กองซุนจ้าน
กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กงซุนจ้าน (จีนตัวย่อ: 公孙瓒; จีนตัวเต็ม: 公孫瓚; พินอิน: Gōngsūn Zàn; เวด-ไจลส์: Kungsun Ts'an; ก่อน ค.ศ. 161[1] - เมษายน หรือพฤษภาคม ค.ศ. 199[2]) มีชื่อรองว่า โป๋กุย (จีน: 伯珪; พินอิน: Bóguī; เวด-ไจลส์: Po-kui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่
กองซุนจ้าน | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
公孫瓚 | |||||||||||||||||
ภาพวาดกองซุนจ้านยุคราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||||
ข้าหลวงมณฑลอิวจิ๋ว (幽州刺史) (แต่งตั้งเอง) | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 193 – มีนาคม ค.ศ. 199 | |||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ | ||||||||||||||||
เฉียนเจียงจวิน (前將軍) | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 192 – มีนาคม ค.ศ. 199 | |||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ | ||||||||||||||||
เฟิ่นอู่เจี่ยงจวิน (奮武將軍) | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 189–192 | |||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ | ||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||
เกิด | ก่อน ค.ศ. 161 เชียนอาน มณฑลเหอเป่ย์ | ||||||||||||||||
เสียชีวิต | เมษายน หรือพฤษภาคม ค.ศ. 199 เทศมณฑลอี้ มณฑลเหอเป่ย์ | ||||||||||||||||
บุตร | Gongsun Xu (公孫續) | ||||||||||||||||
ความสัมพันธ์ |
| ||||||||||||||||
อาชีพ | ขุนพล, นักการเมือง, ขุนศึก | ||||||||||||||||
ชื่อรอง | โป๋กุย (伯珪) | ||||||||||||||||
ตำแหน่ง | อี้โหว (易侯) | ||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 公孫瓚 | ||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 公孙瓒 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง
เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานจากชีวิประวัติของเล่าปี่ใน จดหมายเหตุสามก๊ก กองซุนจ้านแก่กว่าเล่าปี่ และเล่าปี่ดูแลกองซุนจ้านเปรียบพี่ชาย เนื่องจากเล่าปี่เกิดใน ค.ศ. 161 ปีเกิดของกองซุนจ้านจึงต้องอยู่ก่อนหน้านั้น (瓒年长,先主以兄事之。) จดหมายเหตุสามก๊ก, vol. 32
- ↑ รายงานจากชีวประวัติของพระเจ้าเหี้ยนเต้ใน Book of the Later Han, อ้วนเสี้ยวยึดครอง Yijing (โดยกองซุนจ้านเสียชีวิตในช่วงที่ล้อมเมือง) ในเดือนที่ 3 ปีเจี้ยนอานที่ 4 ตรงกับ 14 เมษายนถึง 12 พฤษภาคม ค.ศ. 199 ตามปฏิทินจูเลียน ([建安]四年春三月,袁绍攻公孙瓒于易京,获之。) Houhanshu, vol.09