หม่า ตามสำเนียงมาตรฐาน (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: ) หรือ เบ๊ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ แบ้ ตามสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า "ม้า" เป็นชื่อสกุลจีน เป็นหนึ่งในชื่อสกุลที่แพร่หลายที่สุดในประเทศจีน และใน ค.ศ. 2006 ปรากฏว่า นิยมมากเป็นอันดับที่ 14 ในจีนแผ่นดินใหญ่ และอันดับ 1 ในกลุ่มจีนมุสลิม โดยเฉพาะชาวหุย (回族), ตงเซียง (東鄉族), และซาลา (撒拉族)[1]

หม่า
"หม่า" ในอักษรปกติ
การออกเสียง(พินอิน)
Má, Bé (ไป๋ฮฺว่าจื้อ)
ภาษาจีน, เวียดนาม, เกาหลี
ที่มา
ภาษาภาษาจีนโบราณ
มาจากชื่อเขตปกครอง
ความหมาย"ม้า"

ผู้ใช้ชื่อสกุลนี้เป็นคนแรก คือ ลูกหลานของจ้าว เชอ (趙奢) ขุนนางจีนสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล โดยนำคำว่า "หม่า" มาจากชื่อ "หม่าฝู" (馬服; "เขตหม่า") อันเป็นชื่อเขตปกครองซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ทางเหนือของหานตาน (邯郸) ในเหอเป่ย์ (河北)

ส่วนชื่อสกุล "หม่า" นี้นิยมในหมู่มุสลิม เพราะเสมือนเป็นการถ่ายเสียงจากชื่อสกุลแบบอาหรับของพวกตน คือ "มุฮัมมัด" (อาหรับ: مُحمّد , [muħammad])[2][3][4][5]

ช่วงราชวงศ์หมิง ปรากฏว่า จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ (正德帝) มีสนมคนหนึ่งเป็นชาวอุยกูร์ ใช้ชื่อสกุลว่า "หม่า" ด้วย[6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. "colorq.org: Chinese West Asian Muslims". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-28. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
  2. Dru C. Gladney (1996). Muslim Chinese: ethnic nationalism in the People's Republic. Cambridge Massachusetts: Harvard Univ Asia Center. p. 375. ISBN 0-674-59497-5. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  3. BARRY RUBIN (2000). Guide to Islamist Movements. M.E. Sharpe. p. 79. ISBN 0-7656-1747-1. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  4. Leif O. Manger (1999). Muslim diversity: local Islam in global contexts. Routledge. p. 132. ISBN 0-7007-1104-X. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  5. Susan Debra Blum; Lionel M. Jensen (2002). China off center: mapping the margins of the middle kingdom. University of Hawaii Press. p. 121. ISBN 0-8248-2577-2. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  6. Association for Asian Studies. Ming Biographical History Project Committee, Luther Carrington Goodrich, Zhaoying Fang (1976). Dictionary of Ming biography, 1368-1644, Volume 2. Columbia University Press. p. 314. ISBN 0-231-03801-1. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Peter C. Perdue (2005). China marches west: the Qing conquest of Central Eurasia. Harvard University Press. p. 64. ISBN 0-674-01684-X. สืบค้นเมื่อ 2011-04-17.