หมอกปนควัน (อังกฤษ: smog) เป็นลักษณะของมลพิษทางอากาศชนิดหนึ่ง โดยคำว่า สม็อก เป็นหน่วยคำควบมาจากคำว่า สโมก (smoke แปลว่า ควัน) กับ ฟ็อก (fog แปลว่า หมอก) ในอดีตหมอกปนควันเกิดขึ้นมาจากการผสมระหว่างควันกับซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการเผาไหม้ถ่านหิน ส่วนหมอกปนควันในปัจจุบันมักจะมาจากควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม และทำปฏิกิริยากับแสงแดดซึ่งก่อให้เกิดหมอกปนควันแบบโฟโตเคมี (photochemical smog)

หมอกปนควันในนครนิวยอร์ก

หมอกปนควันแบบโฟโตเคมี

แก้

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2490 ได้มีหมอกปนควันชนิดใหม่ รู้จักในชื่อ หมอกปนควันแบบโฟโตเคมี โดยหมอกปนควันประเภทนี้เกิดจากในชั้นบรรยากาศ แสงแดดทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compound หรือ VOC) โดยไนโตรเจนออกไซด์นั้นถูกปล่อยออกมากในอากาศโดยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากหลายแหล่งเช่น รถยนต์ รถบรรทุก ถ่านหิน โรงงานไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ส่วนสารอินทรีย์ระเหยง่ายถูกปล่อยออกมาจาก สารละลาย ยาฆ่าแมลง และสีทาบ้าน

มลภาวะในอากาศประเภทนี้มักจะประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ เช่น

สารเคมีเหล่านี้ก่อให้เกิดหมอกปนควันแบบโฟโตเคมี ซึ่งเป็ญปัญหาของเมืองที่มีอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเมืองที่มีแดดแรง อากาศอบอุ่น และมียานพาหนะเป็นจำนวนมาก[1]

ปัญหาอันเกิดจากหมอกปนควันและมาตรการที่เกี่ยวข้อง

แก้

ปัญหาไฟป่าและหมอกปนควัน มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอันเกิดจากทั้งสาเหตุไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ส่งผลต่อความเสียหายทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันกลายเป็นปัญหาระหว่างชาติ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบปัญหาไฟป่าและหมอกปนควันเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ จึงได้เกิด "ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกปนควันข้ามแดน - ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution" [2]อันมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ลด และติดตามตรวจสอบมลพิษจากหมอกปนควันข้ามแดน อันเป็นผลเนื่องจากไฟบนพื้นดิน และ/หรือไฟป่า โดยอาศัยความพยายามร่วมกันในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้เมื่อมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศได้ให้สัตยาบันในความตกลงนี้ ซึ่งประเทศไทยพร้อมด้วยประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศได้ร่วมลงนามในข้อตกลงฯ นี้ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และได้ดำเนินการให้สัตยาบันครบ 6 ประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 ส่งผลให้ข้อตกลงฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ประเทศที่ให้สัตยาบันทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Miller, Jr., George Tyler (2002). Living in the Environment: Principles, Connections, and Solutions (12th Edition). Belmont: The Thomson Corporation. p. 423. ISBN 0-534-37697-5.
  2. กองบรรณาธิการ. "ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกปนควันข้ามแดน" วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กรกฎาคม - สิงหาคม 2554: 63.