อัมพร ศรีไชยยันต์
พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ เป็นทหารบกชาวไทยและเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี 2512 เป็นอดีตที่ปรึกษาการกฎหมาย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นนักศึกษาคนแรกที่สำเร็จวิชากฎหมายเป็นเนติบัณฑิตสยาม และสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี[1]
พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | มนูญ บริสุทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2451 |
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (62 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง สมสมัย ศรีไชยยันต์ |
ประวัติ
แก้อัมพร ศรีไชยยันต์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2451 ที่ตำบลหัวรอ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายอำนาจ กับนางเชย ศรีไชยยันต์ และได้สมรสกับคุณหญิง สมสมัย ศรีไชยยันต์ มีธิดา 2 คน คือ ทิพ ศรีไชยยันต์ และอุ้มพร ศรีไชยยันต์
อัมพร จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต จากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ในปี 2470 และสอบชิงทุนระพี ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายจนสอบได้ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี
การทำงาน
แก้อัมพร เข้าทำงานเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ในปี 2470 จนกระทั่งย้ายเข้ารับราชการทหารในปี 2479 เป็นทหารประจำกองบังคับการกรมพระธรรมนูญ และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการจนในปี 2484 ได้เป็นเจ้ากรมพระธรรมนูญ และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ในปี 2489 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครั้งที่ 2 และในปี 2493 ได้เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายประจำกรมเสนาธิการกลาโหม และเป็นที่ปรึกษาการกฎหมาย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในปี 2504
ในปี 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[5]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[6]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[7]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2505 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ อัมพร ศรีไชยยันต์, พล. ท., 2451-2513 (2513). กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักร. โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓๖ ง หน้า ๑๔๙๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖