หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร (10 เมษายน พ.ศ. 2426 — 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปพระยาพนานุจร
ประสูติ10 เมษายน พ.ศ. 2426
กรุงเทพพระมหานคร ประเทศไทย
สิ้นชีพิตักษัย22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (88 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
หม่อมหม่อมทิพ กฤดากร ณ อยุธยา
หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา
บุตรหม่อมราชวงศ์อำนวยพร กฤดากร
หม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี ประดิษฐพงศ์
หม่อมราชวงศ์อนุพร กฤดากร
ราชสกุลกฤดากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา
อาชีพข้าราชการ, เกษตรกร
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคการเกษตรแห่งเมืองกิลด์ (ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยลอนดอน)
พรรคการเมืองพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา

พระประวัติ

แก้

มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มีพระนามลำลองว่า ท่านชายจ้อน ประสูติเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2426 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ทรงมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนกพระชนนี 8 พระองค์

พระประวัติการศึกษา

แก้

หม่อมเจ้าสิทธิพร เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่กรุงลอนดอน

เสกสมรส

แก้

ทรงมีหม่อมท่านหนึ่งคือ หม่อมทิพ หรือ หม่อมคำทิพย์ ในปี พ.ศ. 2447 มีบุตรชายหนึ่งคนคือ หม่อมราชวงศ์อำนวยพร แต่หม่อมทิพก็ถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน[1] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ในปี พ.ศ. 2459 มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี

พระประวัติรับราชการ

แก้

พ.ศ. 2444 เริ่มรับราชการที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกษาปณ์ เมื่อปี 2455 และ กรมฝิ่น เมื่อ พ.ศ. 2464 ทรงลาออกจากราชการ เพื่อทรงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ณ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสิทธิพร ได้ทรงบุกเบิกการเกษตรแผนใหม่ ณ ฟาร์มบางเบิด ทรงริเริ่มนำรถแทรกเตอร์มาใช้ในการเกษตรเป็นครั้งแรก ทรงเลี้ยงไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สายพันธุ์ไข่ดก เป็นครั้งแรกที่บางเบิด ทรงสั่งพันธุ์แตงโมจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจำหน่ายรู้จักกันทั่วไปในชื่อ แตงโมบางเบิด[2]

หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงริเริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่งบ่มด้วยความร้อนจนเป็นผลสำเร็จ ณ สถานีทดลองเกษตรแม่โจ้ ซึ่งต่อมากลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทางภาคเหนือ

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงต้องโทษเนื่องจากเป็นผู้ร่วมก่อการกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ทรงถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า และได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2490 และ พ.ศ. 2491 ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ในการประชุมเมื่อปี พ.ศ. 2492, 2493 และ 2495 ได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2510

นอกจากนี้แล้ว พระองค์ยังเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2458 ซึ่งถือว่าเป็นทีมชาติไทยชุดแรกด้วย[3]

ทรงเป็นหม่อมเจ้าพานทอง ทรงศักดินา 3000 เทียบเท่าขุนนางชั้นพระยาพานทอง[4](โดยปกติหม่อมเจ้าจะทรงศักดินา 1500)[5]

ในปี พ.ศ. 2511 ทรงริเริ่มก่อตั้งพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา เพื่อรวบรวมนักวิชาการที่มีอุดมการณ์มาทำงานร่วมกัน[6]

สิ้นชีพิตักษัย

แก้

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 สิริอายุ 88 ปี 72 วัน

พระยศ

แก้
  • อำมาตย์เอก
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2455 มหาอำมาตย์ตรี[7]
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2458 มหาอำมาตย์โท[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 31 สิงหาคม 2556
  2. "ย้อนตำนานแตงโมบางเบิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
  3. "รายชื่อนักฟุตบอล จากมูลนิธินักฟุตบอลทีมชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
  4. ทรงศักดินา
  5. หม่อมเจ้า
  6. "หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  7. พระราชทานยศ
  8. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  9. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๔๐๐ เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒๔๐๕ เล่ม ๓๑, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
  11. รายพระนามเสนาบดีผู้ได้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา เล่ม 36 หน้า 3007 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 มกราคม 2462
  12. เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
  13. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๒๒๕๔ เล่ม ๒๘, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้