Bebbington (2009), p. 279. "Tagged the 1983 year model, it featured increased basic engine capacities – 1800cc petrol and 2200cc diesel. The upmarket LS model (coded KB28) has a 2000cc petrol engine, coupled to a 5-speed manual transmission."
- ↑ Bebbington (2009), p. 279. "The next update was the 1984 model released in February of that year, with further model proliferation. The 2000 cc petrol engine became the base powerplant and the 2200 cc diesel remained the option."
- ↑ Bebbington (2009), p. 279. "With yet another facelift, the 1985 model range was broadened to include the Space Cab – a 2-door utility with a slightly extended cabin, providing extra storage space behind the seats. Also for 1985, a new 2.3-liter petrol engine was added to the range. [...] In 1985, the 4-speed manual gearbox and column-shift selector were deleted. All Rodeos now had a 5-speed floor-shift manual transmission as standard."
- ↑ Bebbington (2009), p. 279. "In 1986, the range was altered again, with the 2.3-liter petrol engine now fitted as standard equipment across the board. The following year, the KB series Rodeo received its final facelift, identified by the distinctive open rectangular grille design."
- ↑ Bebbington (2009), p. 280. "Power steering available from 1987".
- ↑ Sundfeldt, Björn (1982-10-06). "Pickup för skogsfolk" [Pickup for the forest dwellers]. Teknikens Värld (ภาษาสวีเดน). Vol. 34 no. 21. Stockholm, Sweden: Specialtidningsförlaget AB. p. 40.
- ↑ Meurer, Stany (1983-04-28). "Dossier Pick-up" [The pickup file]. De AutoGids (ภาษาเฟลมิช). Brussels, Belgium: Uitgeverij Auto-Magazine. 4 (94): 44–45.
- ↑ Lamm (1981), p. 108.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Parker, Steve (August 1986). "Pickup Trucks Buyers' Guide". Popular Mechanics. Hearst Magazines. p. 98.
- ↑ Tiempo, Casa Editorial El. "La apreciada LUV de Chevrolet, en 'Los carros más queridos de Colombia'". Revista Motor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-21. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 Después 34 años General Motor cierra planta ensambladora de Arica / History General Motore Chile[ลิงก์เสีย] (ในภาษาสเปน)/ Accessed on 04/25/2018
- ↑ "Isuzu. Isuzu in the Philippines". Car-cat.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010.
- ↑ "Isuzu Rodeo 4WD Diesel Camper". Expeditional Portal. 24 May 2022.
- ↑ General Motors 60° V6 engine#Generation I
- ↑ Siegel, Stewart (July 1990). "The New Models for 1991: Light Trucks". Fleet Owner. Vol. 85 no. 7. FM Business Publications. p. 61.
- ↑ La Historia Paso A Paso 1989 Se Lanza el pick-up Chevrolet Luv 2.3 / The History Step by Step. 1989 - The Chevrolet Luv 2.3 pick-up is launched (in Spanish) / Accessed on 04/25/2018
- ↑ Los Carros Más Queridos De Colombia - Historia de la Camioneta Chevrolet Luv en Colombia - Revista 1995 / The Most Loved Cars in Colombia - History of the Chevrolet Luv Pickup Truck in Colombia - Magazine 1995 - (in Spanish)/ Accessed on 04/25/2018