อูหฺวาน

(เปลี่ยนทางจาก ออหวน)

อูหฺวาน (จีนตัวย่อ: 乌桓; จีนตัวเต็ม: 烏桓; พินอิน: Wūhuán, < ภาษาจีนฮั่นตะวันออก: *ʔɑ-ɣuɑn, < ภาษาจีนเก่า (ราว 78 ก่อนคริตตกาล): *ʔâ-wân < *Awar[1]) หรือ ออหวน[2] เป็นชนร่อนเร่ในตระกูลโพรโต-มองโกล[3] ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ในอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคือมณฑลเหอเป่ย์ เหลียวหนิง ชานซี เทศบาลนครปักกิ่ง และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตำแหน่งถิ่นของชาวอูหฺวานเมื่อ 87 ปีก่อนคริสตกาล
จิตรกรรมฝาผนังแสดงภาพม้าและรถรบจากหลุมฝังศพของขุนนางและแม่ทัพชาวอูหฺวานจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ประวัติ

แก้

หลังจากที่ชนเผ่าตงหูถูกปราบโดยชนเผ่าซฺยงหนูเมื่อราว 209 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าตงหูได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ตงหูทางเหนือกลายเป็นชนเผ่าเซียนเปย์ ในขณะที่ตงหูทางใต้ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ มณฑลเหลียวหนิงในปัจจุบันกลายเป็นชนเผ่าอูหฺวาน ในพงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (โฮฺ่วฮันชู) ระบุว่า "ภาษาและวัฒนธรรมของเซียนเปย์เหมือนกับอูหฺวาน"[4] ชนเผ่าอูหฺวานเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิของชนเผ่าซฺยงหนูจนถึงเมื่อ 121 ปีก่อนคริสตกาล ในพงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (เล่มที่ 120) ระบุว่า "ตั้งแต่ครั้งที่มั่วตู๋ฉานยฺหวี (冒頓單于) ตีแตก อูหฺวานก็อ่อนแอลง ถูกกดขี่โดยเพื่อซฺยงหนูมาโดยตลอด และถูกบังคับให้ส่งบรรณาการเป็นประจำทุกปีด้วยหนังวัว หนังม้า และหนังแกะ ถ้าผู้ใดไม่ส่งบรรณาการ ภรรยาและลูกจะถูกพรากไป”

เมื่อ 121 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง ขุนพลของราชวงศ์ฮั่นเอาชนะชนเผ่าซฺยงหนูทางตะวันออก จากนั้นจึงจัดตั้งเมือง (郡 จฺวิ้น) ของชนเผ่าอูหฺวาน 5 เมิอง ได้แก่ ช่างกู่ (上谷) ยฺหวีหยาง (漁陽) โยฺ่วเป่ย์ผิง (右北平), เหลียวซี (遼西) และเหลียวตง (遼東) บริเวณชายแดนทางตอนเหนือของจีนเพื่อใช้ให้ชนเผ่าอูหฺวานเฝ้าระวังชนเผ่าซฺยงหนู หัวหน้าชนเผ่าอูหฺวันต้องส่งบรรณาการไปฉางอานนครหลวงของราชวงศ์ฮั่นทุกปี และได้รับบำเหน็จรางวัลตอบแทน

เมื่อ 78 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าอูหฺวานปล้นสุสานของฉานยฺหวี (單于; ตำแหน่งผู้นำชนเผ่าซฺยงหนู) ของชนเผ่าซฺยงหนู ชาวซฺยงหนูที่เดือดดาลนำกองกำลังม้าไปทางตะวันออกและตีชนเผ่าอูหฺวานแตพก่าน[5] ราชสำนักฮั่นส่งฟ่าน หมินโหยฺ่วพร้อมด้วยทหาร 20,000 นายไปช่วยเหลือชนเผ่าอูหฺวาน แต่มาถึงช้าเกินไปและชนเผ่าซฺยงหนูถอยไปไกลแล้ว ฟ่าน หมินโหยฺ่วจึงโจมตีชนเผ่าอูหฺวานแทนจนแตกพ่ายและตัดศีรษะผู้นำของชนเผ่าอูหฺวานสามคน[6]

เมื่อ 71 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าอูหฺวานร่วมกับราชสำนักฮั่น ชนเผ่าติงหลิง (丁零) และชนเผ่าอูซุน (烏孫) ตีชาวซฺยงหนูแตกพ่าย[5]

ในปี ค.ศ. 7 ราชสำนักฮั่นโน้มน้าวให้ชนเผ่าอูหฺวานหยุดส่งบรรณาการแก่ชนเผ่าซฺยงหนู ชนเผ่าซฺหยงจึงโจมตีชนเผ่าอูหฺวานจนแตกพ่าย[7]

ในปี ค.ศ. 49 เห่าตั้น (郝旦) ผู้อาวุโสของชนเผ่าอูหฺวานแห่งเมืองเหลียวซี เดินทางไปมาที่ราชสำนักฮั่นพร้อมด้วยผู้นำชนเผ่าอีก 922 คน และ "ส่งบรรณาการ" แก่จักรพรรดิฮั่นกวังอู่ด้วยข้าทาส วัว ม้า เกาทัณฑ์ เสือ เสือดาวและหนังเตียว (貂)

ในปี ค.ศ. 58 เพียนเหอ (偏何) ผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์โจมตีและสังหารซินจื้อเปิน (歆志賁) ผู้นำชนเผ่าอูหฺวานที่ก่อความวุ่นวายในเมืองยฺหวีหยาง[8]

ในปี ค.ศ. 109 ชนเผ่าอูหฺวานร่วมกับชนเผ่าเซียนเปย์ในการโจมตีเมืองอู่ยฺเหวียน (五原) และเอาชนะกองกำลังท้องถิ่นของราชวงศ์ฮั่น[9]

ในปี ค.ศ. 168 ชนเผ่าอูหฺวานก่อตั้งกลุ่มย่อยที่เป็นอิสระต่อกันหลายกลุ่มภายใต้ผู้นำของตนเอง กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดนำโดยหนานโหลฺว (難樓) ในเมืองช่างกู่, ชิวลี่จฺวี (丘力居) ในเมืองเหลียวซี, ซูผูเหยียน (穌僕延) ในเมืองเหลียวตง และอูเหยียน (烏延) ในเมืองโยฺ่วเป่ย์ผิง[10]

ในปี ค.ศ. 187 ชิวลีจฺวีเข้าร่วมการกบฏของเตียวซุ่น (張純 จาง ฉุน) หลังจากเตียวซุ่นก่อกบฏไม่สำเร็จถูกตีแตกพ่ายในปี ค.ศ. 188 ชิวลี่จฺวีเข้าโจมตีกองซุนจ้านแต่พ่ายแพ้ ชิวลี่จฺวียอมจำนนต่อเล่าหงีในปี ค.ศ. 190 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 193[11] โหลฺวปาน (樓班) บุตรชายของชิวลี่จฺวียังอายุน้อยไปเกินไปที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำชนเผ่าอูหฺวาน ดังนั้นเป๊กตุ้น (蹋頓 ท่าตุ้น) ลูกพี่ลูกน้องของโหลฺวปานจึงรับตำแหน่งแทน[12]

ในปี ค.ศ. 195 เป๊กตุ้น, หนานโหลฺว และซูผูเหยียนสนับสนุนอ้วนเสี้ยวในการรบกับกองซุนจ้าน[13][14]

ในปี ค.ศ. 207 เป๊กตุ้นพ่ายแพ้ต่อโจโฉในยุทธการที่เป๊กลงสาน (白狼山 ไป๋หลางชาน) และเสียชีวิตในที่รบ หลังจากพ่ายแพ้ ชาวอูหฺวานหลายคนยอมจำนนต่อโจโฉและเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหารม้าของโจโฉ[14][13] โหลฺวปานและซูผูเหยียนหนีไปพึ่งกองซุนของ แต่กองซุนของจับทั้งสองสังหารเสีย[12]

โจโฉแบ่งชนเผ่าอูหฺวานออกเป็นสามกลุ่มที่ตั้งอยู่ในเมืองไตกุ๋น (代郡 ไต้จฺวิ้่น) ผู้นำชนเผ่าอูหฺวานอย่างเหนิงเฉินตี่ (能臣抵) และผู่ฟู่หลู (普富盧) ยังก่อปัญหาอยู่เนือง ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 218 เมื่อโจเจียงปราบปรามกองกำลังชนเผ่าอูหฺวานที่เหลืออยู่จนราบคาบ[15] เดนของชนเผ่าอูหฺวานกลายเป็นที่รู้จักในชื่อคู่มั่วซี (庫莫奚) ซึ่งภายหลังถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาวคีตันไปในที่สุดในศตวรรษที่ 10

ยุทธการ

แก้

ผู้นำ

แก้
  • เห่าตั้น 郝旦 (ค.ศ. 49)
  • ซินจื้อเปิน 歆志賁 (ค.ศ. 58)
  • ชิวลี่จฺวี 丘力居 (ค.ศ. 187)
  • หนานโหลฺว 難樓 (ค.ศ. 207)
  • ซูผูเหยียน 穌僕延 (ค.ศ. 207)
  • โหลฺวปาน 樓班 (ค.ศ. 207)
  • เป๊กตุ้น (ท่าตุ้น) 蹋頓 (เสียชีวิต ค.ศ. 207)
  • เหนิงเฉินตี 能臣抵 (ค.ศ. 207-218)
  • ผู่ฟู่หลู 普富盧 (ค.ศ. 207-218)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Schuessler, Axel (2014) "Phonological Notes on Hàn Period Transcriptions of Foreign Names and Words" in Studies in Chinese and Sino-Tibetan Linguistics: Dialect, Phonology, Transcription and Text. Series: Language and Linguistics Monograph. Issue 53. p. 257 of 249-292
  2. ("ขณะนั้นพระเจ้าเหี้ยนเต้มาอยู่เมืองฮูโต๋ได้ยี่สิบสามปี พอออหวนอยู่เมืองไตกุ๋นคิดการขบถ โจโฉจึงให้โจเจียงผู้บุตรยกทหารห้าหมื่นไปรบเมืองไตกุ๋น") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 12, 2023.
  3. Kradin N. N. (2011). "Heterarchy and hierarchy among the ancient Mongolian nomads". Social Evolution & History: 188.
  4. West 2009.
  5. 5.0 5.1 Barfield 1989, p. 59.
  6. Whiting 2002, p. 172.
  7. Whiting 2002, p. 183.
  8. Crespigny 2007, p. 899.
  9. de Crespigny 2007, p. 782.
  10. de Crespigny 2010, p. 229.
  11. de Crespigny 2007, p. 710.
  12. 12.0 12.1 de Crespigny 2007, p. 613.
  13. 13.0 13.1 de Crespigny 2007, p. 780.
  14. 14.0 14.1 de Crespigny 2007, p. 677.
  15. Barfield 1989, p. 96.

บรรณานุกรม

แก้
  • Barfield, Thomas (1989), The Perilous Frontier: Nomadic Empires and China, Basil Blackwell
  • de Crespigny, Rafe (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms, Brill
  • de Crespigny, Rafe (2010), Imperial Warlord, Brill
  • West, Barbara A. (2009), Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania, Facts on File
  • Whiting, Marvin C. (2002), Imperial Chinese Military History, Writers Club Press