อินโด-ไซเทีย
อินโด-ไซเทีย (อังกฤษ: Indo-Scythians) หรือบางครั้งเรียก อินโด-ซากา (Indo-Sakas) เป็นกลุ่มชนอิหร่านร่อนเร่กลุ่มหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากชาวซากาและชาวไซเทีย ต่อมาพวกเขาอพยพจากเอเชียกลางมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคตอนเหนือและตะวันตกของอินเดียช่วงกลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4
อาณาจักรอินโด-ไซเทีย | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ป. 150 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 400 | |||||||||||||||||||
ดินแดน (เขียว) และการแผ่ขยาย (เหลือง) ของอาณาจักรอินโด-ไซเทียในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด | |||||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาซากา,[1] ภาษากรีกคอยนี, ภาษาบาลี (อักษรขโรษฐี), ภาษาสันสกฤต, ภาษาปรากฤต (อักษรพราหมี) | ||||||||||||||||||
ศาสนา | |||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||||||||||
• 85–60 ปีก่อนคริสตกาล | Maues | ||||||||||||||||||
• ค.ศ. 10 | Hajatria | ||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยโบราณ | ||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | ป. 150 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 400 | ||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||
20 est.[3] | 2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
|
ผู้ปกครององค์แรกของชาวอินโด-ไซเทียคือ Maues (ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) ผู้สถาปนาอำนาจในแคว้นคันธาระและหุบเขาสินธุ ชาวอินโด-ไซเทียแผ่ขยายอำนาจลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย พิชิตอาณาจักรอินโด-กรีกและอาณาจักรท้องถิ่นอื่น ๆ ก่อนถูกปราบโดยจักรวรรดิกุษาณะ[4] และกลายเป็นประเทศราชที่มีเซแทร็ปปกครองแยกกันทางเหนือและตะวันตก[5] ผู้ปกครองชาวซากาเริ่มเสื่อมอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หลังพ่ายแพ้ให้กับจักรวรรดิสาตวาหนะ[6][7] การปกครองของชาวอินโด-ไซเทียในตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียสิ้นสุดลงเมื่อเซแทร็ปองค์สุดท้ายของฝ่ายตะวันตกถูกพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิคุปตะพิชิตในค.ศ. 395[8][9]
นักประวัติศาสตร์โรมันโบราณ เช่น แอร์เรียน[10] และทอเลมีบันทึกว่าชาวซากาเป็นชนร่อนเร่[11] อย่างไรก็ตามอิตาโล รอนกาบรรยายในการศึกษาของเขาว่าข้อความของทอเลมีที่ว่า "ดินแดนของชาวซากาเป็นดินอดนของชนร่อนเร่ พวกเขาไม่สร้างเมือง แต่อาศัยอยู่ในป่าและถ้ำ" นั้นไม่จริง[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Diringer, David (1948). The Alphabet: A Key to the History of Mankind (ภาษาอังกฤษ) (Second and revised ed.). London: Hutchinson's Scientific and Technical Publications. p. 350.
- ↑ The Decline and Fall of the Hindus: The Book on India's Regeneration
- ↑ Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D". Social Science History. 3 (3/4): 115–138. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
- ↑ Kharapallana and Vanaspara are known from an inscription discovered in Sarnath, and dated to the 3rd year of Kanishka, in which they were paying allegiance to the Kushanas. Source: "A Catalogue of the Indian Coins in the British Museum. Andhras etc." Rapson, p ciii
- ↑ "The titles "Kshatrap" and "Mahakshatrapa" certainly show that the Western Kshatrapas were originally feudatories" in Rapson, "Coins of the British Museum", p.cv
- ↑ World history from early times to A D 2000 by B .V. Rao: p.97
- ↑ A Brief History of India, by Alain Daniélou p.136
- ↑ India in a Globalised World, by Sagarika Dutt p.24
- ↑ Ancient India, by Ramesh Chandra Majumdar p. 234
- ↑ "Arrian: Anabasis Alexandri: Book VIII (Indica); Section V". Ancient History Sourcebooks. Fordham University. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.
- ↑ Ptolemy vi, xiii (1932), p. 143.
- ↑ Ronca (1971), pp. 39, 102, 108.