คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 31

อดีตคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย (9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)

คณะรัฐมนตรีถนอม 3
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 31 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2512 - 2514
วันแต่งตั้ง11 มีนาคม​ พ.ศ. 2512
วันสิ้นสุด17 พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2514
(2 ปี 251 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคสหประชาไทย
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 32

จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พันเอก นายวรการบัญชา ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย

แก้

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. นายพจน์ สารสิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. พลโท แสวง เสนาณรงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  5. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  6. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  7. หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  8. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  9. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  10. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  11. หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  12. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  13. นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  14. พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  15. พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  16. พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  17. หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  18. นายจิตติ สุจริตกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  19. นายมนูญ บริสุทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  20. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  21. หม่อมหลวงชูชาติ กำภู เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
  22. นายทวี แรงขำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  23. นายถวิล สุนทรศารทูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  24. พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
  25. พลเอก กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  26. พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  27. นายสมบุญ ผ่องอักษร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  28. นายสอาด หงษ์ยนต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การปรับคณะรัฐมนตรี

แก้

คณะรัฐมนตรีมีการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลง คือ

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512

  1. นายบุญรอด บิณฑสันต์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ แทน ม.ล.ชูชาติ กำภู ที่ถึงแก่อนิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513

  1. พลตำรวจตรีสง่า กิตติขจร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนนายจิตติ สุจริตกุล ที่ถึงแก่อนิจกรรม

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2513

  1. พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ถึงแก่อนิจกรรม

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513[2]

  1. พลเอกกฤษณ์ สีวะรา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ พ้นจากตแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
  3. นายมนูญ บริสุทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนพลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ ที่ถึงแก่อนิจกรรม
  4. นายอภัย จันทวิมล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะเหตุที่ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 19.00 น. โดยออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 เมื่อวันที่ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มีเนื้อความสำคัญดังนี้

"ในระหว่างที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิวัติมอบหมาย"

ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมตินำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทำให้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของคณะปฏิวัติ ที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้